Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ความเกี่ยวข้อง, เกี่ยวข้อง, ความ , then กยวของ, เกี่ยวข้อง, ความ, ความกยวของ, ความเกี่ยวข้อง .

Budhism Thai-Thai Dict : ความเกี่ยวข้อง, 1090 found, display 951-1000
  1. อนิฏฐารมณ์ : อารมณ์ที่ไม่น่าปรารถนา, สิ่งที่คนไม่อยากได้ไม่อยากพบ แสดงในแง่ตรงข้ามกับกามคุณ ๕ ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ที่ไม่น่ารักใคร่ ไม่น่าชอบใจ แสดงในแง่โลกธรรม ได้แก่ ความเสื่อมลาภ ความเสื่อมยศ การนินทา และความทุกข์ เทียบ อิฏฐารมณ์
  2. อนิมิตตสมาธิ : สมาธิอันพิจารณาธรรมไม่มีนิมิต คือ วิปัสสนาที่ให้ถึงความหลุดพ้นด้วยกำหนดอนิจจลักษณะ (ข้อ ๒ ในสมาธิ ๓)
  3. อนุเคราะห์ : เอื้อเฟื้อ, ช่วยเหลือ; ความเอื้อเฟื้อ, การช่วยเหลือ
  4. อนุตฺตโร ปุริสทมมฺมสารถิ : ทรงเป็นสารถี ฝึกคนที่ควรฝึกได้เป็นเยี่ยม ทรงรู้จักใช้อุบายให้เหมาะแก่บุคคล สอนเขาได้โดยไม่ต้องใช้อาชญา และทำให้เขาบรรลุผลที่พึงได้ เต็มตามกำลังความสามารถของเขา (ข้อ ๖ ในพุทธคุณ ๙)
  5. อนุปุพพิกถา : เทศนาที่แสดงไปโดยลำดับ เพื่อฟอกอัธยาศัยของสัตว์ให้หมดจดเป็นชั้นๆ จากง่ายไปหายากเพื่อเตรียมจิตของผู้ฟังให้พร้อมที่จะรับฟังอริยสัจ มี ๕ คือ ๑) ทานกถา พรรณนาทาน ๒) สีลกถา พรรณนาศีล ๓) สัคคกถา พรรณนาสวรรค์ คือ ความสุขที่พรั่งพร้อมด้วยกาม ๔) กามาทีนวกถา พรรณนาโทษของกาม ๕) เนกขัมมานิสังสกถา พรรณาอานิสงส์แห่งการออกจากกาม
  6. อนุมาน : คาดคะเน, ความคาดหมาย
  7. อนุโมทนา : 1) ความยินดีตาม, ความยินดีด้วย, การพลอยยินดี, การแสดงความเห็นชอบ; เห็นด้วย, แสดงความชื่นชมหรือซาบซึ้งเห็นคุณค่าแห่งการกระทำของผู้อื่น (บัดนี้ บางทีใช้ในความหมายคล้ายคำว่าขอบคุณ) 2) ในภาษาไทย นิยมใช้สำหรับพระสงฆ์ หมายถึง ให้พร เช่นเรียกคำให้พรของพระสงฆ์วาคำอนุโมทนา
  8. อนุรักษ์ : รักษาและเสริมทวี, รักษาสิ่งที่เกิดมีขึ้นแล้วและทำสิ่งที่เกิดมีขึ้นแล้วนั้นให้งอกงามเพิ่มทวียิ่งขึ้นไปจนไพบูลย์; ในภาษาไทย ใช้ในความหมายว่า รักษาให้คงเดิม
  9. อนุศาสน์ : การสอน, คำชี้แจง; คำสอนที่อุปัชฌาย์หรือกรรมวาจาจารย์บอกแก่ภิกษุใหม่ ในเวลาอุปสมบทเสร็จประกอบด้วย นิสสัย ๔ และ อกรณียกิจ ๔ นิสสัย คือ ปัจจัยเครื่องอาศัยของบรรพชิต มี ๔ อย่าง ได้แก่ ๑) เที่ยวบิณฑบาต ๒) นุ่งห่มผ้าบังสุกุล ๓) อยู่โคนไม้ ๔) ฉันยาดองด้วยน้ำมูตรเน่า (ท่านบอกไว้เป็นทางแสวงหาปัจจัย ๔ พร้อมทั้งอตเรกลาภของภิกษุ) อกรณียกิจ กิจที่ไม่ควรทำ หมายถึง กิจที่บรรพชิตทำไม่ได้ มี ๔ อย่าง ได้แก่ ๑) เสพเมถุน ๒) ลักของเขา ๓) ฆ่าสัตว์ (ที่ให้าดจากความเป็นภิกษุหมายเอาฆ่ามนุษย์) ๔) พูดอวดคุณวิเศษที่ไม่มีในตน
