Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ความสามารถ, สามารถ, ความ .

Budhism Thai-Thai Dict : ความสามารถ, 1087 found, display 1001-1050
  1. อสุภ : สภาพที่ไม่งาม, พิจารณาร่างกายของตนและผู้อื่นให้เห็นสภาพที่ไม่งาม; ในความหมายเฉพาะ หมายถึงซากศพในสภาพต่างๆ ซึ่งใช้เป็นอารมณ์กรรมฐาน รวม ๑๐ อย่าง คือ ๑) อุทธุมาตกะ ซากศพที่เน่าพอง ๒) วินีลกะ ซากศพที่มีสีเขียวคล้ำ ๓) วิปุพพกะ ซากศพที่มีน้ำเหลืองไหลออกอยู่ ๔) วิจฉิททกะ ซากศพที่ขาดกลางตัว ๕) วิกขายิตกะ ซากศพที่สัตว์กัดกินแล้ว ๖) วิกขิตตกะ ซากศพที่มีมือ เท้า ศีรษะขาด ๗) หตวิกขิตตกะ ซากศพที่คนมีเวรเป็นข้าศึกษกัน สับฟันเป็นท่อนๆ ๘) โลหิตกะ ซากศพที่ถูกประหารด้วยศัสตรามีโลหิตไหลอาบอยู่ ๙) ปุฬุวกะ ซากศพที่มีตัวหนอนคลานคล่ำไปอยู่ ๑๐) อัฏฐิกะ ซากศพที่ยังเหลืออยู่แต่ร่างกระดูก
  2. อสุภสัญญา : กำหนดหมายถึงความไม่งามแห่งร่างกาย (ข้อ ๓ ในสัญญา ๑๐)
  3. อสุภะ : สภาพที่ไม่งาม, พิจารณาร่างกายของตนและผู้อื่นให้เห็นสภาพที่ไม่งาม; ในความหมายเฉพาะ หมายถึงซากศพในสภาพต่างๆ ซึ่งใช้เป็นอารมณ์กรรมฐาน รวม ๑๐ อย่าง คือ ๑) อุทธุมาตกะ ซากศพที่เน่าพอง ๒) วินีลกะ ซากศพที่มีสีเขียวคล้ำ ๓) วิปุพพกะ ซากศพที่มีน้ำเหลืองไหลออกอยู่ ๔) วิจฉิททกะ ซากศพที่ขาดกลางตัว ๕) วิกขายิตกะ ซากศพที่สัตว์กัดกินแล้ว ๖) วิกขิตตกะ ซากศพที่มีมือ เท้า ศีรษะขาด ๗) หตวิกขิตตกะ ซากศพที่คนมีเวรเป็นข้าศึกษกัน สับฟันเป็นท่อนๆ ๘) โลหิตกะ ซากศพที่ถูกประหารด้วยศัสตรามีโลหิตไหลอาบอยู่ ๙) ปุฬุวกะ ซากศพที่มีตัวหนอนคลานคล่ำไปอยู่ ๑๐) อัฏฐิกะ ซากศพที่ยังเหลืออยู่แต่ร่างกระดูก
  4. อสุรกาย : พวกอสูร, ภพแห่งสัตว์เกิดในอบายพวกหนึ่ง เป็นพวกสะดุ้ง หวาดหวั่นไร้ความรื่นเริง ถ้าเปรียบกับในโลกนี้ก็เหมือนดังคนอดอยาก เที่ยวทำโจรกรรมในเวลาค่ำคืน หลอกลวง ฉกชิงเอาทรัพย์ของผู้อื่น (ข้อ ๔ ใน อบาย ๔)
