Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ความเป็นอิสระ, อิสระ, เป็น, ความ .

Budhism Thai-Thai Dict : ความเป็นอิสระ, 2098 found, display 1501-1550
  1. รองเท้า : ในพระวินัยกล่าวถึงรองเท้าไว้ ๒ ชนิด คือ ๑.ปาทุกา แปลกันว่าเขียงเท้า (รองเท้าไม้หรือเกี๊ยะ) ซึ่งรวมไปถึงรองเท้าโลหะ รองเท้าแก้ว หรือรองเท้าประดับแก้วต่างๆ ตลอดจนรองเท้าสาน รองเท้าถักหรือปักต่างๆ สำหรับพระภิกษุห้ามใช้ปาทุกาทุกอย่าง ยกเว้นปาทุกาไม้ที่ตรึงอยู่กับที่สำหรับถ่ายอุจจาระหรือปัสสาวะและเป็นที่ชำระ ขึ้นเหยียบได้ ๒.อุปาหนา รองเท้าสามัญ สำหรับพระภิกษุทรงอนุญาตรองเท้าหนังสามัญ (ถ้าชั้นเดียว หรือมากชั้นแต่เป็นของเก่าใช้ได้ทั่วไป ถ้ามากชั้นเป็นของใหม่ ใช้ได้เฉพาะแต่ในปัจจันตชนบท) มีสายรัด หรือใช้คีบด้วยนิ้ว ไม่ปกหลังเท้า ไม่ปกส้น ไม่ปกแข็ง นอกจากนั้น ตัวรองเท้าก็ตาม หูหรือสายรัดก็ตาม จะต้องไม่มีสีที่ต้องห้าม (คือ สีขาบ เหลือง แดง บานเย็น แสด ชมพู ดำ) ไม่ขลิบด้วยหนังสัตว์ที่ต้องห้าม (คือ หนังราชสีห์ เสือโคร่ง เสือเหลือง ชะมด นาค แมว ค่าง นกเค้า) ไม่ยัดนุ่น ไม่ตรึงหรือประดับด้วยขนนกกระทาขนนกยูง ไม่มีหูเป็นช่อดังเขาแกะเขาแพะหรือง่ามแมลงป่อง
  2. ร้อยกรอง : ได้แก่ดอกไม้ที่ร้อยถักเป็นตา เป็นผืนที่เรียกว่าตาข่าย
  3. ร้อยคุม : คือเอาดอกไม้ร้อยเป็นสายแล้วควบหรือคุมเข้าเป็นพวง เช่น พวงอุบะ สำหรับห้อยปลายภู่ หรือสำหรับห้อยตามลำพังเช่น พวก “ภู่สาย” เป็นต้น อย่าง ; ร้อยควบ ก็เรียก
  4. ร้อยตรึง : คือเอาดอกไม้เช่นดอกมะลิ เป็นต้น เสียบเข้าในระหว่างใบตองที่เจียนไว้ แล้วตรึงให้ติดกันโดยรอบ แล้วร้อยประสมเข้ากับอย่างอื่นเป็นพวง เช่น พวงภู่ชั้นเป็นตัวอย่าง
  5. ร้อยวง : คือดอกไม้ที่ร้อยสวมดอกหรือร้อยแทงก้านเป็นสาย แล้วผูกเข้าเป็นวงนี้คือพวกมาลัย
  6. ร้อยเสียบ : คือดอกไม้ที่ร้อยสวมดอกเช่น สายอุบะ หรือพวกมาลัย มีพวงมาลัยดอกปีบและดอกกรรณิการ์เป็นต้น หรือดอกไม้ที่ใช้เสียบไม้ เช่นพุ่มดอกพุทธชาด พุ่มดอกบานเย็นเป็นตัวอย่าง