  10. อนุสสตานุตตริยะ : การระลึกอันเยี่ยม ได้แก่ การระลึกถึงพระตถาคต และตถาคตสาวก ซึ่งจะเป็นไปเพื่อความบริสุทธิ์ล่วงพ้นทุกข์ได้ (ข้อ ๖ ใน อนุตตริยะ ๖)
  11. อนุสัย : กิเลสที่แฝงตัวนอนเนื่องอยู่ในสันดาน มี ๗ คือ ๑) กามราคะ ความกำหนัดในกาม ๒) ปฏิฆะ ความหงุดหงิด ๓) ทิฏฐิ ความเห็นผิด ๔) วิจิกิจฉา ความลังเลสัยสัย ๕) มานะ ความถือตัว ๖) ภวราคะ ความกำหนดในภพ ๗) อวิชชา ความไม่รู้จริง
  12. อนุสาวนา : คำสวดประกาศ, คำประกาศความปรึกษาและตกลงของสงฆ์, คำขอมติ
  13. อบาย : ภูมิกำเนิดที่ปราศจากความเจริญ มี ๔ อย่าง คือ ๑) นิรยะ นรก ๒) ติรัจฉานโยนิ กำเนิดดิรัจฉาน ๓) ปิตติวิสัย ภูมิแห่งเปรต ๔) อสุรกาย พวกอสุรกาย
  14. อบายภูมิ : ภูมิกำเนิดที่ปราศจากความเจริญ มี ๔ อย่าง คือ ๑) นิรยะ นรก ๒) ติรัจฉานโยนิ กำเนิดดิรัจฉาน ๓) ปิตติวิสัย ภูมิแห่งเปรต ๔) อสุรกาย พวกอสุรกาย
  15. อบายมุข : ช่องทางของความเสื่อม, เหตุเครื่องฉิบหาย, เหตุย่อยยับแห่งโภคทรัพย์, ทางแห่งความพินาศ มี ๔ อย่าง คือ ๑) เป็นนักเลงหญิง ๒) เป็นนักเลงสุรา ๓) เป็นนักเลงการพนัน ๔) คบคนชั่วเป็นมิตร; อีกหมวดหนึ่งมี ๖ คือ ๑) ติดสุราและของมึนเมา ๒) ชอบเที่ยวกลางคืน ๓) ชอบเที่ยวดูการเล่น ๔) เล่นการพนัน ๕) คบคนชั่วเป็นมิตร ๖) เกียจคร้านการงาน
  16. อปริหานิยธรรม : ธรรมไม่เป็นที่ตั้งแห่งความเสื่อม, ธรรมที่ทำให้ไม่เสื่อม เป็นไปเพื่อความเจริญฝ่ายเดียว มี ๗ อย่าง ที่ตรัสสำหรับภิกษุ (ภิกขุอปริหาริยธรรม) ยกมาแสดงหมวดหนึ่ง ดังนี้ ๑) หมั่นประชุมกันเนืองนิตย์ ๒) เมื่อประชุมก็พร้อมเพรียงกันประชุม เมื่อเลิกประชุมก็พร้อมเพรียงกันเลิก และพร้อมเพรียงช่วยกันทำกิจที่สงฆ์จะต้องทำ ๓) ไม่บัญญัติสิ่งที่พระพุทธเจ้าไม่บัญญัติขึ้น ไม่ถอนสิ่งที่พระองค์บัญญัติไว้แล้ว สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบทตามที่พระองค์ทรงบัญญัติไว้ ๔) ภิกษุเหล่าใด เป็นผู้ใหญ่เป็นประธานในสงฆ์ เคารพนับถือภิกษุเหล่านั้น เชื่อฟังถ้อยคำของท่าน ๕) ไม่ลุอำนาจแก่ความอยากที่เกิดขึ้น ๖) ยินดีในเสนาสนะป่า ๗) ตั้งในอยู่ว่า เพื่อนภิกษุสามเณรซึ่งเป็นผู้มีศีล ซึ่งยังไม่มาสู่อาวาส ขอให้มา ที่มาแล้วขอให้อยู่เป็นสุข
