Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ความสามารถ, สามารถ, ความ .

Budhism Thai-Thai Dict : ความสามารถ, 1087 found, display 701-750
  1. โมกข์ : 1.ความหลุดพ้นจากกิเลส คือ นิพพาน 2.ประธาน, หัวหน้า, ประมุข
  2. โมกขธรรม : ธรรมนำสัตว์ให้หลุดพ้นจากกิเลส, ความหลุดพ้น, นิพพาน
  3. โมหันธ์ : มืดมนด้วยความหลง, มืดมนเพราะความหลง
  4. โมโห : โกรธ, ขุ่นเคือง; ตามรูปศัพท์เป็นคำภาษาบาลี ควรแปลว่า ความหลง แต่ที่ใช้กันมาในภาษาไทย ความหมายเพี้ยนไปเป็นอย่างข้างต้น
  5. ไมตรี : “คุณชาติ (ความดีงาม) ที่มีในมิตร”, ความเป็นเพื่อน, ความรัก, ความหวังดีต่อกัน, ความเยื่อใยต่อกัน, มิตรธรรม, เมตตา
  6. ไม่มีสังวาส : ไม่มีธรรมเป็นเหตุอยู่ร่วมกับภิกษุทั้งหลาย, ขาดสิทธิอันชอบธรรม ที่จะถือเอาประโยชน์แห่งความเป็นภิกษุ, ขาดจากความเป็นภิกษุ, อยู่ร่วมกับสงฆ์ไม่ได้
  7. ยมกะ : ชื่อภิกษุรูปหนึ่งที่มีความเห็นว่าพระขีณาสพตายแล้วสูญ ซึ่งเป็นความเห็นที่ผิด ภายหลังได้พบกับพระสารีบุตร พระสารีบุตรได้เปลื้องท่านจากความเห็นผิดนั้นได้
  8. ยส : พระมหาสาวกองค์หนึ่ง เป็นบุตรเศรษฐีเมืองพาราณสีมีความเป็นอยู่อย่างสุขสมบูรณ์ วันหนึ่งเห็นสภาพในห้องนอนของตน เป็นเหมือนป่าช้า เกิดความสลดใจคิดเบื่อหน่าย จึงออกจากบ้านไปพบพระพุทธเจ้าที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ในเวลาใกล้รุ่ง พระพุทธเจ้าตรัสเทศนาอนุปุพพีกถา และอริยสัจโปรด ยสกุลบุตรได้ดวงตาเห็นธรรม ต่อมาได้ฟังธรรมที่พระพุทธเจ้าแสดงแก่เศรษฐีบิดาของตน ก็ได้บรรลุอรหัตตผลแล้วขออุปสมบท เป็นภิกษุสาวกองค์ที่ ๖ ของพระพุทธเจ้า
  9. ยสะ : พระมหาสาวกองค์หนึ่ง เป็นบุตรเศรษฐีเมืองพาราณสีมีความเป็นอยู่อย่างสุขสมบูรณ์ วันหนึ่งเห็นสภาพในห้องนอนของตน เป็นเหมือนป่าช้า เกิดความสลดใจคิดเบื่อหน่าย จึงออกจากบ้านไปพบพระพุทธเจ้าที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ในเวลาใกล้รุ่ง พระพุทธเจ้าตรัสเทศนาอนุปุพพีกถา และอริยสัจโปรด ยสกุลบุตรได้ดวงตาเห็นธรรม ต่อมาได้ฟังธรรมที่พระพุทธเจ้าแสดงแก่เศรษฐีบิดาของตน ก็ได้บรรลุอรหัตตผลแล้วขออุปสมบท เป็นภิกษุสาวกองค์ที่ ๖ ของพระพุทธเจ้า
  10. ยโสชะ : พระมหาสาวกองค์หนึ่ง เป็นบุตรหัวหน้าชาวประมง ใกล้ประตูเมืองสาวัตถี ได้ฟังพระธรรมเทศนากปิลสูตร ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดง มีความเลื่อมใสขอบวช ต่อมาไปเจริญสมณธรรมที่ฝั่งแม่น้ำวัคคุมุทา ได้สำเร็จพระอรหัต