  7. ระยะบ้านหนึ่ง : ในประโยคว่า “โดยที่สุดแม้สิ้นระยะบ้านหนึ่ง เป็นปาจิตติยะ” ระยะทางชั่วไก่บินถึง แต่ในที่คนอยู่คับคั่ง ให้กำหนดตามเครื่องกำหนดที่มีอยู่โดยปกติอย่างใดอย่างหนึ่ง (เช่นชื่อหมู่บ้าน)
  8. รัฏฐานุบาลโนบายราชธรรม : ธรรมของพระราชา ซึ่งเป็นวิธีปกครองบ้านเมือง, หลักธรรมสำหรับพระราชาใช้เป็นแนวปกครองบ้านเมือง
  9. รัตตัญญู : ผู้รู้ราตรี คือผู้เก่าแก่ รู้กาลนานมีประสบการณ์มาก รู้เหตุการณ์มาแต่ต้น เช่นพระอัญญาโกณฑัญญะ ได้รับยกย่องจากพระพุทธเจ้าว่า เป็นเอตทัคคะในทาง “รัตตัญญู”
  10. รัตติเฉท : กาลขาดราตรี หมายถึงเหตุขาดราตรีแห่งมานัต หรือปริวาส; สำหรับมานัต มี ๔ คือ สหวาโส อยู่ร่วม ๑ วิปฺปวาโส อยู่ปราศ ๑ อนาโรจนา ไม่บอก ๑ อูเน คเณ จรณํ ประพฤติในคณะอันพร่อง ๑ ; สำหรับปริวาส มี ๓ คือ สหวาโส อยู่ร่วม ๑ วิปฺปวาโส อยู่ปราศ ๑ อนาโรจนา ไม่บอก ๑ เมื่อขาดราตรีในวันใด ก็นับวันนั้นเข้าในจำนวนวันที่จะต้องอยู่ปริวาสหรือประพฤติมานัตไม่ได้; ดูความหมายที่คำนั้นๆ
  11. รัตน์ รัตนะ : แก้ว, ของวิเศษหรือมีค่ามาก, สิ่งประเสริฐ, สิ่งมีค่าสูงยิ่ง เช่น พระรัตนตรัย และรัตนะของพระเจ้าจักรพรรดิ ; ในประโยคว่า “ที่รัตนะยังไม่ออก เป็นปาจิตติยะ” หมายถึง พระมเหสี, พระราชินี
  12. รากขวัญ : ส่วนของร่างกายที่เรียกว่าไหปลาร้า; ตำนานกล่าวว่า ในบรรดาพระบรมสารีริกธาตุทั้งหลายนั้น พระรากขวัญเบื้องขวาขึ้นไปประดิษฐานอยู่ในจุฬามณีเจดีย์ ณ ดาวดึงสเทวโลก พระรากขวัญเบื้องซ้าย ขึ้นไปประดิษฐานอยู่ในทุสสเจดีย์ (เจดีย์ที่ฆฏิการพรหมสร้างขึ้นไว้ก่อนแล้ว ให้เป็นที่บรรจุพระภูษาเครื่องทรงในฆราวาสที่พระโพธิสัตว์สละในคราวเสด็จออกบรรพชา) ณ พรหมโลก
  13. ราคี : ผู้มีความกำหนัด; มลทิน, เศร้าหมอง, มัวหมอง
  14. ราชการ : กิจการงานของประเทศ หรือของพระเจ้าแผ่นดิน, หน้าที่หลั่งความยินดีแก่ประชาชน
  15. ราชธรรม : ธรรมสำหรับพระเจ้าแผ่นดิน, คุณสมบัติของนักปกครองที่ดี สามารถปกครองแผ่นดินโดยธรรมและยังประโยชน์สุขให้เกิดแก่ประชาชนจนเกิดความชื่นชมยินดี มี ๑๐ ประการ (นิยมเรียกว่า ทศพิธราชธรรม) คือ ๑.ทาน การให้ทรัพย์สินสิ่งของ ๒.ศีล ประพฤติดีงาม ๓.ปริจจาคะ ความเสียสละ ๔.อาชชวะ ความซื่อตรง ๕.มัททวะ ความอ่อนโยน ๖.ตบะ ความทรงเผากิเลสตัณหา ไม่หมกมุ่นในความสุขสำราญ ๗.อักโกธะ ความไม่กริ้วโกรธ ๘.อวิหิงสา ความไม่ข่มเหงเบียดเบียน ๙.ขันติ ความอดทนเข็มแข็งไม่ท้อถอย ๑๐.อวิโรธนะ ความไม่คลาดธรรม