  17. อปโลกน์ : บอกเล่า, การบอกเล่า, การบอกกล่าวแก่ที่ประชุมเพื่อให้รับทราบพร้อมกัน หรือขอความเห็นชอบร่วมกัน ในกิจบางอย่างของส่วนรวม, ใช้ใน อปโลกนกรรม
  18. อปโลกนกรรม : กรรมคือการบอกเล่า, กรรมอันทำด้วยการบอกกันในที่ประชุมสงฆ์ ไม่ต้องตั้ง ญัตติ คือคำเผดียงไม่ต้องสวด อนุสาวนา คือประกาศความปรึกษาและตกลงของสงฆ์ เช่น ประกาศลงพรหมทัณฑ์ นาสนะสามเณรผู้กล่าวตู่พระพุทธเจ้า อปโลกน์ แจกอาหารในโรงฉัน เป็นต้น
  19. อปัณณกปฏิปทา : ข้อปฏิบัติที่ไม่ผิด, ทางดำเนินที่ไม่ผิด มี ๓ คือ ๑) อินทรียสังวร การสำรวมอินทรีย์ ๒) โภชเนมัตตัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักประมาณในการบริโภค ๓) ชาคริยานุโยค การหมั่นประกอบความตื่น ไม่เห็นแก่นอน
  20. อภัพบุคคล : บุคคลผู้ไม่สมควร, มีความหมายตามข้อความแวดล้อม เช่น คนที่ไม่อาจบรรลุโลกุตตรธรรมได้ คนที่ขาดคุณสมบัติ ไม่อาจให้อุปสมบทได้ เป็นต้น
  21. อภัยทาน : ให้ความไม่มีภัย, ให้ความปลอดภัย
  22. อภิชฌา : โลภอยากได้ของเขา, ความคิด เพ่งเล็งจ้องจะเอาของคนอื่น (ข้อ ๘ ในอกุศลกรรมบถ ๑๐)
  23. อภิชฌาวิสมโลภ : ละโมบไม่สม่ำเสมอ, ความโลภอย่างแรงกล้า จ้องจะเอาไม่เลือกว่าควรไม่ควร (ข้อ ๑ ในอุปกิเลส ๑๖)
  24. อภิฐาน : ฐานะอย่างหนัก, ความผิดสถานหนัก มี ๖ อย่าง คือ ๑) มาตุฆาต ฆ่ามารดา ๒) ปิตุฆาต ฆ่าบิดา ๓) อรหันตฆาต ฆ่าพระอรหันต์ ๔) โลหิตุปบาท ทำร้ายพระพุทธเจ้าให้ถึงห้อพระโลหิต ๕) สังฆเภท ทำสงฆ์ให้แตกกัน ๖) อัญญสัตถุเทส ถือศาสดาอื่น
  25. อภิณหปัจจเวกขณ์ : ข้อที่ควรพิจารณาเนืองๆ, เรื่องที่ควรพิจารณาทุกๆ วัน มี ๕ อย่าง คือ ๑) ควรพิจารณาทุกวันๆ ว่า เรามีความแก่เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความแก่ไปได้ ๒) ว่าเรามีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความเจ็บไข้ไปได้ ๓) ว่าเรามีความตายเป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความตายไปได้ ๔) ว่า เราจะต้องพลัดพรากจากของรักของชอบใจทั้งสิ้น ๕) ว่าเรามีกรรมเป็นของตัว เราทำดีจักได้ดี เราทำชั่วจักได้ชั่ว; อีกหมวดหนึ่ง สำหรับบรรพชิต แปลว่า ธรรมที่บรรพชิตควรพิจารณาเนืองๆ ๑๐ อย่าง (ปัพพชิตอภิรหปัจจเวกขณ์) คือ ๑) บรรพชิตควรพิจารณาเนืองๆ ว่า บัดนี้ เรามีเพศต่างจากคฤหัสถ์แล้ว ๒) ว่า การเลี้ยงชีพของเราเนื่องด้วยผู้อื่น ๓) ว่าเรามีอากัปกิริยาอย่างอื่นที่จะพึงทำ ๔) ว่า ตัวเราเองยังติเตียนตัวเราเองโดยศีลไม่ได้อยู่หรือไม่ ๕) ว่าเพื่อนพรหมจรรย์ผู้เป็นวิญญู ใคร่ครวญแล้ว ยังติเตียนเราโดยศีลไม่ได้อยู่หรือไม่ ๖) ว่า เราจะต้องพลัดพรากจากของรักของชอบใจทั้งสิ้น ๗) ว่าเรามีกรรมเป็นของตน เราทำดีจักได้ดี เราทำชั่วจักได้ชั่ว ๘) ว่า วันคืนล่วงไปๆ บัดนี้เราทำอะไรอยู่ ๙) ว่า เรายินดีในที่สงัดอยู่หรือไม่ ๑๐) ว่า คุณวิเศษที่เราบรรลุแล้วมีอยู่หรือไม่ ที่จะทำให้เราเป็นผู้ไม่เก้อเขิน เมือถูกเพื่อนบรรพชิตถามในกาลภายหลัง (ข้อ ๑ ท่านเติมท้ายว่าอาการกิริยาใดๆ ของสมณะ เราต้องทำอาการกิริยานั้นๆ ข้อ ๒) เติมว่าเราควรทำตัวให้เขาเลี้ยงง่าย ข้อ ๗) ท่านเขียนว่า อาการกายวาจาอย่างอื่นที่เราจะต้องทำให้ดีขึ้น ไปกว่านี้ยังมีอยู่อีก ไม่ใช่เพียงเท่านี้)
  26. อภิธัมมัตถวิภาวินี : ชื่อคัมภีร์ฎีกาอธิบายความในคัมภีร์อภิธัมมัตถสังคหะ พระสุมังคละผู้เป็นศิษย์ของพระอาจารย์สารีบุตร ซึ่งเป็นปราชญ์ในรัชกาลของพระเจ้าปรักกมพาหุที่ ๑ (พ) ศ) ๑๖๙๖-๑๗๒๙) รจนาขึ้นในลังกาทวีป
  27. อภิธัมมัตถสังคหะ : คัมภีร์ประมวล สรุปเนื้อความในพระอภิธรรมปิฎกอนุรุทธาจารย์แห่งมูลโสมวิหาร ในลังกาทวีป รจนาขึ้น เมื่อประมาณ พ) ศ) ๑๗๐๐
  28. อภิสมาจาริกวัตร : วัตรเกี่ยวด้วยความประพฤติอันดี, ธรรมเนียมเกี่ยวกับมรรยาทและความเป็นอยู่ที่ดีงาม
  29. อภิสมาจาริกาสิกขา : หลักการศึกษาอบรมในฝ่ายขนบธรรมเนียมที่จะชักนำความประพฤติ ความเป็นอยู่ของพระสงฆ์ให้ดีงามมีคุณยิ่งขึ้นไป, สิกขาฝ่ายอภิสมาจาร เทียบ อาทิพรหมจริยกาสิกขา
  30. อมฤต : เป็นชื่อน้ำทิพย์ที่ทำผู้ดื่มให้ไม่ตาย ตามเรื่องว่า เทวดาทั้งหลายคิดหาของเครื่องกันตาย พากันไปถามพระเป็นเจ้า พระเป็นเจ้ารับสั่งให้กวนมหาสมุทร เทวดาทั้งหลายก็ทำตามโดยวิธีใช้ภูเขารองข้างล่างลูกหนึ่ง วางข้างบนลูกหนึ่ง ที่กลางมหาสมุทรลักษณะคล้ายโม่สำหรับโม่แป้ง เอานาคพันเข้าที่ภูเขาลูกบนแล้วช่วยกันชักสองข้าง อาศัยความร้อนที่เกิดจากความหมุนเวียนเบียดเสียดแห่งภูเขา ต้นไม้ทั้งหลายที่เป็นยาบนภูเขา ได้คายรสลงไปในมหาสมุทรจนข้นเป็นปลักแล้ว เกิดเป็นน้ำทิพย์ขึ้นในท่ามกลางมหาสมุทร เรียกว่า น้ำอมฤตบ้าง น้ำสุรามฤตบ้าง
