Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ความรู้สึก, รู้สึก, ความ , then ความ, ความรู้สึก, รสก, รู้สึก .

Budhism Thai-Thai Dict : ความรู้สึก, 1080 found, display 101-150
  1. ดำฤษณา : ความอยาก, ความดิ้นรน, ความปรารถนา, ความเสน่หา (ตัณหา)
  2. ดิรัจฉานวิชา : ความรู้ที่ขวางต่อทางพระนิพพาน เช่นรู้ในการทำเสน่ห์ รู้ในการทำให้ถึงวิบัติ รู้เรื่องภูตผี รู้ในทางทำนาย เช่นหมอดู เป็นต้น เมื่อเรียนหรือใช้ปฏิบัติ ตนเองก็หลงเพลินหมกมุ่น ทั้งทำผู้อื่นให้ลุ่มหลง งมงาย ไม่เป็นอันปฏิบัติกิจหน้าที่และประกอบการตามเหตุผล
  3. ดุษณีภาพ : ความเป็นผู้นิ่ง
  4. ตณฺหกฺขโย : ความสิ้นไปแห่งตัณหา เป็นไวพจน์อย่างหนึ่งแห่งวิราคะและนิพพาน
  5. ตถตา : ความเป็นอย่างนั้น, ความเป็นเช่นนั้น, ภาวะที่สิ่งทั้งหลายทั้งปวงเป็นของมันอย่างนั้นเอง คือเป็นไปตามเหตุปัจจัย (มิใช่เป็นไปตามความอ้อนวอน ปรารถนา หรือการดลบันดาลของใครๆ) เป็นชื่อหนึ่งที่ใช้เรียกกฎปฏิจจสมุปบาท หรือ อิทัปปัจจยตา
  6. ตัณหา : ความทะยานอยาก, ความดิ้นรน, ความปรารถนา, ความเสน่หา มี ๓ คือ ๑.กามตัณหา ความทะยานอยากในกาม อยากได้อารมณ์อันน่ารักใคร่ ๒.ภวตัณหา ความทะยากอยากในภพ อยากเป็นนั่นเป็นนี่ ๓.วิภวตัณหา ความทะยานอยากในวิภพ อยากไม่เป็นนั่นไม่เป็นนี่ อยากพรากพ้นดับสูญไปเสีย
  7. ตัตรมัชฌัตตตา : ความเป็นกลางในอารมณ์นั้นๆ, ภาวะที่จิตและเจตสิกตั้งอยู่ในความเป็นกลาง บางทีเรียก อุเบกขา (ข้อ ๗ ในโสภณเจตสิก ๒๕)
  8. ถีนมิทธะ : ความหดหู่และเคลิบเคลิ้ม, ความง่วงเหงาซึมเซา (ข้อ ๓ ในนิวรณ์ ๕)
  9. ถีนะ : ความหดหู่, ความท้อแท้ใจ
  10. ทิฏฐิ : ความเห็น, ทฤษฎี; ความเห็นผิดมี ๒ คือ ๑.สัสสตทิฏฐิ ความเห็นว่าเที่ยง ๒.อุจเฉททิฏฐิ ความเห็นว่าขาดสูญ; อีกหมวดหนึ่ง มี ๓ คือ ๑.อกิริยทิฏฐิ ความเห็นว่าไม่เป็นอันทำ ๒.อเหตุกทิฏฐิ ความเห็นว่าไม่มีเหตุ ๓.นัตถิกทิฏฐิ ความเห็นว่าไม่มี คือถืออะไรเป็นหลักไม่ได้ เช่น มารดาบิดาไม่มีเป็นต้น; ในภาษาไทยมักหมายถึงการดื้อดึงในความเห็น (พจนานุกรมเขียน ทิฐิ)
  11. ทิฏฐิบาป : ความเห็นลามก
  12. ทิฏฐิวิสุทธิ : ความหมดจดแห่งความเห็น คือ เกิดความรู้ความเข้าใจ มองเห็นนามรูปตามสภาวะที่เป็นจริง คลายความหลงผิดว่าเป็นสัตว์ บุคคล ตัวตน ลงได้ (ข้อ ๓ ในวิสุทธิ ๗)
  13. ทิฏฐิสามัญญตา : ความเป็นผู้มีความเสมอกันโดยทิฐิ, มีความเห็นร่วมกัน, มีความคิดเห็นลงกันได้ (ข้อ ๖ ในสารณียธรรม ๖)
  14. ทิฏฐุปาทาน : ความถือมั่นในทิฏฐิ, ความยึดติดฝังใจในลัทธิ ทฤษฎี และหลักความเชื่อต่างๆ (ข้อ ๒ ในอุปาทาน ๔)
  15. ทุกขตา : ความเป็นทุกข์, ภาวะที่คงทนอยู่ไม่ได้ ดู ทุกขลักษณะ
  16. ทุกขนิโรธ : ความดับทุกข์ หมายถึง พระนิพพาน เรียกสั้นๆ ว่า นิโรธ
