Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: แสดง , then สดง, แสดง .

Budhism Thai-Thai Dict : แสดง, 188 found, display 151-188
  1. อปริหานิยธรรม : ธรรมไม่เป็นที่ตั้งแห่งความเสื่อม, ธรรมที่ทำให้ไม่เสื่อม เป็นไปเพื่อความเจริญฝ่ายเดียว มี ๗ อย่าง ที่ตรัสสำหรับภิกษุ (ภิกขุอปริหาริยธรรม) ยกมาแสดงหมวดหนึ่ง ดังนี้ ๑) หมั่นประชุมกันเนืองนิตย์ ๒) เมื่อประชุมก็พร้อมเพรียงกันประชุม เมื่อเลิกประชุมก็พร้อมเพรียงกันเลิก และพร้อมเพรียงช่วยกันทำกิจที่สงฆ์จะต้องทำ ๓) ไม่บัญญัติสิ่งที่พระพุทธเจ้าไม่บัญญัติขึ้น ไม่ถอนสิ่งที่พระองค์บัญญัติไว้แล้ว สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบทตามที่พระองค์ทรงบัญญัติไว้ ๔) ภิกษุเหล่าใด เป็นผู้ใหญ่เป็นประธานในสงฆ์ เคารพนับถือภิกษุเหล่านั้น เชื่อฟังถ้อยคำของท่าน ๕) ไม่ลุอำนาจแก่ความอยากที่เกิดขึ้น ๖) ยินดีในเสนาสนะป่า ๗) ตั้งในอยู่ว่า เพื่อนภิกษุสามเณรซึ่งเป็นผู้มีศีล ซึ่งยังไม่มาสู่อาวาส ขอให้มา ที่มาแล้วขอให้อยู่เป็นสุข
  2. อภิญญา : ความรู้ยิ่ง, ความรู้เจาะตรงยวดยิ่ง, ความรู้ชั้นสูง มี ๖ อย่างคือ ๑) อิทธิวิธิ แสดงฤทธิ์ต่างๆ ได้ ๒) ทิพพโสต หูทิพย์ ๓) เจโตปริยญาณ ญาณที่ให้ทายใจคนอื่นได้ ๔) ปุพเพนิวาสานุสติ ญาณที่ทำให้ระลึกชาติได้ ๕) ทิพพจักขุ ตาทิพย์ ๖) อาสวักขยญาณ ญาณที่ทำให้อาสวะสิ้นไป, ๕ อย่างแรกเป็นโลกียอภิญญา ข้อสุดท้ายเป็นโลกุตตรอภิญญา
  3. อภิญญาเทสิตธรรม : ธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงด้วยพระปัญญาอันยิ่ง หมายถึง โพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ มีสติปัฏฐาน ๔ เป็นต้น
  4. อรรถกถานัย : เค้าความในอรรถกถา, แนวคำอธิบายในอรรถกถา, แง่แห่งความหมายที่แสดงไว้ในอรรถกถา
  5. อริยปริเยสนา : การแสวงหาที่ประเสริฐ คือ แสวงหาสิ่งที่ไม่ตกอยู่ในอำนาจแห่งชาติ ชรา มรณะ หรือกองทุกข์ โดยความได้แก่แสดงหาโมกขธรรมเพื่อความหลุดพ้นจากกิเลสและกองทุกข์, ความหมายอย่างง่าย ได้แก่ การแสดงหาในทางสัมมาชีพ (ข้อ ๒ ในปริเยสนา ๒)
  6. อวหาร : การลัก, อาการที่ถือว่าเป็นการลักทรัพย์ ในอรรถกถาแสดงไว้ ๒๕ อย่าง พึงทราบในที่นี้ ๑๓ อย่าง คือ ๑) ลัก ๒) ชิงหรือวิ่งราว ๓) ลักต้อน ๔) แย่ง ๕) ลักสับ ๖) ตู่ ๗) ฉ้อ ๘) ยักยอก ๙) ตระบัด ๑๐) ปล้น ๑๑) หลอกลวง ๑๒) กดขี่หรือกรรโชก ๑๓) ลักซ่อน
