Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: กลายเป็น, เป็น, กลาย , then กลาย, กลายเป็น, กฬาย, ปน, เป็น .

Budhism Thai-Thai Dict : กลายเป็น, 1598 found, display 1501-1550
  1. อาสันนกรรม : กรรมจวนเจียน, กรรมใกล้ตาย หมายถึงกรรมที่เป็นกุศลก็ดี อกุศลก็ดี ที่ทำเมื่อจวนตายยังจับใจอยู่ใหม่ๆ ถ้าไม่มีครุกกรรม และพหุลกรรม ย่อมให้ผลก่อนกรรมอื่นๆ เหมือนโคที่ยัดเยียดกันอยู่ในคอกเมื่อคนเลี้ยงเปิดคอกออก ตัวใอยู่ใกล้ประตู ตัวนั้นย่อมออกก่อน แม้จะเป็นโคแก่ (ข้อ ๑๑ ในกรรม ๑๒)
  2. อาหาเรปฏิกูลสัญญา : กำหนดหมายความเป็นปฏิกูลในอาหาร, ความสำคัญหมายในอาหารว่าเป็นของปฏิกูล พิจารณาให้เห็นว่าเป็นของน่าเกลียด โดยอาการต่างๆ เช่น ปฏิกูล โดยบริโภค, โดยประเทศที่อยู่ของอาหาร, โดยสั่งสมอยู่นาน เป็นต้น (ข้อ ๓๕ ในกรรมฐาน ๔๐)
  3. อาหุเนยฺโย : พระสงฆ์เป็นผู้ควรได้ของคำนับ คือ เครื่องสักการะที่เขานำมาถวายในโอกาสต่างๆ (ข้อ ๕ ใน สังฆคุณ ๙)
  4. อิตถีภาวะ : ความเป็นหญิง, สภาวะที่ทำให้ปรากฏลักษณะอาการต่างๆ อันแสดงถึงความเป็นเพศหญิง เป็นภาวรูปอย่างหนึ่ง คู่กับ ปุริสภาวะ ดู อุปาทายรูป
  5. อิทธิปาฏิหาริย์ : ปาฏิหาริย์คือฤทธิ์, แสดงฤทธิ์ได้เป็นอัศจรรย์ เช่น ล่องหน ดำดิน เหาะได้ เป็นต้น (ข้อ ๑ ในปาฏิหาริย์ ๓)
  6. อิทธิวิธี : แสดงฤทธิ์ได้ต่างๆ เช่น นิรมิตกายคนเดียวเป็นหลายคน หลายคนเป็นคนเดียว ล่องหน ดำดิน เดินน้ำ เป็นต้น (ข้อ ๑ ในอภิญญา ๖, ข้อ ๓ ในวิชชา ๘)
  7. อิทัปปัจจยตา : “ภาวะที่มีอันนี้ๆ เป็นปัจจัย”, ความเป็นไปตามความสัมพันธ์แห่งเหตุปัจจัย, กระบวนธรรมแห่งเหตุปัจจัย, กฎที่ว่า “เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี, เพราะสิ่งนี้เกิดขึ้น สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น; เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้ก็ไม่มี, เพราะสิ่งนี้ดับ สิ่งนี้ก็ดับ”, เป็นอีกชื่อหนึ่งของหลัก ปฏิจจสมุปบาท หรือ ปัจจยาการ
  8. อินเดีย : ชื่อประเทศ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศไทย ถัดจากประเทศพม่าออกไป มีเมืองหลวงชื่อ นิวเดลี (New Delhi) อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ ๓,๑๐๐ กิโลเมตร อินเดียมีเนื้อที่ทั้งหมด ๓,๒๘๗,๕๙๐ ตารางกิโลเมตร มีพลเมืองใน พ) ศ) ๒๕๒๔ ประมาณ ๖๘๓ ล้านคน ครั้งโบราณเรียกชมพูทวีป เป็นประเทศที่เกิดพระพุทธศาสนา พุทธคยา สถานที่ตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ ๒,๐๐๐ กิโลเมตร