  11. ยักยอก : เอาทรัพย์ของผู้อื่นที่อยู่ในความรักษาของตนไปโดยทุจริต
  12. ยักษ์ : มีความหมายหลายอย่าง แต่ที่ใช้บ่อยหมายถึงอมนุษย์พวกหนึ่งเป็นบริวารของท้าวกุเวร หรือเวสสวัณ, ตามที่ถือกันมาว่ามีรูปร่างใหญ่โตน่ากลัวมีเขี้ยวงอกโง้ง ชอบกินมนุษย์กินสัตว์ โดยมากมีฤทธิ์เหาะได้ จำแลงตัวได้
  13. เยภยยสิกา : กิริยาเป็นไปตามข้างมาก ได้แก่ วิธีตัดสินอารมณ์โดยถือเอาตามคำของคนข้างมาก เช่น วิธีจับสลากเพื่อชี้ข้อผิดถูก ข้างไหนมีภิกษุผู้ร่วมพิจารณาลงความเห็นมากกว่า ก็ถือเอาพวกข้างนั้น เป็นวิธีอย่างเดียวกับการโหวตคะแนนเสียง, ใช้สำหรับระงับวิวาทาธิกรณ์ ดู อธิกรณสมถะ
  14. โยคเกษม : “ธรรมอันเป็นแดนเกษมจากโยคะ” ความหมายสามัญว่าความปลอดโปร่งโล่งในหรือสุขกายสบายใจ เพราะปราศจากภัยอันตรายหรือล่วงพ้นสิ่งที่น่าพรั่นกลัว มาถึงสถานที่ปลอดภัย; ในความหมายขั้นสูงสุด มุ่งเอาพระนิพพาน อันเป็นธรรมที่เกษมคือโปร่งโล่งปลอดภัยจากโยคกิเลสทั้ง ๔ จำพวก ดู โยคะ, เกษมจากโยคธรรม
  15. โยคเกษมธรรม : ธรรมอันเป็นแดนเกษมจากโยคะ ความหมายสามัญว่าความปลอดโปร่งโล่งในหรือสุขกายสบายใจ เพราะปราศจากภัยอันตรายหรือล่วงพ้นสิ่งที่น่าพรั่นกลัว มาถึงสถานที่ปลอดภัย; ในความหมายขั้นสูงสุด มุ่งเอาพระนิพพาน อันเป็นธรรมที่เกษมคือโปร่งโล่งปลอดภัยจากโยคกิเลสทั้ง ๔ จำพวก ดู โยคะ, เกษมจากโยคธรรม
  16. โยคธรรม : ธรรมคือกิเลสเครื่องประกอบในข้อความว่า “เกษมจากโยคธรรม” คือความพ้นภัยจากกิเลส ดู โยคะ
  17. โยคะ : 1.กิเลสเครื่องประกอบ คือประกอบสัตว์ไว้ในภพ หรือผูกสัตว์ดุจเทียมไว้กับแอก มี ๔ คือ กาม ภพ ทิฏฐิ อวิชชา 2.ความเพียร
  18. โยคาวจร : ผู้หยั่งลงสู่ความเพียร, ผู้ประกอบความเพียร, ผู้เจริญภาวนา คือ กำลังปฏิบัติสมถกรรมฐานและวิปัสสนากรรมฐาน เขียน โยคาพจร ก็มี
  19. โยคี : ฤษี, ผู้ปฏิบัติตามลัทธิโยคะ, ผู้ประกอบความเพียร ดู โยคาวจร
  20. โยนิโสมนสิการ : การทำในใจโดยแยบคาย, กระทำไว้ในใจโดยอุบายอันแยบคาย, การพิจารณาโดยแยบคาย คือพิจารณาเพื่อเข้าถึงความจริงโดยสืบค้นหาเหตุผลไปตามลำดับจนถึงต้นเหตุ แยกแยะองค์ประกอบจนมองเห็นตัวสภาวะและความสัมพันธ์แห่งเหตุปัจจัยหรือตริตรองให้รู้จักสิ่งที่ดีที่ชั่ว ยังกุศลธรรมให้เกิดขึ้นโดยอุบายที่ชอบ ซึ่งจะมิให้เกิดอวิชชาและตัณหา, ความรู้จักคิด, คิดถูกวิธี