  7. อัคคัญญสูตร : ชื่อสูตรที่ ๔ แห่งทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค พระสุตตันตปิฎก ทรงแสดงแก่สามเณรวาเสฏฐะ และสามเณรภารัทวาชะ ผู้ออกบวชจากตระกูลพราหมณ์ ทรงคัดค้านคำกล่าวอ้างของพวกพราหมณ์ ที่ถือว่าพราหมณ์เป็นวรรณะประเสริฐที่สุด และถือว่าชาติกำเนิดเป็นเครื่องตัดสินความประเสริฐ และความต่ำทรามของมนุษย์ ทรงแสดงให้เห็นว่าความประเสริฐหรือต่ำทรามนั้นอยู่ที่ความประพฤติ โดยมีธรรมเป็นเครื่องตัดสิน คนวรรณะต่างๆ ออกบวชในพระพุทธศาสนาแล้ว ย่อมชื่อว่าเป็นผู้เกิดจากธรรมเสมอกันหมด แล้วทรงแสดงความเป็นมาของสังคมมนุษย์ เริ่มแต่เกิดมีสัตว์ขึ้นในโลกแล้วเปลี่ยนแปลงตามลำดับ จนเกิดมีมนุษย์ที่อยู่รวมกันเป็นหมู่เป็นพวก เกิดความจำเป็นต้องมีการปกครอง และมีการประกอบอาชีพ การงานต่างๆ กัน วรรณะทั้ง ๔ ก็เกิดจากความเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ มิใช่เป็นเรื่องของพรหมสร้างสรรค์ แต่เกิดจากธรรม (ธรรมดา, กฎธรรมชาติ) ทุกวรรณะประพฤติชั่วก็ไปอบายได้ ปฏิบัติธรรมก็บรรลุนิพพานได้ ธรรมเป็นเครื่องตัดสิน และธรรมเป็นของประเสริฐสูงสุด ผู้ที่สิ้นอาสวกิเลสแล้ว เป็นผู้ประเสริฐสุดในวรรณะทั้ง ๔ ผู้ที่สมบูรณ์ด้วยวิชชาและจรณะ เป็นผู้ประเสริฐสุดในบรรดาเทวะ และมนุษย์ทั้งปวง
  8. อัญชลีกรรม : การประนมมือแสดงความเคารพ
  9. อัฏฐารสเภทกรวัตถุ : เรื่องทำความแตกกัน ๑๘ อย่าง, เรื่องที่จะก่อให้เกิดความแตกแยกแก่สงฆ์ ๑๘ ประการ ท่านจัดเป็น ๙ คู่ (แสดงแต่ฝ่ายคี่) คือ ภิกษุแสดงสิ่งมิใช่ธรรมว่าเป็นธรรม, แสดงสิ่งมิใช่วินัยว่าเป็นวินัย, แสดงสิ่งที่พระตถาคตมิได้ตรัสว่าได้ตรัส, แสดงสิ่งที่พระตถาคตมิได้ประพฤติ ว่าได้ประพฤติ, แสดงสิ่งที่พระตถาคตมิได้บัญญัติ ว่าได้บัญญัติ, แสดงอาบัติว่ามิใช่อาบัติ, แสดงอาบัติเบาว่าเป็นอาบัติหนัก, แสดงอาบัติมีส่วนเหลือวาเป็นอาบัติไม่มีส่วนเหลือ, แสดงอาบัติหยาบคายว่ามิใช่อาบัติหยาบคาย (ฝ่ายคู่ก็ตรงกันข้ามจากนี้ตามลำดับ เช่น แสดงธรรมว่ามิใช่ธรรม, แสดงวินัยว่ามิใช่วินัย ฯลฯ แสดงอาบัติไม่หยาบคาย ว่าเป็นอาบัติหยาบคาย)
  10. อาคันตุกวัตร : ธรรมเนียมที่ภิกษุควรปฏิบัติต่ออาคันตุกะ คือภิกษุผู้จรมา เช่นขวนขวายต้อนรับ แสดงความนับถือ จัดหรือบอกให้น้ำให้อาสนะ ถ้าอาคันตุกะจะมาพักมาอยู่ พึงแสดงเสนาสนะ บอกที่ทางและกติกาสงฆ์ เป็นต้น
  11. อาทิตตปริยายสูตร : ชื่อพระสูตรที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่ภิกษุประมาณ ๑,๐๐๐ รูป มีอุรุเวลกัสสป เป็นต้น ซึ่งเคยเป็นชฏิลบูชาไฟมาก่อน ว่าด้วยอายตนะทั้ง ๖ ที่ร้อนติดไฟลุกทั่ว ด้วยไฟราคะ ไฟโทสะ และไฟโมหะ ตอลดจนร้อนด้วยทุกข์ มีชาติ ชรามรณะ เป็นต้น ทำให้ภิกษุเหล่านั้นบรรลุอรหัตตผล (มาในคัมภีร์มหาวรรค แห่งพระวินัยปิฎก และสังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค พระสุตตันตปิฎก)
