Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ปฏิบัติ .

Budhism Thai-Thai Dict : ปฏิบัติ, 159 found, display 151-159
  1. อิทธิบาทภาวนา : การเจริญอิทธิบาท, การฝึกฝนปฏิบัติให้อิทธิบาทเกิดมีขึ้น
  2. อุชุปฏิปนฺโน : พระสงฆ์เป็นผู้ปฏิบัติตรง คือไม่ลวงโลก ไม่มีมายาสาไถย ไม่อำพราง หรือดำเนินทางตรง คือ มัชฌิมาปฏิปทา (ข้อ ๒ ในสังฆคุณ ๙)
  3. อุเบกขา : 1) ความวางใจเป็นกลาง ไม่เอนเอียงด้วยชอบหรือชัง, ความวางใจเฉยได้ ไม่ยินดียินร้าย เมื่อใช้ปัญญาพิจารณาเห็นผลอันเกิดขึ้นโดยสมควรแก่เหตุ และรู้ว่าพึงปฏิบัติต่อไปตามธรรม หรือตามควรแก่เหตุนั้น, ความรู้จักวางใจเฉยดู เมื่อเห็นเขารับผิดชอบตนเองได้ หรือในเมื่อเขาควรต้องได้รับผลอันสมควรแก่ความรับผิดชอบของเขาเอง, ความวางทีเฉยคอยดูอยู่ในเมื่อคนนั้นๆ สิ่งนั้นๆ ดำรงอยู่หรือดำเนินไปตามควรของเขาตามควรของมัน ไม่เข้าข้างไม่ตกเป็นฝักฝ่าย ไม่สอดแส่ ไม่จู้จี้สาระแน ไม่ก้าวก่ายแทรกแซง(ข้อ ๔ ในพรหมวิหาร ๔, ข้อ ๗ ในโพชฌงค์ ๗, ข้อ ๑๐ ในบารมี ๑๐, ข้อ ๙ ในวิปัสสนูปกิเลส ๑๐) 2) ความรู้สึกเฉยๆ ไม่สุขไม่ทุกข์ เรียกเต็มว่าอุเบกขาเวทนา (= อทุกขมสุข)
  4. อุโบสถ : 1) การสวดปาฏิโมกข์ของพระสงฆ์ทุกกึ่งเดือน เป็นเครื่องซักซ้อมตรวจสอบความบริสุทธิ์ทางวินัยของภิกษุทั้งหลาย และทั้งเป็นเครื่องแสดงความพร้อมเพรียงของสงฆ์ด้วย อุโบสถมีชื่อเรียกย่อยออกไปหลายอย่าง การทำอุโบสถจะมีการสวดปาฏิโมกข์ได้ต่อเมื่อมีภิกษุครบองค์สงฆ์จตุรวรรค คือ ๔ รูป ขึ้นไป ถ้าสงฆ์ครบองค์กำหนดเช่นนี้ทำอุโบสถ เรียกว่า สังฆอุโบสถ แต่ถ้ามีภิกษุอยู่เพียง ๒ หรือ ๓ รูป เป็นเพียงคณะท่านให้บอกความบริสุทธิ์แก่กันและกันแทนการสวดปาฏิโมกข์ เรียกอุโบสถนี้ว่า คณอุโบสถ หรือ ปาริสุทธิอุโบสถ ถ้ามีภิกษุอยู่ในวัดรูปเดียว ท่านให้ทำเพียงอธิษฐานคือตั้งใจกำหนดจิตว่าวันนี้เป็นอุโบสถของเรา (อชฺช เม อุโปสโถ) อุโบสถที่ทำอย่างนี้ เรียกว่า ปุคคลอุโบสถ หรือ อธิษฐานอุโบสถ; อุโบสถที่ทำในวันแรม ๑๔ ค่ำ เรียกว่า จาตุทสิก ทำในวันขึ้นหรือแรม ๑๕ ค่ำ เรียกว่า ปัณณรสิก ทำในวันสามัคคี เรียกว่า สามัคคีอุโบสถ 2) การอยู่จำ, การรักษาศีล ๘ และบำเพ็ญข้อปฏิบัติอย่างอื่นที่สมควรมีฟังพระธรรมเทศนาเป็นต้นของคฤหัสถ์ ในวันขึ้นและแรม ๘ ค่ำ วันจันทร์เพ็ญและวันจันทร์ดับ 3) วันอุโบสถสำหรับพระสงฆ์ คือ วันจันทร์เพ็ญ (ขึ้น ๑๕ ค่ำ) และวันจันทร์ดับ (แรม ๑๕ ค่ำ หรือ ๑๔ ค่ำ เมื่อเดือนขาด), สำหรับคฤหัสถ์ คือ วันพระ ได้แก วันขึ้นและวันแรม ๘ ค่ำ วันจันทร์เพ็ญ และวันจันทร์ดับ 4) สถานที่สงฆ์ทำสังฆกรรม เรียกตามศัพท์ว่า อุโปสถาคารหรืออุโปสถัคคะ, ไทยมักตัดเรียกว่าโบสถ์
  5. อุปัชฌายวัตร : ธรรมเนียมหรือข้อปฏิบัติที่สัทธิวิหาริกพึงกระทำต่ออุปัชฌาย์ของตน, หน้าที่ต่ออุปัชฌาย์ โดยย่อคือ เอาใจใส่ปรนนิบัติรับใช้ คอยศึกษาเล่าเรียนจากท่าน ขวนขวายป้องกันหรือระงับความเสื่อมเสีย เช่น ความคิดจะสึก ความเห็นผิด เป็นต้น รักษาน้ำใจของท่าน มีความเคารพ จะไปไหนบอกลา ไม่เที่ยวตามอำเภอใจ และเอาใจใส่พยาบาลเมื่อท่านอาพาธ เทียบ สัทธิวิหาริกวัตร
  6. อูเน คเณ จรณํ : การประพฤติ (วัตร) ในคณะอันพร่อง คือ ประพฤติในถิ่น เช่น อาวาส ที่มีปกตัตตภิกษุไม่ครบองค์สงฆ์ คือไม่ถึง ๔ รูป แต่ที่นิยมปฏิบัติกันมาไม่ต่ำกว่า ๕ รูป; เป็นเหตุอย่างหนึ่งของรัตติเฉทแห่งมานัตต์ ดู รัตติเฉท
  7. เอกายนมรรค : ทางอันแรก คือ ข้อปฏิบัติอันประเสริฐที่จะนำผู้ปฏิบัติไปสู่ความบริสุทธิ์หมดจด หมดความทุกข์ และบรรลุนิพพาน ได้แก่ สติปัฏฐาน ๔; อย่างกว้าง เช่น ในมหานิทเทส หมายถึง โพธิปักขิยธรรม ด้วย
  8. โอปนยิโก : พระธรรมควรน้อมเข้ามาไว้ในใจ หรือน้อมใจเข้าไปให้ถึงด้วยการปฏิบัติให้เกิดมีขึ้นในใจ หรือให้ใจบรรลุถึงอย่างนั้น (ข้อ ๕ ในธรรมคุณ ๖)
  9. 1-50 | 51-100 | 101-150 | [151-159]

(0.0196 sec)