Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เป็นพิเศษ, พิเศษ, เป็น , then ปน, เป็น, เป็นพิเศษ, พิเศษ, วิเศษ .

Budhism Thai-Thai Dict : เป็นพิเศษ, 1619 found, display 251-300
  1. เจตนา : ความตั้งใจ, ความมุ่งใจหมายจำทำ, เจตน์จำนง, ความจำนง, ความจงใจ, เป็นเจตสิกที่เกิดกับจิตทุกดวง เป็นตัวนำในการคิดปรุงแต่ง หรือเป็นประธานในสังขารขันธ์ และเป็นตัวการในการทำกรรม หรือกล่าวได้ว่า เป็นตัวกรรมทีเดียว ดังพุทธพจน์ว่า “เจตนาหํ ภิกฺขเว กมฺมํ วทามิ” แปลว่า เรากล่าวเจตนาว่าเป็นกรรม
  2. เจตภูต : สภาพเป็นผู้คิดอ่าน, ตามที่เข้าใจกัน หมายถึงดวงวิญญาณหรือดวงชีพอันเที่ยงแท้ที่สิงอยู่ในตัวคน กล่าวกันว่าออกจากร่างได้ในเวลานอนหลับ และเป็นตัวไปเกิดใหม่เมื่อกายนี้แตกทำลาย เป็นคำที่ไทยเราใช้เรียกแทนคำว่า อาตมัน หรืออัตตาของลัทธิพราหมณ์และเป็นความเชื่อนอกพระพุทธศาสนา
  3. เจตสิก : ธรรมที่ประกอบกับจิต, อาการหรือคุณสมบัติต่างๆ ของจิต เช่น ความโลภ ความโกรธ ความหลง ศรัทธา เมตตา สติ ปัญญา เป็นต้น มี ๕๒ อย่าง จัดเป็น อัญญสมานาเจตสิก ๑๓ อกุศลเจตสิก ๑๔ โสภณเจตสิก ๒๕
  4. เจโตวิมุตติ : ความหลุดพ้นแห่งจิต, การหลุดพ้นจากกิเลสด้วยอำนาจการฝึกจิตหรือด้วยกำลังสมาธิ เช่น สมาบัติ ๘ เป็นเจโตวิมุตติอันละเอียดประณีต (สันตเจโตวิมุตติ)
  5. เจริญพร : คำเริ่มและคำรับที่ภิกษุสามเณรใช้พูดกับคฤหัสถ์ผู้ใหญ่และสุภาพชนทั่วไป ตลอดจนใช้เป็นคำขึ้นต้นและลงท้ายจดหมายที่ภิกษุสามเณรมีไปถึงบุคคลเช่นนั้นด้วย (เทียบได้กับคำว่าเรียนและครับหรือขอรับ)
  6. เจริญวิปัสสนา : ปฏิบัติวิปัสสนา, บำเพ็ญวิปัสสนา, ฝึกอบรมปัญญาโดยพิจารณาสังขาร คือ รูปธรรมและนามธรรมทั้งหมดแยกออกเป็นขันธ์ๆ กำหนดด้วยไตรลักษณ์ว่าไม่เที่ยงเป็นทุกข์เป็นอนัตตา
  7. เจ้าหน้าที่ทำการสงฆ์ : ภิกษุผู้ได้รับสมมติ คือแต่งตั้งจากสงฆ์ให้ทำหน้าที่ต่างๆ เกี่ยวกับการของส่วนรวมในวัดตามพระวินัยแบ่งไว้เป็น ๕ ประเภทคือ ๑.เจ้าอธิการแห่งจีวร ๒.เจ้าอธิการแห่งอาหาร ๓.เจ้าอธิการแห่งเสนาสนะ ๔.เจ้าอธิการแห่งอาราม ๕.เจ้าอธิการแห่งคลัง
  8. เจ้าอธิการแห่งเสนาสนะ : ภิกษุผู้มีหน้าที่เกี่ยวกับเสนาสนะ แยกเป็น ๒ คือ ผู้แจกเสนาสนะให้ภิกษุถือ (เสนาสนคาหาปก) และผู้แต่งตั้งเสนาสนะ (เสนาสนปัญญาปก)
  9. เจ้าอธิการแห่งอาราม : ภิกษุผู้มีหน้าที่เกี่ยวกับงานวัด แยกเป็น ๓ คือ ผู้ใช้คนงานวัด (อารามิกเปสก) ผู้ใช้สามเณร (สามเณรเปสก) และผู้ดูแลปลูกสร้าง (นวกัมมิกะ)
