Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ความเกี่ยวข้อง, เกี่ยวข้อง, ความ , then กยวของ, เกี่ยวข้อง, ความ, ความกยวของ, ความเกี่ยวข้อง .

Budhism Thai-Thai Dict : ความเกี่ยวข้อง, 1090 found, display 851-900
  1. สัญญมะ : การยับยั้ง, การงดเว้น (จากบาป หรือจากการเบียดเบียน), การบังคับควบคุมตน; ท่านมักอธิบายว่า สัญญมะ ได้แก่ ศีล, บางทีแปลว่า สำรวม เหมือนอย่าง “สังวร”; เพื่อความเข้าใจชัดเจนในเบื้องต้น พึงเทียบความหมายระหว่างข้อธรรม ๓ อย่าง คือ สังวร เน้นความระวังในการรับเข้า คือปิดกั้นสิ่งเสียหายที่จะเข้ามาจากภายนอก สัญญมะ ควบคุมตนในการแสดงออก มิให้เป็นไปเพื่อการเบียดเบียน เป็นต้น ทมะ ฝึกฝนแก้ไขปรับปรุงตน ข่มกำจัดส่วนร้ายและเสริมส่วนที่ดีงามให้ยิ่งขึ้นไป; สังยมะ ก็เขียน
  2. สัญญัติ : (ในคำว่า “อุปัชฌายะชื่ออะไรก็ตาม ตั้งสัญญัติลงในเวลานั้นว่าชื่อ ติสสะ”) การหมายรู้, ความหมายรู้ร่วมกัน, ข้อสำหรับหมายรู้ร่วมกัน, ข้อตกลง
  3. สัญญา : การกำหนดหมาย, ความจำได้หมายรู้ คือ หมายรู้ไว้ ซึ่ง รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะและอารมณ์ที่เกิดกับใจว่า เขียว ขาว ดำ แดง ดัง เบา เสียงคน เสียงแมว เสียงระฆัง กลิ่น ทุเรียน รสมะปราง เป็นต้น และจำได้ คือ รู้จักอารมณ์นั้นว่าเป็นอย่างนั้น ๆ ในเมื่อไปพบเข้าอีก (ข้อ ๓ ในขันธ์ ๕) มี ๖ อย่าง ตามอารมณ์ที่หมายรู้นั้น เช่น รูปสัญญา หมายรู้รูป สัททสัญญา หมายรู้เสียง เป็นต้น; ความหมายสามัญในภาษาบาลีว่าเครื่องหมาย ที่สังเกตความสำคัญว่าเป็นอย่างนั้น ๆ, ในภาษาไทยมักใช้หมายถึง ข้อตกลง, คำมั่น
  4. สัตติกำลัง : ในคำว่า “ตามสัตติกำลัง” แปลว่า ตามความสามารถ และตามกำลัง หรือตามกำลังความสามารถ (สัตติ = ความสามารถ) มาจากคำบาลีว่า ยถาสตฺติ ยถาพลํ; พูดเพี้ยนกันไปเป็น ตามสติกำลัง ก็มี
  5. สัตยาธิษฐาน : การตั้งความจริงเป็นหลักอ้าง, ความตั้งใจแน่วแน่มุ่งต่อผลอย่างใดอย่างหนึ่งด้วยการอ้างความจริงเป็นหลักประกัน
  6. สัตว์ : “ผู้ติดข้องในรูปารมณ์เป็นต้น”, สิ่งที่มีความรู้สึกและเคลื่อนไหวไปได้เอง รวมตลอดทั้งเทพ มาร พรหม มนุษย์ เปรต อสุรกาย ดิรัจฉาน และสัตว์นรก ในบาลีเพ่งเอามนุษย์ก่อนอย่างอื่น, ไทยมักเพ่งเอาดิรัจฉาน
