Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ยา , then , ยะ, ยา .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ยา, 1330 found, display 1201-1250
  1. วาทย, วาทย์ : [วาทะยะ, วาดทะยะ] น. เครื่องประโคม, เครื่องบรรเลง, เครื่องเป่า. (ส.).
  2. ว่ายหล้า : (วรรณ) ก. ท่องเที่ยวไปในแผ่นดิน, เขียนเป็น หว้ายหล้า ก็มี เช่น เปนขุนยศยิ่งฟ้าฤๅบาปจำหว้ายหล้า หล่มล้มตนเดียวฯ. (ลอ).
  3. วิชญะ : [วิดยะ] น. ผู้รู้, ผู้ฉลาด, ปราชญ์. (ส.).
  4. วิชย, วิชัย : [วิชะยะ-,วิไข] น. ความชนะ, ชัยชนะ, (ป., ส.)
  5. วิทย : [วิดทะยะ] น. วิทยา.
  6. วินย, วินัย : [วินะยะ] น. ระเบียบแบบแผนและข้อบังคับ, ข้อปฏิบัติ, เช่น วินัยทหาร ทหารต้องยึดมั่นในวินัย; สิกขาบทของพระสงฆ์. (ป., ส.).
  7. วินัยปิฎก : [วิไนยะปิดก, วิไนปิดก] น. ชื่อปิฎก ๑ ในพระไตรปิฎก.
  8. วิริยะ : น. ความเพียร, ความบากบั่น, มักใช้เข้าคู่กับคำ อุตสาหะ เป็น วิริยอุตสาหะ; ความกล้า; วิริยภาพ ก็ใช้. (ป.; ส. วีรฺย).
  9. วิลย, วิลัย : [วิละยะ, วิไล] น. ความย่อยยับ, การสลาย, การทําให้สลาย. (ป., ส.).
  10. วิสย, วิสัย : [วิสะยะ, วิไส] น. ความสามารถ เช่น อยู่ในวิสัยที่จะเลี้ยงดูบุตร ภรรยาได้ เป็นเรื่องเหลือวิสัยที่จะทำได้; ขอบ, เขต, เช่น คามวิสัย โคจรวิสัย อยู่ในทัศนวิสัย. (ป.).
  11. วิสามานยนาม : [วิสามานยะนาม] (ไว) น. คํานามที่เป็นชื่อเฉพาะ ตั้งขึ้นสําหรับ เรียกคน สัตว์ สิ่งของ และสถานที่ เพื่อให้รู้ชัดว่าเป็นใครหรืออะไร เช่น นายดํา ช้างเอราวัณ เรือสุพรรณหงส์ จังหวัดเชียงใหม่.
  12. วิหายสะ : [หายะสะ] น. ฟ้า, อากาศ. (ป., ส.).
  13. เวท, เวท : [เวด, เวทะ] น. ความรู้, ความรู้ทางศาสนา; ถ้อยคําศักดิ์สิทธิ์ที่ผูก ขึ้นเป็นมนตร์หรือคาถาอาคมเมื่อนํามาเสกเป่าหรือบริกรรมตาม ลัทธิวิธีที่มีกําหนดไว้ สามารถให้ร้ายหรือดี หรือป้องกันอันตราย ต่าง ๆ ตามคติไสยศาสตร์ได้ เช่น ร่ายเวท, บางทีก็ใช้เข้าคู่กับคำ มนตร์ เป็น เวทมนตร์; ชื่อคัมภีร์ภาษาสันสกฤตโบราณซึ่งเป็น พื้นฐานของศาสนาพราหมณ์ยุคแรก มี ๔ คัมภีร์ได้แก่ ๑. ฤคเวท ว่าด้วยบทสวดสรรเสริญเทพเจ้าทั้งหลาย ตอนท้ายกล่าวถึงการ สร้างโลกซึ่งต่อมาได้กลายเป็นต้นแบบความเชื่อของชาวอินเดีย ๒. ยชุรเวท