  16. ราชพลี : ถวายเป็นหลวง มีเสียภาษีอากรเป็นต้น (ข้อ ๔ แห่งพลี ๕ ในโภคอาทิยะ ๕)
  17. ราชา : “ผู้ยังเหล่าชนให้อิ่มเอมใจ” หรือ “ผู้ทำให้คนอื่นมีความสุข”, พระเจ้าแผ่นดิน, ผู้ปกครองประเทศ
  18. ราชาธิราช : พระราชาผู้เป็นใหญ่กว่าพระราชาอื่นๆ
  19. รามคาม : นครหลวงของแคว้นโกลิยะ บัดนี้อยู่ในเขตประเทศเนปาล เป็นที่ประดิษฐานสถูปบรรจุพระบรมสารีริกธาตุแห่งหนึ่ง
  20. รามัญนิกาย : นิกายมอญ หมายถึงพระสงฆ์ผู้สืบเชื้อสายมาจากรามัญประเทศ ส่วนมากเป็นมอญเองด้วยโดยสัญชาติ
  21. รามายณะ : เรื่องราวของพระราม ว่าด้วยเรื่องศึกระหว่างพระรามกับทศกัณฐ์ พระฤษีวาลมีกิเป็นผู้แต่ง ไทยเรียกรามเกียรติ์
  22. ราศรี : 1.ชื่อมาตราวัดจักรราศีคือ ๓๐ องศาเป็น ๑ ราศรี และ ๑๒ ราศรีเป็น ๑ รอบจักรราศี (อาณาเขตโดยรอบดวงอาทิตย์ที่ดาวพระเคราะห์เดิน) ; ราศี ๑๒ นั้น คือ ราศีเมษ (แกะ), พฤษภ (วัว), เมถุน (คนคู่), กรกฏ (ปู), สิงห์ (ราชสีห์), กันย์ (หญิงสาว) ตุล (คันชั่ง), พฤศจิก (แมลงป่อง), ธนู (ธนู), มกร (มังกร), กุมภ์ (หม้อน้ำ), มีน (ปลา ๒ ตัว) 2.อาการที่รุ่งเรือง, ลักษณะที่ดีงาม 3.กอง เชน บุญราศี ว่ากองบุญ
  23. ราหุล : พระมหาสาวกองค์หนึ่ง เป็นโอรสของเจ้าชายสิทธัตถะ คราวพระพุทธเจ้าเสด็จนครกบิลพัสดุ์ ราหุลกุมารเข้าเฝ้าทูลขอทายาทสมบัติตามคำแนะนำของพระมารดา พระพุทธเจ้าจะประทานอริยทรัพย์ จึงให้พระสารีบุตรบวชราหุลเป็นสามเณร นับเป็นสามเณรองค์แรกในพระพุทธศาสนา ต่อมาได้อุปสมบทเป็นภิกษุได้รับยกย่องว่าเป็นเอตทัคคะในทางเป็นผู้ใคร่ต่อการศึกษา อรรถกถาว่าพระราหุลปรินิพพานในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ก่อนพุทธปรินิพพาน และก่อนการปรินิพพานของพระสารีบุตร
  24. ริบราชบาทว์ : เอาเป็นของหลวงตามกฎหมาย เพราะเจ้าของต้องโทษแผ่นดิน
  25. รุกขมูลิกังคะ : องค์แห่งผู้ถืออยู่โคนไม้เป็นวัตร ไม่อยู่ในที่มุงบัง (ข้อ ๙ ในธุดงค์ ๑๓)