  7. สัทธัมมปกาสินี : ชื่อคัมภีร์อรรถกถาอธิบายความในปฏิสัมภิทามรรค แห่งพระสุตตันตปิฎก พระมหานามรจนาในเกาะลังกา ประมาณ พ.ศ.๑๐๖๐
  8. สัทธัมมัสสวนะ : ฟังสัทธรรม, ฟังคำสั่งสอนของสัตบุรุษ, ฟังคำสั่งสอนของท่านที่ประพฤติชอบด้วยกายวาจาใจ, สดับเล่าเรียนอ่านคำสอนเรื่องราวที่แสดงหลักความจริงความดีงาม (ข้อ ๒ ในวุฑฒิ ๔)
  9. สัทธาจริต : พื้นนิสัยหนักในสัทธา เชื่อง่าย พึงแก้ด้วยปสาทนียกถา คือถ้อยคำที่นำให้เกิดความเลื่อมใสในทางที่ถูก ที่ควร และด้วยความเชื่อที่มีเหตุผล (ข้อ ๔ ในจริต ๖)
  10. สัทธิวิหาริกวัตร : ข้อควรปฏิบัติต่อสัทธิวิหาริก, หน้าที่อันอุปัชฌาย์จะพึงกระทำแก่สัทธิวิหาริก คือ ๑.เอาธุระในการศึกษา ๒.สงเคราะห์ด้วยบาตรจีวร และบริขารอื่น ๆ ๓.ขวนขวายป้องกัน หรือ ระงับความเสื่อมเสีย เช่นระงับความคิดจะสึก เปลื้องความเห็นผิด ฯลฯ ๔.พยาบาลเมื่ออาพาธ เทียบ อุปัชฌายวัตร
  11. สันตติ : การสืบต่อ คือ การเกิดดับต่อเนื่องกันไปโดยอาการที่เป็นปัจจัยส่งผลแก่กัน ในทางรูปธรรม ที่พอมองเห็นอย่างหยาบ เช่น ขนเก่าหลุดร่วง ไปขนใหม่เกิดขึ้นแทน ความสืบต่อแห่งรูปธรรม จัดเป็น อุปาทายรูป อย่างหนึ่ง; ในทางนางธรรม จิตก็มีสันตติ คือเกิดดับเป็นปัจจัยสืบเนื่องต่อกันไป
  12. สันตาปทุกข์ : ทุกข์ คือความร้อนรุ่ม, ทุกข์ร้อน ได้แก่ความกระวนกระวายใจ เพราะถูกไฟกิเลสคือ ราคะ โทสะ และโมหะแผดเผา
  13. สันติเกนิทาน : เรื่องใกล้ชิด หมายถึงเรื่องราวหรือความเป็นมาเกี่ยวกับพระพุทธเจ้าตั้งแต่ตรัสรู้แล้วจนเสด็จปรินิพพาน
  14. สันตุฏฐิกถา : ถ้อยคำที่ชักนำให้มีความสันโดษ (ข้อ ๒ ในกถาวัตถุ ๑๐)
  15. สัปปายะ : สิ่ง สถาน หรือบุคคล ซึ่งเป็นที่สบาย เหมาะกัน เกื้อกูล หรือเอื้ออำนวยโดยเฉพาะที่ช่วยเกื้อกูลแก่การบำเพ็ญและประคับประคองรักษาสมาธิ ท่านแสดงไว้ ๗ อย่าง คือ อาวาส (ที่อยู่) โคจร (ที่บิณฑบาตหรือแหล่งอาหาร) ภัสสะ (เรื่องพูดคุยที่เสริมการปฏิบัติ) บุคคล (ผู้ที่เกี่ยวข้องด้วยแล้วช่วยให้จิตผ่องใสสงบมั่นคง) โภชนะ (อาหาร) อุตุ (สภาพแวดล้อมและอุณหภูมิ) อิริยาบถ; ทั้ง ๗ นี้ที่เหมาะกันเป็นสัปปายะ ที่ไม่สบายเป็นอสัปปายะ