  9. อินทร์ : ผู้เป็นใหญ่, ชื่อเทวราชผู้เป็นใหญ่ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ และจาตุมหาราช; ในบาลี นิยมเรียกว่า ท้าวสักกะ, ดู วัตรบท
  10. อินทรีย์ : ความเป็นใหญ่, สภาพที่เป็นใหญ่ในกิจของตน, ธรรมที่เป็นเจ้าการในการทำหน้าที่อย่างหนึ่งๆ เช่น ตาเป็นใหญ่หรือเป็นเจ้าการในการเห็น หูเป็นใหญ่ในการได้ยิน ศรัทธาเป็นเจ้าการในการครอบงำเสียซึ่งความไร้ศรัทธาเป็นต้น 1) อินทรีย์ ๖ ได้แก่ อายตนะภายใน ๖ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ 2) อินทรีย์ ๕ ตรงกับ พละ ๕ คือ สัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา ธรรม ๕ อย่างชุดเดียวกันนี้ เรียกชื่อต่างกันไป ๒ อย่าง ตามหน้าที่ที่ทำ คือ เรียกชื่อว่า พละ โดยความหมายว่า เป็นกำลังทำให้เกิดความเข้มแข็งมั่นคง ซึ่งธรรมที่ตรงข้ามแต่ละอย่างจะเข้าครอบงำไม่ได้ เรียกชื่อว่า อินทรีย์ โดยความหมายว่าเป็นเจ้าการในการครอบงำเสียซึ่งธรรมที่ตรงข้ามแต่ละอย่างคือความไร้ศรัทธา ความเกียจคร้าน ความประมาท ความฟุ้งซ่าน และความหลงงมงาย ตามลำดับ
  11. อิศวร : พระเป็นเจ้าของศาสนาพราหมณ์ ตามปกติหมายถึงพระศิวะ ซึ่งเป็นเทพเจ้าแห่งการทำลาย
  12. อิสรภาพ : ความเป็นอิสระ
  13. อิสระ : ผู้เป็นใหญ่, เป็นใหญ่, เป็นใหญ่ในตัวเอง, เป็นไทแก่ตัว ไม่ขึ้นแก่ใคร
  14. อิสราธิบดี : ผู้เป็นเจ้าใหญ่เหนือกว่าผู้เป็นใหญ่ทั่วไป, ราชา, พระเจ้าแผ่นดิน
  15. อิสริยยศ : ยศคือความเป็นใหญ่, คู่กับเกียริตยศ (ยศ คือ เกียรติ หรือ กิตติคุณ)
  16. อิสิคิลิบรรพต : ภูเขาคืออิสิคิลิ เป็นภูเขาลูกหนึ่งใน ๕ ลูก ที่เรียกเบญจคีรี ล้อมรอบพระนครราชคฤห์
  17. อิสิปตนมฤคทายวัน : ป่าเป็นที่ให้อภัยแก่เนื้อ ชื่อ อิสิปตนะ อยู่ใกล้เมืองพาราณสี เป็นสถานที่ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนา ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร โปรดพระปัญจวัคคีย์ บัดนี้เรียก สารนาถ
