Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ยา , then , ยะ, ยา .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ยา, 1330 found, display 1301-1330
  1. อัญรูป : [อันยะ] น. ธาตุเดียวกันแต่มีสมบัติและรูปแบบต่างกัน เมื่อนําไป ทําปฏิกิริยากับธาตุอื่นธาตุเดียวกัน จะให้ผลเป็นสารประกอบ อันเดียวกัน เช่น ธาตุคาร์บอน มีอัญรูป คือ เพชร กับ แกรไฟต์ เมื่อนําอัญรูปทั้ง ๒ นี้ ไปเผาด้วยความร้อนสูงกับธาตุออกซิเจน จะได้แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์เช่นเดียวกัน.
  2. อัญ, อัญญะ : [อันยะ] ว. อื่น, ต่างไป, แปลกไป. (ป. อญฺ?; ส. อนฺย).
  3. อัตตาธิปไตย : [ทิปะไต, ทิบปะไต] น. การถือตนเองเป็นใหญ่. (ป. อตฺตาธิปเตยฺย); ระบอบการปกครองที่ผู้นํามีอํานาจเด็ดขาด และไม่จํากัด. (อ. autocracy).
  4. อันตราย : [อันตะราย] น. เหตุที่อาจทําให้ถึงแก่ความตายหรือพินาศ. (ป., ส. อนฺตราย ว่า อุปสรรคหรือภัยอันมาในระหว่าง).
  5. อันวย, อันวัย : [อันวะยะ] น. การเป็นไปตาม, การอนุโลมตาม, เช่น อันวยาเนกรรถประโยค. (ป.).
  6. อัประไมย : [อับปฺระไม] ว. นับไม่ได้, ไม่จํากัด, มากมาย, อประไมย ก็ว่า. (ส. อปฺรเมย; ป. อปฺปเมยฺย).
  7. อัพภาส : [อับพาด] น. คําซํ้า, ในไวยากรณ์บาลีและสันสกฤต หมายเอา การซ้อน หรือซํ้าอักษรลงหน้าศัพท์ เช่น ชวาล (เรือง) เป็น ชัชวาล (รุ่งเรือง), ใน ภาษาไทยก็ใช้ เช่น ครื้น ครึก ยิ้ม แย้ม ใช้ อัพภาส เป็น คะครื้น คะครึก ยะยิ้ม ยะแย้ม. (ป.; ส. อภฺยาส).
  8. อัยการ : [ไอยะ] น. การของเจ้า; (โบ) ตัวบทกฎหมาย เรียกว่า พระอัยการ; (กฎ) ชื่อสำนักงานที่มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการดำเนินคดีอาญา ทั้งปวง ดำเนินคดีแพ่งและให้คำปรึกษาด้านกฎหมายแก่รัฐบาล และหน่วยงานของรัฐ คุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน และอำนาจหน้าที่ตามที่กำหนดไว้ในกฎหมาย เรียกว่า สำนักงาน อัยการสูงสุด, เดิมเรียกว่า กรมอัยการ, ถ้าหมายถึงเจ้าพนักงาน ผู้ปฏิบัติหน้าที่ในฐานะทนายแผ่นดินเพื่ออำนวยความยุติธรรม รักษาผลประโยชน์ของรัฐ และคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของ ประชาชน เรียกว่า พนักงานอัยการ หรือ ข้าราชการอัยการ, เจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่ฟ้องผู้ต้องหาต่อศาล ทั้งนี้ จะเป็นข้าราชการ ในสำนักงานอัยการสูงสุดหรือเจ้าพนักงานอื่นผู้มีอำนาจเช่นนั้น ก็ได้, โบราณเรียกว่า พนักงานรักษาพระอัยการ ยกกระบัตร หรือ ยกบัตร.
  9. อาครหายณี : [อาคฺระหายะนี] น. ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์มฤคศิระ มี ๓ ดวง, ดาวหัวเต่า ดาวหัวเนื้อ ดาวศีรษะเนื้อ ดาวศีรษะโค ดาวมฤคเศียร ดาวมฤคศิรัส หรือ ดาวมิคสิระ ก็เรียก. (ส.).
  10. อาชาไนย : ว. กําเนิดดี, พันธุ์หรือตระกูลดี; รู้รวดเร็ว, ฝึกหัดมาดีแล้ว, ถ้าเป็น ม้าที่ฝึกหัดมาดีแล้ว เรียก ม้าอาชาไนย, ถ้าเป็นคนที่ฝึกหัดมาดีแล้ว เรียกว่า บุรุษอาชาไนย. (ป. อาชาเนยฺย; ส. อาชาเนย).
  11. อาน ๖ : [อานะ] น. ลมหายใจเข้า, นิยมใช้เข้าคู่กับ อปานะ คือ ลมหายใจ ออก เป็น อานาปานะ = ลมหายใจเข้าและลมหายใจออก ในคําว่า อานาปานัสสติ = สติที่กําหนดลมหายใจเข้าและลมหายใจออก. (ป., ส.).
  12. อานาปานัสสติ : [นัดสะติ] น. สติที่กําหนดลมหายใจเข้าและ ลมหายใจออก.
