Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เป็นประจำ, ประจำ, เป็น , then ปน, ประจำ, เป็น, เป็นประจำ .

Budhism Thai-Thai Dict : เป็นประจำ, 1608 found, display 501-550
  1. บังสุกุล : ผ้าบังสุกุล หรือ บังสุกุลจีวร; ในภาษาไทยปัจจุบัน มักใช้เป็นคำกริยา หมายถึงการที่พระสงฆ์ชักเอาผ้าซึ่งเขาทอดวางไว้ที่ศพ ที่หีบศพหรือที่สายโยงศพ
  2. บัญญัติ : การตั้งขึ้น, ข้อที่ตั้งขึ้น, การกำหนดเรียก, การเรียกชื่อ, การวางเป็นกฎไว้, ข้อบังคับ
  3. บัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ : แท่นหินมีสีดุจผ้ากัมพลเหลือง เป็นที่ประทับของพระอินทร์ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ (อรรถกถาว่า สีแดง)
  4. บัณเฑาะก์ : กะเทย, คนไม่ปรากฏว่าเป็นเพศชายหรือเพศหญิง ได้แก่ กะเทยโดยกำเนิด ๑ ชายผู้ถูกตอนที่เรียกว่าขันที ๑ ชายมีราคะกล้าประพฤตินอกจารีตในทางเสพกามและยั่วยวนชายอื่นให้เป็นเช่นนั้น ๑
  5. บันดาล : ให้เกิดมีขึ้นหรือให้เป็นไปอย่างใดอย่างหนึ่งด้วยฤทธิ์หรือด้วยแรงอำนาจ
  6. บัลลังก์ : ในคำว่า “นั่งขัดบัลลังก์” หรือ “นั่งคู้บัลลังก์” คือ นั่งขัดสมาธิ ; ความหมายทั่วไปว่า แท่น, พระแท่น, ที่นั่งผู้พิพากษาเมื่อพิจารณาคดีในศาล, ส่วนของสถูปเจดีย์บางแบบ มีรูปเป็นแท่นเหนือคอระฆัง
  7. บาตร : ภาชนะของนักบวชสำหรับรับอาหาร เป็นอย่างหนึ่งในบริขาร ๘ ของภิกษุ
  8. บาตรอธิษฐาน : บาตรที่พระพุทธเจ้าอนุญาตให้ภิกษุมีไว้ใช้ประจำตัวหนึ่งใบ
  9. บ้าน : ที่อยู่ของคนครัวเดียวกัน มีเรือนหลังเดียว ๒ หลัง ๓ หลัง หรือมากกว่านั้น หรือรวมบ้านเหล่านั้นเข้าเป็นหมู่ก็เรียกว่าบ้าน, คำว่า คามสีมา หมายถึงแดนบ้านตามนัยหลังนี้
  10. บาลี : 1.“ภาษาอันรักษาไว้ซึ่งพุทธพจน์”, ภาษาที่ใช้ทรงจำและจารึก รักษาพุทธพจน์แต่เดิมมา อันเป็นหลักในพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาท ถือกันว่าได้แก่ภาษามคธ 2.คัมภีร์พระพุทธศาสนาต้นเดิมที่เป็นพระพุทธวจนะ อันพระสังคีติกาจารย์รวบรวมได้ คือ คัมภีร์พระไตรปิฎกที่พระอรหันต์ ๕๐๐ องค์ประชุมกันรวบรวมจัดสรรให้เป็นหมวดหมู่ในคราวปฐมสังคายนาพระพุทธพจน, ข้อความที่มาในพระไตรปิฎก