  18. อุกเขปนียกรรม : กรรมอันสงฆ์พึงทำแก่ภิกษุอันจะพึงยกเสีย หมายถึงวิธีการลงโทษที่สงฆ์กระทำแก่ภิกษุผู้ต้องอาบัติแล้ว ไม่ยอมรับว่าเป็นอาบัติ หรือไม่ยอกทำคืนอาบัติ หรือมีความเห็นชั่วร้าย (ทิฏฐิบาป) ไม่ยอมสละซึ่งเป็นทางเสียสีลสามัญญตา หรือ ทิฏฐิสามัญญตา โดยยกเธอเสียจากการสมโภคกับสงฆ์ คือ ไม่ให้ฉันร่วมไม่ให้อยู่ร่วม ไม่ให้มีสิทธิเสมอกับภิกษุทั้งหลาย พูดง่ายๆ ว่า ถูกตัดสิทธิแห่งภิกษุชั่วคราว
  19. อุชุปฏิปนฺโน : พระสงฆ์เป็นผู้ปฏิบัติตรง คือไม่ลวงโลก ไม่มีมายาสาไถย ไม่อำพราง หรือดำเนินทางตรง คือ มัชฌิมาปฏิปทา (ข้อ ๒ ในสังฆคุณ ๙)
  20. อุตตราสงค์ : ผ้าห่ม, เป็นผ้าผืนหนึ่งในจำนวน ๓ ผืน ของไตรจีวร ได้แก่ ผืนที่เรียกกันสามัญว่า จีวร (พจนานุกรมเขียน อุตราสงค์)
  21. อุทกสาฏิกา : ผ้าอาบ, เป็นจีวรอย่างหนึ่ง ในจีวร ๕ อย่างของภิกษุณี ดู สังกัจฉิกะ ด้วย
  22. อุทกุกเขป : เขตสามัคคีชั่ววักน้ำสาดแห่งคนมีอายุและกำลังปานกลาง หมายถึง เขตชุมนุมทำสังฆกรรมที่กำหนดลงในแม่น้ำ หรือ ทะเล ชาตสระ (ที่ขังน้ำเกิดเองตามธรรมชาติ เช่น บึง หนอง ทะเลสาป) โดยพระภิกษุประชุมกันบนเรือ หรือ บนแพ ซึ่งผูกกับหลักในน้ำ หรือทอดสมออยู่ห่างจากตลิ่งกว่าชั่ววิดน้ำสาด (ห้ามผูกโยงเรือหรือแพนั้น กับหลักหรือต้นไม้บนตลิ่ง และห้ามทำในเรือหรือแพที่กำลังลอยหรือเดิน); อุทกุกเขปนี้ จัดเป็นอพัทธสีมาอย่างหนึ่ง
  23. อุทเทสิกเจดีย์ : เจดีย์สร้างอุทิศพระพุทธเจ้า, เจดีย์ที่สร้างเป็นเครื่องเตือนจิตให้ระลึกถึงพระพุทธเจ้า ได้แก่ พระพุทธรูป (ข้อ ๔ ในเจดีย์ ๔)
  24. อุทาน : วาจาที่เปล่งขึ้นโดยความเบิกบานใจ มักเป็นข้อความยาว ๑ หรือ ๒ คาถา; ในภาษาไทย หมายถึงเสียงหรือคำที่เปล่งออกมาเวลาดีใจ หรือตกใจ
  25. อุเทนเจดีย์ : เจดียสถานแห่งหนึ่ง อยู่ทางทิศตะวันออกของเมืองเวสาลี นครหลวงของแคว้นวัชชี เป็นสถานที่แห่งหนึ่งที่พระพุทธ่เจ้าเคยทรงทำนิมิตต์โอภาสแก่พระอานนท์
  26. อุเทศ : การยกขึ้นแสดง, การยกขึ้นชี้แจง, ข้อที่ยกขึ้นแสดง, หัวข้อ, การเรียนการสอน, การสวดปาฏิโมกข์, ปาฏิโมกข์ที่ยกขึ้นสวด, หมวดหนึ่งๆ แห่งปาฏิโมกข์ที่จัดไว้สำหรับสวด, ในคำว่า สงฆ์มีอุเทศเดียวกัน หมายความว่า ร่วมฟังสวดปาฏิโมกข์ด้วยกัน; อุเทศในปาฏิโมกข์จัดโดยย่อมี ๕ คือ ๑) นิทานุทเทส ๒) ปาราชิกุทเทส ๕) วิตถารุทเทส, อุทเทสที่ ๕ นั้น รวมเอา นิสสัคคิยุทเทส ปาจิตติยุทเทส ปาฏิเทสนียุทเทส เสขิยุทเทส และสมถุทเทส เข้าไว้ด้วยกัน ถ้าแยกออกนับโดยพิสดารก็จะเป็น ๙ อุเทส การรู้จักอุเทศหรืออุทเทสเหล่านี้เป็นประโยชน์สำหรับการตัดตอนสวดปาฏิโมกข์ย่อได้ในคราวจำเป็น ดู ปาฏิโมกข์ย่อ