ว่าด้วยรายละเอียดการประกอบยัญพิธีและลำดับมนตร์ ที่นำมาจากคัมภีร์ฤคเวทเพื่อสวดในขั้นตอนต่าง ๆ ของพิธี ๓. สามเวท ว่าด้วยบทขับที่คัดเลือกมาจากประมาณหนึ่งในหก ของฤคเวท และใช้เฉพาะในพิธีที่บูชาด้วยน้ำโสม ๔. อถรรพเวท หรือ อาถรรพเวท เป็นเวทมนตร์คาถาเพื่อให้เกิดผลดีแก่ฝ่ายตน หรือผลร้ายแก่ฝ่ายศัตรู ตลอดจนการบันดาลสิ่งที่เป็นมงคล หรืออัปมงคล การทำเสน่ห์ การรักษาโรค และอื่น ๆ สามคัมภีร์แรก เรียกว่า ไตรเวท หรือ ไตรเพท ต่อมารับอถรรพเวทหรืออาถรรพเวท เข้ามารวมเป็นสี่คัมภีร์เรียกว่า จตุรเวท หรือ จตุรเพท, เรียกยุคแรก ของศาสนาพราหมณ์จนถึงประมาณสมัยพุทธกาลว่า ยุคพระเวท มีวรรณกรรมหลักประกอบด้วยคัมภีร์พระเวท คัมภีร์พราหมณะ คัมภีร์อารัณยกะและคัมภีร์อุปนิษัทรุ่นแรก. (ป., ส.).
  14. เวนไตย : น. ครุฑ. (ป. เวนเตยฺย; ส. ไวนเตย).
  15. เวไนย : น. ผู้ควรแนะนําสั่งสอน, ผู้พึงดัดได้สอนได้, ใช้ว่า เวนย ก็มี เช่น จะให้เวนยชาติทั้งปวงได้. (นันโท). (ป. เวเนยฺย).
  16. ศยนะ : [สะยะ] น. การนอน, การหลับ; ที่นอน, ฟูก, เบาะ. (ส.; ป. สยน).
  17. ศักย ๑ : [สักกะยะ] ว. อาจ, สามารถ. (ส.).
  18. ศักยภาพ : [สักกะยะพาบ] (ปรัชญา) น. ภาวะแฝง, อํานาจหรือ คุณสมบัติที่มีแฝงอยู่ในสิ่งต่าง ๆ อาจทําให้พัฒนาหรือให้ปรากฏ เป็นสิ่งที่ประจักษ์ได้ เช่น เขามีศักยภาพในการทำงานสูง น้ำตก ขนาดใหญ่มีศักยภาพในการให้พลังงานได้มาก.
  19. ศักย์, ศักยะ : [สัก, สักกะยะ] (ไฟฟ้า) น. พลังงานที่ใช้ดันกระแสไฟฟ้า ณ จุดใดจุดหนึ่ง มีหน่วยเป็นโวลต์.
  20. ศัลย : [สันละยะ, สันยะ] น. ลูกศรหรือของมีปลายแหลมอื่น ๆ. (ส.).
  21. ศัลยกรรม : [สันละยะกำ] น. การรักษาโรคโดยวิธีผ่าตัด.
  22. ศัลยแพทย์ : [สันละยะแพด] น. แพทย์ทางการผ่าตัด.
  23. ศัลยศาสตร์ : [สันละยะสาด] น. วิชาว่าด้วยการรักษาโรคโดยวิธีผ่าตัด.
  24. ศาฐยะ : [สาถะ] น. สาไถย, ความคดโกง. (ส.; ป. สาเถยฺย).
  25. ศาสนีย, ศาสนีย์ : [สาสะนียะ, สาสะนี] ว. สมควรจะสั่งสอน. (ส.).
  26. ศิษย, ศิษย์ : [สิดสะยะ, สิด] น. ผู้ศึกษาวิชาความรู้จากครูหรืออาจารย์, คู่กับ ครู หรืออาจารย์, ผู้อยู่ในความคุ้มครองดูแลของอาจารย์ เช่น ศิษย์วัด, โดยปริยายหมายถึงผู้ที่ศึกษาหาความรู้จากตำราของผู้ใดผู้หนึ่งแล้ว นับถือผู้นั้นเป็นเสมือนครูบาอาจารย์ของตน. (ส.).