  11. บาลีพุทธอุทาน : คำอุทานที่พระพุทธเจ้าทรงเปล่งเป็นบาลี
  12. บำเพ็ญ : ทำ, ทำด้วยความตั้งใจ, ปฏิบัติ, ทำให้เต็ม, ทำให้มีขึ้น, ทำให้สำเร็จผล (ใช้กับสิ่งที่ดีงามเป็นบุญกุศล)
  13. บุคคล ๔ จำพวก : คือ ๑.อุคฆฏิตัญญู ผู้รู้เข้าใจได้ฉบพลัน แต่พอท่านยกหัวข้อขึ้นแสดง ๒.วิปจิตัญญู ผู้รู้เข้าใจต่อเมื่อท่านขยายความ ๓.เนยยะ ผู้ที่พอจะแนะนำต่อไปได้ ๔.ปทปรมะ ผู้ได้แค่ตัวบทคือถ้อยคำเป็นอย่างยิ่ง ไม่อาจเข้าใจความหมาย
  14. บุคคลาธิษฐาน : มีบุคคลเป็นที่ตั้ง, เทศนายกบุคคลขึ้นอ้าง คู่กับธรรมาธิษฐาน
  15. บุญกิริยาวัตถุ : สิ่งที่เป็นที่ตั้งแห่งการทำบุญ, เรื่องที่จัดเป็นการทำบุญ, ทางทำความดี, หมวด ๓ คือ ๑.ทานมัย ทำบุญด้วยการให้ ๒.สีลมัย ทำบุญด้วยการรักษาศีลและประพฤติดี ๓.ภาวนามัย ทำบุญด้วยการเจริญภาวนา
  16. บุปผวิกัติ : ดอกไม้ที่ทำให้แปลก, ดอกไม้ที่ทำให้จิตรประดิษฐ์เป็นรูปต่างๆ
  17. บุพกรณ์ : ธุระอันจะพึงทำในเบื้องต้น, งานที่จะต้องกระทำทีแรก, เรื่องที่ควรตระเตรียมให้เสร็จก่อน เช่น บุพกรณ์ของการทำอุโบสถ ได้แก่ เมื่อถึงวันอุโบสถ พระเถระลงอุโบสถก่อน สั่งภิกษุให้ปัดกวาดโรงอุโบสถตามไฟ ตั้งน้ำฉันน้ำใช้ ตั้งหรือปูลาดอาสนะไว้; บุพกรณ์แห่งการกรานกฐิน คือ ซักผ้า ๑ กะผ้า ๑ ตัดผ้า ๑ เนาหรือด้นผ้าที่ตัดแล้ว ๑ เย็บเป็นจีวร ๑ ย้อมจีวรที่เย็บแล้ว ๑ ทำกัปปะคือพินทุ ๑ ดังนี้เป็นต้น
  18. บุพพสิกขาวัณณนา : หนังสืออธิบายพระวินัย พระอมราภิรักขิต (อมร เกิด) วัดบรมนิวาส เป็นผู้แต่ง
  19. บุพเพนิวาสานุสติญาณ : ความรู้เป็นเครื่องระลึกได้ถึงขันธ์ที่อาศัยอยู่ในก่อน, ระลึกชาติได้ ดู วิชชา, อภิญญา
  20. บุพเพสันนิวาส : การเคยอยู่ร่วมกันในกาลก่อน เช่น เคยเป็นพ่อแม่ลูกพี่น้องเพื่อผัวเมียกันในภพอดีต (ดู ชาดกที่๖๘ และ ๒๓๗ เป็นต้น)
  21. บูชายัญ : การเซ่นสรวงเทพเจ้าของพราหมณ์ ด้วยวิธีฆ่าคนหรือสัตว์เป็นเครื่องบูชา
  22. เบญจขันธ์ : ขันธ์ ๕, กองหรือหมวดทั้ง ๕ แห่งรูปธรรมและนามธรรมที่ประกอบเข้าเป็นชีวิต ได้แก่ ๑.รูปขันธ์ กองรูป ๒.เวทนาขันธ์ กองเวทนา ๓.สัญญาขันธ์ กองสัญญา ๔.สังขารขันธ์ กองสังขาร ๕.วิญญาณขันธ์ กองวิญญาณ
  23. โบราณ : มีในกาลก่อน, เป็นของเก่าแก่
