Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ยา , then , ยะ, ยา .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ยา, 1330 found, display 1001-1050
  1. คอบ ๑ : (โบ; กลอน) ก. ครอบ, รักษา, ครอบงํา, ครอบครอง, เช่น พระเม้านอ ระเนิ้งคอบ เรียมทุกข์ เทือนี้. (หริภุญชัย).
  2. คอบ ๒ : (โบ; กลอน) ก. คืน, กลับ, เช่น สุทธนูประภาฟอง พัดจาก จยรแฮ ยงงคอบคืนหว้ายได้ สู่สํสองสํฯ. (กำสรวล).
  3. คังไคย : น. ชื่อช้างตระกูล ๑ ใน ๑๐ ตระกูล เรียกว่า คังไคยหัตถี กายสีเหมือน สีนํ้าไหล, คงไคย ก็ว่า. (ดู กาฬาวก). (ป. คงฺเคยฺย, ส. คางฺเคย).
  4. คันถรจนาจารย์ : [-รดจะนาจาน] น. อาจารย์ผู้แต่งคัมภีร์. (ป. คนฺถ + ป., ส. รจน + ส. อาจารฺย).
  5. คายกคณะ : [คายะกะ-] น. หมู่คนผู้ขับร้อง, พวกขับร้อง, ลูกคู่. (ป., ส.).
  6. คายก, คายก- : [-ยก, คายะกะ-] (แบบ) น. ผู้ร้องเพลง, ผู้ขับร้อง. (ป., ส.).
  7. งอม : ว. สุกจัดจนเกือบเน่าหรือเละ เช่น กล้วยงอม มะม่วงงอม, โดยอนุโลม ใช้กับคนที่แก่มากจนทำอะไรไม่ไหว เช่น ปีนี้คุณยายดูงอมมาก, โดย ปริยายหมายความว่า แย่ เช่น ถูกใช้ให้ทํางานเสียงอม, บอบชํ้า เช่น ถูกตีเสียงอม, ได้รับทุกข์ทรมานมาก เช่น เป็นไข้เสียงอม.
  8. เงก : (ปาก) ว. เต็มที, แย่, เช่น คอยเสียเงก.
  9. จตุทิพยคันธา : [-ทิบพะยะ-] น. กลิ่นทิพย์ ๔ ประการ คือ ดอกพิกุล ชะเอมเทศ มะกลํ่าเครือ ขิงแครง.
  10. จตุรงคยมก : [จะตุรงคะยะมก] น. ชื่อกลอนกลบทโบราณ มีบังคับพิเศษคือ ทุก ๆ ๒ บทให้ใช้ภาษาบาลีแต่งวรรคแรกทั้งวรรค และวรรคที่ ๒ เฉพาะ จังหวะแรก ตัวอย่างว่า ภุมมาจายันตุเทวา ภุมมะจาเจ้าที่บดีสูร อารักษ์เรือง ฤทธิ์เดชเกษสกูล อันเรืองรูญรังษีระวีวร. (ชุมนุมตำรากลอน).
  11. จตุรเวท, จตุรเพท : [จะตุระเวด, จะตุระเพด] น. ชื่อคัมภีร์พระเวท ๔ คัมภีร์ ของศาสนาพราหมณ์ในยุคพระเวท คือ ฤคเวท ยชุรเวท สามเวท และ อถรรพเวทหรืออาถรรพเวท. (ดู เวท, เวท-).
  12. จตุราริยสัจ : [จะตุราริยะสัด] น. อริยสัจ ๔ ประการ คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค. (ป. จตุร + อริยสจฺจ).
  13. จรรจา : [จัน-] (กลอน) ก. พูด, กล่าว, เช่น อันว่าคนจรรจาลิ้นล่าย กล่าวสองฝ่ายให้ดูดี. (ม. คำหลวงกุมาร). (ส. จฺรจา).
  14. จรรโจษ : [จันโจด] ก. โจษจัน, พูดอึง, พูดกันเซ็งแซ่, เล่าลือกันอื้ออึง, เช่น จรรโจษประชามี พลพิรียชาญชม. (สมุทรโฆษ), จันโจษ ก็ว่า.
