Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ยา , then , ยะ, ยา .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ยา, 1330 found, display 1151-1200
  1. มฤคทายวัน : [มะรึกคะทายะ-, มะรึกคะทายยะ-] น. ชื่อป่าที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนา; ป่าเป็นที่ให้อภัยแก่เนื้อ. (ป. มิคทายวน; ส. มฺฤค + ทาย + วน).
  2. มล่อย : [มะล่อย] (โบ) ก. ม่อย, เผลอ, เคลิ้ม.
  3. ม่อน ๒ : (ถิ่น-พายัพ) ส. ข้าพเจ้า เช่น อกม่อนเมา บาบั้น บิ่นบ้าในทรวง. (หริภุญชัย).
  4. มัทนียะ : [มัดทะนียะ] ว. เป็นที่ตั้งแห่งความเมา, ที่ชวนให้เมา. (ป. มทนีย).
  5. มัทยะ : [มัดทะยะ] น. นํ้าเมา, เหล้า. ว. ซึ่งทําให้เมา, ซึ่งทําให้รื่นเริงยินดี. (ส., ป. มชฺช).
  6. มัธย- : [มัดทะยะ-] ว. กลาง, ปานกลาง, พอดี, เป็นกลาง, ระหว่างกลาง. (ส.; ป. มชฺฌิม).
  7. มัธยมา : [มัดทะยะมา] ว. มัชฌิมา, ปานกลาง. (ส.).
  8. มาตามหัยกะ : [-มะไหยะกะ] (ราชา) น. ตาทวด, พ่อของยาย. (ป. มาตา + มหยฺยก).
  9. มาตามหัยกา, มาตามหัยยิกา : [-มะไหยะกา, -มะไหยิกา] (ราชา) น. ย่าทวด, ยายทวด. (ป. มาตา + มหยฺยิกา).
  10. มาธยมิกะ : [มาทะยะ-] น. ทางสายกลาง; ศูนยวาท. (ส. มาธฺยมิก).
  11. มานุษ, มานุษย- : [มานุด, มานุดสะยะ-] น. คน, เพศคน. ว. เกี่ยวกับคน, ของคน. (ส.).
  12. มานุษยวิทยา : [มานุดสะยะ-, มานุด-] น. วิชาว่าด้วยเรื่องตัวคน และสิ่งที่คนสร้างขึ้น. (อ. anthropology).
  13. มุขย- : [มุกขะยะ-] ว. สําคัญ, เป็นใหญ่. (ส.).
  14. มูล ๑, มูล- : [มูน, มูนละ-] น. โคน เช่น รุกขมูล; ราก, รากเหง้า, เช่น มีโทสะเป็นมูล, เค้า เช่น คดีมีมูล, ต้น เช่น ชั้นมูล. (ป. มูล; ส. มูลฺย).
  15. มูล ๒, มูล- : [มูน, มูนละ-] ว. มวล, ทั้งหมด, ทั้งสิ้น, เช่น จัดข้าวของไว้ให้โดยพร้อมมูล เตรียมเอกสารหลักฐานไว้ให้พร้อมมูล. (ป. มูล; ส. มูลฺย).
  16. เมตไตรย : [เมดไตฺร] น. พระนามของพระพุทธเจ้าที่จะมาตรัสรู้ข้างหน้า. (ป. เมตฺเตยฺย; ส. เมไตฺรย).
  17. แม่งม้าง : (กลอน) ก. เริดร้าง เช่น สมุทโฆษว้างพินทู แม่งม้าง. (หริภุญชัย).
  18. โมกข์ ๒ : ว. หัวหน้า, ประธาน. (ป.; ส. มุขฺย).
  19. โมฆีย-, โมฆียะ : [โมคียะ-] (กฎ) ว. ที่อาจเป็นโมฆะได้เมื่อมีการบอกล้าง หรือมีผลสมบูรณ์เมื่อมี การให้สัตยาบัน. (ป.).
  20. โมไนย : [-ไน] น. ความเป็นปราชญ์, คุณธรรมของนักปราชญ์. (ป. โมเนยฺย; ส. เมาเนย).
  21. ไมยราบ : [ไมยะราบ] น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Mimosa pudica L. ในวงศ์ Leguminosae ใบคล้ายใบกระเฉด เมื่อถูกกระเทือนก็หุบราบไป.
  22. ยอง ๓ : น. เส้น, ใย, มักใช้เข้าคู่กับคำ ใย เป็น ยองใย. ว. สุกใส, ยะยอง หรือ ยรรยอง ก็ใช้ แต่มักแปลว่า สุกใส.
  23. ย่านซื่อ : น. ระยะที่นํ้าไหลพุ่งตรง.
  24. ยา : ว. ลักษณะของสิ่งใด ๆ มีกําหนดระยะจากจุดหนึ่งถึงอีกจุดหนึ่งที่ขยาย ออกไปไม่ได้แล้ว เช่น ถนนยาว ๓๐ กิโลเมตร เชือกยาว ๒ เมตร, ลักษณะ ส่วนหนึ่งของสิ่งใด ๆ มีกําหนดระยะยืดหรือยืนเป็นเส้นตรงจากจุดหนึ่ง ไปถึงอีกจุดหนึ่งมากกว่าอีกสิ่งหนึ่ง เมื่อมีการเปรียบเทียบกัน, ไม่สั้น เช่น เสื้อแขนยาว กางเกงขายาว กระโปรงยาว, นาน (ใช้แก่เวลา) เช่น หน้าร้อน กลางวันยาวกว่ากลางคืน.
  25. ยุรบาตร : [ยุระบาด] (กลอน) ก. เดิน, ใช้ว่า ยะยุรบาตร ก็มี.