  27. อุบลวรรณา : พระมหาสาวิกาองค์หนึ่ง เป็นธิดาเศรษฐีในพระนครสาวัตถี ได้ชื่อว่าอุบลวรรณาเพราะมีผิวพรรณดังดอกนิลุบล (อุบลเขียว) มีความงามมาก จึงเป็นที่ปรารถนาของพระราชาในชมพูทวีป หลายพระองค์ ต่างส่งคนมาติดต่อท่านเศรษฐีเกิดความลำบากใจ จึงคิดจะให้ธิดาบวชพอเป็นอุบายแต่นางเองพอใจในบรรพชาอยู่แล้ว จึงบวชเป็นภิกษุณีด้วยศรัทธาอย่างจริงจัง คราวหนึ่งอยู่เวรจุดประทีปในพระอุโบสถ นางเพ่งดูเปลวประทีปถือเอาเป็นนิมิตเจริญฌานมีเตโชกสิณเป็นอารมณ์ได้บรรลุพระอรหัต ได้รับยกย่องว่าเป็นเอตทัคคะในทางแสดงฤทธิ์ได้ต่างๆ และเป็นอัครสาวิกาฝ่ายซ้าย
  28. อุบาลี : พระมหาสาวกองค์หนึ่ง เดิมเป็นกัลบกของเจ้าศากยะ ได้ออกบวชที่อนุปิยอัมพวัน พร้อมกับพระอานนท์และพระอนุรุทธะ เป็นต้น มีอุปัชฌาย์ชื่อพระกัปปิตก ครั้นบวชแล้ว เรียนกรรมฐาน จะไปอยู่ป่า พระพุทธเจ้าไม่ทรงอนุญาต ท่านเล่าเรียนและเจริญวิปัสสนาไม่ช้าก็สำเร็จพระอรหัตเป็นผู้มีความรู้ความเข้าใจเชี่ยวชาญในพระวินัยมาก จนพระพุทธเจ้าทรงยกย่องว่า เป็นเอตทัคคะในบรรดาภิกษุผู้ทรงพระวินัย (วินัยธร) พระอุบาลีเป็นกำลังสำคัญ ในคราวทำปฐมสังคายนา คือ เป็นผู้วิสัชนาพระวินัย
  29. อุบาสก : ชายผู้นั่งใกล้พระรัตนตรัย, คนใกล้ชิดพระศาสนา, คฤหัสถ์ผู้ชายที่แสดงตนเป็นคนนับถือพระพุทธศาสนาโดยประกาศถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะ
  30. อุบาสิกา : หญิงผู้นั่งใกล้พระรัตนตรัย, คนใกล้ชิดพระศาสนาที่เป็นหญิง, คฤหัสถ์ผู้หญิงที่แสดงตนเป็นคนนับถือพระพุทธศาสนา โดยประกาศถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะ
  31. อุเบกขา : 1) ความวางใจเป็นกลาง ไม่เอนเอียงด้วยชอบหรือชัง, ความวางใจเฉยได้ ไม่ยินดียินร้าย เมื่อใช้ปัญญาพิจารณาเห็นผลอันเกิดขึ้นโดยสมควรแก่เหตุ และรู้ว่าพึงปฏิบัติต่อไปตามธรรม หรือตามควรแก่เหตุนั้น, ความรู้จักวางใจเฉยดู เมื่อเห็นเขารับผิดชอบตนเองได้ หรือในเมื่อเขาควรต้องได้รับผลอันสมควรแก่ความรับผิดชอบของเขาเอง, ความวางทีเฉยคอยดูอยู่ในเมื่อคนนั้นๆ สิ่งนั้นๆ ดำรงอยู่หรือดำเนินไปตามควรของเขาตามควรของมัน ไม่เข้าข้างไม่ตกเป็นฝักฝ่าย ไม่สอดแส่ ไม่จู้จี้สาระแน ไม่ก้าวก่ายแทรกแซง(ข้อ ๔ ในพรหมวิหาร ๔, ข้อ ๗ ในโพชฌงค์ ๗, ข้อ ๑๐ ในบารมี ๑๐, ข้อ ๙ ในวิปัสสนูปกิเลส ๑๐) 2) ความรู้สึกเฉยๆ ไม่สุขไม่ทุกข์ เรียกเต็มว่าอุเบกขาเวทนา (= อทุกขมสุข)
