Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ยา , then , ยะ, ยา .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ยา, 1330 found, display 901-950
  1. ชีวันตราย : ดู ชีว, ชีวะ.
  2. ชีวันตราย : น. อันตรายต่อชีวิต, อันตรายถึงตาย. (ป., ส.).
  3. ถึงชีวิตันตราย : ก. ประสบอันตรายถึงตาย.
  4. นิรันตราย : ดู นิร.
  5. นิรันตราย : [รันตะราย] (แบบ) ว. ปราศจากอันตราย. (ป.).
  6. บำโบ, บำโบย, บำโบล : ก. ลูบไล้. (อนันตวิภาค).
  7. โป๊ะจ้าย : น. เรือลําเลียงหรือบรรทุกของชนิดหนึ่ง เป็นเรือขนาดใหญ่ ต่อ อย่างแบบตะวันตก แต่มีเสาเพลาใบเป็นอย่างสําเภา, เรือโป๊ะ ก็เรียก.
  8. โพธิปักขิยธรรม : น. ธรรมเป็นไปในฝักฝ่ายแห่งความตรัสรู้, ธรรม เกื้อกูลแก่ความตรัสรู้มี ๓๗ ประการ. (ป. โพธิปกฺขิยธมฺม).
  9. โภชนียะ : (แบบ) น. อาหารควรบริโภค. (ป., ส.).
  10. โภชนียะ : ดู โภชน–, โภชนะ.
  11. ย่ะ : ว. คํารับ (ถือเป็นคําไม่สุภาพ).
  12. ยี่ ๑ : ว. สอง ในคำว่า ยี่สิบ, ที่สอง เช่น เดือนยี่ (คือ เดือนที่ ๒ นับทางจันทรคติ), โบราณใช้ว่า ญี่ ก็มี.
  13. ยี่ ๒ : (ถิ่นพายัพ) น. ปีขาล.
  14. ยู่ : ก. บู้, ย่น, เยิน, เช่น ฟันต้นไม้เสียมีดยู่ คมมีดยู่.
  15. เย็นยะเยือก : ว. อาการที่รู้สึกหนาวสะท้านถึงขั้วหัวใจ, เย็นเยือก หรือ เยือกเย็น ก็ว่า.
  16. แย่ : ก. แบะขาและย่อลง, ย่อลง. ว. เต็มที, หนัก, เช่น ปลายเดือนการเงินแย่ อาการไข้แย่เพียบลงทุกวัน.
  17. ไย่ : ว. ฟางตา.
  18. ราชสูยะ : น. พิธีราชาภิเษกของอินเดียโบราณ. (ส.).
  19. เรือโป๊ะจ้าย : น. เรือลำเลียงหรือบรรทุกของชนิดหนึ่ง เป็นเรือขนาดใหญ่ ต่ออย่างแบบตะวันตก แต่มีเสาเพลาใบเป็นอย่างสำเภา, เรือโป๊ะ ก็เรียก.
  20. ล่อย ๆ : ว. พล่อย ๆ.
  21. วาจาไปยะ : (แบบ) น. คําอ่อนหวาน. (ป. วาจาเปยฺย, วาชเปยฺย).
  22. วาชเปยะ : [วาชะ] น. การดื่มเพื่อพลัง; ชื่อพิธีบูชาอย่างหนึ่งในอินเดีย โบราณที่จัดทำสำหรับบุคคลในวรรณะกษัตริย์และวรรณะ พราหมณ์. (ส.).
  23. เววัณณิยะ : ต่างกับเพศคฤหัสถ์. (ป.).
  24. เวฬุริยะ : น. แก้วไพฑูรย์. (ป.; ส. ไวฑูรฺย).
  25. โศจนียะ : [จะ] ว. อันน่าโศก, น่าเศร้าใจ. (ส.).
  26. สัชฌายะ : ก. สังวัธยาย. (ป.; ส. สฺวาธฺยาย).