  27. ศูนย, ศูนย์ : [สูนยะ, สูน] ว. ว่างเปล่า. ก. หายสิ้นไป. น. ตัวเลข ๐; จุดกลาง, ใจกลาง, แหล่งกลาง, แหล่งรวม, เช่น ศูนย์วัฒนธรรม ศูนย์หนังสือ ศูนย์รวมข่าว. (ส. ศูนฺย; ป. สุญฺ?).
  28. เศาจ : [เสาจะ] น. ความสะอาด, ความบริสุทธิ์; การชําระล้าง; ความ ซื่อตรง. (ส. เศาจ, เศาจฺย; ป. โสเจยฺย).
  29. โศลก : [สะโหฺลก] น. คําประพันธ์ในวรรณคดีสันสกฤต ๔ บาท เป็น ๑ บท ตามปรกติมีบาทละ ๘ พยางค์ เรียกว่า โศลกหนึ่ง เช่น กามโกฺรธวิยุกฺตานามฺ ยตีนำ ยตเจตสามฺ อภิโต พฺรหฺมนิรฺวาณมฺ วรฺตเต วิทิตาตฺมนามฺ ผู้บำเพ็ญพรต พรากจากกามและโกรธ ข่มใจได้ รู้แจ้งอาตมัน ย่อมมีนิพพานคือ พรหมโดยทั่วไป. (ศรีมัทภควัทคีตา), บทสรรเสริญยกย่อง; ชื่อเสียง, เกียรติยศ.
  30. สถาปนียพยากรณ์ : [นียะ] น. การจําแนกธรรมหรือพยากรณ์ปัญหาธรรมโดยอาการนิ่ง.
  31. สถาปนียวาที : [นียะ] น. ผู้จําแนกธรรมหรือพยากรณ์ปัญหาธรรมโดยการนิ่ง.
  32. สถาปัตยกรรมศาสตร์ : [สะถาปัดตะยะกำมะสาด] น. วิชาว่าด้วยการ ออกแบบงานก่อสร้างที่ประกอบด้วยศิลปลักษณะ.
  33. สถาปัตยเรขา : [สะถาปัดตะยะ] น. แบบร่างหรือต้นแบบการออกแบบก่อสร้าง.
  34. สถิตยศาสตร์ : [สะถิดตะยะ] น. วิชากลศาสตร์แขนงหนึ่ง ซึ่งว่าด้วยแรงที่กระทํา ต่อเทหวัตถุซึ่งเป็นของแข็ง โดยที่เทหวัตถุนั้น ๆ หยุดนิ่งอยู่กับที่. (อ. statics).
  35. สมอสำเภา : น. ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์บุษยะ มี ๕ ดวง, ดาวปุยฝ้าย ดาวพวงดอกไม้ ดาวดอกบัว ดาวโลง ดาวปู ดาวสิธยะ ดาวบุษย์ ดาวปุษยะ หรือ ดาวปุสสะ ก็เรียก.
  36. สยนะ : [สะยะ] น. ที่นอน; การนอน. (ป.).
  37. สรไน : [สฺระ] น. ปี่ไฉน เช่น นักคุณแคนคู่ฆ้อง สรไน. (หริภุญชัย).
  38. สรภัญญะ : [สะระพันยะ, สอระพันยะ] น. ทํานองสําหรับสวดคําที่เป็นฉันท์, ทํานองขับร้องทํานองหนึ่ง, เช่น สวดสรภัญญะ ทำนองสรภัญญะ. (ป.).
  39. สวนีย : [สะวะนียะ] น. คําที่น่าฟัง, คําไพเราะ. (ป.; ส. ศฺรวณีย).
  40. สวราชย์ : น. ความเป็นเอกราช; การปกครองด้วยตนเอง. (ส. สฺวราชฺย).