  32. อุโบสถ : 1) การสวดปาฏิโมกข์ของพระสงฆ์ทุกกึ่งเดือน เป็นเครื่องซักซ้อมตรวจสอบความบริสุทธิ์ทางวินัยของภิกษุทั้งหลาย และทั้งเป็นเครื่องแสดงความพร้อมเพรียงของสงฆ์ด้วย อุโบสถมีชื่อเรียกย่อยออกไปหลายอย่าง การทำอุโบสถจะมีการสวดปาฏิโมกข์ได้ต่อเมื่อมีภิกษุครบองค์สงฆ์จตุรวรรค คือ ๔ รูป ขึ้นไป ถ้าสงฆ์ครบองค์กำหนดเช่นนี้ทำอุโบสถ เรียกว่า สังฆอุโบสถ แต่ถ้ามีภิกษุอยู่เพียง ๒ หรือ ๓ รูป เป็นเพียงคณะท่านให้บอกความบริสุทธิ์แก่กันและกันแทนการสวดปาฏิโมกข์ เรียกอุโบสถนี้ว่า คณอุโบสถ หรือ ปาริสุทธิอุโบสถ ถ้ามีภิกษุอยู่ในวัดรูปเดียว ท่านให้ทำเพียงอธิษฐานคือตั้งใจกำหนดจิตว่าวันนี้เป็นอุโบสถของเรา (อชฺช เม อุโปสโถ) อุโบสถที่ทำอย่างนี้ เรียกว่า ปุคคลอุโบสถ หรือ อธิษฐานอุโบสถ; อุโบสถที่ทำในวันแรม ๑๔ ค่ำ เรียกว่า จาตุทสิก ทำในวันขึ้นหรือแรม ๑๕ ค่ำ เรียกว่า ปัณณรสิก ทำในวันสามัคคี เรียกว่า สามัคคีอุโบสถ 2) การอยู่จำ, การรักษาศีล ๘ และบำเพ็ญข้อปฏิบัติอย่างอื่นที่สมควรมีฟังพระธรรมเทศนาเป็นต้นของคฤหัสถ์ ในวันขึ้นและแรม ๘ ค่ำ วันจันทร์เพ็ญและวันจันทร์ดับ 3) วันอุโบสถสำหรับพระสงฆ์ คือ วันจันทร์เพ็ญ (ขึ้น ๑๕ ค่ำ) และวันจันทร์ดับ (แรม ๑๕ ค่ำ หรือ ๑๔ ค่ำ เมื่อเดือนขาด), สำหรับคฤหัสถ์ คือ วันพระ ได้แก วันขึ้นและวันแรม ๘ ค่ำ วันจันทร์เพ็ญ และวันจันทร์ดับ 4) สถานที่สงฆ์ทำสังฆกรรม เรียกตามศัพท์ว่า อุโปสถาคารหรืออุโปสถัคคะ, ไทยมักตัดเรียกว่าโบสถ์
  33. อุโบสถศีล : ศีลที่รักษาเป็นอุโบนถหรือ ศีลที่รักษาในวันอุโบสถ ได้แก่ ศีล ๘ ที่อุบาสกอุบาสิกาสมาทานรักษาเป็นการจำศีลในวันพระ คือขึ้นและแรม ๘ ค่ำ ๑๕ ค่ำ (แรม ๑๔ ค่ำในเดือนขาด)
  34. อุปฆาตกรรม : กรรมตัดรอน ได้แก่ กรรมทีเป็นกุศลดี ที่เป็นอกุศลก็ดี ซึ่งมีกำลังแรง เข้าตัดรอนการให้ผลของชนกกรรม หรือ อุปัตถัมภกกรรม ที่ตรงข้ามกับตนเสีย แล้วให้ผลแทนที่ (ข้อ ๘ ในกรรม ๑๒)
  35. อุปจารสมาธิ : สมาธิจวนจะแน่วแน่, สมาธิที่ยังไม่ดิ่งถึงที่สุด เป็นขั้นทำให้กิเลสมีนิวรณ์เป็นต้นระงับ ก่อนจะเป็นอัปปนา คือถึงฌาน (ข้อ ๑ ในสมาธิ ๒, ข้อ ๒ ในสมาธิ ๓)