  16. สัปปุริสธรรม : ธรรมของสัตบุรุษ, ธรรมของคนดี, ธรรมที่ทำให้เป็นสัตบุรุษ มี ๗ อย่างคือ ๑.ธัมมัญญุตา รู้หลักหรือรู้จักเหตุ ๒.อัตถัญญุตา รู้ความมุ่งหมายหรือรู้จักผล ๓.อัตตัญญุตา รู้จักตน ๔.มัตตัญญุตา รู้จักประมาณ ๕.กาลัญญุตา รู้จักกาล ๖.ปริสัญญุตา รู้จักชุมชน ๗.ปุคคลัญญุตา รู้จักบุคคล; อีกหมวดหนึ่งมี ๘ อย่างคือ ๑.ประกอบด้วย สัทธรรม ๗ ประการ ๒.ภักดีสัตบุรษ (คบหาผู้มีสัทธรรม ๗) ๓.คิดอย่างสัตบุรุษ ๔.ปรึกษาอย่างสัตบุรุษ ๕.พูดอย่างสัตบุรุษ ๖.ทำอย่างสัตบุรุษ (๓-๔-๕-๖ คือ คิดปรึกษา พูด ทำ มิใช่เพื่อเบียดเบียนตน และผู้อื่น) ๗.มีความเห็นอย่างสัตบุรุษ (คือเห็นชอบว่า ทำดีมีผลดี ทำชั่วมีผลชั่วเป็นต้น) ๘.ให้ทานอย่างสัตบุรุษ (คือให้โดยเคารพ เอื้อเฟื้อ แก่ของและผู้รับทาน เป็นต้น)
  17. สัปปุรุษ : เป็นคำเลือนปะปนระหว่าง สัปปุริส ที่เขียนอย่างบาลี กับ สัตบุรุษ ที่เขียนอย่างสันสกฤต มีความหมายอย่างเดียวกัน (ดู สัตบุรุษ)แต่ในภาษาไทยเป็นคำอยู่ข้างโบราณ ใช้กันในความหมายว่า คฤหัสถ์ผู้มีศรัทธาในพระศาสนา เฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่ไปร่วมกิจกรรมทางบุญทางกุศล รักษาศีลฟังธรรมเป็นประจำที่วัดใดวัดหนึ่งบางทีเรียกตามความผูกพันกับวัดว่า สัปปุรุษวัดนั้น สัปปุรุษวัดนี้
  18. สัพพโลเกอนภิรตสัญญา : กำหนดหมายถึงความไม่น่าเพลิดเพลินในโลกทั้งปวง (ข้อ ๘ ในสัญญา ๑๐)
  19. สัพพสังขาเรสุอนิฏฐสัญญา : กำหนดหมายถึงความไม่น่าปรารถนาในสังขารทั้งปวง (ข้อ ๙ ในสัญญา ๑๐)
  20. สัพพัญญุตญาณ : ญาณคือความเป็นพระสัพพัญญู, พระปรีชาญาณหยั่งรู้สิ่งทั้งปวง ทั้งที่เป็นอดีต ปัจจุบัน และอนาคต
  21. สัมปชานมุสาวาท : ผู้รู้อยู่กล่าวเท็จ, การพูดเท็จทั้งที่รู้ คือรู้ความจริง แต่จงใจพูดให้คลาดจากความจริง เพื่อให้ผู้ฟังเข้าใจเป็นอย่างอื่นจากความจริง (สิกขาบทที่ ๑ แห่งมุสาวาทวรรค ปาจิตติยกัณฑ์)
  22. สัมปรายิกัตถะ : ประโยชน์ภายหน้า, ประโยชน์ขั้นสูงขึ้นไป อันได้แก่ความมีจิตใจเจริญงอกงามด้วยคุณธรรมความดี ทำให้ชีวิตนี้มีค่าและเป็นหลักประกันชีวิตในภพหน้า ซึ่งจะสำเร็จได้ด้วยธรรม ๔ ประการ คือ ๑.สัทธาสัมปทา ถึงพร้อมด้วยศรัทธา ๒.สีลสัมปทา ถึงพร้อมด้วยศีล ๓.จาคสัมปทา ถึงพร้อมด้วยการบริจาค ๔.ปัญญาสัมปทา ถึงพร้อมด้วยปัญญา ธรรม ๔ อย่างนี้เรียกเต็มว่า สัมปรายิกัตถสังวัตตนิกธรรม