  5. อสูร : สัตว์กึ่งเทพหรือเทพชั้นต่ำพวกหนึ่ง ตำนานกล่าวว่า เดิมเป็นเทวดาเก่า (บุพเทวา) เป็นเจ้าถิ่นครอบครองดาวดึงสเทวโลก ต่อมาถูกเทวดาพวกใหม่ มีท้าวสักกะเป็นหัวหน้าแย่งถิ่นไป โดยถูกเทพพวกใหม่นั้นจับเหวี่ยงลงมาในระหว่างพิธีเลี้ยงเมื่อพวกตนดื่มสุราจนเมามาย ได้ชื่อใหม่ว่าอสูร เพราะเมื่อฟื้นคืนสติขึ้นระหว่างทางที่ตกจากดาวดึงส์นั้น ได้กล่าวกันว่า “พวกเราไม่ดื่มสุราแล้ว” (อสูรจึงแปลว่าผู้ไม่ดืมสุรา) พวกอสูรได้ครองพิภพใหม่ที่เชิงเขาสิเนรุ หรือเขาพระสุเมรุ และมีสภาพความเป็นอยู่ มีอายุ วรรณะ ยศ อิสริยสมบัติ คล้ายกันกับเทวดาชั้นดาวดึงส์ พวกอสูรเป็นศัตรูโดยตรงกับเทวดา และมีเรื่องราวขัดแย้งทำสงครามกันบ่อยๆ พวกอสูรออกจะเจ้าโทสะ จึงมักถูกกล่าวถึงในฐานะเป็นพวกมีนิสัยพาลหรือเป็นฝ่ายผิด
  6. อัคคัญญสูตร : ชื่อสูตรที่ ๔ แห่งทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค พระสุตตันตปิฎก ทรงแสดงแก่สามเณรวาเสฏฐะ และสามเณรภารัทวาชะ ผู้ออกบวชจากตระกูลพราหมณ์ ทรงคัดค้านคำกล่าวอ้างของพวกพราหมณ์ ที่ถือว่าพราหมณ์เป็นวรรณะประเสริฐที่สุด และถือว่าชาติกำเนิดเป็นเครื่องตัดสินความประเสริฐ และความต่ำทรามของมนุษย์ ทรงแสดงให้เห็นว่าความประเสริฐหรือต่ำทรามนั้นอยู่ที่ความประพฤติ โดยมีธรรมเป็นเครื่องตัดสิน คนวรรณะต่างๆ ออกบวชในพระพุทธศาสนาแล้ว ย่อมชื่อว่าเป็นผู้เกิดจากธรรมเสมอกันหมด แล้วทรงแสดงความเป็นมาของสังคมมนุษย์ เริ่มแต่เกิดมีสัตว์ขึ้นในโลกแล้วเปลี่ยนแปลงตามลำดับ จนเกิดมีมนุษย์ที่อยู่รวมกันเป็นหมู่เป็นพวก เกิดความจำเป็นต้องมีการปกครอง และมีการประกอบอาชีพ การงานต่างๆ กัน วรรณะทั้ง ๔ ก็เกิดจากความเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ มิใช่เป็นเรื่องของพรหมสร้างสรรค์ แต่เกิดจากธรรม (ธรรมดา, กฎธรรมชาติ) ทุกวรรณะประพฤติชั่วก็ไปอบายได้ ปฏิบัติธรรมก็บรรลุนิพพานได้ ธรรมเป็นเครื่องตัดสิน และธรรมเป็นของประเสริฐสูงสุด ผู้ที่สิ้นอาสวกิเลสแล้ว เป็นผู้ประเสริฐสุดในวรรณะทั้ง ๔ ผู้ที่สมบูรณ์ด้วยวิชชาและจรณะ เป็นผู้ประเสริฐสุดในบรรดาเทวะ และมนุษย์ทั้งปวง
  7. อัชฌาสัย : นิสัยใจคอ, ความนิยม, ความมีน้ำใจ
  8. อัญชลีกรรม : การประนมมือแสดงความเคารพ