  17. ทุกขสัญญา : ความหมายรู้ว่าเป็นทุกข์, การกำหนดหมายให้มองเห็นสังขารว่าเป็นทุกข์
  18. ทุจริต : ความประพฤติชั่ว, ความประพฤติไม่ดีมี ๓ คือ ๑.กายทุจริต ประพฤติชั่วทางกาย ๒.วจีทุจริต ประพฤติชั่วทางวาจา ๓.มโนทุจริต ประพฤติชั่วด้วยใจ
  19. เทวาธิบาย : ความประสงค์ของเทวดา
  20. เทศนาปริสุทธิ : ความหมดจดแห่งการแสดงธรรม
  21. โทมนัส : ความเสียใจ, ความเป็นทุกข์ใจ ดู เวทนา
  22. โทสะ : ความคิดประทุษร้าย (ข้อ ๒ ใน อกุศลมูล ๓)
  23. ธมฺมสมฺมุขตา : ความเป็นต่อหน้าธรรม, พร้อมหน้าธรรม ในวิวาทาธิกรณ์ หมายความว่า ปฏิบัติถูกต้องตามธรรมวินัยและสัตถุศาสน์อันเป็นเครื่องระงับอธิกรณ์นั้น จึงเท่ากับว่าธรรมมาอยู่ที่นั้นด้วย
  24. ธรรมฐิติ : ความดำรงคงตัวแห่งธรรม, ความตั้งอยู่แน่นอนแห่งกฎธรรมดา
  25. ธรรมไพบูลย์ : ความไพบูลย์แห่งธรรม, ความพรั่งพร้อมเต็มเปี่ยมแห่งธรรม ด้วยการฝึกฝนอบรมให้มีในตนจนบริบูรณ์ หรือด้วยการประพฤติปฏิบัติกันในสังคมจนแพร่หลายทั่วไปทั้งหลาย ดู ไพบูลย์ เวปุลละ
  26. ธรรมสังเวช : ความสังเวชโดยธรรมเมื่อเห็นความแตกดับของสังขาร (เป็นอารมณ์ของพระอรหันต์) ดู สังเวช
  27. ธรรมสามัคคี : ความพร้อมเพรียงขององค์ธรรม, องค์ธรรมทั้งหลายที่เกี่ยวข้องทุกอย่างทำกิจหน้าที่ของแต่ละอย่างๆ พร้อมเพรียงและประสานสอดคล้องกัน ให้สำเร็จผลที่เป็นจุดหมาย เช่น ในการบรรลุมรรคผล เป็นต้น
  28. ธัมมกามตา : ความเป็นผู้ใคร่ธรรม, ความพอใจและในใจในธรรม, ความใฝ่รู้ใฝ่ศึกษาธรรม และใฝ่ในความดี ดู นาถกรณธรรม
  29. ธัมมวิจยะ : ความเฟ้นธรรม, ความสอดส่อง สืบค้นธรรม, การวิจัยหรือค้นคว้าธรรม (ข้อ ๒ ในโพชฌงค์ ๗)
  30. นัตถิกทิฏฐ : ความเห็นว่าไม่มี เช่นเห็นว่าผลบุญผลบาปไม่มี บิดามารดาไม่มี ความดีความชั่วไม่มี เป็นมิจฉาทิฏฐิ คือความเห็นผิด ที่ร้ายแรงอย่างหนึ่ง ดู ทิฏฐิ
  31. นิปปริยายสุทธิ : ความบริสุทธิ์โดยสิ้นเชิง ไม่มีการละและการบำเพ็ญอีก ได้แก่ ความบริสุทธิ์ของพระอรหันต์ ดู สุทธิ
  32. นิพพิทา : ความหน่าย หมายถึงความหน่ายที่เกิดขึ้นจากปัญญาพิจารณาเห็นความจริง ถ้าหญิงชายอยู่กินกันเกิดหน่ายกัน เพราะความประพฤติไม่ดีต่อกัน หรือหน่ายในมรรยาทของกันและกัน อย่างนี้ไม่จัดเป็นนิพพิทา; ความเบื่อหน่ายในกองทุกข์
  33. นิพพิทาญาณ : ความรู้ที่ทำให้เบื่อหน่ายในกองทุกข์, ปรีชาหยั่งเห็นสังขาร ด้วยความหน่าย ดู วิปัสสนาญาณ
  34. นิรฺวาณมฺ : ความดับ เป็นคำสันสกฤต เทียบกับภาษาบาลี ก็ได้แก่ศัพท์ว่า “นิพพาน” นั่นเอง
  35. นิโรธ : ความดับทุกข์ คือดับตัณหาได้สิ้นเชิง, ภาวะปลอดทุกข์เพราะไม่มีทุกข์ที่จะเกิดขึ้นได้ หมายถึงพระนิพพาน
  36. นิโรธสัญญา : ความสำคัญหมายในนิโรธ คือ กำหนดหมายการดับตัณหาอันเป็นอริยผลว่า เป็นธรรมละเอียด ประณีต ดู สัญญา