  24. ใบปวารณา : ใบแจ้งแก่พระว่าให้ขอได้ตัวอย่าง “ข้าพเจ้าขอถวายจตุปัจจัยอันควรแก่สมณบริโภค แต่พระคุณเจ้า เป็นมูลค่า....บาท......สต.หากพระคุณเจ้าต้องประสงค์สิ่งใดอันควรแก่สมณบริโภคแล้ว ขอได้โปรดเรียกร้องจากกัปปิยการก ผู้ปฏิบัติของพระคุณเจ้า เทอญ
  25. ปกฺขหตตา : ความเป็นผู้ชาไปซีกหนึ่ง ได้แก่ โรคอัมพาต
  26. ปกตัตตะ : ผู้เป็นภิกษุโดยปกติ, ภิกษุผู้มีศีลและอาจาระเสมอกับภิกษุทั้งหลายตามปกติ คือ ไม่ต้องอาบัติปาราชิก หรือถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรม รวมทั้งมิใช่ ภิกษุผู้กำลังประพฤติวุฏฐานวิธีเพื่อออกจากอาบัติสังฆาทิเสส และภิกษุที่ถูกสงฆ์ลงนิคคหกรรมอื่นๆ
  27. ปฏลิกา : เครื่องลาดทำด้วยขนแกะที่มีสัณฐานเป็นพวงดอกไม้
  28. ปฏาจารา : พระมหาสาวิกาองค์หนึ่ง เป็นธิดาเศรษฐีในพระนครสาวัตถีได้รับวิปโยคทุกข์อย่างหนักเพราะสามีตาย ลูกตาย พ่อแม่พี่น้องตายหมด ในเหตุการณ์ร้ายที่เกิดขึ้นฉับพลันทันทีและติดต่อกัน ถึงกับเสียติดปล่อยผ้านุ่งผ้าห่มหลุดลุ่ย เดินบ่นเพ้อไปในที่ต่างๆ จนถึงพระเชตวัน พระศาสดาทรงแผ่พระเมตตา เปล่งพระวาจาให้นางกลับได้สติ แล้วแสดงพระธรรมเทศนา นางได้ฟังแล้วบรรลุโสดาปัตติผล บวชเป็นพระภิกษุณี ไม่ช้าได้สำเร็จพระอรหัต ได้รับยกย่องว่าเป็นเอตทัคคะในทางทรงพระวินัย
  29. ปฏิกโกสนา : การกล่าวคัดค้านจังๆ (ต่างจากทิฏฐาวิกัมม์ ซึ่งเป็นการแสดงความเห็นแย้ง ชี้แจงความเห็นที่ไม่ร่วมด้วยเป็นสวนตัว แต่ไม่ได้คัดค้าน)
  30. ปฏิกัสสนา : กิริยาชักเข้าหาอาบัติเดิม, เป็นชื่อวุฏฐานวิธีสำหรับอันตราบัติคือระเบียบปฏิบัติในการออกจากอาบัติสังฆาทิเสสสำหรับภิกษุผู้ต้องอาบัติสังฆาทิเสสขึ้นใหม่อีก ในเวลาใดเวลาหนึ่งตั้งแต่เริ่มอยู่ปริวาสไปจนถึงก่อนอัพภาน ทำให้เธอต้องกลับอยู่ปริวาสหรือประพฤติมานัตตั้งแต่เริ่มต้นไปใหม่ ; สงฆ์จตุวรรคให้ปฏิกัสสนาได้ ดู อันตราบัติ
  31. ปฏิจฉันนปริวาส : ปริวาสเพื่อครุกาบัติที่ปิดไว้, ปริวาสที่ภิกษุผู้ปรารถนาจะออกจากอาบัติสังฆาทิเสสอยู่ใช้เพื่ออาบัติที่ปิดไว้ ซึ่งนับวันได้เป็นจำนวนเดียว
  32. ปฏิญญาตกรณะ : ทำตามรับ ได้แก่รับอาบัติตามปฏิญญาของจำเลยผู้รับเป็นสัตย์ การแสดงอาบัติก็จัดเข้าในข้อนี้