  23. สัมปหังสนา : การทำให้ร่าเริง หรือปลุกให้ร่าเริง คือ ทำบรรยากาศให้สนุกสดชื่นแจ่มใส เบิกบานใจ ให้ผู้ฟังแช่มชื่นมีความหวัง มองเห็นผลดีและทางสำเร็จ; เป็นลักษณะอย่างหนึ่งของการสอนที่ดีตามแนวพุทธจริยา (ข้อก่อนคือสมุตเตชนา)
  24. สัมมากัมมันตะ : ทำการชอบ หรือการงานชอบ ได้แก่ การกระทำที่เว้นจากความประพฤติชั่วทางกาย ๓ อย่าง คือฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม คือ เว้นจาก กายทุจริต ๓ (ข้อ ๔ ในมรรค)
  25. สัมมาทิฏฐิ : ปัญญาอันเห็นชอบ คือเห็นอริยสัจ ๔, เห็นชอบตามคลองธรรมว่า ทำดีมีผลดี ทำชั่วมีผลชั่ว มารดาบิดามี (คือมีคุณความดีควรแก่ฐานะหนึ่งที่เรียกว่ามารดาบิดา) ฯลฯ, เห็นถูกต้องตามที่เป็นจริงว่าขันธ์ ๕ ไม่เที่ยงเป็นต้น (ข้อ ๑ ในมรรค)
  26. สัมมาทิฏฐิสูตร : พระสูตรแสดงความหมายต่าง ๆ แห่งสัมมาทิฏฐิ เป็นภาษิตของพระสารีบุตร (สูตรที่ ๙ ในมัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ พระสุตตันตปิฏก)
  27. สัมมาปาสะ : “บ่วงคล้องไว้มั่น”, ความรู้จักผูกผสานรวมใจประชาชน ด้วยการส่งเสริมอาชีพ เช่น ให้คนจนกู้ยืมทุนไปสร้างตัวในพาณิชยกรรม เป็นต้น (ข้อ ๓ ใน ราชสังคหวัตถุ ๔)
  28. สัมมุขาวินัย : ระเบียบอันพึงทำในที่พร้อมหน้า, วิธีระงับต่อหน้า ได้แก่การระงับอธิกรณ์ในที่พร้อมหน้าสงฆ์ (สังฆสัมมุขตา คือภิกษุเข้าประชุมครบองค์สงฆ์), ในที่พร้อมหน้าบุคคล ( ปุคคลสัมมุขตา คือ บุคคลที่เกี่ยวข้องในเรื่องนั้นอยู่พร้อมหน้ากัน), ในที่พร้อมหน้าวัตถุ ( วัตถุสัมมุขตา คือยกเรื่องที่เกิดนั้นขึ้นวินิจฉัย), ในที่พร้อมหน้าธรรมวินัย ( ธัมมสัมมุขตา และ วินยสัมมุขตา คือนำเอาหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ตามพระธรรมวินัยมาใช้ปฏิบัติ ได้แก่วินิจฉันถูกธรรม ถูกวินัย); สัมมุขาวินัย ใช้เป็นเครื่องระงับอธิกรณ์ได้ทุกอย่าง
  29. สาคตะ : พระมหาสาวกองค์หนึ่ง เกิดในตระกูลพราหมณ์ในพระนครสาวัตถีได้ฟังพระธรรมเทศนาของพระศาสดามีความเลื่อมใส ขอบวชแล้วทำความเพียรเจริญสมาบัติ ๘ ประการ จนมีความชำนาญในสมาบัติ ท่านเป็นต้นบัญญัติสุราปานสิกขาบท และเพราะเกิดความสังเวชในเหตุการณ์ที่เกิดกับตนครั้งนี้ จึงเจริญวิปัสสนากัมมัฏฐาน จนได้สำเร็จพระอรหัต ได้รับยกย่องว่าเป็นเอตทัคคะในทางเตโชธาตุสมาบัติ
