Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เป็นพิเศษ, พิเศษ, เป็น , then ปน, เป็น, เป็นพิเศษ, พิเศษ, วิเศษ .

Budhism Thai-Thai Dict : เป็นพิเศษ, 1619 found, display 1601-1619
  1. โอฆะ : ห้วงน้ำคือสงสาร, ห้วงน้ำคือการเวียนว่ายต่ายเกิด; กิเลสอันเป็นดุจกระแสน้ำหลากท่วมใจสัตว์ มี ๔ คือ กาม ภพ ทิฏฐิ อวิชชา
  2. โอภาส : 1) แสงสว่าง, แสงสุกใส ผุดผ่อง (ข้อ ๑ ในวิปัสสนูปกิเลส ๑๐) 2) การพูดหรือแสดงออกที่เป็นเชิงเปิดช่องทางหรือให้โอกาส เช่นที่พระพุทธเจ้าทรงกระทำโอภาส ณ ที่ต่างๆ หลายแห่ง ซึ่งถ้าพระอานนท์เข้าใจ ก็จะทูลขอให้ทรงดำรงพระชนม์อยู่ตลอด (อายุ) กัป
  3. โอวาทปาฏิโมกข์ : หลักคำสอนสำคัญของพระพุทธศาสนา หรือคำสอนอันเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา ได้แก่ พระพุทธพจน์ ๓ คาถากึ่ง ที่พระพุทธเจ้าตรัสแก่พระอรหันต์ ๑,๒๕๐ รูป ผู้ไปประชุมกันโดยมิได้นัดหมาย ณ พระเวฬุวนาราม ในวันเพ็ญเดือน ๓ ที่เราเรียกกันว่าวันมาฆบูชา (อรรถกถากล่าวว่า พระพุทธเจ้าทรงแสดงโอวาทปาฏิโมกข์นี้แก่ที่ประชุมสงฆ์ตลอดมา เป็นเวลา ๒๐ พรรษา ก่อนที่จะโปรดให้สวดปาฏิโมกข์อย่างปัจจุบันนี้แทนต่อมา), คาถาโอวาทปาฏิโมกข์ มีดังนี้ (โอวาทปาติโมกข์ ก็เขียน)
  4. โอวาทวรรค : ตอนที่ว่าด้วยเรื่องให้โอวาทแก่นางภิกษุณี เป็นต้น, เป็นชื่อวรรคที่ ๓ แห่งปาจิตติยกัณฑ์ ในมหาวิภังค์ พระวินัยปิฎก
  5. โอสารณา : การเรียกเข้าหมู่, เป็นชื่อสังฆกรรมจำพวกหนึ่ง มีทั้งที่เป็นอปโลกนกรรม (เช่น การรับสามเณรผู้กล่าวตู่พระผู้มีพระภาคเจาซึ่งถูกนาสนะไปแล้วและเธอกลับตัวได้) เป็นญัตติกรรม (เช่น เรียกอุปสัมปทาเปกขะที่สอนซ้อมอันตรายิกธรรมแล้ว เข้าไปในสงฆ์) เป็นญัตติทุติยกรรม (เช่น หงายบาตรแก่คฤหัสถ์ที่กลับตัวประพฤติดี) เป็นญัตติจตุตถกรรม (เช่น ระงับนิคคหกรรมที่ได้ทำแก่ภิกษุ)
  6. ประเสริฐ : ดีที่สุด, ดีเลิศ, วิเศษ
  7. กตัตตาวาปนกรรม : ดู กตัตตากรรม
  8. ชีวิตสมสีสี : ผู้สิ้นกิเลสพร้อมกับสิ้นชีวิต, ผู้ได้บรรลุธรรมวิเศษแล้วก็ดับจิตพอดี
  9. ฟั่นเฝือ : เคลือบคลุม, พัวพันกัน, ปนคละกัน, ยุ่ง