  12. อาบัติ : การต้อง, การล่วงละเมิด, โทษที่เกิดแต่การละเมิดสิกขาบท; อาบัติ ๗ คือ ปาราชิก สังฆาทิเสส ถุลลัจจัย ปาจิตตีย์ ปาฏิเทสนียะ ทุกกฏ ทุพภาสิต; อาบัติ ๗ กองนี้จัดรวมเป็นประเภทได้หลายอย่าง โดยมากจัดเป็น ๒ เช่น ๑) ครุกาบัติ อาบัติหนัก (ปาราชิกและสังฆาทิเสส) ๒) ลหุกาบัติ อาบัติเบา (อาบัติ ๕ อย่างที่เหลือ); คู่ต่อไปนี้ก็เหมือนกัน คือ ๑) ทุฏฐลลาบัติ อาบัติไม่ชั่วหยาบ; ๑) อเทสนนาคามินี อาบัติที่ไม่พ้นได้ด้วยการแสดง ๒) เทสนาคามินี อาบัติที่พ้นได้ด้วยการแสดงคือเปิดเผยความผิดของตน; คู่ต่อไปนี้จัดต่างออกไปอีกแบบหนึ่งตรงกันทั้งหมด คือ ๑) อเตกิจฉา เยียวยาแก้ไขไม่ได้ (ปาราชิก) ๒) สเตกิจฉา เยียวยาแก้ไขได้ (อาบัติ ๖ อย่างที่เหลือ); ๑) อนวเสส ไม่มีส่วนเหลือ ๒) สาวเสส ยังมีส่วนเหลือ; ๑) อัปปฏิกัมม์หรืออปฏิกรรม ทำคืนไม่ได้คือแก้ไขไม่ได้ ๒) สัปปฏิกัมม์ หรือ สปฏิกรรม ยังทำคืนได้ คือแก้ไขได้
  13. อาปุจฉา : บอกกล่าว, ถามเชิงขออนุญาต เป็นการแสดงความเอื้อเฟื้อ, แจ้งให้ทราบ เช่น ภิกษุอ่อนพรรษาจะแสดงธรรม ต้องอาปุจฉาภิกษุผู้มีพรรษามากกว่าก่อน
  14. อารักขสัมปทา : ถึงพร้อมด้วยการรักษา คือรักษาทรัพย์ที่แสดงหามาได้ ด้วยความหมั่น ไม่ให้เป็นอันตรายและรักษาการงานไม่ให้เสื่อมเสียไป (ข้อ ๒ ในทิฏฐธัมมิกัตถฯ)
  15. อาราธนาธรรม : กล่าวคำเชิญหรือขอร้องพระให้แสดงธรรม (ให้เทศน์)
  16. อาสภิวาจา : วาจาแสดงความเป็นผู้องอาจ, วาจาองอาจ คือคำประกาศพระองค์ว่าเป็นเอกในโลก ตามเรื่องว่าพระมหาบุรุษเมื่อประสูติจากพระครรภ์ของพระมารดา ย่างพระบาทไป ๗ ก้าวแล้วหยุดยืนตรัสอาสภิวาจาว่า “อคฺโคหมสฺมิ โลกสฺส” ดังนี้เป็นต้น แปลว่า เราเป็นอัครบุคคลของโลก ฯลฯ
  17. อาสา : ความหวัง, ความต้องการ; ไทยว่า รับทำโดยเต็มใจ, สมัคร, แสดงตัวขอรับทำการนั้นๆ
  18. อาสาฬหบูชา : การบูชาในเดือน ๘ เพื่อรำลึกถึงคุณพระรัตนตรัย เป็นการพิเศษ เนื่องในวันที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนา คือ ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร ทำให้เกิดมีปฐมสาวก คือ พระอัญญาโกณฑัญญะ และเกิดสังฆรัตนะคำรบพระรัตนตรัย
  19. อิฏฐารมณ์ : อารมณ์ที่น่าปรารถนา, สิ่งที่คนอยากได้อยากพบ แสดงในแง่กามคุณ ๕ ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ที่น่ารักใคร่ น่าชอบใจ แสดงในแง่โลกธรรม ได้แก่ ลาภ ยศ สรรเสริญ และความสุข เทียบ อนิฏฐารมณ์