  27. หนามเขียะ : (ถิ่น-พายัพ) น. ต้นกระบองเพชร. (ดู กระบองเพชร๒).
  28. หรอย ๆ : ว. ต้อย ๆ, หย็อย ๆ, (ใช้แก่กิริยาที่เด็กวิ่ง).
  29. หะหาย, หะห้าย : ว. เสียงเยาะ เช่น หะหายกระต่ายเต้น ชมแข. (ตำนานเรื่องศรีปราชญ์).
  30. หัมมียะ : [หํา-] น. เรือนแบบหนึ่ง. (ป.; ส. หรฺมฺย).
  31. ห่าย : (ถิ่น-พายัพ) น. ข่าย.
  32. อุทริยะ :
  33. ขัตติย- : [-ยะ-] น. พระเจ้าแผ่นดิน. (ป.).
  34. ไปย- : [-ยะ-] น. เครื่องดื่ม. (ป. เปยฺย).
  35. วายสะ : [ยะ] น. กา. (ป., ส.).
  36. ไอยรา : [ยะ] (กลอน) น. ช้าง.
  37. เกย ๑ : น. เรียกคำหรือพยางค์ที่มีตัว ย สะกด ว่า แม่เกย หรือ มาตราเกย.
  38. คชนาม : น. นามราหู, อักษรชื่อที่ขึ้นต้นด้วย ย ร ล ว.
  39. คณ-, คณะ : [คะนะ-] น. หมู่, พวก, (ซึ่งแยกมาจากส่วนใหญ่); กลุ่มคนผู้ร่วมกันเพื่อ การอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น คณะกรรมการ คณะสงฆ์ คณะนักท่องเที่ยว; หน่วยงานในมหาวิทยาลัยหรือสถาบันที่เทียบเท่า ซึ่งรวมภาควิชาต่าง ๆ ที่จัดการเรียนการสอนวิชาในสายเดียวกัน เช่น คณะนิติศาสตร์ คณะ อักษรศาสตร์; กลุ่มคำที่จัดให้มีลักษณะเป็นไปตามแบบรูปของร้อยกรอง แต่ละประเภท ประกอบด้วยบท บาท วรรค และคำ ตามจำนวนที่กำหนด, หลักเกณฑ์ที่ใช้ในการแต่งฉันท์วรรณพฤติ มี ๘ คณะ คือ ช คณะ ต คณะ น คณะ ภ คณะ ม คณะ ย คณะ ร คณะ ส คณะแต่ละคณะมี ๓ คำ หรือ ๓ พยางค์ โดยถือครุและลหุเป็นหลัก. (ป., ส.).
  40. โฆษะ : ว. ก้อง, เสียงสระหรือพยัญชนะซึ่งขณะที่เปล่งออกมาเส้นเสียงสั่น ในภาษาไทยได้แก่เสียง บ ด เมื่อเป็นพยัญชนะต้น เสียง ง น ม ย ร ล ว และเสียงสระทุกเสียง, (ไว) เรียกพยัญชนะในภาษาบาลีและ สันสกฤตที่มีเสียงก้องว่า พยัญชนะโฆษะ ได้แก่ พยัญชนะตัวที่ ๓, ๔, ๕ ของวรรค และ ย ร ล ว ห ฬ. (ส.; ป. โฆส).
