Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ยา , then , ยะ, ยา .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ยา, 1330 found, display 751-800
  1. สะเดา : น. ชื่อไม้ต้นชนิด Azadirachta indica Juss. var. siamensis Valeton ในวงศ์ Meliaceae ใบมีรสขม ใบอ่อนและช่อดอกกินได้และใช้ทํายาได้. สะเดาอินเดีย น. ชื่อไม้ต้นชนิด Azadirachta indica Juss. var. indica Juss. ในวงศ์ Meliaceae ใบมีรสขม ใบอ่อนและช่อดอกกินได้และ ใช้ทํายาได้, ชาวบ้านเข้าใจว่าเป็นชนิดเดียวกับต้นซิงโคนาที่ใช้เปลือก สกัดเป็นยาควินิน.
  2. สะตือ ๑ : น. ชื่อไม้ต้นชนิด Crudia chrysantha Schum. ในวงศ์ Leguminosae ฝักแบนกลม ใช้ทํายาได้.
  3. สะบ้า : น. ชื่อไม้เถาชนิด Entada rheedii Spreng. ในวงศ์ Leguminosae ฝักมีเมล็ดกลมแบนแข็ง เรียกว่า ลูกสะบ้า ใช้ขัดสมุดไทยและทํายาได้, สะบ้ามอญ ก็เรียก; ชื่อการเล่นชนิดหนึ่ง ใช้ลูกสะบ้าหรือของกลม ๆ อย่างงบนํ้าอ้อยล้อหรือทอยเป็นต้น.
  4. สัก ๑ : น. ชื่อไม้ต้นชนิด Tectona grandis L.f. ในวงศ์ Labiatae เนื้อไม้แข็ง และคงทน ปลวกไม่กิน เหมาะแก่การสร้างบ้านและทําเครื่องเรือน ใบและเนื้อไม้ใช้ทํายาได้. สักขี้ไก่ (ถิ่นพายัพ) น. ต้นกะเปียด. (ดู กะเปียด).
  5. สักขี ๒ : น. ชื่อไม้เถาเนื้อแข็งชนิด Dalbergia candenatensis Prain ในวงศ์ Leguminosae แก่นแดง มีเสี้ยนดํา ใช้ทํายาได้, กรักขี หรือ ขรี ก็เรียก.
  6. สังกรณี : [กะระนี, กอระนี] น. ชื่อไม้พุ่มชนิด Barleria strigosa Willd. ในวงศ์ Acanthaceae ดอกสีฟ้า รากใช้ทํายาได้.
  7. สังขยา : [ขะหฺยา] น. การนับ, การคํานวณ. (ป. สงฺขฺยา; ส. สํขฺยา).
  8. สังขยา : [ขะหฺยา] น. ชื่อขนมชนิดหนึ่ง โดยมากทําด้วยไข่ขาว นํ้าตาล และ กะทิ, ถ้าทำเป็นหน้าข้าวเหนียวไม่ใส่กะทิ; ขนมชนิดหนึ่ง ทำด้วยไข่ น้ำตาลทราย กะทิหรือนมข้น บางทีมีน้ำใบเตยเล็กน้อย กวนในกระทะ กินกับขนมปัง.
  9. สัญฌา : น. เวลาเย็น. (ป.; ส. สนฺธฺยา).
  10. สันพร้าหอม : น. ชื่อไม้พุ่มชนิด Eupatorium stoechadosmum Hance ในวงศ์ Compositae ใช้ทํายาได้.
  11. หญ้าขัด : น. ชื่อไม้พุ่มหลายชนิดในสกุล Sida วงศ์ Malvaceae ดอกสีเหลือง เช่น ชนิด S. rhombifolia L. ใช้ทํายาได้, ขัดมอน คัดมอน หรือ ยุงปัดแม่ม่าย ก็เรียก.
  12. หญ้าใต้ใบ : น. ชื่อไม้ล้มลุก ๒ ชนิดในสกุล Phyllanthus วงศ์ Euphorbiaceae คือ ชนิด P. amarus Schum. et Thonn. ทั้งต้นรสขม ใบมีนวล ผลเกลี้ยง และชนิด P. urinaria L. ใบอ่อนสีแดง ๆ ผลขรุขระทั้ง ๒ ชนิด ใช้ทํายาได้.
  13. หญ้าถอดปล้อง : น. ชื่อเฟินชนิด Equisetum debile Roxb. ex Vauch. ในวงศ์ Equisetaceae ลําต้นเป็นปล้อง ๆ มักขึ้นตามรอยแตกของกําแพง ใช้ทํายาได้.