  10. ฉันทะ : 1.ความพอใจ, ความชอบใจ, ความยินดี, ความต้องการ, ความรักใคร่สิ่งนั้นๆ, ความรักงาน (เป็นกลางๆ เป็นอกุศลก็มี เป็นกุศลก็มี, เป็นอัญญสมานาเจตสิกข้อ ๑๓, ที่เป็นอกุศล เช่นในกามฉันทะ ที่เป็นกุศลเช่น ข้อ ๑ ในอิทธิบาท ๔) 2.ความยินยอม, ความยอมให้ที่ประชุมทำกิจนั้นๆ ในเมื่อตนมิได้ร่วมอยู่ด้วย, เป็นธรรมเนียมของภิกษุ ที่อยู่ในวัดซึ่งมีสีมารวมกัน มีสิทธิที่จะเข้าประชุมทำกิจของสงฆ์ เว้นแต่ภิกษุนั้นอาพาธจะเข้าร่วมประชุมด้วยไม่ได้ ก็มอบฉันทะคือแสดงความยินยอมให้สงฆ์ทำกิจนั้นๆ ได้
  11. ฉันนะ : อำมาตย์คนสนิทผู้เป็นสหชาติและเป็นสารถีของเจ้าชายสิทธัตถะในวันเสด็จออกบรรพชา ฉันนะตามเสด็จไปด้วย ภายหลังบวชเป็นภิกษุถือตัวว่าเป็นคนใกล้ชิดพระพุทธเจ้ามาแต่เก่าก่อน ใครว่าไม่ฟังเกิดความบ่อยๆ หลังจากพระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว ถูกสงฆ์ลงพรหมทัณฑ์หายพยศ และได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์
  12. ฉายา : 1.เงา, อาการที่เป็นเงาๆ คือ ไม่ชัดออกไป, อาการเคลือบแฝง 2.ชื่อที่พระอุปัชฌายะตั้งให้แก่ผู้ขอบวชเป็นภาษาบาลี เรียกว่าชื่อฉายา ที่เรียกเช่นนี้เพราะเดิมเมื่อเสร็จการบวชแล้ว ต้องมีการวัดฉายาคือเงาแดดด้วยการสืบเท้าว่าเงาหดหรือเงาขยายแค่ไหน ชั่วกี่สืบเท้า การวัดเงาด้วยเท้านั้นเป็นมาตรานับเวลา เรียกว่า บาท เมื่อวัดแล้วจดเวลาไว้และจดสิ่งอื่นๆ เช่นชื่อพระอุปัชฌายะ พระกรรมวาจาจารย์ จำนวนสงฆ์ และชื่อผู้อุปสมบท ทั้งภาษาไทยและมคธ ลงในนั้นด้วย ชื่อใหม่ที่จดลงตอนวัดฉายานั้น จึงเรียกว่าชื่อฉายา
  13. ฉายาปาราชิก : เงาแห่งปาราชิก คือ ประพฤติตนในฐานะที่ล่อแหลมต่อปาราชิก อาจเป็นปาราชิกได้ แต่จับไม่ถนัด เรียกว่าฉายาปาราชิก เป็นผู้ที่สงฆ์รังเกียจ
  14. เฉทนกปาจิตตีย์ : อาบัติปาจิตตีย์ที่ต้องตัดสิ่งของที่เป็นเหตุให้ต้องอาบัติเสียก่อน จึงแสดงอาบัติตก ได้แก่ สิกขาบทที่ ๕-๗-๘-๙-๑๐ แห่งรตนวรรค (ปาจิตตีย์ข้อ ๘๗, ๘๙, ๙๐, ๙๑, ๙๒)
  15. ชฎา : ผมที่เกล้าเป็นมวยสูงขึ้น, เครื่องประดับสำหรับศีรษะ รูปคล้ายมงกุฎ
  16. ชฎิล : นักบวชประเภทหนึ่ง เกล้าผมมุ่นเป็นมวยสูงขึ้น มักถือลัทธิบูชาไฟ บางครั้งจัดเข้าในพวกฤษี
  17. ชฎิลกัสสปะ : กัสสปะ ๓ พี่น้อง คือ อุรุเวลกัสสปะ นทีกัสสปะ คยากัสสปะ ผู้เป็นนักบวชประเภทชฎิล (ฤาษีกัสสปะ ๓ พี่น้อง)