  13. อาบัติ : น. โทษที่เกิดจากการล่วงละเมิดสิกขาบทหรือข้อห้ามแห่งภิกษุ มีโทษ ๓ สถาน คือ ๑. โทษสถานหนัก เรียกว่า ครุโทษ หรือ มหันตโทษ ทําให้ภิกษุผู้ต้องอาบัติขาดจากความเป็นภิกษุ ได้แก่ อาบัติปาราชิก ซึ่งเรียกว่า ครุกาบัติ ๒. โทษสถานกลาง เรียกว่า มัชฌิมโทษ ทําให้ภิกษุผู้ต้องอาบัติต้องอยู่กรรมก่อนจึงจะพ้นโทษ ได้แก่ อาบัติสังฆาทิเสส และ ๓. โทษสถานเบา เรียกว่า ลหุโทษ ทําให้ภิกษุผู้ต้องอาบัติที่ตํ่ากว่าอาบัติสังฆาทิเสสต้องปลงอาบัติ คือ บอกอาบัติของตนแก่ภิกษุด้วยกัน ได้แก่ อาบัติถุลลัจจัย ปาจิตตีย์ ปาฏิเทสนียะ ทุกกฏ และทุพภาษิต ซึ่งเรียกว่า ลหุกาบัติ. (ป., ส. อาปตฺติ).
  14. อารย, อารยะ : [อาระยะ] ว. เจริญ. (ส.; ป. อริย).
  15. อารัญญิก, อารัณยกะ ๑ : [รันยิก, รันยะกะ] ว. เกี่ยวกับป่า, เกิดในป่า, มีในป่า. (ป. อาร?ฺ??ก; ส. อารณฺยก).
  16. อารัณยกะ ๒ : [รันยะกะ] น. ชื่อคัมภีร์ศาสนาพราหมณ์คู่กับคัมภีร์พราหมณะ สำหรับผู้ที่สละทางโลกเข้ามาปฏิบัติธรรมในป่า ลักษณะเนื้อหา ไม่แตกต่างกับคัมภีร์พราหมณะมากนัก.
  17. อำมาตย, อำมาตย์ : [อำหฺมาดตะยะ, อำหฺมาด] น. ข้าราชการ, ข้าเฝ้า; ที่ปรึกษา; แผลงมาจาก อมาตย์. (ส. อมาตฺย; ป. อมจฺจ).
  18. อินทรีย, อินทรีย์ : [ซียะ, ซี] น. ร่างกายและจิตใจ เช่น สํารวมอินทรีย์; สติปัญญา เช่น อินทรีย์แก่กล้า; สิ่งมีชีวิต. (ป., ส. อินฺทฺริย).
  19. อิสริย, อิสริยะ : [อิดสะริยะ] น. ความเป็นใหญ่, ความเป็นเจ้า, ความยิ่งใหญ่. (ป. อิสฺสริย; ส. ไอศฺวรฺย).
  20. อีล่อยป่อยแอ : (โบ) ว. ชักช้า, อืดอาด, อีล่อยป้อยแอ ก็ว่า.
  21. อุทิศ : ก. ให้, ยกให้, เช่น อุทิศส่วนบุญให้แก่ผู้ตายตามประเพณี; ทําเพื่อ, สละให้โดยเจาะจง. (ส. อุทฺทิศฺย; ป. อุทฺทิสฺส ว่า เจาะจง).
  22. อุปไมย : [อุปะไม, อุบปะไม] น. สิ่งหรือข้อความที่พึงเปรียบเทียบกับสิ่งอื่น เพื่อให้เข้าใจแจ่มแจ้ง, คู่กับ อุปมา. (ป. อุปเมยฺย).
  23. อุปเวท : [อุปะเวด, อุบปะเวด] น. คัมภีร์ ''พระเวทรอง'' ของอินเดียโบราณ เนื้อหามีลักษณะเป็นวิทยาการ ไม่นับว่าเป็นคัมภีร์ศาสนา ได้แก่ อายุรเวท (วิชาแพทย์ ถือว่าเป็นสาขาของคัมภีร์อถรรพเวทหรือ อาถรรพเวท) ธนุรเวท (วิชายิงธนูและการใช้อาวุธอื่น ถือว่าเป็น สาขาของคัมภีร์ยชุรเวท) คันธรรพเวทหรือคานธรรพเวท (วิชา การดนตรี ถือว่าเป็นสาขาของคัมภีร์สามเวท) และสถาปัตยเวท (วิชาการก่อสร้าง ไม่ระบุว่าเป็นสาขาของคัมภีร์พระเวทใด). (ส.).
  24. อุปัชฌายวัตร : [อุปัดชายะวัด, อุบปัดชายะวัด] น. กิจที่สัทธิงวิหาริก จะต้องปฏิบัติต่ออุปัชฌาย์ของตน. (ป. อุปชฺฌายวตฺต).
  25. อุปัชฌาย, อุปัชฌาย์, อุปัชฌายะ : [อุปัดชายะ, อุบปัดชายะ, อุปัดชา, อุบปัดชา] น. พระเถระผู้เป็น ประธานการบวชกุลบุตรในพระพุทธศาสนา. (ป.; ส. อุปาธฺยาย).
  26. อุปัทวันตราย : [อุปัดทะวันตะราย, อุบปัดทะวันตะราย] น. สิ่ง อุบาทว์และอันตราย. (ป. อุปทฺทว + อนฺตราย).
  27. เอาทารย์ : [ทาน] น. ความมีใจโอบอ้อม, ความเป็นคนใจบุญ, ความเผื่อแผ่. (ส. เอาทารฺย).
  28. โอษฐชะ : (ไว) น. อักษรในภาษาบาลีและสันสกฤตที่มีเสียงเกิดจาก ริมฝีปาก ได้แก่พยัญชนะวรรค ป คือ ป ผ พ ภ ม และอักษร ว กับ สระอุ อู. (ป. โอฏฺ?ช; ส. โอษฺ?ฺย).
  29. ไอศุริย : [ริยะ] น. ไอศวรรย์.
  30. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | [1301-1330]

(0.1019 sec)