  31. อมูฬหวินัย : ระเบียบที่ให้แก่ภิกษุผู้หายเป็นบ้าแล้ว, วิธีระงับอธิกรณ์สำหรับภิกษุผู้หายจากเป็นบ้า ได้แก่ กิริยาที่สงฆ์สวดประกาศให้สมมติแก่ภิกษุผู้หายเป็นบ้าแล้ว เพื่อระงับอนุวาทาธิกรณ์ อธิบายว่า จำเลยเป็นบ้าทำการล่วงละเมิดอาบัติ แม้จะเป็นจริงก็เป็นอนาบัติ เมื่อเธอหายบ้าแล้วมีผู้โจทด้วยอาบัติระหว่างเป้นบ้านั้นไม่รู้จบ ท่านให้สงฆ์สวดกรรมวาจาประกาศความข้อนี้ไว้ เรียกว่า อมูฬหวินัย ยกฟ้องของโจทเสีย ภายหลังมีผู้โจทด้วยอาบัตินั้น หรืออาบัติเช่นนั้น ในความที่เป็นบ้า ก็ให้อธิกรณ์เป็นอันระงับด้วยอมูฬหวินัย (ข้อ ๓ ในอธิกรณสมถะ ๗)
  32. อโยนิโสมนสิการ : การทำในใจโดยไม่แยบคาย, การไม่ใช้ปัญญาพิจารณา, ความไม่รู้จักคิด, การปล่อยให้อวิชชาตัณหาครอบงำ; เทียบ โยนิโสมนสิการ
  33. อรรถ : เนื้อความ, ใจความ, ความหมาย, ความมุ่งหมาย, ผล, ประโยชน์
  34. อรรถกถา : ปกรณ์ที่พระอาจารย์ทั้งหลายในภายหลังแต่งแก้อรรถแห่งบาลี, คัมภีร์อธิบายความในพระไตรปิฎก
  35. อรรถกถานัย : เค้าความในอรรถกถา, แนวคำอธิบายในอรรถกถา, แง่แห่งความหมายที่แสดงไว้ในอรรถกถา
  36. อรรถรส : “รสแห่งเนื้อความ”, “รสแห่งความหมาย” สาระที่ต้องการของเนื้อความ, เนื้อแท้ของความหมาย, ความหมายแท้ที่ต้องการ, ความมุ่งหมายที่แทรกซึมอยู่ในเนื้อความ คล้ายกับที่มักพูดกันในบัดนี้ว่า เจตนารมณ์ (พจนานุกรมว่า ถ้อยคำที่ทำให้เกิดความซาบซึ้ง)
  37. อรหํ : เป็นพระอรหันต์ คือ เป็นผู้ไกลจากกิเลสและบาปธรรม ทรงความบริสุทธิ์, หรือเป็นผู้กำจัดข้าศึกคือกิเลสสิ้นแล้ว, หรือเป็นผู้หักกรรมแห่งสังสารจักร อันได้แก่ อวิชชา ตัณหา อุปาทาน กรรม, หรือเป็นผู้ควรแนะนำสั่งสอน เป็นผู้ควรรับความเคารพ ควรแก่ทักษิณา และการบูชาพิเศษ, หรือเป็นผู้ไม่มีข้อลับ คือไม่มีข้อเสียหาย อันควรปกปิด (ข้อ ๑ ในพุทธคุณ ๙)
  38. อรหัตตผล : ผลคือการสำเร็จเป็นพระอรหันต์, ผลคือความเป็นพระอรหันต์, ผลที่ได้รับจากการละสังโยชน์ทั้งหมด อันสืบเนื่องมาจากอรหัตตมรรค ทำให้เป็นพระอรหันต์
  39. อรหัตตมรรค : ทางปฏิบัติเพื่อบรรลุ คือ ความเป็นพระอรหันต์, ญาณคือความรู้เป็นเหตุละ สังโยชน์ ได้ทั้ง ๑๐
  40. อริยกชาติ : หมู่คนที่ได้รับการศึกษาอบรมดี, พวกที่มีความเจริญ, พวกชนชาติอริยกะ
  41. อริยปริเยสนา : การแสวงหาที่ประเสริฐ คือ แสวงหาสิ่งที่ไม่ตกอยู่ในอำนาจแห่งชาติ ชรา มรณะ หรือกองทุกข์ โดยความได้แก่แสดงหาโมกขธรรมเพื่อความหลุดพ้นจากกิเลสและกองทุกข์, ความหมายอย่างง่าย ได้แก่ การแสดงหาในทางสัมมาชีพ (ข้อ ๒ ในปริเยสนา ๒)