  14. หญ้าบัว : น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Xyris indica L. ในวงศ์ Xyridaceae ขึ้นตามทุ่งนาและ ที่ลุ่ม ดอกสีเหลือง ใช้ทํายาได้.
  15. หญ้าฝรั่น : [-ฝะหฺรั่น] น. ชื่อเรียกยอดเกสรเพศเมียแห้งของไม้ล้มลุกมีหัวชนิด Crocus sativus L. ในวงศ์ Iridaceae ใช้ทํายาและเครื่องหอม. (อาหรับ za'faran; อ. saffron).
  16. หญ้าพันงู : น. ชื่อไม้ล้มลุก ๒ ชนิดในวงศ์ Amaranthaceae ดอกมีกลีบรองแข็ง คล้ายหนาม ใช้ทํายาได้ คือ หญ้าพันงูขาว (Achyranthes aspera L.) ลําต้นตั้ง ใบสีเขียว และ หญ้าพันงูแดง [Cyathula prostrata (L.) Blume] กิ่งทอดราบไปตามพื้นดิน ใบสีแดง ๆ.
  17. หญ้าแพรก : [-แพฺรก] น. ชื่อหญ้าชนิด Cynodon dactylon (L.) Pers. ในวงศ์ Gramineae ใช้ในพิธีไหว้ครูและใช้ทำยาได้; (สํา) สามัญชน ในความว่า ช้างสารชนกัน หญ้าแพรกก็แหลกลาญ.
  18. หญ้ารากขาว : น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Knoxia brachycarpa R. Br. ในวงศ์ Rubiaceae ดอกเล็ก สีชมพู ใช้ทํายาได้.
  19. หนอนตายหยา : น. (๑) ชื่อพรรณไม้ ๒ ชนิดในสกุล Stemona วงศ์ Stemonaceae ชนิด S. collinsae Craib เป็นไม้เถาล้มลุก, กะเพียดช้าง หรือ ปงช้าง ก็เรียก; ชนิด S. tuberosa Lour. เป็นไม้ล้มลุก ต้นตั้งตรง ขึ้นเป็นกอเตี้ย, กะเพียด หรือ กะเพียดหนู ก็เรียก, ทั้ง ๒ ชนิดนี้มีรากอวบคล้ายรากกระชาย ใช้ เป็นยาฆ่าแมลงและทํายาพอกแผลกําจัดหนอน. (๒) ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Clitoria macrophylla Wall. ในวงศ์ Leguminosae รากคล้าย ๒ ชนิด แรกแต่โตกว่า ดอกสีขาว, อัญชันป่า ก็เรียก.
  20. หน้าฉาก : (สํา) ว. ที่แสดงให้ปรากฏเปิดเผย เช่น ฐานะหน้าฉากของเขา เป็นนักธุรกิจที่มีชื่อเสียง แต่ความจริงค้าขายยาเสพติด, ตรงข้ามกับ หลังฉาก. น. ความเป็นไปหรือพฤติกรรมที่เปิดเผย, ตรงข้ามกับ หลังฉาก.
  21. หนาด : น. ชื่อไม้พุ่มชนิด Blumea balsamifera (L.) DC. ในวงศ์ Compositae ใบใหญ่มีขน กลิ่นฉุน ใช้ทํายาได้ เชื่อกันว่าผีกลัว.
  22. หนามขี้แรด : น. ชื่อไม้เถาเนื้อแข็งชนิด Acacia pennata Willd. ในวงศ์ Leguminosae ต้นมีหนาม เปลือกใช้ย้อมแหอวนและใช้ทํายาได้.
  23. หนามแดง : น. (๑) ชื่อไม้เถาเนื้อแข็งชนิด Maytenus marcanii Ding Hou ในวงศ์ Celastraceae ใช้ทํายาได้. (๒) ชื่อไม้พุ่มชนิด Carissa carandas L. ในวงศ์ Apocynaceae ดอกสีขาว หลอดดอกสีชมพู กลิ่นหอม ผลสีขาว สุกสีแดง คล้ำ กินได้, มะนาวไม่รู้โห่ ก็เรียก.
  24. หม่อง : น. คํานําหน้าชื่อผู้ชายพม่า (พม่า หม่อง ว่า น้อง); เรียกยาขี้ผึ้งชนิดหนึ่ง ใช้ทา นวด เป็นต้น ว่า ยาหม่อง.