  30. สาชีพ : แบบแผนแห่งความประพฤติที่ทำให้ชีวิตร่วมเป็นอันเดียวกัน ได้แก่สิกขาบททั้งปวงที่พระพุทธเจ้าได้ทรงบัญญัติไว้ในพระวินัย อันทำให้ภิกษุทั้งหลายผู้มาจากถิ่นฐานชาติตระกูลต่าง ๆกัน มามีความเป็นอยู่เสมอเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน; มาคู่กับ สิกขา
  31. สาเถยยะ : โอ้อวด, ความโอ้อวดหลอกเขา; เขียน สาไถย ก็ได้ (ข้อ ๖ ในมละ ๙, ข้อ ๑๐ ในอุปกิเลส ๑๖)
  32. สาธุการ : การเปล่งวาจาว่า สาธุ (แปลว่าดีแล้ว ชอบแล้ว) เพื่อแสดงความเห็นชอบด้วย ชื่นชม หรือยกย่องสรรเสริญ
  33. สามัญ : ๑.ปรกติ, ธรรมดา, ทั่ว ๆ ไป ๒.ความเป็นสมณะ; มักเขียนสามัญญะ
  34. สามัญญผลสูตร : สูตรที่ ๒ ในคัมภีร์ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค พระสุตตันตปิฏก ว่าด้วยผลของความเป็นสมณะคือประโยชน์ที่จะได้จากการดำรงเพศเป็นสมณะ หรือบำเพ็ญสมณธรรม
  35. สามัญญลักษณะ : ลักษณะที่เสมอกันแก่สังขารทั้งปวง ได้แก่ ๑.อนิจจตา ความเป็นของไม่เที่ยง ๒.ทุกขตา ความเป็นทุกข์หรือความเป็นของคงทนอยู่มิได้ ๓.อนัตตตา ความเป็นของไม่ใช่ตัวตนแสดงความตามบาลีดังนี้ ๑.สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจา สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง ๒.สพฺเพ สงฺขารา ทุกฺขา สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ ๓.สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา ธรรมทั้งปวงมิใช่ตัวตน; ลักษณะเหล่านี้มี ๓ อย่าง จึงเรียกว่า ไตรลักษณ์, ลักษณะเหล่านี้เป็นของแน่นอน เป็นกฎธรรมดา จึงเรียกว่า ธรรมนิยาม
  36. สามัญผล : ผลแห่งความเป็นสมณะ; ดู สามัญญผลสูตร
  37. สามีจิกรรม : การชอบ, กิจชอบ, การกระทำที่สมควร, การแสดงความเคารพ
  38. สารัตถทีปนี : ชื่อคัมภีร์ฎีกาอธิบายความในสมันตปาสาทิกา ซึ่งเป็นอรรถกถาแห่งพระวินัยปิฎก พระสารีบุตรเถระแห่งเกาะลังกา เป็นผู้รจนาในรัชกาลของพระเจ้าปรักกมพาหุที่ ๑ (พ.ศ.๑๖๙๖-๑๗๒๙)
