Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: อิริยาบถ , then อิริยาบถ, อิริยาปถ .

Eng-Thai Lexitron Dict : อิริยาบถ, 4 found, display 1-4
  1. bodily movement : (N) ; อิริยาบถ ; Related:กริยาท่าทาง
  2. gesture : (N) ; การแสดงท่าทาง ; Related:อิริยาบถ ; Syn:motion, sign, signal
  3. gesture : (VI) ; แสดงท่าทาง ; Related:ให้สัญญาณ, แสดงอิริยาบถ
  4. rest from : (PHRV) ; หยุดพัก ; Related:พักผ่อนอิริยาบถ

Thai-Eng Lexitron Dict : อิริยาบถ, 9 found, display 1-9
  1. อิริยาบถ : (N) ; manner ; Related:deportment, bodily movement ; Syn:ท่าทาง ; Def:อาการที่ร่างกายอยู่ในท่าใดท่าหนึ่ง คือ ยืน เดิน นั่ง นอน ; Samp:พระพุทธรูปองค์นี้สร้างขึ้นตามพุทธศิลปะแบบสุโขทัย ในอิริยาบถประทับยืน
  2. ท่วงท่า : (N) ; manner ; Related:attitude, posture, gesture, action, motion ; Syn:ท่วงที, ท่าทาง, ท่า, อิริยาบถ, อาการ, ทีท่า, กิริยาอาการ, ท่วงที, ลีลา ; Def:การรู้จักวางกิริยาท่าทาง ; Samp:ด้วยลักษณะนิสัย หรือท่วงท่าประจำตัวของบุคคล ก็จะบอกได้ว่า เขาเป็นคนเช่นไร ; Unit:ท่วงท่า
  3. ท่าทาง : (N) ; style ; Related:posture, gesture, action ; Syn:ลีลา, อิริยาบถ, อาการ, ทีท่า, ท่วงท่า, ท่า, ท่าที, การวางท่า ; Samp:สมชายเดินด้วยท่าทางมั่นใจ
  4. จัดท่า : (V) ; pose ; Syn:จัดท่าทาง, จัดท่าจัดทาง ; Def:กำหนดลักษณะท่าทางของร่างกายให้อยู่ในอิริยาบถต่างๆ ; Samp:ช่างกล้องจัดท่าให้นางแบบมือใหม่เสียนานก่อนจะเริ่มถ่ายได้
  5. ท่า 1 : (N) ; posture ; Related:pose, manner ; Syn:ท่าทาง, ท่วงท่า, อริยาบท, อาการ, ทีท่า, กิริยาอาการ, ท่าที, อากัปกิริยา ; Def:ลักษณะท่วงทีของร่างกายที่อยู่นิ่งๆ ในบางอิริยาบถ, การแสดงกิริยายกมือยกเท้าเป็นต้น ตามกำหนดเป็นวิธีไว้ ; Samp:เขานั่งอยู่ในท่านั้นเป็นเวลานาน ; Unit:ท่า
  6. ห้ามญาติ : (N) ; style of Buddha image ; Syn:ปางห้ามญาติ ; Def:พระพุทธรูปปางหนึ่ง อยู่ในพระอิริยาบถยืน พระหัตถ์ซ้ายห้อยลงข้างพระกาย พระหัตถ์ขวาแบตั้งขึ้นเสมอพระอุระ เป็นกิริยาห้าม ; Samp:พระปางห้ามญาติมีอยู่แทบทุกวัด
  7. ห้ามสมุทร : (N) ; style of Buddha image ; Syn:ปางห้ามสมุทร ; Def:พระพุทธรูปปางหนึ่ง อยู่ในพระอิริยาบถยืน พระหัตถ์ทั้ง 2 แบตั้งขึ้นเสมอพระอุระ เป็นกิริยาห้าม ; Samp:พระปางห้ามสมุทรก็พอหาดูได้
  8. ชัน 1 : (V) ; sit with one's knees up ; Def:ยกตั้งตรง เช่น ชันขา ชันเข่า ; Samp:เธอชันเข่าขึ้นนั่งอยู่ในท่านั่งอิริยาบถสบายๆ
  9. พระบรมศาสดา : (N) ; Lord Buddha ; Syn:พระพุทธเจ้า ; Samp:พระพุทธรูปปางรำพึง แสดงถึงรูปลักษณ์ของพระบรมศาสดา ในอิริยาบถประทับพระหัตถ์ทั้งสองประสานพระอุระ ; Unit:พระองค์