  21. รส : อารมณ์ที่รู้ได้ด้วยลิ้น (ข้อ ๔ ใน อารมณ์ ๖), โดยปริยาย หมายถึงความรู้สึกชอบใจ
  22. รัฐบาล : พระมหาสาวกองค์หนึ่งเป็นบุตรแห่งตระกูลหัวหน้าในถุลลโกฏฐิตนิคม ในแคว้นกุรุ ฟังธรรมแล้วมีความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนามาก ลาบิดามารดาบวช แต่ไม่ได้รับอนุญาต เสียใจ และอดอาหารจะได้ตายเสีย บิดามารดาจึงต้องอนุญาต ออกบวชแล้วไม่นานก็ได้สำเร็จพระอรหัต ได้รับยกย่องว่าเป็นเอตทัคคะในทางบวชด้วยศรัทธา
  23. รัตติเฉท : กาลขาดราตรี หมายถึงเหตุขาดราตรีแห่งมานัต หรือปริวาส; สำหรับมานัต มี ๔ คือ สหวาโส อยู่ร่วม ๑ วิปฺปวาโส อยู่ปราศ ๑ อนาโรจนา ไม่บอก ๑ อูเน คเณ จรณํ ประพฤติในคณะอันพร่อง ๑ ; สำหรับปริวาส มี ๓ คือ สหวาโส อยู่ร่วม ๑ วิปฺปวาโส อยู่ปราศ ๑ อนาโรจนา ไม่บอก ๑ เมื่อขาดราตรีในวันใด ก็นับวันนั้นเข้าในจำนวนวันที่จะต้องอยู่ปริวาสหรือประพฤติมานัตไม่ได้; ดูความหมายที่คำนั้นๆ
  24. รัศมี : แสงสว่าง, แสงที่เห็นกระจายออกเป็นสายๆ, แสงสว่างที่พวยพุ่งออกจากจุดกลาง; เขียนอย่างบาลีเป็น รังสี แต่ในภาษาไทยใช้ในความหมายที่ต่างกันออกไปบ้าง
  25. ราคี : ผู้มีความกำหนัด; มลทิน, เศร้าหมอง, มัวหมอง
  26. ราชการ : กิจการงานของประเทศ หรือของพระเจ้าแผ่นดิน, หน้าที่หลั่งความยินดีแก่ประชาชน
  27. ราชคฤห์ : นครหลวงของแคว้นมคธเป็นนครที่มีความเจริญรุ่งเรือง เต็มไปด้วยคณาจารย์เจ้าลัทธิ พระพุทธเจ้าทรงเลือกเป็นภูมิที่ประดิษฐานพระพุทธศาสนาเป็นปฐม พระเจ้าพิมพิสารราชาแห่งแคว้นมคธ ครองราชสมบัติ ณ นครนี้
  28. ราชสมบัติ : สมบัติของพระราชา, สมบัติคือความเป็นพระราชา
  29. ราชา : “ผู้ยังเหล่าชนให้อิ่มเอมใจ” หรือ “ผู้ทำให้คนอื่นมีความสุข”, พระเจ้าแผ่นดิน, ผู้ปกครองประเทศ
  30. ราธะ : พระมหาสาวกองค์หนึ่ง เดิมเป็นพราหมณ์ในเมืองราชคฤห์ เมื่อชราลงถูกบุตรทอดทิ้ง อยากจะบวชก็ไม่มีภิกษุรับบวชให้ เพราะเห็นว่าเป็นคนแก่เฒ่า ราธะเสียใจ ร่างกายซูบซีด พระศาสดาทรงทราบจึงตรัสถามว่า มีใครระลึกถึงอุปการะของราธะได้บ้าง พระสารีบุตรระลึกถึงภิกษาทัพพีหนึ่งที่ราธะถวาย จึงรับเป็นอุปัชฌาย์ และราธะได้เป็นบุคคลแรกที่อุปสมบทด้วยญัตติจตุตถกรรมวาจา ท่านบวชแล้วไม่นานก็ได้บรรลุพระอรหัต พระราธะเป็นผู้ว่าง่าย ตั้งใจรับฟังคำสั่งสอน มีความสุภาพอ่อนโยน เป็นตัวอย่างของภิกษุผู้บวชเมื่อแก่ ทั้งพระพุทธเจ้าและพระสารีบุตรก็ชมท่าน ท่านเคยได้ใกล้ชิดพระพุทธเจ้า เคยทำหน้าที่เป็นพุทธอุปฐาก ได้รับยกย่องเป็นเอตทัคคะในทางก่อให้เกิดปฏิภาณ