  36. อุปติสสปริพาชก : คำเรียกพระสารีบุตรเมื่อบวชเป็นปริพาชกอยู่ในสำนักของสญชัย
  37. อุปธิ : สิ่งนุงนัง, สภาวะกลั้วกิเลส, สิ่งที่ยังระคนด้วยกิเลส 1) ร่างกาย 2) สภาวะอันเป็นที่ตั้งที่ทรงไว้แห่งทุกข์ ได้แก่ กาม กิเลส เบญจขันธ์ และอภิสังขาร
  38. อุปนิสัย : ความประพฤติที่เคยชินเป็นพื้นมาในสันดาน, ความดีที่เป็นทุนหรือเป็นพื้นอยู่ในจิต, ธรรมที่เป็นเครื่องอุดหนุน
  39. อุปนิสินนกถา : “ถ้อยคำของผู้เข้าไปนั่งใกล้”, การนั่งคุยหรือสนทนาอย่างกันเองหรือไม่เป็นแบบแผนพิธี เพื่อตอบคำซักถาม แนะนำชี้แจง ให้คำปรึกษาเป็นต้น
  40. อุปบารมี : บารมีขั้นรอง, บารมีขั้นจวนสูงสุด คือ บารมีที่บำเพ็ญยิ่งกว่าบารมีตามปกติ แต่ยังไม่ถึงที่สุดที่จะเป็นปรมัตถบารมี เช่น สละทรัพย์ภายนอกเป็นทานบารมี สละอวัยวะเป็นทานอุปบารมี สละชีวิตเป็นทานปรมัตถบารมี; ดู บารมี
  41. อุปปถกิริยา : การทำนอกรีตนอกรอยของสมณะ, ความประพฤตินอกแบบแผนของภิกษุสามเณร ท่านจัดรวมไว้เป็น ๓ ประเภท คือ ๑) อนาจาร ประพฤติไม่ดีไม่งาม และเล่นไม่เหมาะสมต่างๆ ๒) ปาปสมาจาร ความประพฤติเลวทราม คือ คบหากับคฤหัสถ์ในทางที่ไม่สมควร ทำตนเป็นกุลทูสก ๓) อเนสนา หาเลี้ยงชีพในทางที่ไม่สมควร เช่น เป็นหมอเสกเป่า ให้หวย เป็นต้น
  42. อุปปีฬกกรรม : กรรมบีบคั้น ได้แก่ กรรมที่เป็นกุศลก็ดี อกุศลก็ดี ซึ่งบีบคั้นการให้ผลแห่งชนกกรรมและอุปัตถุมภกกรรม ที่ตรงข้ามกับตน ให้แปรเปลี่ยนไป เช่น ถ้าเป็นกรรมดีก็บีบคั้นให้อ่อนลง ไม่ให้ได้รับผลเต็มที่ ถ้าเป็นกรรมชั่วก็เกียดกันให้ทุเลา (ข้อ ๗ ในกรรม ๑๒)
  43. อุปวาณะ : พระมหาสาวกองค์หนึ่งเกิดในตระกูลพราหมณ์ผู้มั่งคั่ง ในนครสาวัตถี ได้เห็นพระพุทธองค์ในพิธีถวายวัดพระเชตวัน เกิดความเลื่อมใส จึงได้มาบวชในพระศาสนาและได้บรรลุอรหัตตผล ท่านเคยเป็นอุปัฏฐากของพระพุทธองค์ แม้ในวันปรินิพพาน พระอุปวาณะก็ถวายงานพัดอยู่เฉพาะพระพักตร์ เรื่องราวเกี่ยวกับท่านปรากฏในพระไตรปิฎก ๔-๕ แห่ง เช่น เรื่องที่ท่านสนทนากับพระสารีบุตร เกี่ยวกับโพชฌงค์ ๗ ประการ เป็นต้น
  44. อุปสมบท : การให้กุลบุตรบวชเป็นภิกษุหรือให้กุลธิดาบวชเป็นภิกษุณี, การบวชเป็นภิกษุ หรือภิกษุณี ดู อุปสัมปทา