  39. สารัตถปกาสินี : ชื่อคัมภีร์อรรถกถาอธิบายความในสังยุตตนิกาย แห่งพระสุตตันตปิฎก พระพุทธโฆษาจารย์รจนาในเกาะลังกา เมื่อ พ.ศ.ใกล้จะถึง ๑๐๐๐
  40. สารัมภะ : ราคะกล้า, ความกำหนัดย้อมใจ
  41. สาราณียธรรม : ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความให้ระลึกถึง, ธรรมเป็นเหตุให้ระลึกถึงกัน ทำให้มีความเคารพกัน ช่วยเหลือกัน และสามัคคีพร้อมเพรียงกันมี ๖ อย่างคือ ๑.ตั้งกายกรรมประกอบด้วยเมตตาในเพื่อนภิกษุสามเณร ๒.ตั้งวจีกรรมประกอบด้วยเมตตาในเพื่อนภิกษุสามเณร ๓.ตั้งมโนกรรมประกอบด้วยเมตตาในเพื่อนภิกษุสามเณร ๔.แบ่งปันลาภที่ได้มาโดยชอบธรรม ๕.รักษาศีลบริสุทธิ์เสมอกับเพื่อนภิกษุสามเณร (มีสีลสามัญญตา) ๖.มีความเห็นร่วมกันได้กับภิกษุสามเณรอื่น ๆ (มีทิฏฐิสามัญญตา); สารณียธรรม ก็เขียน
  42. สารีบุตร : พระอัครสาวกเบื้องขวาของพระพุทธเจ้า เกิดที่หมู่บ้านนาลกะ (บางแห่งเรียกนาลันทะ) ไม่ไกลจากเมืองราชคฤห์ เป็นบุตรแห่งตระกูลหัวหน้าหมู่บ้านนั้น บิดาชื่อวังคันตพราหมณ์ มารดาชื่อ สารี จึงได้นามว่าสารีบุตร แต่เมื่อยังเยาว์เรียกว่า อุปติสสะ มีเพื่อนสนิทชื่อ โกลิตะ ซึ่งต่อมาคือ พระมหาโมคคัลลานะ มีน้องชาย ๓ คนชื่อ จุนทะ อุปเสนะ และเรวตะ น้องหญิง ๓ คน ชื่อจาลา อุปจาลา และสีสุปจาลา ซึ่งต่อมาได้บวชในพระธรรมวินัยทั้งหมด เมื่ออุปติสสะและโกลิตะจะบวชนั้น ทั้ง ๒ คนไปเที่ยวดูมหรสพที่ยอดเขาด้วยกัน คราวหนึ่งไปดูแล้วเกิดความสลดใจ คิดออกแสวงหาโมกขธรรม และต่อมาได้บวชอยู่ในสำนักของสัญชัยปริพาชกแต่ก็ไม่บรรลุจุดมุ่งหมาย จนวันหนึ่งอุปติสสปริพาชก พบพระอัสสชิเถระขณะท่านบิณฑบาต เกิดความเลื่อมใสติดตามไปสนทนาขอถามหลักคำสอนได้ฟังความย่อเพียงคาถาเดียวก็ได้ดวงตาเห็นธรรม กลับไปบอกข่าวแก่โกลิตะแล้วพากันไปเฝ้าพระพุทธเจ้า มีปริพาชกที่เป็นศิษย์ตามไปด้วยถึง ๒๕๐ คน ได้รับเอหิภิกขุอุปสมบททั้งหมดที่เวฬุวัน เมื่อบวชแล้วได้ ๑๕ วัน พระสารีบุตรได้ฟังพระธรรมเทศนาเวทนาปริคคหสูตรที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่ทีฆนขปริพาชก ณ ถ้ำสุกรขาตา เขาคิชฌกูฏ ก็ได้บรรลุพระอรหัต ได้รับยกย่องเป็น เอตทัคคะ ในทางมีปัญญามาก และเป็น พระอัครสาวกฝ่ายขวา ท่านได้เป็นกำลังสำคัญของพระพุทธเจ้าในการประกาศพระศาสนา