  41. มาตรา : [มาดตฺรา] น. หลักกําหนดการวัดขนาด จํานวน เวลา และมุม เช่น มาตราชั่ง ตวง วัด มาตราเมตริก; แม่บทแจกลูกพยัญชนะต้นกับสระ โดยไม่มีตัวสะกด เรียกว่า แม่ ก กา หรือ มาตรา ก กา, หลักเกณฑ์ที่ วางไว้เพื่อให้กำหนดได้ว่าคำที่มีพยัญชนะตัวใดบ้างเป็นตัวสะกด อยู่ในมาตราใดหรือแม่ใด คือ ถ้ามีตัว ก ข ค ฆ สะกด จัดอยู่ใน มาตรากกหรือแม่กก, ถ้ามีตัว ง สะกด จัดอยู่ในมาตรากงหรือ แม่กง, ถ้ามีตัว จ ฉ ช ซ ฌ ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ด ต ถ ท ธ ศ ษ ส สะกด จัดอยู่ในมาตรากดหรือแม่กด, ถ้ามีตัว ญ ณ น ร ล ฬ สะกด จัดอยู่ในมาตรากนหรือแม่กน, ถ้ามีตัว บ ป พ ฟ ภ สะกด จัดอยู่ ในมาตรากบหรือแม่กบ, ถ้ามีตัว ม สะกด จัดอยู่ในมาตรากม หรือแม่กม, ถ้ามีตัว ย สะกด จัดอยู่ในมาตราเกยหรือแม่เกย, ถ้ามีตัว ว สะกด จัดอยู่ในแม่เกอว; (กฎ) บทบัญญัติใน กฎหมายที่แบ่งออกเป็นข้อ ๆ โดยมีเลขกํากับเรียงตามลําดับ; (ฉันทลักษณ์) ระยะเวลาการออกเสียงสระสั้นยาว สระสั้น ๑ มาตรา สระยาว ๒ มาตรา.
  42. แม่ : น. หญิงผู้ให้กําเนิดหรือเลี้ยงดูลูก, คําที่ลูกเรียกหญิงผู้ให้กําเนิดหรือเลี้ยงดูตน; คําที่ผู้ใหญ่เรียกผู้หญิงที่มีอายุน้อยกว่าด้วยความสนิทสนมหรือรักใคร่เป็นต้นว่า แม่นั่น แม่นี่; คําใช้นําหน้านามเพศหญิง แปลว่า ผู้เป็นหัวหน้า เช่น แม่บ้าน; ผู้หญิงที่กระทํากิจการหรืองานอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ค้าขาย เรียกว่า แม่ค้า ทําครัว เรียกว่า แม่ครัว; เรียกสัตว์ตัวเมียที่มีลูก เช่น แม่ม้า แม่วัว; เรียกคน ผู้เป็นหัวหน้าหรือเป็นนายโดยไม่จํากัดว่าเป็นชายหรือหญิง เช่น แม่ทัพ แม่กอง; คํายกย่องเทวดาผู้หญิงบางพวก เช่น แม่คงคา แม่ธรณี แม่โพสพ, บางทีก็ใช้ว่า เจ้าแม่ เช่น เจ้าแม่กาลี; เรียกสิ่งที่เป็นประธานของสิ่งต่าง ๆ ในพวกเดียวกัน เช่น แม่กระได แม่แคร่ แม่แบบ; เรียกชิ้นใหญ่กว่าในจําพวกสิ่งที่สําหรับกัน เช่น แม่กุญแจ คู่กับ ลูกกุญแจ; แม่นํ้า เช่น แม่ปิง แม่วัง; คําหรือพยางค์ที่มีแต่สระ ไม่มีตัวสะกด เรียกว่า แม่ ก กา, คําหรือพยางค์ที่มีตัว ก ข ค ฆ สะกด เรียกว่า แม่กก, คําหรือพยางค์ที่มีตัว ง สะกด เรียกว่า แม่กง, คําหรือพยางค์ที่มีตัว จ ฉ ช ซ ฌ ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ด ต ถ ท ธ ศ ษ ส สะกด เรียกว่า แม่กด, คําหรือพยางค์ ที่มีตัว ญ ณ น ร ล ฬ สะกด เรียกว่า แม่กน, คําหรือพยางค์ที่มีตัว ม สะกด เรียกว่า แม่กม, คําหรือพยางค์ที่มีตัว ย สะกด เรียกว่า แม่เกย แต่ในมูลบทบรรพกิจมี ย ว อ สะกด, คําหรือพยางค์ที่มีตัว ว สะกด เรียกว่า แม่เกอว.