  45. อุปสมะ : ความสงบใจจากสิ่งที่เป็นข้าศึกแก่ความสงบ, การทำใจให้สงบ, สภาวะอันเป็นที่สงบ คือ นิพพาน (ข้อ ๔ ใน อธิษฐานธรรม ๔)
  46. อุปสมานุสติ : ระลึกถึงคุณพระนิพพานซึ่งเป็นที่ระงับกิเลสและกองทุกข์ (ข้อ ๑๐ ในอนุสติ ๑๐)
  47. อุปสัมบัน : ผู้ได้รับอุปสมบทเป็นภิกษุหรือภิกษุณีแล้ว, ผู้อุปสมบทแล้ว ได้แก่ภิกษุและภิกษุณี เทียบ อนุปสัมบัน
  48. อุปสัมปทา : การบวช, การบวชเป็นภิกษุหรือภิกษุณี; วิธีอุปสมบทมีทั้งหมด ๘ อย่าง แต่เฉพาะที่ใช้เป็นหลักมี ๓ อย่างคือ ๑) เอหิภิกขุอุปสัมปทา การอุปสมบทด้วยพระวาจาว่า “จงเป็นภิกษุมาเถิด” เป็นวิธีที่พระพุทธเจ้าทรงบวชให้เอง ๒) ติสรณคมนูปสัมปทา หรือสรณคมนูปสัมปทา การอุปสมบทด้วยถึงไตรสรณะ เป็นวิธีที่ทรงอนุญาตให้พระสาวกทำในยุคต้นพุทธกาล เมื่อคณะสงฆ์ยังไม่ใหญ่นัก เมื่อทรงอนุญาตวิธีที่ ๓ แล้ว วิธีที่ ๒ นี้ก็เปลี่ยนใช้สำหรับบรรพชาสามเณร ๓) ญัตติจตุตถกัมมอุปสัมปทา การอุปสมบทด้วยญัตติจตุตถกรรม เป็นวิธีที่ทรงอนุญาตให้สงฆ์ทำ ในเมื่อคณะสงฆ์เป็นหมู่ใหญ่ขึ้นแล้วส และเป็นวิธีใช้สืบมาจนทุกวันนี้; วิธีอุปสมบทอีก ๕ อย่าง ที่เหลือเป็นวิธีที่ทรงประทานเป็นการพิเศษ จำเพาะบุคคลบ้าง ขาดตอนหมดไปแล้วบ้าง ได้แก่ (จัดเรียงลำดับใหม่ เอาข้อ ๓) เป็นข้า ๘) ท้ายสุด) ๓) โอวาทปฏิคคหณูปสัมปทา การอุปสมบทด้วยการรับโอวาท เป็นวิธีที่ทรงอนุญาตแก่พระมหากัสสปะ ๔) ปัญหาพยากรณูปสัมปทา การอุปสมบทด้วยการตอบปัญหาของพระพุทธองค์ เป็นวิธีที่ทรงอนุญาตแก่โสปากสามเณร ๕) ครุธรรมปฏิคคหณูปสัมปทา (หรือ อัฏฐครุธรรมปฏิคคหณูปสัมปทา) การอุปสมบทด้วยการรับครุธรรม ๘ ประการ เป็นวิธีที่ทรงอนุญาตแก่พระนางมหาปชาบดีโคตมี ๖) ทูเตนะ อุปสัมปทา การอุปสมบทด้วยทูต เป็นวิธีที่ทรงอนุญาตแก่นางคณิกา (หญิงโสเภณี) ชื่ออัฑฒกาสี ๗) อัฏฐวาจิกาอุปสัมปทา การอุปสมบทมีวาจา ๘ คือ ทำด้วยญัตติจตุตถกรรม ๒) ครั้งจากสงฆ์ทั้ง ๒ ฝ่ายคือจากภิกษุณีสงฆ์ครั้งหนึ่ง จากภิกษุสงฆ์ครั้งหนึ่ง ได้แก่การอุปสมบทของภิกษุณี ๘) ญัตติจตุตถกรรมอุปสัมปทา (ข้อ ๓) เดิม)
  49. อุปสัมปทาเปกขะ : บุคคลผู้เพ่งอุปสมบท คือผู้มุ่งจะบวชเป็นภิกษุ, ผู้ขอบวช, นาค
  50. อุปสัมปทาเปกขา : หญิงผู้เพ่งอุปสัมปทา คือผู้ขอบวชเป็นภิกษุณี
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | [1501-1550] | 1551-1598

(0.0919 sec)