  18. ชตุเภสัช : พืชที่มียางเป็นยา, ยาทำจากยางพืช เช่น มหาหิงคุ์ กำยาน เป็นต้น
  19. ชนกกรรม : กรรมที่นำให้เกิด, กรรมที่เป็นกุศลหรืออกุศลก็ตามที่เป็นตัวแต่งสัตว์ให้เกิด คือชักนำให้ถือปฏิสนธิในภพใหม่ เมื่อสิ้นชีวิตจากภพนี้ (ข้อ ๕ ในกรรม ๑๒)
  20. ชนเมชยะ : พระเจ้าแผ่นดินในครั้งโบราณ เคยทำพิธีอัศวเมธ เพื่อประกาศความเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ
  21. ชนวสภสูตร : สูตรหนึ่งในคัมภีร์ทีฆนิกาย มหาวรรค สุตตันตปิฎก ว่าด้วยเรื่องที่พระเจ้าพิมพิสารซึ่งสวรรคตไปเกิดเป็นชนวสภยักษ์ มาสำแดงตนแก่พระพุทธเจ้า และพระอานนท์แล้วเล่าเหตุการณ์ที่พวกเทวดามาประชุมในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ พากันชื่นชมข่าวดีที่เทวดามีจำนวนเพิ่มขึ้น เพราะคนประพฤติตามคำสอนของพระพุทธเจ้า
  22. ชราธรรม : มีความแก่เป็นธรรมดา, มีความแก่เป็นของแน่นอน, ธรรมคือความแก่
  23. ชลาพุชะ : สัตว์เกิดในครรภ์ ได้แก่มนุษย์ และสัตว์เดรัจฉาน ที่ออกลูกเป็นตัว ดู โยนิ
  24. ชลามพุชะ : สัตว์เกิดในครรภ์ ได้แก่มนุษย์ และสัตว์เดรัจฉาน ที่ออกลูกเป็นตัว ดู โยนิ
  25. ชัยมงคล : มงคลคือความชนะ, ความชนะที่เป็นมงคล
  26. ชาคริยานุโยค : การประกอบความเพียร เครื่องตื่นอยู่ คือ เพียรพยายามปฏิบัติธรรม ไม่เห็นแก่นอน ตื่นตัวอยู่เป็นนิตย์ ชำระจิตไม่ให้มีนิวรณ์ ดู อปัณณกปฏิปทา
  27. ชาตสระ : สระเกิดเอง, ที่น้ำขังอันเป็นเอง เช่น บึง, หนอง, ทะเลสาบ ฯลฯ
  28. ชาติปุกกุสะ : พวกปุกกุสะ เป็นคนชั้นต่ำพวกหนึ่งในระบบวรรณะของศาสนาพราหมณ์ มีอาชีพคอยเก็บกวาดขยะดอกไม้ตามสถานที่บูชา
  29. ชาติสุททะ : พวกสุททะ, คนพวกวรรณะศูทร เป็นคนชั้นต่ำในชมพูทวีป ดู ศูทร
  30. ชีต้น : พระสงฆ์ที่คุ้นเคยใกล้ชิตกับครอบครัวหรือตระกูล ซึ่งเขาเคารพนับถือเป็นอาจารย์เป็นที่ปรึกษา เรียกอย่างคำบาลีว่า กุลุปกะ, กุลูปกะ หรือกุลุปก์ ดู กุลุปกะ
  31. ชีพ : ชีวิต, ความเป็นใหญ่
  32. ชีวก : ชื่อหมอใหญ่ผู้เชี่ยวชาญในการรักษาและมีชื่อเสียงมากในครั้งพุทธกาล เป็นแพทย์ประจำพระองค์ของพระเจ้าพิมพิสาร และพระเจ้าพิมพิสารได้ถวายให้เป็นแพทย์ประจำพระองค์ ของพระพุทธเจ้าด้วย, เรียกชื่อเต็มว่า ชีวกโกมารภัจจ์
  33. ชีวิต : ความเป็นอยู่