  33. ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ : ความหมดจดแห่งญาณเป็นเครื่องเห็นทางปฏิบัติ ได้แก่ วิปัสสนาญาณ ๙ (ข้อ ๖ ในวิสุทธิ ๗)
  34. ปฏิปัสสัทธิวิมุตติ : ความหลุดพ้นด้วยสงบระงับ ได้แก่ การหลุดพ้นจากกิเลสด้วยอริยผล เป็นการหลุดพ้นที่ยั่งยืน ไม่ต้องขวนขวายเพื่อละอีก เพราะกิเลสนั้นสงบไปแล้ว เป็นโลกุตตรวิมุตติ (ข้อ ๔ ในวิมุตติ ๕)
  35. ปฏิภาคนิมิต : นิมิตเสมือน, นิมิตเทียบเคียง เป็นภาพเหมือนของอุคคหนิมิต เกิดจากสัญญา สามารถนึกขยายหรือย่อส่วน ให้ใหญ่หรือเล็กได้ตามความปรารถนา
  36. ปฏิโลม : ทวนลำดับ, ย้อนจากปลายมาหาต้น เช่นว่า ตจปัญจกกัมมัฏฐาน จากคำท้ายมาหาคำต้นว่า ตโจ ทันตา นขา โลมา เกสา (ตรงข้ามกับอนุโลม ตามลำดับว่า เกสา โลมา......), สาวเรื่องทวนจากผลเข้าไปหาเหตุ เช่น วิญญาณเป็นผล มีเพราะสังขาร เป็นเหตุ, สังขารเป็นผล มีเพราะอวิชชาเป็นเหตุ เป็นต้น
  37. ปฏิสังขานุปัสสนาญาณ : ญาณอันคำนึงพิจารณาหาทาง, ปรีชาคำนึงพิจารณาสังขาร เพื่อหาทางเป็นเครื่องพ้นไปเสีย ดู วิปัสสนาญาณ
  38. ปฏิสัมภิทามรรค : ทางแห่งปฏิสัมภิทา, ข้อปฏิบัติที่ทำให้มีความแตกฉาน; ชื่อคัมภีร์หนึ่งแห่งขุททกนิกาย ในพระสุตตันตปิฎก เป็นภาษาของพระสารีบุตร
  39. ปฏิสารณียกรรม : กรรมอันสงฆ์พึงทำแก่ภิกษุอันจะพึงให้กลับไป หมายถึง การที่สงฆ์ลงโทษให้ภิกษุไปขอขมาคฤหัสถ์ กรรมนี้สงฆ์ทำแก่ภิกษุปากกล้า ด่าว่าคฤหัสถ์ผู้มีศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาเป็นทายกอุปฐากสงฆ์ด้วยปัจจัย ๔ เป็นทางจะยังคนผู้ยังไม่เลื่อมใสมิให้เลื่อมใส จะยังคนผู้เลื่อมใสอยู่แล้วให้เป็นอย่างอื่นไปเสีย; ปฏิสาราณียธรรม ก็เขียน
  40. ปฐมฌาน : ฌานที่ ๑ มีองค์ ๕ คือวิตก (ความตรึก) วิจาร (ตรอง) ปีติ (ความอิ่มใจ) สุข (ความสบายใจ) เอกัคคตา (ความมีอารมณ์เป็นหนึ่ง)
  41. ปฐมยาม : ยามต้น, ยามที่หนึ่ง, ส่วนที่หนึ่งแห่งราตรี เมื่อแบ่งกลางคืนเป็น ๓ ส่วน
  42. ปฐมวัย : วันต้น, วัยแรก, วัยซึ่งยังเป็นเด็ก ดู วัย
  43. ปฐมอุบาสก : อุบาสกคนแรกในพระพุทธศาสนา หมายถึง ตปุสสะกับภัลลิกะ ซึ่งถึงสรณะ ๒ คือพระพุทธเจ้า และพระธรรม; บิดาของพระยสะเป็นคนแรกที่ถึงสรณะครบ ๓