  26. รูป : 1.สิ่งที่จะต้องสลายไปเพราะปัจจัยต่างๆ อันขัดแย้ง, สิ่งที่เป็นรูปร่างพร้อมทั้งลักษณะอาการของมัน, ส่วนร่างกาย จำแนกเป็น ๒๘ คือ มหาภูต หรือ ธาตุ ๔ และ อุปาทายรูป ๒๔ (= รูปขันธ์ในขันธ์ ๕) 2.อารมณ์ที่รู้ได้ด้วยจักษุ, สิ่งที่ปรากฏแก่ตา (ข้อ ๑ ในอารมณ์ ๖ หรือในอายตนะภายนอก ๖) 3.ลักษณนาม ใช้เรียกพระภิกษุสามเณร เช่น ภิกษุรูปหนึ่ง สามเณร ๕ รูป ; ในภาษาพูดบางแห่งนิยมใช้ องค์
  27. รูปกัมมัฏฐาน : กรรมฐานมีรูปธรรมเป็นอารมณ์
  28. รูปกาย : ประชุมแห่งรูปธรรม, กายที่เป็นส่วนรูป โดยใจความได้แก่รูปขันธ์หรือร่างกาย
  29. รูปฌาน : ฌานมีรูปธรรมเป็นอารมณ์มี ๔ คือ ๑) ปฐมฌาน ฌานที่ ๑ มีองค์ ๕ คือ วิตก(ตรึก) วิจาร(ตรอง) ปีติ(อิ่มใจ) สุข(สบายใจ) เอกัคคตา(จิตมีอารมณ์เป็นหนึ่ง) ๒)ทุติยฌาน ฌานที่ ๒ มีองค์ ๓ คือ ปีติ, สุข, เอกัคคตา ๓)ตติยฌาน ฌานที่ ๓ มีองค์ ๒ คือ สุข, เอกัคคตา ๔) จตุตถฌาน ฌานที่ ๔ มีองค์ ๒ คือ อุเบกขา, เอกัคคตา
  30. รูปธรรม : สิ่งที่มีรูป, สภาวะที่เป็นรูป คู่กับ นามธรรม
  31. รูปนันทา : พระราชบุตรีของพระเจ้าสุทโธทนะและพระนางปชาบดีโคตมี เป็นพระกนิฏฐภคินีต่างพระมารดาของพระสิทธัตถะ
  32. รูปพรรณ : เงินทองที่ทำเป็นเครื่องใช้หรือเครื่องประดับ, ลักษณะ, รูปร่าง และสี
  33. รูปภพ : โลกเป็นที่อยู่ของพวกรูปพรหม ดู พรหมโลก
  34. รูปัปมาณิกา : ผู้ถือรูปเป็นประมาณ คือ พอใจในรูป ชอบรูปร่างสวยสง่างาม ผิวพรรณหมดจดผ่องใส เป็นต้น
  35. รูปาวจร : ซึ่งท่องเที่ยวไปในรูป, อยู่ในระดับจิตชั้นรูปฌาน, ระดับที่มีรูปธรรมเป็นอารมณ์, เนื่องในภพ
  36. เรวต ขทิรวนิยะ : พระมหาสาวกองค์หนึ่งเป็นบุตรพราหมณ์ชื่อวังคันตะมารดาชื่อนางสารี เป็นน้องชายคนสุดท้องของพระสารีบุตร บวชอยู่ในสำนักของภิกษุพวกอยู่ป่า (อรัญวาสี) บำเพ็ญสมณธรรมอยู่ในป่าไม้ตะเคียนประมาณ ๓ เดือนเศษ ก็ได้สำเร็จพระอรหัต ได้รับยกย่องเป็นเอตทัคคะในทางอยู่ป่า
  37. แรกนาขวัญ : พิธีเริ่มไถนาเพื่อเป็นสิริมงคลแก่ข้าวในนา