  15. จริย- : [จะริยะ-] น. ความประพฤติ, กิริยาที่ควรประพฤติ, ใช้ในคำสมาส เช่น จริยศึกษา. (ป.).
  16. จังหวะ : น. ระยะที่สมํ่าเสมอ เช่น หัวใจเต้นเป็นจังหวะ, ระยะที่กําหนดไว้เป็นตอน ๆ เช่น เพลงจังหวะช้า จังหวะเร็ว พูดเป็นจังหวะ, โดยปริยายหมายความว่า โอกาสอันควร เช่น เจ้านายกำลังโกรธ ไม่มีจังหวะจะเข้าพบ. (ข. จงวาก่). จังหวะจะโคน (ปาก) น. จังหวะ.
  17. จัตุลังคบาท : [จัดตุลังคะบาด] (โบ) น. เจ้ากรมพระตำรวจหลวงประจำ ๔ เท้า ช้างทรงของพระมหากษัตริยหรือพระมหาอุปราชในเวลาสงคราม เช่น จัตุลังคบาทบริรักษ์ พิทักษ์เท้ากุญชร. (ตะเลงพ่าย), จตุลังคบาท ก็ว่า.
  18. จำนวนจริง : (คณิต) น. จำนวนใด ๆ ซึ่งอาจเป็นจํานวนตรรกยะหรือ จํานวนอตรรกยะ.
  19. จินดามัย : ว. ที่สําเร็จด้วยความคิด. (ป., ส. จินฺตามย).
  20. จุณณียบท : [จุนนียะบด] (แบบ) น. บทบาลีเล็กน้อย ที่ยกขึ้นแสดงก่อนเนื้อความ. (ป.).
  21. เจดีย-, เจดีย์ ๑ : [-ดียะ-] น. สิ่งซึ่งก่อเป็นรูปคล้ายลอมฟาง มียอดแหลม บรรจุสิ่งที่นับถือ มีพระธาตุเป็นต้น, สิ่งหรือบุคคลที่เคารพนับถือ. (ป. เจติย; ส. ไจตฺย).
  22. เจติย- : [-ติยะ-] (แบบ) น. เจดีย์. (ป.).
  23. เฉลี่ย : [ฉะเหฺลี่ย] ก. แบ่งส่วนให้เท่ากัน, แจกจ่ายให้ทั่วกัน. ว. ที่ถัวให้มีส่วน เสมอกัน เช่น รายเฉลี่ย.
  24. ชย, ชย : [ชะยะ] น. การชนะ. (ป., ส.). (ดู ชัย).
  25. ชวา : [ชะ] น. ชื่อเกาะสําคัญที่สุดและเป็นที่ตั้งเมืองหลวงของ ประเทศอินโดนีเซีย, (โบ) ใช้ว่า ยะวา ก็มี, เรียกประชาชน ที่พูดภาษาชวาว่า ชาวชวา; ชื่อปี่ชนิดหนึ่ง เรียกว่า ปี่ชวา.
  26. ชัย, ชัย : [ไช, ไชยะ] น. การชนะ, ความชนะ. (ป., ส.).
  27. ชัยบาน : [ไชยะ] น. เครื่องดื่มในการมีชัย. (ป.).
  28. ชัยภูมิ : [ไชยะพูม] น. ทําเลที่เหมาะ. (ป., ส.).
  29. ชัยเภรี : [ไชยะ] น. ชื่อกลองชนิดหนึ่ง. (ส.).
  30. ช้างใหญ่ : น. ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์เชิงชายา มี ๑๔ ดวง, ดาวงาช้าง ดาวคอนาค ดาวแพะ หรือ ดาวเชิงชายะ ก็เรียก.
  31. ชำลา : ว. ที่ผึ่งแดดยังไม่แห้งสนิท (ใช้แก่ปลา). (ต. ชมฺร ออกเสียงว่า เจมเรียะ ว่า เหี่ยว, ความเหี่ยว).