  20. อิตถีภาวะ : ความเป็นหญิง, สภาวะที่ทำให้ปรากฏลักษณะอาการต่างๆ อันแสดงถึงความเป็นเพศหญิง เป็นภาวรูปอย่างหนึ่ง คู่กับ ปุริสภาวะ ดู อุปาทายรูป
  21. อิทธิปาฏิหาริย์ : ปาฏิหาริย์คือฤทธิ์, แสดงฤทธิ์ได้เป็นอัศจรรย์ เช่น ล่องหน ดำดิน เหาะได้ เป็นต้น (ข้อ ๑ ในปาฏิหาริย์ ๓)
  22. อิสิปตนมฤคทายวัน : ป่าเป็นที่ให้อภัยแก่เนื้อ ชื่อ อิสิปตนะ อยู่ใกล้เมืองพาราณสี เป็นสถานที่ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนา ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร โปรดพระปัญจวัคคีย์ บัดนี้เรียก สารนาถ
  23. อุคฆฏิตัญญู : ผู้อาจรู้ได้ฉับพลัน แต่พอท่านยกหัวข้อขึ้นแสดง คือ มีปัญญาเฉียบแหลม พูดให้ฟังเพียงหัวข้อก็เข้าใจ (ข้อ ๑ ในบุคคล ๔)
  24. อุทเทสภัต : อาหารอุทิศสงฆ์หรือภัตที่ทายกถวายตามที่สงฆ์แสดงให้ หมายถึงของที่เขาถวายสงฆ์แต่ไม่พอแจกทั่วกัน ท่านให้แจกไปตามลำดับ เริ่มตั้งแต่พระสังฆเถระลงมา ของหมดแค่ลำดับไหน กำหนดไว้ เมื่อของมีมาอีกจึงแจกต่อไปตั้งแต่ลำดับที่ค้างอยู่ อย่างนี้เรื่อยไปจนทั่วกัน แล้วจึงเวียนขึ้นต้นใหม่อีก เทียบ สังฆภัต
  25. อุทเทสวิภังคสูตร : ชื่อสูตรที่ ๓๘ แห่งมัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ พระสุตตันตปิฎก พระพุทธเจ้าทรงแสดงเรื่องวิญญาณไว้โดยย่อ ภิกษุทั้งหลายอยากฟังโดยพิสดาร จึงขอให้พระมหากัจจายนะอธิบายความ พระมหากัจจายนะแสดงได้เนื้อความถูกต้องชัดเจนดีมาก จนได้รับคำยกย่องชมเชยจากพระพุทธเจ้า
  26. อุเทศ : การยกขึ้นแสดง, การยกขึ้นชี้แจง, ข้อที่ยกขึ้นแสดง, หัวข้อ, การเรียนการสอน, การสวดปาฏิโมกข์, ปาฏิโมกข์ที่ยกขึ้นสวด, หมวดหนึ่งๆ แห่งปาฏิโมกข์ที่จัดไว้สำหรับสวด, ในคำว่า สงฆ์มีอุเทศเดียวกัน หมายความว่า ร่วมฟังสวดปาฏิโมกข์ด้วยกัน; อุเทศในปาฏิโมกข์จัดโดยย่อมี ๕ คือ ๑) นิทานุทเทส ๒) ปาราชิกุทเทส ๕) วิตถารุทเทส, อุทเทสที่ ๕ นั้น รวมเอา นิสสัคคิยุทเทส ปาจิตติยุทเทส ปาฏิเทสนียุทเทส เสขิยุทเทส และสมถุทเทส เข้าไว้ด้วยกัน ถ้าแยกออกนับโดยพิสดารก็จะเป็น ๙ อุเทส การรู้จักอุเทศหรืออุทเทสเหล่านี้เป็นประโยชน์สำหรับการตัดตอนสวดปาฏิโมกข์ย่อได้ในคราวจำเป็น ดู ปาฏิโมกข์ย่อ