Royal Institute Thai-Thai Dict : อิริยาบถ, more than 5 found, display 1-5
  1. อิริยาบถ : น. อาการที่ร่างกายอยู่ในท่าใดท่าหนึ่ง คือ ยืน เดิน นั่ง นอน. (ป.).
  2. กก ๔ : ก. แนบไว้กับอก โดยปรกติเป็นอิริยาบถนอน เช่น กกกอด กกไข่ กกลูก, โดยปริยายหมายความว่า เก็บนิ่งไว้นานเกินควร เช่น เอา เรื่องไปกกไว้.
  3. ขัดสมาธิ : [ขัดสะหฺมาด] ว. นั่งคู้เข่าทั้ง ๒ ข้างให้แบะลงที่พื้นแล้วเอา ขาไขว้กันทับฝ่าเท้า, ถ้าเอาขาซ้อนทับกันเรียกว่า ขัดสมาธิสองชั้น, ถ้าเอาขาขวาทับขาซ้าย เรียกว่า ขัดสมาธิราบ, ถ้าเอาฝ่าเท้าทั้ง ๒ ข้างขึ้น ข้างบน เรียกว่า ขัดสมาธิเพชร, ขัดสมาธิราบและขัดสมาธิเพชรนั้น เป็น ท่าพระพุทธรูปนั่ง. น. ชื่อพระพุทธรูปปางหนึ่ง อยู่ในพระอิริยาบถ นั่งขัดสมาธิ พระหัตถ์ทั้ง ๒ วางซ้อนกันบนพระเพลา พระหัตถ์ขวา ทับพระหัตถ์ซ้าย.
  4. ถวายเนตร : น. ชื่อพระพุทธรูปปางหนึ่ง อยู่ในพระอิริยาบถยืน พระหัตถ์ขวาประกบพระหัตถ์ซ้ายอยู่หน้าพระเพลา ลืมพระเนตร ทั้ง ๒ ดูมหาโพธิพฤกษ์ อยู่ในพระอาการสํารวม.
  5. ท่า ๒ : น. ลักษณะท่วงทีของร่างกายที่อยู่นิ่ง ๆ ในบางอิริยาบถ เช่น ท่ายืน ท่านั่ง ท่านอน; การแสดงกิริยายกมือยกเท้าเป็นต้นตามกําหนดเป็น วิธีไว้ เช่น ท่ามวย ท่ารํา; ชั้นเชิง, ท่วงที, วิธี, เช่น พลาดท่า ได้ท่า เสียท่า.
  6. Royal Institute Thai-Thai Dict : อิริยาบถ, more results...

Budhism Thai-Thai Dict : อิริยาบถ, 5 found, display 1-5
  1. อิริยาบถ : การเคลื่อนไหวของร่างกาย, อริยาบถ ๔ คือ ยืน เดิน นั่ง นอน
  2. รักขิตวัน : ชื่อป่าที่พระพุทธเจ้าเสด็จหลีกไปสำราญพระอิริยาบถเมื่อสงฆ์เมืองโกสัมพีแตกกัน ดู ปาริเลยยกะ
  3. วิสมปริหารชา อาพาธา : ความเจ็บไข้ที่เกิดจากบริหารร่างกายไม่สม่ำเสมอ คือ ผลัดเปลี่ยนอิริยาบถไม่พอดี
  4. สมสีสี : บุคคลผู้สิ้นอาสวะพร้อมกับสิ้นชีวิต คือ บรรลุอรหัตตผล ในขณะเดียวกับที่สิ้นชีวิต; นี้เป็นความหมายหลักตามพระบาลี แต่ในมโนรถปูรณี อรรถกถาแห่งอังคุตตรนิกาย ให้ความหมายสมสีสี ว่าเป็นการสิ้นอาสวะพร้อมกับสิ้นอย่างอื่นอันใดอันหนึ่งใน ๔ อย่าง และแสดงสมสีสีไว้ ๔ ประเภท คือ ผู้สิ้นอาสวะพร้อมกับหายโรค เรียกว่า โรคสมสีสี ผู้สิ้นอาสวะพร้อมกับที่เวทนา ซึ่งกำลังเสวยอยู่สงบระงับไปเรียกว่า เวทนาสมสีสี ผู้สิ้นอาสวะพร้อมกับการสิ้นสุดของอิริยาบถอันใดอันหนึ่ง เรียกว่า อิริยาบถสมสีสี ผู้สิ้นอาสวะพร้อมกับสิ้นชีวิต เรียกว่า ชีวิตสมสีสี สมสีสีในความหมายหลักข้างต้น ก็คือ ชีวิตสมสีสี; อย่างไรก็ดีในอรรถกถาแห่งปุคคลปัญญัติ เป็นต้น แสดงสมสีสีไว้ ๓ ประเภท และอธิบายต่างออกไปบ้าง ไม่ขอนำมาแสดงในที่นี้ เพราะจะทำให้ฟั่นเฝือ
  5. สัปปายะ : สิ่ง สถาน หรือบุคคล ซึ่งเป็นที่สบาย เหมาะกัน เกื้อกูล หรือเอื้ออำนวยโดยเฉพาะที่ช่วยเกื้อกูลแก่การบำเพ็ญและประคับประคองรักษาสมาธิ ท่านแสดงไว้ ๗ อย่าง คือ อาวาส (ที่อยู่) โคจร (ที่บิณฑบาตหรือแหล่งอาหาร) ภัสสะ (เรื่องพูดคุยที่เสริมการปฏิบัติ) บุคคล (ผู้ที่เกี่ยวข้องด้วยแล้วช่วยให้จิตผ่องใสสงบมั่นคง) โภชนะ (อาหาร) อุตุ (สภาพแวดล้อมและอุณหภูมิ) อิริยาบถ; ทั้ง ๗ นี้ที่เหมาะกันเป็นสัปปายะ ที่ไม่สบายเป็นอสัปปายะ

ETipitaka Pali-Thai Dict : อิริยาบถ, 2 found, display 1-2
  1. อิริยาปถ : (ปุ.) คลองเป็นที่มาเป็นไปแห่ง อวัยวะ อันบุคคลพึงให้หวั่นไหว, คลอง แห่งกิริยาอันบุคคลให้เป็นไป, ทางแห่ง ความเคลื่อนไหว, อาการเคลื่อนไหว, อิริยาบถ (การเคลื่อนไหว ยืน เดิน นั่ง นอน).
  2. ฉินฺนิริยาปถ : (วิ.) ผู้มีอิริยาบถอันขาดแล้ว (คน เปลี้ย), ผู้มีอิริยาบถคืออันไปเป็นต้น อัน ขาดแล้ว. วิ. ฉินฺโน คมนาทิริยาปโถ โส ฉินฺนิริยาปโถ.

Pramaha Prasert Mantasevi's Thai-Pali Dict : อิริยาบถ, not found

(0.1084 sec)