  34. ชีวิตินทรีย์ : อินทรีย์คือชีวิต, สภาวะที่เป็นใหญ่ในการตามรักษาสหชาตธรรม (ธรรมที่เกิดร่วมด้วย) ดุจน้ำหล่อเลี้ยงดอกบัว เป็นต้น มี ๒ ฝ่ายคือ ๑.ชีวิตินทรีย์ที่เป็นชีวิตรูป เป็นอุปาทาย รูปอย่างหนึ่ง (ข้อที่ ๑๓) เป็นเจ้าการในการรักษาหล่อเลี้ยงเหล่ากรรมชรูป (รูปที่เกิดแต่กรรม) บางทีเรียก รูป ชีวิตินทรีย์ ๒.ชีวิตินทรีย์ที่เป็นเจตสิกเป็นสัพพจิตตสาธารณเจตสิก (เจตสิกที่เกิดกับจิตทุกดวง) อย่างหนึ่ง (ข้อที่ ๖) เป็นเจ้าการในการรักษาหล่อเลี้ยงนามธรรมคือจิตและเจตสิกทั้งหลาย บางทีเรียก อรูปชีวิตินทรีย์ หรือ นามชีวิตินทรีย์
  35. ชีโว : ผู้เป็น, ดวงชีพ ตรงกับ อาตมัน หรือ “อัตตา” ของลัทธิพราหมณ์
  36. ฌาน : การเพ่งอารมณ์จนใจแน่วแน่ เป็นอัปปนาสมาธิ, ภาวะจิตสงบประณีต ซึ่งมีสมาธิเป็นองค์ธรรมหลัก; ฌาน ๔ คือ ๑.ปฐมฌาน มีองค์ ๕ (วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา) ๒.ทุติยฌาน มีองค์ ๓ (ปีติ สุข เอกัคคตา) ๓.ตติยฌาน มีองค์ ๒ (สุข เอกัคคตา) ๔.จตุตถฌาน มีองค์ ๒ (อุเบกขา เอกัคคตา); ฌาน ๕ ก็เหมือนอย่าง ฌาน ๔ นั่นเอง แต่ตามแบบอภิธรรม ท่านซอยละเอียดออกไป โดยเพิ่มข้อ ๒ แทรกเข้ามา คือ ๑.ปฐมฌาน มีองค์ ๕ (วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา) ๒.ทุติยฌาน มีองค์ ๔ (วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา) ข้อ ๓.๔.๕.ตรงกับ ข้อ ๒.๓.๔.ในฌาน ๔ ตามลำดับ
  37. ฌานาทิสังกิเลสาทิญาณ : ปรีชากำหนดรู้ความเศร้าหมอง ความผ่องแผ้ว และการออกแห่งฌาน วิโมกข์ สมาธิ สมาบัติ ตามความเป็นจริง (ข้อ ๗ ในทศพลญาณ)
  38. ญัตติจตุตถกรรม : กรรมมีญัตติเป็นที่ ๔ ได้แก่ สังฆกรรมที่สำคัญ มีการอุปสมบท เป็นต้น ซึ่งเมื่อตั้งญัตติแล้ว ต้องสวดอนุสาวนาคำประกาศขอมติถึง ๓ หน เพื่อสงฆ์คือที่ชุมนุมนั้นจะได้มีเวลาพิจารณาหลายเที่ยว ว่าจะอนุมัติหรือไม่
  39. ญัตติจตุตถกัมมอุปสัมปทา : การอุปสมบทด้วยญัตติจตุตถกรรม ได้แก่วิธีอุปสมบทที่สงฆ์เป็นผู้กระทำอย่างที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน โดยภิกษุประชุมครบองค์กำหนด ในเขตชุมนุมซึ่งเรียกว่าสีมา กล่าววาจาประกาศเรื่องความที่จะรับคนนั้นเข้าหมู่ และได้รับความยินยอมของภิกษุทั้งปวงผู้เข้าประชุม เป็นสงฆ์นั้น; พระราธะเป็นบุคคลแรกที่ได้รับอุปสมบทอย่างนี้
  40. ญัตติทุติยกรรม : กรรมมีญัตติเป็นที่ ๒ หรือกรรมมีวาจาครบ ๒ ทั้งญัตติ, กรรมอันทำด้วยตั้งญัตติแล้วสวดอนุสาวนาหนเดียว เช่น การสมมติสีมา การสังคายนา และการมอบให้ผากฐิน เป็นต้น