  27. อุบลวรรณา : พระมหาสาวิกาองค์หนึ่ง เป็นธิดาเศรษฐีในพระนครสาวัตถี ได้ชื่อว่าอุบลวรรณาเพราะมีผิวพรรณดังดอกนิลุบล (อุบลเขียว) มีความงามมาก จึงเป็นที่ปรารถนาของพระราชาในชมพูทวีป หลายพระองค์ ต่างส่งคนมาติดต่อท่านเศรษฐีเกิดความลำบากใจ จึงคิดจะให้ธิดาบวชพอเป็นอุบายแต่นางเองพอใจในบรรพชาอยู่แล้ว จึงบวชเป็นภิกษุณีด้วยศรัทธาอย่างจริงจัง คราวหนึ่งอยู่เวรจุดประทีปในพระอุโบสถ นางเพ่งดูเปลวประทีปถือเอาเป็นนิมิตเจริญฌานมีเตโชกสิณเป็นอารมณ์ได้บรรลุพระอรหัต ได้รับยกย่องว่าเป็นเอตทัคคะในทางแสดงฤทธิ์ได้ต่างๆ และเป็นอัครสาวิกาฝ่ายซ้าย
  28. อุบาสก : ชายผู้นั่งใกล้พระรัตนตรัย, คนใกล้ชิดพระศาสนา, คฤหัสถ์ผู้ชายที่แสดงตนเป็นคนนับถือพระพุทธศาสนาโดยประกาศถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะ
  29. อุบาสิกา : หญิงผู้นั่งใกล้พระรัตนตรัย, คนใกล้ชิดพระศาสนาที่เป็นหญิง, คฤหัสถ์ผู้หญิงที่แสดงตนเป็นคนนับถือพระพุทธศาสนา โดยประกาศถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะ
  30. อุโบสถ : 1) การสวดปาฏิโมกข์ของพระสงฆ์ทุกกึ่งเดือน เป็นเครื่องซักซ้อมตรวจสอบความบริสุทธิ์ทางวินัยของภิกษุทั้งหลาย และทั้งเป็นเครื่องแสดงความพร้อมเพรียงของสงฆ์ด้วย อุโบสถมีชื่อเรียกย่อยออกไปหลายอย่าง การทำอุโบสถจะมีการสวดปาฏิโมกข์ได้ต่อเมื่อมีภิกษุครบองค์สงฆ์จตุรวรรค คือ ๔ รูป ขึ้นไป ถ้าสงฆ์ครบองค์กำหนดเช่นนี้ทำอุโบสถ เรียกว่า สังฆอุโบสถ แต่ถ้ามีภิกษุอยู่เพียง ๒ หรือ ๓ รูป เป็นเพียงคณะท่านให้บอกความบริสุทธิ์แก่กันและกันแทนการสวดปาฏิโมกข์ เรียกอุโบสถนี้ว่า คณอุโบสถ หรือ ปาริสุทธิอุโบสถ ถ้ามีภิกษุอยู่ในวัดรูปเดียว ท่านให้ทำเพียงอธิษฐานคือตั้งใจกำหนดจิตว่าวันนี้เป็นอุโบสถของเรา (อชฺช เม อุโปสโถ) อุโบสถที่ทำอย่างนี้ เรียกว่า ปุคคลอุโบสถ หรือ อธิษฐานอุโบสถ; อุโบสถที่ทำในวันแรม ๑๔ ค่ำ เรียกว่า จาตุทสิก ทำในวันขึ้นหรือแรม ๑๕ ค่ำ เรียกว่า ปัณณรสิก ทำในวันสามัคคี เรียกว่า สามัคคีอุโบสถ 2) การอยู่จำ, การรักษาศีล ๘ และบำเพ็ญข้อปฏิบัติอย่างอื่นที่สมควรมีฟังพระธรรมเทศนาเป็นต้นของคฤหัสถ์ ในวันขึ้นและแรม ๘ ค่ำ วันจันทร์เพ็ญและวันจันทร์ดับ 3) วันอุโบสถสำหรับพระสงฆ์ คือ วันจันทร์เพ็ญ (ขึ้น ๑๕ ค่ำ) และวันจันทร์ดับ (แรม ๑๕ ค่ำ หรือ ๑๔ ค่ำ เมื่อเดือนขาด), สำหรับคฤหัสถ์ คือ วันพระ ได้แก วันขึ้นและวันแรม ๘ ค่ำ วันจันทร์เพ็ญ และวันจันทร์ดับ 4) สถานที่สงฆ์ทำสังฆกรรม เรียกตามศัพท์ว่า อุโปสถาคารหรืออุโปสถัคคะ, ไทยมักตัดเรียกว่าโบสถ์
  31. อุปจาร : เฉียด, จวนเจียน, ที่ใกล้ชิด, ระยะใกล้เคียง, ชาน, บริเวณรอบๆ; ดังตัวอย่างคำว่า อุปจารเรือน อุปจารบ้าน แสดงตามที่ท่านอธิบายในอรรถกถาพระวินัยดังนี้