  31. ฤทธิ์ : อำนาจศักดิ์สิทธิ์, ความเจริญ, ความสำเร็จ, ความงอกงาม, เป็นรูปสันสกฤตของ อิทธิ; ฤทธิ์ หรือ อิทธิ คือความสำเร็จ ความรุ่งเรือง มี ๒ คือ ๑.อามิสฤทธิ์ อามิสเป็นฤทธิ์, ความสำเร็จหรือความรุ่งเรืองทางวัตถุ ๒.ธรรมฤทธิ์ ธรรมเป็นฤทธิ์, ความสำเร็จหรือความรุ่งเรืองทางธรรม
  32. ลกุณฏก ภัททิยะ : พระมหาสาวกองค์หนึ่ง เป็นบุตรในตระกูลมั่งคั่ง ชาวพระนครสาวัตถี ได้ฟังพระธรรมเทศนาของพระศาสดาที่พระเชตวันมีความเลื่อมใสจึงบวชในพระพุทธศาสนา ท่านมีรูปร่างเตี้ยค่อมจนบางคนเห็นท่านแล้วหัวเราะจนเห็นฟัน ท่านกำหนดฟันนั้นเป็นอารมณ์กรรมฐาน ได้สำเร็จอนาคามิผล ต่อมาท่านได้บรรลุพระอรหัตในสำนักพระสารีบุตร แต่เพราะความที่มีรูปร่างเล็กเตี้ยค่อม ท่านมักถูกเข้าใจผิดเป็นสามเณรบ้าง ถูกพระหนุ่มเณรน้อยล้อเลียนบ้าง ถูกเพื่อนพระดูแคลนบ้าง แต่พระพุทธเจ้ากลับตรัสยกย่องว่าถึงท่านจะร่างเล็ก แต่มีคุณธรรมฤทธานุภาพมาก ท่านได้รับยกย่องเป็นเอตทัคคะในทางมีเสียงไพเราะ
  33. ลัชชินี : หญิงผู้มีความละอายต่อบาป เป็นอิตถีลิงค์ ถ้าเป็นปุงลิงค์ เป็นลัชชี
  34. ลาสิกขา : ปฏิญญาตนเป็นผู้อื่นจากภิกษุต่อหน้าภิกษุด้วยกัน หรือต่อหน้าบุคคลอื่นผู้เข้าใจความ แล้วละเพศภิกษุเสีย ถือเพศที่ปฏิญญานั้น, ละเพศภิกษุสามเณร, สึก ; คำลาสิกขาที่ใช้ในบัดนี้ คือ ตั้ง “นโม ฯลฯ” ๓ จบ แล้วกล่าวว่า “สิกขัง ปัจจักขามิ. คิหีติ มัง ธาเรถะ” (ว่า ๓ ครั้ง) แปลว่า “กระผมลาสิกขา, ขอท่านทั้งหลายจงทรงจำกระผมไว้ว่าเป็นคฤหัสถ์” (คิหีติ ออกเสียงเป็น คิฮีติ)
  35. ลุแก่โทษ : บอกความผิดของตนเพื่อขอความกรุณา
  36. ลูขปฏิบัติ : ประพฤติปอน, ปฏิบัติเศร้าหมอง คือใช้ของเศร้าหมอง ไม่ต้องการความสวยงาม (หมายถึงของเก่าๆ เรียบๆ สีปอนๆ แต่สะอาด)
  37. ลูขัปปมาณิกา : ผู้ถือความเศร้าหมองเป็นประมาณ ชอบผู้ที่ประพฤติปอน ครองผ้าเก่า อยู่เรียบๆ ง่ายๆ
  38. เลขสม : คนที่ยินยอมเป็นกำลังงานของผู้มีอำนาจคนใดคนหนึ่งด้วยความสมัครใจในสมัยโบราณ
  39. เลศ : แสดงอาการให้รู้ในที; อาการที่พอจะยกขึ้นอ้างเพื่อใส่ความ