  25. หมอน้อย ๒ : น. ชื่อไม้พุ่มชนิด Murraya koenigii (L.) Spreng. ในวงศ์ Rutaceae ใบมี ขนนุ่ม ใช้ทํายาได้.
  26. หมอพัดโตนด : [-ตะโหฺนด] น. หมอรักษาโรคช้างในทางยา.
  27. หม้อหนู : น. หม้อดินขนาดเล็กสำหรับต้มน้ำกระสายยาเป็นต้น.
  28. หมากผู้หมากเมีย : น. ชื่อไม้พุ่มชนิด Cordyline fruticosa (L.) Goeppert ในวงศ์ Agavaceae ใช้ทํายาได้, พันธุ์ใบแคบเรียก หมากผู้, พันธุ์ใบกว้างเรียก หมากเมีย.
  29. หมากหอมควาย : น. ชื่อต้นไม้ชนิดหนึ่งใช้ทํายา. (พจน. ๒๔๙๓).
  30. หมาไม้ : น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิด Martes flavigula ในวงศ์ Mustelidae หัวคล้ายหมา ใบหูกลม ขอบหูขาว ลําตัวยาวสีนํ้าตาลอ่อน หางยาว ขนที่คาง ลําคอ และหน้าอกสีเหลือง ขนด้านบนของหัวสีดํา เล็บ แหลมคม กินผลไม้และเนื้อสัตว์ ว่องไวมาก กลิ่นแรง อาศัยอยู่บน ต้นไม้เป็นส่วนใหญ่.
  31. หมายยา : น. ฉลากยา.
  32. หยักเหยา : [หฺยักเหฺยา] ก. จู้จี้, รบกวน.
  33. หยูกยา : (ปาก) น. ยารักษาโรค.
  34. หลวงจีน : น. ชื่อสมณศักดิ์พระสงฆ์จีนตั้งแต่ระดับพระคณานุกรมของ เจ้าคณะใหญ่และรองเจ้าคณะใหญ่ จนถึงผู้ช่วยเจ้าคณะใหญ่ เช่น หลวงจีนวินยานุกร หลวงจีนคณาณัติจีนพรต หลวงจีนใบฎีกา.
  35. หลอด ๑ : [หฺลอด] น. ของกลมยาวขนาดเล็กที่มีรูตลอด เช่น หลอดกาแฟ หลอดแก้ว, โดยปริยายเรียกสิ่งของบางอย่างที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น หลอด ตะเกียง หลอดไฟฟ้า หลอดวิทยุ หลอดนีออน หลอดทดลอง, เรียกแกน ที่มีช่วงกลางคอดคล้ายลูกล้อสำหรับพันด้ายว่า หลอดด้าย, เรียกด้ายที่พัน หลอดเช่นนั้นว่า ด้ายหลอด, ลักษณนามเรียกสิ่งที่มีลักษณะเช่นนั้น เช่น ยาฉีด ๓ หลอด.
  36. หลาหละ : [หะลาหะละ] น. ยาพิษ. ว. ร้ายแรง, กล้าแข็งมาก, เข้มแข็ง. (ป.).
  37. หวาย : น. (๑) ชื่อเรียกปาล์มหลายชนิดหลายสกุลในวงศ์ Palmae ขึ้นเป็นกอ ลําผิวต้นยาวทอดเลื้อย เกลี้ยงเหนียว กาบและก้านใบมีหนาม เช่น หวายตะค้าทอง (Calamus caesius Blume), หวายขม (C. viminalis Willd.) หัวใช้ทํายาได้, หวายนํ้า (Daemonorops angustifolia Mart.). (๒) ชื่อกล้วยไม้ในสกุล Dendrobium วงศ์ Orchidaceae เช่น หวายตะมอย.
  38. หวายตะมอย : น. (๑) ชื่อกล้วยไม้ชนิด Dendrobium crumenatum Sw. ในวงศ์ Orchidaceae ดอกสีขาว หอม ใช้ทํายาได้. (๒) ดู ตะเข็บ.
  39. หอมแดง : น. ชื่อไม้ล้มลุกมีหัวชนิด Eleutherine bulbosa (Miller) Urban ในวงศ์ Iridaceae ใบแบนคล้ายใบหมากแรกเกิด ดอกสีขาวนวล หัวสีแดงเข้ม รสขมเผ็ดซ่า ใช้ทํายาได้.