  10. ภังคะ : ผ้าทำด้วยของเจือกัน คือ ผ้าทำด้วยเปลือกไม้ ฝ้าย ไหม ขนสัตว์ เปลือกป่าน ๕ อย่างนี้ อย่างใดก็ได้ปนกัน เช่น ผ้าด้วนแกมไหม เป็นต้น
  11. วิชชา : ความรู้แจ้ง, ความรู้วิเศษ; วิชชา ๓ คือ ๑.ปุพเพนิวาสานุสติญาณ ความรู้ที่ได้ระลึกชาติได้ ๒.จุตูปปาตญาณ ความรู้จุติและอุบัติของสัตว์ทั้งหลาย ๓.อาสวักขยญาณ ความรู้ที่ทำอาสวะให้สิ้น; วิชชา ๘ คือ ๑.วิปัสสนาญาณ ญาณในวิปัสสนา ๒.มโนมยิทธิ ฤทธิ์ทางใจ ๓.อิทธิวิธิ แสดงฤทธิ์ได้ต่างๆ ๔.ทิพพโสต หูทิพย์ ๕.เจโตปริยญาณ รู้จักกำหนดใจผู้อื่นได้ ๖.ปุพเพนิวาสานุสติ ๗.ทิพพจักขุ ตาทิพย์ (=จุตูปปาตญาณ) ๘.อาสวักขยญาณ
  12. วิทยาธร : “ผู้ทรงวิทยา”, ผู้มีวิชากายสิทธิ์, ผู้มีฤทธิ์ที่สำเร็จด้วยวิทยาอาคมหรือของวิเศษ, พ่อมด
  13. สำรวม : ระมัดระวัง, เหนี่ยวรั้ง, ระวังรักษาให้สงบเรียบร้อย เช่น สำรวมตา, สำรวมกาย, ครอง เช่นสำรวมสติ คือครองสติ, ดู สังวร, รวมประสมปนกัน เช่น อาหารสำรวม
  14. สำลาน : สีเหลืองปนแดง
  15. สุกขวิปัสสกะ : พระผู้เจริญวิปัสสนาล้วนสำเร็จพระอรหัต มิได้ทรงคุณวิเศษอย่างอื่นอีก เช่นไม่ได้ฌานสมาบัติไม่ได้อภิญญา เป็นต้น ดู อรหันต์
  16. อรหันต์ : ผู้สำเร็จธรรมวิเศษสูงสุดในพระพุทธศาสนา, พระอริยบุคคลชั้นสูงสุด ผู้ได้บรรลุอรหัตตผล, พระอรหันต์ ผู้สำเร็จธรรมวิเศษสูงสุดในพระพุทธศาสนา, พระอริยบุคคลชั้นสูงสุด ผู้ได้บรรลุอรหัตตผล, พระอรหันต์ ๒ ประเภท คือ พระสุกขวิปัสสก กับพระสมถยานิก ; พระอรหันต์ ๔ คือ ๑) พระสุกขวิปัสสก ๒) พระเตวิชชะ (ผู้ได้วิชชา ๓) ๓) พระฉฬภิญญะ (ผู้ได้อภิญญา ๖) ๔) พระปฏิสัมภิทัปปัตตะ (ผู้บรรลุปฏิสัมภิทา ๔); พระอรหันต์ ๕ คือ ๑) พระปัญญาวิมุต ๒) พระอุภโตภาควิมุต ๓) พระเตวิชชะ ๔) พระฉฬภิญญะ ๕) พระปฏิสัมภิทัปปัตตะ ดู อริยบุคคล
  17. อริยะ : เจริญ, ประเสริฐ, ผู้ไกลจากข้าศั้ก คือ กิเลส, บุคคลผู้บรรลุธรรมวิเศษ มีโสดาปัตติมรรคเป็นต้น ดู อริยบุคคล
  18. อัจฉริยะ : “เหตุอันควรที่จะดีดนิ้วเปาะ”, อัศจรรย์, แปลกวิเศษ, น่าทึ่งควรยอมรับนับถือ, ดีเลิศล้ำน่าพิศวง, มีความรู้ความสามารถทรงคุณสมบัติเหนือสามัญหรือเกินกว่าระดับปกติ
  19. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | [1601-1619]

(0.0601 sec)