  32. อุปัตติเหตุ : เหตุที่เกิดขึ้น, เหตุการณ์ที่เกิด เช่น ควรเทศนาให้เหมาะแก่อุปัตติเหตุ คือ แสดงธรรมให้เข้ากับเรื่องที่เกิดขึ้น; บัดนี้เขียน อุบัติเหตุและใช้ในความหมายที่ต่างออกไป
  33. อุปาสกัตตเทสนา : การแสดงความเป็นอุบาสก คือ ประกาศตนเป็นอุบาสก โดยถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะ
  34. อุพภตกสัณฐาคาร : ท้องพระโรงชื่ออุพภตก เป็นท้องพระโรง หรือหอประชุมที่สร้างขึ้นใหม่ของมัลลกษัตริย์แห่งเมืองปาวา มัลลกษัตริย์ทูลอาราธนาพระพุทธเจ้าไปประทับพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ เพื่อเป็นสิริมงคลก่อนจะเปิดใช้งาน ณ ที่นี้ พระสารีบุตรได้แสดงสังคีติสูตร อันเป็นต้นแบบของการสังคายนา
  35. เอตทัคคะ : พระสาวกที่ได้รับยกย่องจากพระพุทธเจ้าว่าเป็นผู้ยอดเยี่ยมในทางใดทางหนึ่ง เชน เป็นเอตทัคคะในทางธรรมกถึก หมายความว่าเป็นผู้ยอดเยี่ยมในทางแสดงธรรม เป็นต้น; ดู อสีติมหาสาวก
  36. โอกาส : ช่อง, ที่ว่าง, ทาง,เวลาที่เหมาะ, จังหวะ; ในวิธีระงับอนุวาทาธิกรณ์ มีระเบียบว่า ก่อนจะกล่าวคำโจทนา คือคำฟ้องขึ้นต่อหน้าสงฆ์ โจทก์พึงขอโอกาสต่อจำเลย คำขอโอกาสว่า “กโรตุ เม อายสฺมา โอกาสํ, อหนฺตํ วตฺตุกาโม” แปลว่า “ขอท่านจงทำโอกาสแก่ข้าพเจ้าๆ ใคร่จะกล่าวกะท่าน” ถ้าโจทโดยไม่ขอโอกาส ต้องอาบัติทุกกฏ คำให้โอกาสท่านไม่ได้แสดงไว้ อาจใช้ว่า “กโรมิ อายสฺมโต โอกาสํ” แปลว่า “ข้าพเจ้าทำโอกาสแก่ท่าน”; ภิกษุพร้อมด้วยองค์ ๕ แม้จะขอให้ทำโอกาสก็ไม่ควรทำ (คือไม่ควรให้โอกาส) กล่าวคือ เป็นผู้มีความประพฤติทางกายไม่บริสุทธิ์ มีความประพฤติทางวาจาไม่บริสุทธิ์ มีอาชีวะไม่บริสุทธิ์ เป็นผู้เขลา ถูกซักเข้า ไม่อาจให้คำตอบขอที่ซัก, องค์ ๕ อีกหมวดหนึ่งว่า เป็นอลัชชีเป็นพาล มิใช่ปกตัตตะ กล่าวด้วยปรารถนาจะกำจัด มิใช่เป็นผู้มีความปรารถนา ในอันให้ออกจากอาบัติ
  37. โอวาทปาฏิโมกข์ : หลักคำสอนสำคัญของพระพุทธศาสนา หรือคำสอนอันเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา ได้แก่ พระพุทธพจน์ ๓ คาถากึ่ง ที่พระพุทธเจ้าตรัสแก่พระอรหันต์ ๑,๒๕๐ รูป ผู้ไปประชุมกันโดยมิได้นัดหมาย ณ พระเวฬุวนาราม ในวันเพ็ญเดือน ๓ ที่เราเรียกกันว่าวันมาฆบูชา (อรรถกถากล่าวว่า พระพุทธเจ้าทรงแสดงโอวาทปาฏิโมกข์นี้แก่ที่ประชุมสงฆ์ตลอดมา เป็นเวลา ๒๐ พรรษา ก่อนที่จะโปรดให้สวดปาฏิโมกข์อย่างปัจจุบันนี้แทนต่อมา), คาถาโอวาทปาฏิโมกข์ มีดังนี้ (โอวาทปาติโมกข์ ก็เขียน)
  38. 1-50 | 51-100 | 101-150 | [151-188]

(0.0515 sec)