  41. สักกาย : [กายะ] น. กายของตน. (ป.; ส. สฺวกาย).
  42. สัขยะ : [สักขะยะ] (แบบ) น. มิตรภาพ, ความสนิทสนมกัน, ความรักใคร่กัน. (ส.).
  43. สังคายนา, สังคายนาย : [คายะ, คายยะ] น. การซักซ้อม, การสวดพร้อมกันและเป็นแบบ เดียวกัน, การประชุมชําระพระไตรปิฎกให้เป็นแบบเดียวกัน. (ปาก) ก. สะสาง เช่น เรื่องนี้ต้องสังคายนากันเสียที. (ป. สงฺคายน).
  44. สัญนิยม : [สันยะนิยม] น. การปฏิบัติหรือธรรมเนียมทั่วไปที่ใช้กันอยู่ในกลุ่ม สังคมในขณะนั้น เช่น การไหว้เป็นสัญนิยมอย่างหนึ่งของคนไทย การใช้ตะเกียบคีบอาหารเป็นสัญนิยมในการกินอาหารของคนจีน. (อ. convention).
  45. สัญลักษณ์ : [สันยะ] น. สิ่งที่กําหนดนิยมกันขึ้นเพื่อให้ใช้หมายความแทนอีกสิ่งหนึ่ง เช่น ตัวหนังสือเป็นสัญลักษณ์แทนเสียงพูด H เป็นสัญลักษณ์แทนธาตุ ไฮโดรเจน + - x ? เป็นสัญลักษณ์เครื่องหมายทางคณิตศาสตร์. (อ. symbol).
  46. สัตย, สัตย์ : [สัดตะยะ, สัด] น. ความจริง เช่น รักษาสัตย์, คำมั่นสัญญา, เช่น เสียชีพอย่าเสียสัตย์ ลูกเสือให้สัตย์ปฏิญาณ. ว. จริง เช่น วาจาสัตย์, มักใช้เข้าคู่กับคำอื่น เช่น สัตย์ซื่อ ซื่อสัตย์ สัตย์จริง. (ส.; ป. สจฺจ).
  47. สั้น : ว. ลักษณะส่วนหนึ่งของสิ่งใด ๆ มีกําหนดระยะยืดหรือยืนเป็นเส้น ตรงจากจุดหนึ่งถึงอีกจุดหนึ่งน้อยกว่าอีกสิ่งหนึ่งเมื่อมีการเปรียบเทียบ กัน เช่น เสื้อแขนสั้น กระโปรงสั้น ถนนสายนี้สั้นกว่าถนนสายอื่น ๆ, มีระยะเวลานานน้อยกว่าอีกช่วงเวลาหนึ่ง เมื่อมีการเปรียบเทียบกัน เช่น หน้าหนาวกลางวันสั้นกว่ากลางคืน.
  48. สันสกฤต : [สะกฺริด] น. ชื่อภาษาในตระกูลอินเดียยุโรป ซึ่งมีใช้ในวรรณคดี อินเดียโบราณ เช่น คัมภีร์ฤคเวท ยชุรเวท สามเวท ต่อมาใช้ในวรรณคดี ของพราหมณ์โดยทั่วไป และในคัมภีร์พระพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน, ใช้ว่า สังสกฤต ก็มี. ว. ที่ทำให้ดีพร้อมแล้ว, ที่ทำให้ประณีตแล้ว, ที่ขัดเกลาแล้ว. (ส. สํสฺกฤต; ป. สกฺกฏ).
  49. สัมปชัญญะ : [สําปะชันยะ] น. ความรู้ตัวอยู่เสมอ, ความไม่เผลอตัว, มักใช้เข้าคู่ กับคำ สติ เป็น สติสัมปชัญญะ. (ป.).
  50. สัมปรายภพ, สัมปรายิกภพ : [ปะรายะ, ปะราย, ปะรายิกะ] น. ภพหน้า. (ป., ส.).
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | [1201-1250] | 1251-1300 | 1301-1330

(0.1035 sec)