  37. นิสสรณวิมุตติ : ความหลุดพ้นด้วยออกไปเสีย หรือสลัดออกได้ เป็นการพ้นที่ยั่งยืนตลอดไป ได้แก่ นิพพาน, เป็นโลกุตตรวิมุตติ (ข้อ ๕ ในวิมุตติ ๕)
  38. เนกขัมมวิตก : ความตรึกที่จะออกจากกาม หรือตรึกที่จะออกบวช, ความดำริ หรือความคิดที่ปลอดจากความโลภ (ข้อ ๓ ในกุศลวิตก ๓)
  39. บาป : ความชั่ว, ความร้าย, ความชั่วร้าย, กรรมชั่ว, กรรมลามก, อกุศลธรรมที่ส่งให้ถึงความเดือดร้อน, สภาพที่ทำให้ถึงคติอันชั่ว, สิ่งที่ทำจิตให้ตกสู่ที่ชั่ว คือ ทำให้เลวลง ให้เสื่อมลง
  40. บุญฤทธิ์ : ความสำเร็จด้วยบุญ, อำนาจบุญ
  41. บุพเพนิวาสานุสติญาณ : ความรู้เป็นเครื่องระลึกได้ถึงขันธ์ที่อาศัยอยู่ในก่อน, ระลึกชาติได้ ดู วิชชา, อภิญญา
  42. ปกฺขหตตา : ความเป็นผู้ชาไปซีกหนึ่ง ได้แก่ โรคอัมพาต
  43. ปฏิฆะ : ความขัดใจ, แค้นเคือง, ความขึ้งเคียด ความกระทบกระทั่งแห่งจิต ได้แก่ ความที่จิตหงุดหงิดด้วยอำนาจโทสะ
  44. ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ : ความหมดจดแห่งญาณเป็นเครื่องเห็นทางปฏิบัติ ได้แก่ วิปัสสนาญาณ ๙ (ข้อ ๖ ในวิสุทธิ ๗)
  45. ปฏิปัสสัทธิวิมุตติ : ความหลุดพ้นด้วยสงบระงับ ได้แก่ การหลุดพ้นจากกิเลสด้วยอริยผล เป็นการหลุดพ้นที่ยั่งยืน ไม่ต้องขวนขวายเพื่อละอีก เพราะกิเลสนั้นสงบไปแล้ว เป็นโลกุตตรวิมุตติ (ข้อ ๔ ในวิมุตติ ๕)
  46. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา : ความแตกฉานในปฏิภาณได้แก่ไหวพริบ คือ โต้ตอบปัญหาเฉพาะหน้าได้ทันท่วงที หรือแก้ไขเหตุการณ์ฉุกเฉินได้ฉับพลันทันการ (ข้อ ๔ ในปฏิสัมภิทา ๔)
  47. ปฏิสัมภิทา : ความแตกฉาน, ความรู้แตกฉาน, ปัญญาแตกฉาน มี ๔ คือ ๑.อัตถปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในอรรถ ๒.ธัมมปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในธรรม ๓.นิรุตติปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในนิรุกติ คือ ภาษา ๔.ปฏิภาณปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในปฏิภาณ
  48. ปติวัตร : ความจงรักในสามี, ความซื่อสัตย์และภักดีต่อสามี, ข้อควรปฏิบัติต่อสามี
  49. ปธาน : ความเพียร, ความเพียรที่ชอบเป็นสัมมาวายามะ มี ๔ อย่าง คือ ๑.สังวรปธาน เพียรระวังบาปอกุศลที่ยังไม่เกิด มิให้เกิดขึ้น ๒.ปหานปธาน เพียรละบาปอกุศลที่เกิดขึ้นแล้ว ๓.ภาวนาปธาน เพียรเจริญทำกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น ๔.อนุรักขนาปธาน เพียรรักษากุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ไม่ให้เสื่อมไปและให้เพิ่มไพบูลย์
  50. ปมาทะ : ความประมาท, ความเลินเล่อ, ความเผลอ, ความขาดสติ, ความปล่อยปละละเลย เทียบ อัปปมาทะ
  51. 1-50 | 51-100 | [101-150] | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1080

(0.0612 sec)