  44. ปฐวีธาตุ : ธาตุดิน คือธาตุที่มีลักษณะแข้นแข็ง ในร่างกายที่ใช้เป็นอารมณ์กรรมฐาน ได้แก่ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจ ตับ พังผืด ไต ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า; อย่างนี้เป็นการกล่าวถึงปฐวีธาตุในลักษณะที่คนสามัญทุกคนจะเข้าใจได้ และที่จะให้สำเร็จประโยชน์ในการเจริญกรรมฐาน แต่ในทางพระอภิธรรม ปฐวีธาตุเป็นสภาวะพื้นฐานที่มีอยู่ในรูปธรรมทุกอย่าง แม้แต่ในน้ำและในลมที่เรียกกันสามัญ ซึ่งรู้สึกถูกต้องได้ด้วยกายสัมผัส
  45. ปณามคาถา : คาถาน้อมไหว้, คาถาแสดงความเคารพพระรัตนตรัย เรียกกนง่ายๆ ว่า คาถาไหว้ครู ซึ่งตามปกติ พระอาจารย์ผู้แต่งคัมภีร์ภาษาบาลี เช่น อรรถกถา ฎีกา เป็นต้น ถือเป็นธรรมเนียมที่จะเรียบเรียงไว้เป็นเบื้องต้น ก่อนขึ้นเนื้อความของคัมภีร์นั้นๆ ประกอบด้วยคำสรรเสริญคุณพระรัตนตรัย คำบอกความมุ่งหมายในการแต่ง คำอ้างถึงบุคคลที่เกี่ยวข้อง เช่น ผู้อาราธนาให้แต่ง และข้อควรทราบอื่นๆ เป็นอย่างคำนำ หรือคำปรารภ
  46. ปทปรมะ : “ผู้มีบท (คือถ้อยคำ) เป็นอย่างยิ่ง”, บุคคลผู้ด้อยปัญญาเล่าเรียนได้อย่างมากที่สุดก็เพียงถ้อยคำ หรือข้อความ ไม่อาจเข้าใจความหมาย ไม่อาจเข้าใจธรรม ดู บุคคล
  47. ปธาน : ความเพียร, ความเพียรที่ชอบเป็นสัมมาวายามะ มี ๔ อย่าง คือ ๑.สังวรปธาน เพียรระวังบาปอกุศลที่ยังไม่เกิด มิให้เกิดขึ้น ๒.ปหานปธาน เพียรละบาปอกุศลที่เกิดขึ้นแล้ว ๓.ภาวนาปธาน เพียรเจริญทำกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น ๔.อนุรักขนาปธาน เพียรรักษากุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ไม่ให้เสื่อมไปและให้เพิ่มไพบูลย์
  48. ปมิตา : เจ้าหญิงองค์หนึ่งในวงศ์ศากยะ เป็นพระราชบุตรีของพระเจ้าสีหหนุ เป็นพระเชฏฐภคินีของพระนางอมิตา เป็นพระเจ้าอาของพระพุทธเจ้า
  49. ปรทาริกกรรม : การประพฤติล่วงเมียคนอื่น, การเป็นชู้เมียเขา
  50. ปรมัตถโชติกา : ชื่อคัมภีร์อรรถกถาอธิบายความในขุททกปาฐะ ธรรมบทสุตตนิบาต และชาดก แห่งพระสุตตันตปิฎก พระพุทธโฆษาจารย์รจนาหรือเป็นหัวหน้าในการจัดเรียบเรียงขึ้น เมื่อ พ.ศ.ใกล้จะถึง ๑๐๐๐
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | [501-550] | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1608

(0.0913 sec)