  9. อัญญสมานาเจตสิก : เจตสิกที่มีเสมอกันแก่จิตพวกอื่น คือ ประกอบเข้าได้รับกับจิตทุกฝ่ายทั้งกุสลและอกุศล มิใช่เข้าได้ฝ่ายหนึ่งฝ่ายเดียว มี ๑๓ แยกเป็น ก) สัพพจิตตสาธารณเจตสิก (เจตสิกที่เกิดทั่วไปกับจิตทุกดวง) ๗ คือ ผัสสะ (ความกระทบอารมณ์) เวทนา สัญญา เจตนา เอกัคคตา ชีวิตินทรีย์ มนสิการ (ความกระทำอารมณ์ไว้ในใจ, ใส่ใจ) ข) ปกิณณกเจตสิก (เจตสิกที่เรี่ยราย คือ เกิดกับจิตได้ทั้งฝ่ายกุศลและอกุศล แต่ไม่แน่นอนเสมอไปทุกดวง) ๖ คือ วิตก (ความตรึกอารมณ์) วิจาร (ความตรองอารมณ์) อธิโมกข์ (ความปักใจในอารมณ์) วิริยะ ปีติ ฉันทะ (ความพอใจในอารมณ์)
  10. อัญญสัตถุเทศ : การถือศาสนาอื่น จัดเป็นความผิดพลาดสถานหนัก (ข้อ ๖ ในอภิฐาน ๖)
  11. อัญญาวาทกรรม : กรรมที่จะพึงกระทำแก่ภิกษุผู้กล่าวคำอื่น คือภิกษุประพฤติอนาจาร สงฆ์เรียกตัวมาถาม แกล้งยกเรื่องอื่นๆ มาพูดกลบเกลื่อนเสีย ไม่ให้การตามตรง, สงฆ์สวดประกาศความนั้นด้วยญัตติทุติยกรรม เรียกว่า ยกอัญญวาทกรรมขึ้น, เมื่อสงฆ์ประกาศเช่นนี้แล้ว ภิกษุนั้นยังขืนทำอย่างเดิมอีก ต้องอาบัติปาจิตตีย์ (สิกขาบทที่ ๒ แห่งภูตคามวรรค ปาจิตติยกัณฑ์), คู่กับ วิเหสกกรรม
  12. อัฏฐารสเภทกรวัตถุ : เรื่องทำความแตกกัน ๑๘ อย่าง, เรื่องที่จะก่อให้เกิดความแตกแยกแก่สงฆ์ ๑๘ ประการ ท่านจัดเป็น ๙ คู่ (แสดงแต่ฝ่ายคี่) คือ ภิกษุแสดงสิ่งมิใช่ธรรมว่าเป็นธรรม, แสดงสิ่งมิใช่วินัยว่าเป็นวินัย, แสดงสิ่งที่พระตถาคตมิได้ตรัสว่าได้ตรัส, แสดงสิ่งที่พระตถาคตมิได้ประพฤติ ว่าได้ประพฤติ, แสดงสิ่งที่พระตถาคตมิได้บัญญัติ ว่าได้บัญญัติ, แสดงอาบัติว่ามิใช่อาบัติ, แสดงอาบัติเบาว่าเป็นอาบัติหนัก, แสดงอาบัติมีส่วนเหลือวาเป็นอาบัติไม่มีส่วนเหลือ, แสดงอาบัติหยาบคายว่ามิใช่อาบัติหยาบคาย (ฝ่ายคู่ก็ตรงกันข้ามจากนี้ตามลำดับ เช่น แสดงธรรมว่ามิใช่ธรรม, แสดงวินัยว่ามิใช่วินัย ฯลฯ แสดงอาบัติไม่หยาบคาย ว่าเป็นอาบัติหยาบคาย)
  13. อัตตกิลมถานุโยค : การประกอบตนให้ลำบากเปล่า คือ ความพยายามเพื่อบรรลุผลที่หมายด้วยวิธีทรมานตนเอง เช่น การบำเพ็ญตบะต่างๆ ที่นิยมกันในหมู่นักบวชอินเดียจำนวนมาก (ข้อ ๒ ใน ที่สุด ๒ อย่าง)
  14. อัตตวาทุปาทาน : การถือมั่นวาทะว่าตน คือ ความยึดถือสำคัญมั่นหมายว่า นั่นนี่เป็นตัวตน เช่น มองเห็นเบญจขันธ์เป็นอัตตา, อย่างหยาบขึ้นมา เช่น ยึดถือมั่นหมายว่า นี่เรา นั่นของเรา จนเป็นเหตุแบ่งแยกเป็นพวกเรา พวกเขา และเกิดความถือพวก (ข้อ ๔ ในอุปาทาน ๔)