และได้รับยกย่องเป็น พระธรรมเสนาบดี คำสอนของท่านปรากฏอยู่ในพระไตรปิฏกเป็นอันมาก เช่น สังคีติสูตร และทสุตตรสูตร ที่เป็นแบบอย่างแห่งการสังคายนา เป็นต้น ท่านปรินิพพานก่อนพระพุทธเจ้าไม่กี่เดือนเมื่อจวนจะปรินิพพาน ท่านเดินทางไปโปรดมารดาของท่านซึ่งยังเป็นมิจฉาทิฐิให้มารดาได้เป็นพระโสดาบันแล้ว ปรินิพพานที่บ้านเกิด ด้วยปักขันทิกาพาธ หลังจากปลงศพแล้วพระจุนทะน้องชายของท่านนำอัฐิธาตุไปถวายพระบรมศาสดา พระองค์ตรัสว่าให้ก่อสถูปบรรจุอัฐิธาตุของท่านไว้ ณ พระเชตวัน เมืองสาวัตถี (อรรถกถาว่าท่านปรินิพพานในวันเพ็ญเดือน ๑๒ จึงเท่ากับ ๖ เดือนก่อนพุทธปรินิพพาน)
  43. สิคาลมาตา : พระมหาสาวิกาองค์หนึ่งเป็นธิดาเศรษฐีในพระนครราชคฤห์เจริญวัยแล้ว แต่งงาน มีบุตรคนหนึ่งชื่อ สิงคาลกุมาร วันหนึ่งได้ฟังธรรมีกถาของพระศาสดา มีความเลื่อมใส (คัมภีร์อปทานว่า ได้ฟังสิงคาลกสูตรที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่บุตรของนาง ซึ่งว่าด้วยเรื่องอบายมุข มิตรแท้ มิตรเทียม ทิศ ๖ เป็น และได้บรรลุโสดาปัตติผล) ขอบวชเป็นภิกษุณีต่อมาได้ไปฟังธรรมเทศนาที่พระศาสดาทรงแสดง นางคอยตั้งตาดูพระพุทธสิริสมบัติด้วยศรัทธาอันแรงกล้าพระพุทธองค์ทรงทราบกับอัธยาศัยของนาง นางส่งใจไปตามกระแสพระธรรมเทศนาก็ได้บรรลุพระอรหัต ได้รับยกย่องว่า เป็นเอตทัคคะในทางศรัทธาธิมุต, สิคาลกมาตา หรือ สิงคาลมาตา ก็เรียก
  44. สิทธัตถกุมาร : พระนามเดิมของพระพุทธเจ้า ก่อนเสด็จออกบรรพชา ทรงเป็นพระราชโอรสของพระเจ้าสุทโธทนะและพระนางสิริมหามายา คำว่า สิทธัตถะ แปลว่า มีความต้องการสำเร็จหรือสำเร็จตามที่ต้องการ คือสมประสงค์ จะต้องการอะไรได้หมด ทรงอภิเษกสมรสกับพระนางยโสธรา เมื่อพระชนมายุ ๑๖ ปี เสด็จออกบรรพชาเมื่อพระชนมายุ ๒๙ ปี ได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า เมื่อพระชนมายุ ๓๕ ปี ปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ ๘๐ ปี
  45. สิลิฏฐพจน์ : คำสละสลวย, คำไพเราะ, ได้แก่คำควบกับอีกคำหนึ่งเพื่อให้ฟังไพเราะในภาษา หาได้มีใจความพิเศษออกไปไม่ เช่น คำว่าคณะสงฆ์ คณะก็คือสงฆ์ซึ่งแปลว่าหมู่ หมายถึงหมู่แห่งภิกษุจำนวนหนึ่ง “คณะ” คำนี้เรียกว่าเป็นสิลิฏฐพจน์ ในภาษาไทยเรียกว่าคำติดปาก ไม่ได้เพ่งเนื้อความ