  40. โลกบาลธรรม : ธรรมคุ้มครองโลก คือ ปกครองควบคุมใจมนุษย์ไว้ให้อยู่ในความดี มิให้ละเมิดศีลธรรม และให้อยู่กันด้วยความเรียบร้อยสงบสุข ไม่เดือนร้อนสับสนวุ่นวาย มี ๒ คือ ๑.หิริ ความละอายบาป ละอายใจต่อการทำความชั่ว ๒.โอตตัปปะ ความกลัวบาป เกรงกลัวต่อความชั่วและผลของกรรมชั่ว
  41. โลกวัชชะ : อาบัติที่เป็นโทษทางโลก คือ คนสามัญที่มิใช่ภิกษุทำเข้าก็เป็นความผิดความเสียหาย เช่น โจรกรรม ฆ่ามนุษย์ ทุบตีกัน ด่ากัน เป็นต้น; บางทีว่าเป็นข้อเสียหายที่ชาวโลกเขาติเตียน ถือว่าไม่เหมาะสมกับสมณะ เช่น ดื่มสุรา เป็นต้น
  42. โลกิยวิมุตติ : วิมุตติที่เป็นโลกีย์ คือความพ้นอย่างโลกๆ ไม่เด็ดขาด ไม่สิ้นเชิง กิเลสและความทุกข์ยังกลับครอบงำได้อีก ได้แก่วิมุตติ ๒ อย่างแรกคือ ตทังควิมุตติ และ วิกขัมภนวิมุตติ ดู วิมุตติ, โลกุตตรวิมุตติ
  43. โลกุตตรปัญญา : ปัญญาที่สัมปยุตด้วยโลกุตตรมรรค, ความรู้ที่พ้นวิสัยของโลก, ความรู้ที่ช่วยคนให้พ้นโลก
  44. โลกุตตรวิมุตติ : วิมุตติที่เป็นโลกุตตระ คือ ความหลุดพ้นที่เหนือวิสัยโลก ซึ่งกิเลสและความทุกข์ที่ละได้แล้ว ไม่กลับคืนมาอีก ไม่กลับกลาย ได้แก่ วิมุตติ ๓ อย่างหลัง คือ สมุจเฉทวิมุตติ, ปฏิปัสสัทธิวิมุตติ และนิสสรณวิมุตติ, ปฏิปัสสัทธิวุมุตติ และนิสสรณะวิมุตติ ดู วิมุตติ, โลกิยวิมุตติ
  45. โลลโทษ : โทษคือความโลภ, ความมีอารมณ์อ่อนไหว โอนเอนไปตามสิ่งเย้ายวนอันสะดุดตาสะดุดใจ
  46. วจีวิญญัติ : การเคลื่อนไหวให้รู้ความหมายด้วยวาจา ได้แก่ การพูด การกล่าวถ้อยคำ
  47. วจีสังขาร : 1.ปัจจัยปรุงแต่งวาจา ได้แก่ วิตก (ตรึก) และวิจาร (ตรอง) ถ้าไม่มีตรึกตรองก่อนแล้ว พูดย่อมไม่รู้เรื่อง 2.สภาพที่ปรุงแต่งการกระทำทางวาจา ได้แก่ วจีสัญเจตนา คือความจงใจทางวาจา ที่ก่อให้เกิดวจีกรรม ดู สังขาร
  48. วทัญญู : ผู้รู้ถ้อยคำ คือ ใจดี เอื้ออารี ยอมรับฟังความทุกข์ยากเดือนร้อนและความต้องการของผู้อื่น เข้าใจคำพูดของเขาได้ดี
  49. วรรณนา : คำพรรณนา, คำอธิบายความ คล้ายกับคำว่าอรรถกถา แต่คำว่าอรรถกถา ใช้หมายความทั้งคัมภีร์ คำว่าวรรณนาใช้เฉพาะคำอธิบายเป็นตอนๆ
  50. วรรณะ : ผิว, สี, เพศ, ชนิด, พวก, เหล่า, หนังสือ, คุณความดี, ความยกย่องสรรเสริญ; ชนชั้นที่จัดแบ่งออกไปตามหลักศาสนาพราหมณ์เรียกว่า วรรณะ ๔ คือ กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | [701-750] | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1087

(0.0520 sec)