  15. อัตตัตถะ : ประโยชน์ตน, สิ่งที่เป็นคุณแก่ชีวิต ช่วยให้เป็นอยู่ด้วยดี สามารถพึ่งตน หรือเป็นที่พึ่งแก่ตนได้ ไม่ว่าจะเป็นทิฏฐธัมมิกัตถะ หรือสัมปรายิกัตถะ หรือปรมัตถะ ก็ตาม, เทียบ ปรัตถะ
  16. อัตถสาธกะ : ยังอรรถให้สำเร็จ, ทำเนื้อความให้สำเร็จ
  17. อัธยาศัย : นิสัยใจคอ, ความนิยมในใจ
  18. อัปปณิหิตสมาธิ : การเจริญสมาธิที่ทำให้ถึงความหลุดพ้นด้วยกำหนดทุกขลักษณะ (ข้อ ๓ ในสมาธิ ๓)
  19. อัปปมาทธรรม : ธรรมคือความไม่ประมาท
  20. อัปปิจฉกถา : ถ้อยคำที่ชักนำให้มีความปรารถนาน้อย หรือมักน้อย (ข้อ ๑ ในกถาวัตถุ ๑๐)
  21. อากาศธาตุ : สภาวะที่ว่าง, ความเป็นที่ว่างเปล่า, ช่องว่างในร่างกาย ที่ใช้เป็นอารมณ์กรรมฐาน เช่น ช่องหู ช่องจมูก ช่องปาก ช่องอวัยวะต่างๆ ดู ธาตุ
  22. อาคันตุกวัตร : ธรรมเนียมที่ภิกษุควรปฏิบัติต่ออาคันตุกะ คือภิกษุผู้จรมา เช่นขวนขวายต้อนรับ แสดงความนับถือ จัดหรือบอกให้น้ำให้อาสนะ ถ้าอาคันตุกะจะมาพักมาอยู่ พึงแสดงเสนาสนะ บอกที่ทางและกติกาสงฆ์ เป็นต้น
  23. อาจารย : ผู้สั่งสอนวิชาความรู้, ผู้ฝึกหัดอบรมมรรยาท, อาจารย์ ๔ คือ ๑) บัพพชาจารย์ หรือ บรรพชาจารย์ อาจารย์ในบรรพชา ๒) อุปสัมปทาจารย์ อาจารย์ในอุปสมบท ๓) นิสสยาจารย์ อาจารย์ผู้ให้นิสสัย ๔) อุทเทศาจารย์ หรือ ธรรมาจารย์ อาจารย์ผูสอนธรรม
  24. อาชีววิบัติ : เสียอาชีวะ, ความเสียหายแห่งการเลี้ยงชีพ คือ ประกอบมิจฉาอาชีวะมีหลอกลวงเขาเลี้ยงชีพ เป็นต้น (ข้อ ๔ ในวิบัติ ๔)
  25. อาชีวะ : อาชีพ, การเลี้ยงชีพ, ความเพียรพยายามในการแสวงหาปัจจัยยังชีพ, การทำมาหากิน
  26. อาทิตยโคตร : ตระกูลพระอาทิตย์, เผ่าพันธุ์พระอาทิตย์, ตระกูลที่สืบเชื้อสายนางอทิติผู้เป็นชายาของพระกัศยปประชาบดี, ท่านว่าสกุลของพระพุทธเจ้าก็เป็นอาทิตยโคตร (โคตมโคตรกับอาทิตยโคตร มีความหมายอย่างเดียวกัน)