  41. ญาณจริต : คนที่มีพื้นนิสัยหนักในความรู้ มักใช้ความคิด พึงส่งเสริมด้วย แนะนำให้ใช้ความคิดในทางที่ชอบ (เป็นอีกชื่อหนึ่งของพุทธจริต)
  42. ญาณทัศนะ : การเห็นกล่าวคือการหยั่งรู้, การเห็นที่เป็นญาณ หรือ เห็นด้วยญาณ อย่างต่ำสุดหมายถึง วิปัสสนาญาณ นอกนั้นในที่หลายแห่งหมายถึง ทิพพจักขุญาณบ้าง มรรคญาณบ้าง และในบางกรณีหมายถึง ผลญาณบ้าง ปัจจเวกขณญาณบ้าง สัพพัญญุตญาณบ้าง ก็มี ทั้งนี้สุดแต่ข้อความแวดล้อมในที่นั้นๆ
  43. ญาณทัสสนะ : การเห็นกล่าวคือการหยั่งรู้, การเห็นที่เป็นญาณ หรือ เห็นด้วยญาณ อย่างต่ำสุดหมายถึง วิปัสสนาญาณ นอกนั้นในที่หลายแห่งหมายถึง ทิพพจักขุญาณบ้าง มรรคญาณบ้าง และในบางกรณีหมายถึง ผลญาณบ้าง ปัจจเวกขณญาณบ้าง สัพพัญญุตญาณบ้าง ก็มี ทั้งนี้สุดแต่ข้อความแวดล้อมในที่นั้นๆ
  44. ญาตปริญญา : กำหนดรู้ขั้นรู้จัก คือ กำหนดรู้สิ่งนั้นๆ ตามลักษณะที่เป็นสภาวะของมันเอง พอให้แยกออกมาจากสิ่งอื่นๆ ได้ เช่น รู้ว่า นี้คือเวทนา เวทนามีลักษณะเสวยอารมณ์ ดังนี้เป็นต้น (ข้อ ๑ ในปริญญา ๓)
  45. ญาตัตถจริยา : พระพุทธจริยาเพื่อประโยชน์แก่พระญาติ, ทรงประพฤติประโยชน์แก่พระประยูรญาติ เช่น ทรงอนุญาตให้พระญาติที่เป็นเดียรถีย์เข้ามาอุปสมบทในพระพุทธศาสนา ไม่ต้องอยู่ติตถิยปริวาส ๔ เดือนก่อน เหมือนเดียรถีย์อื่น และเสด็จไปห้ามพระญาติที่วิวาทกันด้วยเรื่องน้ำ เป็นต้น ดู พุทธจริยา
  46. ญาติ : พี่น้องที่ยังนับรู้กันได้, ผู้ร่วมสายโลหิตกันทางบิดาหรือมารดา, ในฎีกาวินัย ท่านกับ ๗ ชั้น ทั้งข้างบนและข้างล่าง แต่ตามปกติจะไม่พบมากหลายชั้นอย่างนั้น ปัจจุบันท่านให้นับญาติ ๗ ชั้น หรือ ๗ ชั่วคน คือ นับทางมารดาก็ดี ทางบิดาก็ดี ชั้นตนเองเป็น ๑ ข้างบน ๓ (ถึงทวด) ข้างล่าง ๓ (ถึงเหลน), เขยและสะใภ้ ไม่นับเป็นญาติ
  47. ฐานะ : เหตุ, อย่าง, ประการ, ที่ตั้ง, ตำแหน่ง, โอกาส, ความเป็นไปได้
  48. ฐานาฐานญาณ : ปรีชากำหนดรู้ฐานะคือสิ่งที่เป็นไปได้ เช่นทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นต้น และอฐานะ คือสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ เช่น ทำดีได้ชั่ว ทำชั่วได้ดี เป็นต้น (ข้อ ๑ ในทสพลญาณ)
  49. ฐานานุรูป : สมควรแก่ตำแหน่ง, สมควรแก่เหตุที่จะเป็นได้
  50. ด้น : เย็บผ้าให้ติดกันเป็นตะเข็บโดยฝีเย็บ
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | [251-300] | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1619

(0.0797 sec)