  43. เศษวรรค : [เสสะวัก, เสดวัก] น. พยัญชนะที่เหลือวรรคหรือที่ เข้าอยู่ในวรรคทั้ง ๕ ไม่ได้ มี ๑๐ ตัว คือ ย ร ล ว ศ ษ ส ห ฬ ?, อวรรค ก็เรียก.
  44. ษัฑ : ว. หก. (ใช้ในคําสมาส เมื่อนําหน้าพยัญชนะพวกโฆษะ เว้นจาก ณ ม ย). (ส.; ป. ฉ).
  45. ษัณ : ว. หก. (ใช้ในคําสมาส เมื่อนําหน้าตัว ณ ม ย). (ส.; ป. ฉ).
  46. อ ๑ : พยัญชนะตัวที่ ๔๓ เป็นพวกอักษรกลาง ใช้เป็นพยัญชนะตัวต้น ได้อย่างตัวอื่น ๆ เช่น อา อก องค์, ใช้นําพยัญชนะเดี่ยวได้อย่าง อักษรกลางอื่น ๆ เช่น อนึ่ง องุ่น แอร่ม, ใช้นําตัว ย ให้เป็นเสียง อักษรกลาง แต่นิยมใช้อยู่ ๔ คํา คือ อย่า อยู่ อย่าง อยาก, ใช้เป็น เครื่องหมายรูปสระ ออ เช่น กอ ขอ และ''ประสมกับเครื่องหมาย เป็นสระ เอือ เออ เช่น เถือ เธอ, ใช้เป็นตัวเคียงสระ อือ เช่น คือ มือ.
  47. อักษรต่ำ : [อักสอน] น. พยัญชนะที่คําเป็นมีพื้นเสียงเป็นเสียง สามัญ ผันได้ ๓ เสียง มี ๒ รูป คือ ผันด้วยวรรณยุกต์ ? เป็นเสียงโท ผันด้วยวรรณยุกต์ ?เป็นเสียงตรี เช่น คา ค่า ค้า คําตายสระสั้น พื้น เสียงเป็นเสียงตรี ผันด้วยวรรณยุกต์ ? เป็นเสียงโท ผันด้วยวรรณยุกต์ ? เป็นเสียงจัตวา เช่น คะ ค่ะ ค๋ะ คําตายสระยาว พื้นเสียงเป็นเสียงโท ผันด้วยวรรณยุกต์ ?เป็นเสียงตรี ผันด้วยวรรณยุกต์ ? เป็นเสียงจัตวา เช่น คาก ค้าก ค๋าก มี ๒๔ ตัว คือ ค ฅ ฆ ง ช ซ ฌ ญ ฑ ฒ ณ ท ธ น พ ฟ ภ ม ย ร ล ว ฬ ฮ.
  48. อาเทศ ๒ : [เทด] น. การแปลงหรือแผลงพยัญชนะและสระตามข้อบังคับแห่ง ไวยากรณ์บาลีและสันสกฤต เช่น สมบัติ + อภิบาล อาเทศสระอิ ที่ ติ เป็น ย แล้วสนธิกับ อภิบาล เป็น สมบัตยาภิบาล, ธนุ + อาคม อาเทศ สระอุ ที่ นุ เป็น ว แล้วสนธิกับ อาคม เป็น ธันวาคม, อธิ + อาสัย อาเทศอธิ เป็น อัชฌ แล้วสนธิกับ อาสัย เป็น อัชฌาสัย. (ส.; ป. อาเทส).
  49. ยกนะ : [ยะกะนะ] น. ตับ. (ป.; ส. ยกนฺ, ยกฺฤต).
  50. ยถากรรม : [ยะถากํา] ว. ตามบุญตามกรรม, ตามแต่จะเป็นไป. (ส.; ป. ยถากมฺม).
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | [901-950] | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1330

(0.1100 sec)