  27. อาทิพรหมจริยกาสิกขา : หลักการศึกษาอบรมในฝ่ายบทบัญญัติหรือข้อปฏิบัติที่เป็นเบื้องต้นของพรหมจรรย์ สำหรับป้องกันความประพฤติเสียหาย, ข้อศึกษาที่เป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ หมายถึง สิกขาบท ๒๒๗ ที่มาในพระปาฏิโมกข์ เทียบ อภิสมาจาริกาสิกขา
  28. อาเทสนาปาฏิหาริย์ : ปาฏิหาริย์ คือการหายใจ, รอบรู้กระบวนของจิต อ่านความคิดและอุปนิสัยของผู้อื่นได้เป็นอัศจรรย์ (ข้อ ๒ ในปาฏิหาริย์ ๓)
  29. อานิสงส์ : ผลแห่งความดี, ผลแห่งบุญกุศล, ประโยชน์, ผลดี
  30. อานุภาพ : อำนาจ, ฤทธิ์เดช, ความยิ่งใหญ่
  31. อาบัติ : การต้อง, การล่วงละเมิด, โทษที่เกิดแต่การละเมิดสิกขาบท; อาบัติ ๗ คือ ปาราชิก สังฆาทิเสส ถุลลัจจัย ปาจิตตีย์ ปาฏิเทสนียะ ทุกกฏ ทุพภาสิต; อาบัติ ๗ กองนี้จัดรวมเป็นประเภทได้หลายอย่าง โดยมากจัดเป็น ๒ เช่น ๑) ครุกาบัติ อาบัติหนัก (ปาราชิกและสังฆาทิเสส) ๒) ลหุกาบัติ อาบัติเบา (อาบัติ ๕ อย่างที่เหลือ); คู่ต่อไปนี้ก็เหมือนกัน คือ ๑) ทุฏฐลลาบัติ อาบัติไม่ชั่วหยาบ; ๑) อเทสนนาคามินี อาบัติที่ไม่พ้นได้ด้วยการแสดง ๒) เทสนาคามินี อาบัติที่พ้นได้ด้วยการแสดงคือเปิดเผยความผิดของตน; คู่ต่อไปนี้จัดต่างออกไปอีกแบบหนึ่งตรงกันทั้งหมด คือ ๑) อเตกิจฉา เยียวยาแก้ไขไม่ได้ (ปาราชิก) ๒) สเตกิจฉา เยียวยาแก้ไขได้ (อาบัติ ๖ อย่างที่เหลือ); ๑) อนวเสส ไม่มีส่วนเหลือ ๒) สาวเสส ยังมีส่วนเหลือ; ๑) อัปปฏิกัมม์หรืออปฏิกรรม ทำคืนไม่ได้คือแก้ไขไม่ได้ ๒) สัปปฏิกัมม์ หรือ สปฏิกรรม ยังทำคืนได้ คือแก้ไขได้
  32. อาปุจฉา : บอกกล่าว, ถามเชิงขออนุญาต เป็นการแสดงความเอื้อเฟื้อ, แจ้งให้ทราบ เช่น ภิกษุอ่อนพรรษาจะแสดงธรรม ต้องอาปุจฉาภิกษุผู้มีพรรษามากกว่าก่อน
  33. อาภา : แสง, รัศมี, ความสว่าง
  34. อายตนะ : ที่ต่อ, เครื่องติดต่อ, แดนต่อความรู้, เครื่องรู้และสิ่งที่รู้ เช่น ตา เป็นเครื่องรู้ รูปเป็นสิ่งที่รู้, หูเป็นเครื่องรู้ เสียงเป็นสิ่งที่รู้ เป็นต้น, จัดเป็น ๒ ประเภท คือ อายตนะภายใน ๖ อายตนะภายนอก ๖
  35. อายุกษัย : การสิ้นอายุ, ความตาย
  36. อายุขัย : การสิ้นอายุ, ความตาย