  32. ชีพุก : น. พ่อ, ท่านพ่อ, เช่น ด่งงจริงชะรอยชีพุก หากทำทุกข์ แก่มึงอย่าเลอย. (ม. คําหลวง ชูชก). (เทียบ ข. โอวพุก ว่า พ่อ).
  33. เชิงชายา : [เชดถา] น. ดาวฤกษ์ที่ ๑๘ มี ๑๔ ดวง เห็นเป็นรูปงาช้าง หรือคอนาค, ดาวเชิงชายะ ดาวงาช้าง ดาวช้างใหญ่ ดาวคอนาค หรือ ดาวแพะ ก็เรียก. (ป. เชฏฺ?า; ส. เชฺยษฺ?า).
  34. ไชยเภท : [ไชยะเพด] น. เด็กที่มีอายุแต่เดือนที่ ๑ ไป.
  35. ดอกบัว ๑ : น. ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์บุษยะ มี ๕ ดวง, ดาวโลง ดาวปู ดาวสิธยะ ดาวสมอสําเภา ดาวปุยฝ้าย ดาวพวงดอกไม้ ดาวบุษย์ ดาวปุษยะ หรือ ดาวปุสสะ ก็เรียก.
  36. ดีพร : [ดีบ] (แบบ) ว. กล้า, แข็ง, มาก, เช่น ม่ายเดือดดีพรในโลกย. (ม. คําหลวง ทานกัณฑ์). (ส. ตีวฺร; ป. ติพฺพ).
  37. ดุลย- : [ดุนละยะ-, ดุนยะ-] ว. เท่ากัน, เสมอกัน, ทัดเทียมกัน. (ป., ส.).
  38. โดย ๑ : [โดย, โดยะ] น. นํ้า. (ป. โตย).
  39. ตติย- : [ตะติยะ-] ว. ที่ ๓, คํารบ ๓, มักใช้ประกอบหน้าคําอื่น เช่น ตติยวาร. (ป.).
  40. ตนุมัธยมา, ตนุมัธยา : [-มัดทะยะ-] น. ชื่อฉันท์ชนิดหนึ่ง. (ส.; ป. ตนุมชฺฌา).
  41. ตรีทิพยรส : [-ทิบพะยะรด] น. รสทิพย์ ๓ อย่าง คือ โกฐกระดูก เนื้อไม้ อบเชยไทย.
  42. ตรียมก : [ตฺรียะมก] น. ชื่อกลบทชนิดหนึ่ง.
  43. ตฤตีย-, ตฤตียะ : [ตฺริตียะ-] (แบบ) ว. ที่ ๓. (ส.; ป. ตติย).
  44. เถย- : [เถยยะ-] น. ความเป็นขโมย (มักใช้นําหน้าสมาส). (ป. เถยฺย).
  45. เถยจิต : น. จิตประกอบด้วยความเป็นขโมย, จิตคิดขโมย. (ป. เถยฺยจิตฺต).
  46. เถยเจตนา : น. เจตนาในทางเป็นขโมย, ความตั้งใจจะขโมย. (ป. เถยฺยเจตนา).
  47. ทรัพย-, ทรัพย์ : [ซับพะยะ-, ซับ] น. เงินตรา เช่น ไม่มีทรัพย์ติดตัว, สมบัติพัสถาน เช่น เขาเป็นคนมีทรัพย์; (กฎ) วัตถุมีรูปร่าง; โดยปริยายหมายถึง สิ่งที่ถือว่ามีค่าอาจไม่มีรูปร่างก็ได้ เช่น มีปัญญาเป็นทรัพย์ อริยทรัพย์. (ส. ทฺรวฺย).
  48. ทรัพยสิทธิ : [ซับพะยะสิด] (กฎ) น. สิทธิเหนือทรัพย์ที่จะก่อตั้งขึ้น ได้แต่ด้วยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย เช่น สิทธิ ครอบครอง กรรมสิทธิ์.
  49. ทวยะ : [ทะวะยะ] น. หมวด ๒, ส่วนทั้ง ๒. (ป., ส.).
  50. ทักขิไณยบุคคล : [-ไนยะ-] น. บุคคลผู้ควรรับทักษิณา. (ป.).
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | [1001-1050] | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1330

(0.1021 sec)