  26. เย็นเยือก : ว. อาการที่รู้สึกหนาวสะท้านถึงขั้วหัวใจ เช่น บนยอดดอย น้ำค้างตกเย็นเยือก หน้าหนาวอากาศบนภูเขาเย็นเยือก, เย็นยะเยือก หรือ เยือก ก็ว่า.
  27. เยภุยสิกา : น. ความเห็นข้างมาก. (ป. เยภุยฺยสิกา).
  28. เยิน : ว. ยู่, ย่น, เช่น คมมีดเยิน ตีตะปูจนหัวเยิน, บานออกจนเสียรูป เช่น ไข ตะปูควงจนหัวเยิน.
  29. เยือก ๑ : ว. อาการที่รู้สึกหนาวสะท้านถึงขั้วหัวใจ, เย็นยะเยือก หรือ เย็นเยือก ก็ว่า.
  30. รมณีย–, รมณีย์ : [รมมะนียะ–, รมมะนี] ว. น่าบันเทิงใจ, น่าสนุก, พึงใจ, งาม. (ป., ส.).
  31. รสายนเวท : [ระสายะนะเวด] น. วิชาประสมแร่แปรธาตุ, วิชาเคมียุคเล่นแร่แปรธาตุ. (ส.).
  32. รัมณีย– : [รํามะนียะ–] ว. รมณีย์. (ป. รมณีย).
  33. รัสสระ : [รัดสะสะหฺระ] น. สระที่มีเสียงสั้น ในภาษาบาลีได้แก่ อ อิ อุ, ในภาษาสันสกฤตได้แก่ อ อิ อุ ฤ ฦ, ในภาษาไทยได้แก่ อ อิ อึ อุ เอะ แอะ โอะ เอาะ เออะ เอียะ เอือะ อัวะ ฤ ฦ อํา ใอ ไอ เอา. (ป.).
  34. ราชาธิปไตย : น. ระบอบการปกครองแบบหนึ่งที่มีพระราชาเป็นใหญ่. (ป. ราช + อธิปเตยฺย). (อ. monarchy).
  35. ราโท : น. ไม้กระดานเรียบที่ประกบบนกราบเรือบางชนิด เช่น เรือเอี้ยมจุ๊น เรือโป๊ะจ้าย เรือกลไฟ สําหรับกันนํ้าเข้าเรือหรือเดินเลียบข้างเรือ.
  36. ลหุกาบัติ : [ละหุกาบัด] น. อาบัติเบา ได้แก่ อาบัติที่เมื่อภิกษุต้องแล้ว จะต้อง บอกแก่ภิกษุด้วยกันจึงจะพ้นจากอาบัตินั้น ได้แก่ อาบัติถุลลัจจัย ปาจิตตีย์ ปาฏิเทสนียะ ทุกกฏ และทุพภาษิต. (ป. ลหุกาปตฺติ).
  37. เลขชี้กำลัง : (คณิต) น. จํานวนเต็มหรือจํานวนตรรกยะที่ใช้ยกกําลัง จํานวนจริง เช่น ๗๓ มี ๓ เป็นเลขชี้กําลัง.
  38. เลขยะ : [เลขะยะ] น. การเขียน. (ส.).
  39. เลหยะ : [เลหะยะ] (แบบ) ว. (ของ) ควรลิ้ม. (ส.).
  40. โลกย์, โลกยะ, โลกัย : ว. ของโลก. (ส. โลกฺย).
  41. โลกาธิปไตย : [–ทิปะไต, –ทิบปะไต] น. การถือโลกเป็นใหญ่. (ป. โลกาธิปเตยฺย).
  42. โลกิย–, โลกิยะ, โลกีย์ : ว. เกี่ยวกับโลก, ทางโลก, ธรรมดาโลก, ของโลก, ตรงข้ามกับ โลกุตระ, เช่น โลกิยธรรม เรื่องโลกิยะ, โดยปริยายหมายถึงที่เกี่ยวกับกามารมณ์ เช่น เรื่องโลกีย์. (ป.; ส. เลากฺย).
  43. โลง : น. หีบสําหรับบรรจุศพ; ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์บุษยะ มี ๕ ดวง, ดาวปู ดาวสิธยะ ดาวสมอสําเภา ดาวปุยฝ้าย ดาวพวงดอกไม้ ดาวดอกบัว ดาวบุษย์ ดาวปุษยะ หรือ ดาวปุสสะ ก็เรียก.
  44. ไลย ๒ : [ไล] น. ของที่จะพึงเลีย. (ป. เลยฺย).
  45. วัคคิยะ, วัคคีย์ : [วักคิยะ] ว. อยู่ในพวก, อยู่ในหมู่, เช่น เบญจวัคคีย์ ว่า อยู่ในพวก ๕. (ป.).
  46. วันทย : [วันทะยะ] ว. ควรไหว้, ควรนอบนบ. (ส.).
  47. วัย, วัย : [ไว, ไวยะ] น. เขตอายุ, ระยะของอายุ, เช่น วัยเด็ก วัยหนุ่มสาว วัยชรา. (ป., ส. วย).
  48. วัยวุฒิ : [ไวยะวุดทิ, ไวยะวุด] น. ความเป็นผู้ใหญ่โดยอายุ. (ป. วย + วุฑฺฒิ).
  49. วากย, วากยะ : [วากกะยะ] น. คําพูด, คํากล่าว, ถ้อยคํา, ประโยค. (ป., ส.).
  50. วาทยกร : [วาทะยะกอน, วาดทะยะกอน] น. ผู้อํานวยการให้จังหวะ ดนตรี, ผู้อำนวยเพลง ก็เรียก.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | [1151-1200] | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1330

(0.1192 sec)