  37. อารมณ์ : เครื่องยึดหน่วงของจิต, สิ่งที่จิตยึดหน่วง, สิ่งที่ถูกรู้หรือถูกรับรู้ ได้แก่ อายตนะภายนอก ๖ คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และ ธรรมารมณ์; ในภาษาไทย ความหมายเลื่อนไปเป็นความรู้สึก หรือความเป็นไปแห่งจิตใจ ในขณะหรือช่วงเวลาหนึ่งๆ เช่นว่า อย่าทำตามอารมณ์ วันนี้อารมณ์ดี อารมณ์เสีย เป็นต้น
  38. อารยธรรม : ธรรมอันดีงาม, ธรรมของอารยชน, ความเจริญด้วยขนบธรรมเนียมอันดีงาม; ในทางธรรม หมายถึง กุศลกรรมบถ ๑๐)
  39. อารยะ : คนเจริญ, คนมีอารยธรรม; พวกชนชาติ อริยกะ (ตรงกับบาลีว่า อริย แต่ในภาษาไทยใช้ในความหมายต่างกัน)
  40. อารักขกัมมัฏฐาน : กรรมฐานเป็นเครื่องรักษาตน, กรรมฐานเป็นเครื่องรักษาผู้ปฏิบัติให้สงบระงับ ซึ่งควรเจริญเป็นนิตย์ เป็นของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ทรงไว้ มี ๔ อย่างคือ ๑) พุทธานุสสติ ระลึกถึงคุณพระพุทธเจ้า ที่มีในพระองค์ และทรงเกื้อกูลแก่ผู้อื่น ๒) เมตตา แผ่ไมตรีจิต คิดจะให้สัตว์ทั้งปวงเป็นสุขทั่วหน้า ๓) อสุภะ พิจารณาร่างกายตนและผู้อื่นให้เห็นเป็นไม่งาม ๔) มรณัสสติ นึกถึงความตายอันจะมีแก่ตนเป็นธรรมดา
  41. อารักขสัมปทา : ถึงพร้อมด้วยการรักษา คือรักษาทรัพย์ที่แสดงหามาได้ ด้วยความหมั่น ไม่ให้เป็นอันตรายและรักษาการงานไม่ให้เสื่อมเสียไป (ข้อ ๒ ในทิฏฐธัมมิกัตถฯ)
  42. อารักขา : การขอความคุ้มครองจากเจ้าหน้าที่ฝ่ายบ้านเมือง เมื่อมีผู้ปองร้ายข่มเหง หรือถูกลักขโมยสิ่งของ เป็นต้น เรียกว่า ขออารักขา ถือเป็นการปฏิบัติชอบตามธรรมเนียมของภิกษุแทนการฟ้องร้องกล่าวหาอย่างที่ชาวบ้านทำกัน เพราะสมณะไม่พอใจจะเป็นถ้อยความกับใครๆ
  43. อาราม : วัด, ที่เป็นที่มายินดี, สวนเป็นที่รื่นรมย์, ความยินด, ความรื่นรมย์, ความเพลิดเพลิน; ในทางพระวินัย เกี่ยวกับสงฆ์ หมายถึง ของปลูกสร้างในอารามตลอดจนต้นไม้
  44. อาลัย : 1) ที่อยู่, ที่อาศัย, แหล่ง 2) ความมีใจผูกพัน, ความเยื่อใย, ความติดใจปรารถนา, ความพัวพัน, มักหมายถึงตัณหา; ในภาษาไทยใช้ว่าห่างใย หวงคิดถึง
  45. อาวรณ์ : เครื่องกั้น, เครื่องกำบัง; ไทยมักใช้ในความหมายว่า ห่วงใย, อาลัย, คิดกังวลถึง