  46. สีมา : เขตกำหนดความพร้อมเพรียงของสงฆ์, เขตชุมนุมของสงฆ์, เขตที่สงฆ์ตกลงไว้สำหรับภิกษุทั้งหลายที่อยู่ภายในเขตนั้นจะต้องทำสังฆกรรมร่วมกัน แบ่งเป็น ๒ ประเภทใหญ่ คือ ๑.พัทธสีมา แดนที่ผูก ได้แก่ เขตที่สงฆ์กำหนดขึ้นเอง ๒.อพัทธสีมา แดนที่ไม่ได้ผูก ได้แก่เขตที่ทางบ้านเมืองกำหนดไว้แล้วตามปกติของเขา หรือที่มีอย่างอื่นในทางธรรมชาติเป็นเครื่องกำหนด สงฆ์ถือเอาตามกำหนดนั้นไม่วางกำหนดขึ้นเองใหม่
  47. สุขของคฤหัสก์ : สุขอันชอบธรรมที่ผู้ครองเรือนควรมี และควรขวนขวายให้มีอยู่เสมอ มี ๔ อย่างคือ ๑.สุขเกิดจากความมีทรัพย์ (ที่ได้มาด้วยเรี่ยวแรงของตน โดยทางชอบธรรม) ๒.สุขเกิดจากการใช้จ่ายทรัพย์ (เลี้ยงตนเลี้ยงคนควรเลี้ยง และทำประโยชน์) ๓.สุขเกิดความประพฤติไม่มีโทษ (มีสุจริตทั้ง กาย วาจา และใจ), เฉพาะข้อ ๔ ตามแบบเรียนว่า สุขเกิดแต่ประกอบการงานที่ปราศจากโทษ
  48. สุขสมบัติ : สมบัติคือความสุข, ความถึงพร้อมด้วยความสุข
  49. สุขาวดี : แดนที่มีความสุข, เป็นชื่อสวรรค์ของพระอมิตาภพุทธ ฝ่ายมหายาน
  50. สุคโต : “เสด็จไปดีแล้ว” คือ ทรงมีทางเสด็จที่ดีงามอันได้แก่อริยมรรค, เสด็จไปด้วยดีโดยชอบ กล่าวคือ ทรงดำเนินรุดหน้าไม่หวนกลับคืนมาสู่กิเลสที่ทรงละได้แล้ว ทรงดำเนินสู่ผลสำเร็จไม่ถอยหลัง ไม่กลับตกจากฐานะที่ลุถึงทรงดำเนินในทางอันถูกต้องคือมัชฌิมาปฏิปทา ไม่เฉเชือนไปในทางผิด คือ กามสุขัลลิกานุโยคและอัตตกิลมถานุโยค เสด็จไปดี เสด็จที่ใดก็ทรงทำประโยชน์ให้แก่มหาชนในที่นั้น เสด็จไปโดยสวัสดีและนำให้เกิดความสวัสดีแม้แต่พบองคุลิมาลมหาโจรร้าย ก็ทรงกลับใจให้เขากลายเป็นคนดีไม่มีภัยเสด็จผ่านไปแล้วด้วยดี ได้ทรงบำเพ็ญพุทธกิจไว้บริบูรณ์ ประดิษฐานพระพุทธศาสนาไว้ เพื่อชาวโลก ให้เป็นเครื่องเผล็ดประโยชน์แก่ประชาชนทั้งปวงผู้เกิดมาในภายหลัง, ทรงมีพระวาจาดี หรือตรัสโดยชอบ คือ ตรัสแต่คำจริงแท้ ประกอบด้วยประโยชน์ ในกาลที่ควรตรัส และแก่บุคคลที่ควรตรัส (ข้อ ๔ ในพุทธคุณ ๙)
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | [851-900] | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1090

(0.0431 sec)