  42. อริยมรรค : ทางอันประเสริฐ, ทางดำเนินของพระอริยะ, ญาณอันให้สำเร็จความเป็นพระอริยะ มี ๔ คือ โสดาปัตติมรรค สกทาคามิมรรค อนาคามิมรรค และอรหัตตมรรค; บางทีเรียกมรรคมีองค์ ๘ ว่า อริยมรรคก็มี แต่ควรเรียกเต็มว่า อริยอัฏฐังคิกมรรค
  43. อรูปาวจร : ซึ่งท่องเที่ยวไปในอรูปภพ, ยังเกี่ยวข้องอยู่กับอรูปธรรม
  44. อลัชชี : ผู้ไม่มีความละอาย, ผู้หน้าด้าน, ภิกษุผู้มักประพฤติละเมิดพุทธบัญญัติ
  45. อวตาร : การลงมาเกิด, การแบ่งภาคมาเกิด, เป็นความหมายในศาสนาพราหมณ์หรือฮินดู เช่น พระนารายณ์อวตาร คือแบ่งภาคลงมาจากสวรรค์มาเกิดเป็นมนุษย์ เป็นต้น
  46. อวัสดา : ฐานะ, ความเป็นอยู่, ความกำหนด, เวลา, สมัย
  47. อวิชชาสวะ : อาสวะคืออวิชชา, กิเลสที่หมักหมมหรือดองอยู่ในสันดาน ทำให้ไม่รู้ตามความเป็นจริง (ข้อ ๓ ในอาสวะ ๓, ข้อ ๔ ในอาสวะ ๔)
  48. อวิทูเรนิทาน : เรื่องไม่ไกลนัก หมายถึงเรื่องราวความเป็นไปเกี่ยวกับพระพุทธเจ้า ตั้งแต่จุติการสวรรค์ชั้นดุสิต จนถึงตรัสรู้
  49. อโศกมหาราช : พระราชาผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดพระองค์หนึ่งของชมพูทวีป และเป็นพุทธศาสนูปถัมภกที่สำคัญยิ่ง เป็นกษัตริย์พระองค์ที่ ๓ แห่งราชวงศ์ โมริยะ ครองราชสมบัติ ณ พระนคร ปาฎลีบุตร ตั้งแต่ พ) ศ) ๒๑๘ ถึง พ) ศ) ๒๖๐ (นักประวัติศาสตร์ปัจจุบันส่วนมากกว่า พ) ศ) ๒๗๐-๓๒๑) เมื่อครองราชย์ได้ ๘ พรรษา ทรงยกทัพไปปราบแคว้นกลิงคะที่เป็นชนชาติเข้มแข็งลงได้ ทำให้อาณาจักรของพระองค์กว้างใหญ่ที่สุดในประวัติชาติอินเดีย แต่ในการสงครามนั้น มีผู้คนล้มตายและประสบภัยพิบัติมากมาย ทำให้พระองค์สลดพระทัย พอดีได้ทรงสดับคำสอนในพระพุทธศาสนา ทรงเลื่อมใสได้ทรงเลิกการสงคราม หันมาทำนุบำรุงพระศาสนาและความรุ่งเรืองในทางสงบของประเทศ ทรงสร้างมหาวิหาร ๘๔,๐๐๐ แห่ง ทรงอุปถัมภ์การสังคายนาครั้งที่ ๓ และการส่งศาสนทูตออกไปเผยแพร่พระพุทธศาสนาในนานาประเทศ เช่น พระมหินถเถระ ไปยังลังกาทวีป และพระโสณะพระอุตตระมายังสุวรรณภูมิ เป็นต้น ชาวพุทธไทยมักเรียกพระองค์ว่าพระเจ้าศรีธรรมาโศกราช
  50. อสังขารปรินิพพายี : พระอนาคามีผู้จะปรินิพพานด้วยไม่ต้องใช้ความเพียรมากนัก (ข้อ ๓ ในอนาคามี ๕)
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | [951-1000] | 1001-1050 | 1051-1090

(0.0615 sec)