  46. อาวุโส : ผู้มีอายุ” เป็นคำเรียก หรือทักทาย ที่ภิกษุผู้แก่พรรษาใช้ร้องเรียกภิกษุผู้อ่อนพรรษากว่า (ภิกษุผู้ใหญ่ร้องเรียกภิกษุผู้น้อย) หรือภิกษุร้องเรียกคฤหัสถ์ คู่กับคำ ภนฺเต ซึ่งภิกษุผู้อ่อนกว่าใช้ร้องเรียกภิกษุผู้แก่กว่าหรือคฤหัสถ์ร้องเรียกภิกษุ; ในภาษาไทย มักใช้เพี้ยนไปในทางตรงข้าม หมายถึง เก่ากว่า หรือแก่กว่าในวงงาน กิจการ หรือความเป็นสมาชิก
  47. อาศรม : ที่อยู่ของนักพรต; ตามลัทธิของพราหมณ์ ในยุคที่กลายเป็นฮินดูแล้วได้วางระเบียบเกี่ยวกับการดำเนินชีวิตของชาวฮินดูวรรณะสูง โดยเฉพาะวรรณะพราหมณ์ โดยแบ่งเป็ขั้นหรือช่วงระยะ ๔ ขั้น หรือ ๔ ช่วง เรียกว่า อาศรม ๔ กำหนดว่าชาวฮินดูวรรณะพราหมณ์ทุกคนจะต้องครองชีวิตให้ครบทั้ง ๔ อาศรมตามลำดับ (แต่ในทางปฏิบัติน้อยคนนักได้ปฏิบัติเช่นนั้น โดยเฉพาะปัจจุบันไม่ได้ถือกันแล้ว) คือ ๑) พรหมจารี เป็นนักเรียนศึกษาพระเวท ถือพรหมจรรย์ ๒) คฤหัสถ์ เป็นผู้ครองเรือน มีภรรยาและมีบุตร ๓) วานปรัสถ์ ออกอยู่ป่าเมื่อเห็นบุตรของบุตร ๔) สันยาสี (เขียนเต็มเป็นสันนยาสี) เป็นผู้สละโลก มีผ้านุ่นผืนเดียว ถือภาชนะขออาหารและหม้อน้ำเป็นสมบัติ จาริกภิกขาจารเรื่อยไปไม่ยุ่งเกี่ยวกับชาวโลก (ปราชญ์บางท่านว่าพราหมณ์ได้ความคิดจากพระพุทธศาสนาไปปรับปรุงจัดวางระบบของตนขึ้น เช่น สันยาสี ตรงกับ ภิกษุ แต่หาเหมือนกันจริงไม่)
  48. อาสภิวาจา : วาจาแสดงความเป็นผู้องอาจ, วาจาองอาจ คือคำประกาศพระองค์ว่าเป็นเอกในโลก ตามเรื่องว่าพระมหาบุรุษเมื่อประสูติจากพระครรภ์ของพระมารดา ย่างพระบาทไป ๗ ก้าวแล้วหยุดยืนตรัสอาสภิวาจาว่า “อคฺโคหมสฺมิ โลกสฺส” ดังนี้เป็นต้น แปลว่า เราเป็นอัครบุคคลของโลก ฯลฯ
  49. อาสวะ : กิเลสที่หมักหมมหรือดองอยู่ในสันดาน ไหลซึมซ่านไปย้อมจิตเมื่อประสบอารมณ์ต่างๆ มี ๓ อย่าง คือ ๑) กามาสวะ อาสวะคือกาม ๒) ภาวสวะ อาสวะคือภพ ๓) อวิชชาสวะ อาสวะคืออวิชชา; อีกหมวดหนึ่งมี ๔ คือ ๑) กามาสวะ ๒) ภวาสวะ ๓) ทิฏฐาสวะ อาสวะคือทิฏฐิ ๔) อวิชชาสวะ, ในทางพระวินัยและความหมายสามัญ หมายถึงเมรัย เช่น ปุปฺผาสโว น้ำดองดอกไม้, ผลาสโว น้ำดองผลไม้
  50. อาสัญ : ไม่มีสัญญา, หมดสัญญา; เป็นคำใช้ในภาษาไทย หมายความว่า ความตาย, ตาย
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | [1001-1050] | 1051-1087

(0.0424 sec)