  40. หัว ๑ : น. ส่วนบนสุดของร่างกายของคนหรือสัตว์; ส่วนของพืชพันธุ์บางอย่าง ตอนที่อยู่ใต้ดิน เช่น หัวหอม หัวผักกาด, ส่วนที่อยู่ใต้ดินของพืชบางชนิด เป็นที่เกิดต้นอ่อน; ส่วนเริ่มต้นที่เป็นวงของตัวหนังสือ; ส่วนแห่งสิ่งของ บางอย่างที่อยู่ข้างหน้า หรือข้างต้น หรือแรกเริ่ม เรียกว่าหัวของสิ่งนั้น ๆ เช่น หัวเรือ หัวถนน หัวที; ช่วงแรกเริ่มของเวลา เช่น หัวปี หัววัน หัวคํ่า หัวดึก; ส่วนแห่งสิ่งของที่เป็นยอด เช่น หัวฝี, ส่วนแห่งสิ่งของที่ยื่นเด่น ออกไป เช่น หัวแหลม หัวสะพาน; ในการเล่นปั่นแปะหรือโยนหัว โยนก้อย เรียกสมมุติด้านหนึ่งของเงินปลีกว่า ด้านหัว คู่กับ ด้านก้อย; ส่วนที่ตรงข้ามกับหางหรือท้าย เช่น หัวแถวหางแถว หัวเรือ, ส่วนที่ ตรงข้ามกับ ก้น ในความว่า หัวหวานก้นเปรี้ยว; ส่วนที่เป็นแก่นสาร เช่น หัวยา หัวเหล้า.
  41. หาก : ก. โบราณใช้เป็นกริยาช่วยหมายความว่า พึง, ควร, เช่น ''อันไตรโลกย์ หากบูชา'' = อันไตรโลกย์พึงบูชา. ว. จาก, แยกออกไปอีกส่วนหนึ่ง, เช่น ออกหาก ต่างหาก. สัน. ถ้า, แม้, เช่น หากเธอมาฉันก็จะรอ; เผอิญ เช่น หากอักนิฏฐ์พรหมฉ้วย พี่ไว้จึงคง. (ตำนานเรื่องศรีปราชญ์), หากเดช พระจอมจุมพลป้องบไภยันต์. (บุณโณวาท).
  42. หางกราย : น. ชื่อต้นไม้ชนิดหนึ่งใช้ทํายา. (พจน. ๒๔๙๓)
  43. หางจระเข้ : น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Aloe vera (L.) Burm.f. ในวงศ์ Liliaceae ใบเป็น ทางยาวอวบนํ้าขอบใบจัก ปลายใบแหลมคล้ายหางจระเข้ มียางและ เมือกจากวุ้นใช้ทํายาได้.
  44. หางไหล ๒ : น. ชื่อไม้เถาชนิด Millettia racemosa Benth. ในวงศ์ Leguminosae ใช้ทํา ยาได้.
  45. หางไหลแดง : น. ชื่อไม้เถาชนิด Derris elliptica (Roxb.) Benth. ในวงศ์ Leguminosae รากใช้เบื่อปลาและทํายาฆ่าแมลง, ไหลนํ้า หรือ โล่ติ๊น ก็เรียก.
  46. หางไหลเผือก : น. ชื่อต้นไม้ชนิดหนึ่งใช้ทํายา. (พจน. ๒๔๙๓).
  47. หามรอก : น. ชื่อต้นไม้ชนิด Miliusa velutina Hook.f. et Thomson ในวงศ์ Annonaceae ใบป้อม ขนนุ่ม ดอกสีเขียวอ่อน ผลเป็นพวง ทุกส่วนใช้ทำยา.
  48. หุง : ก. ทําให้สิ่งใดสิ่งหนึ่งสุกด้วยวิธีต้มหรือเคี่ยวเป็นต้น เช่น หุงข้าว หุงยา, ใช้ความร้อนสูงทําให้สีของผิวสิ่งของบางชนิดเปลี่ยนไป เช่น หุงพลอย.
  49. เหมวดี : [เหมะวะดี] น. ขัณฑสกร มีลักษณะคล้ายนํ้าตาลกรวด รสหวาน ใช้ทํา ยาไทย.
  50. เหมือดคน : น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางหลายชนิดในสกุล Helicia วงศ์ Proteaceae บางชนิดใช้ทํายาได้ เช่น ชนิด H. robusta R. Br. ex Wall.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | [751-800] | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1330

(0.1046 sec)