  38. โรหิณี : 1.เจ้าหญิงองค์หนึ่งแห่งศากยวงศ์เป็นพระธิดาของพระเจ้าอมิโตทนะ ซึ่งเป็นพระเจ้าอาของพระพุทธเจ้า เป็นกนิษฐภคินี คือน้องสาวของพระอนุรุทธ ได้บรรลุธรรมเป็นพระโสดาบัน 2.ชื่อแม่น้ำที่เป็นเส้นแบ่งเขตแดน ระหว่างแคว้นศากยะกับแคว้นโกลิยะ การแย่งกันใช้น้ำในการเกษตรเคยเป็นมูลเหตุให้เกิดกรณีพิพาทระหว่างแคว้นทั้ง ๒ จนจวนเจียนจะเกิดสงคราม ระหว่างพระญาติ ๒ ฝ่าย พระพุทธเจ้าเสด็จมาระงับศึก จึงสงบลงได้ สันนิษฐานกันว่า เป็นเหตุการณ์ในพรรษาที่ ๕ (บางท่านว่า ๑๔ หรือ ๑๕) แห่งการบำเพ็ญพุทธกิจ และเป็นที่มาของพระพุทธรูปปางห้ามญาติ; ปัจจุบันเรียก Rowai หรือ Rohwaini
  39. ฤกษ์ : คราวหรือเวลาซึ่งถือว่าเหมาะเป็นชัยมงคล
  40. ฤดู : คราว, สมัย, ส่วนของปีซึ่งแบ่งเป็น ๓ คราวขึ้นไป เช่น ฤดูฝน ฤดูหนาว ฤดูร้อน ดู มาตรา
  41. ลักเพศ : แต่งตัวปลอมเพศ เช่นไม่เป็นภิกษุ แต่นุ่งห่มผ้าเหลือง แสดงตัวเป็นภิกษุ (อ่าน ลัก-กะ-เพด)
  42. ลักษณะ ๓ : ไม่เที่ยง, เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวตน ดู ไตรลักษณ์
  43. ลัฏฐิวัน : สวนตาลหนุ่ม (ลัฏฐิ แปลว่าไม้ตะพดก็ได้ บางท่านจึงแปลว่าป่าไม้รวก) อยู่ทิศตะวันตกเฉียงใต้ของกรุงราชคฤห์ พระพุทธเจ้าเสด็จไปประทับที่นั่น พระเจ้าพิมพิสารไปเฝ้าพร้อมด้วยราชบริพารจำนวนมาก ทรงสดับพระธรรมเทศนา ได้ธรรมจักษุ ประกาศพระองค์เป็นอุบาสกที่นั่น
  44. ลุแก่โทษ : บอกความผิดของตนเพื่อขอความกรุณา
  45. ลุมพินีวัน : ชื่อสวนเป็นที่ประสูติของพระพุทธเจ้า เป็นสังเวชนียสถานหนึ่งใน ๔ แห่ง ตั้งอยู่ระหว่างกรุงกบิลพัสดุ์ และกรุงเทวทหะ บัดนี้เรียก รุมมินเด อยู่ที่ปาเดเรีย ในเขตประเทศเนปาล ห่างจากเขตแดนประเทศอินเดียไปทางเหนือ ประมาณ ๖ กิโลเมตรครึ่ง พระสิทธัตถะประสูติที่สวนนี้ เมื่อวันเพ็ญเดือน ๖ ก่อนพุทธศก ๘๐ ปี (มีปราชญ์คำนวณว่าตรงกับวันศุกร์ ปีจอ เวลาใกล้เที่ยง) ดู สังเวชนียสถาน
  46. ลูกหมู่ : คนที่ถูกเกณฑ์เข้ารับราชการเป็นกำลังงานของเจ้านายสมัยโบราณ
  47. ลูขปฏิบัติ : ประพฤติปอน, ปฏิบัติเศร้าหมอง คือใช้ของเศร้าหมอง ไม่ต้องการความสวยงาม (หมายถึงของเก่าๆ เรียบๆ สีปอนๆ แต่สะอาด)
  48. เลขทาส : ชายฉกรรจ์ที่เป็นทาสรบทำงานด้วย
  49. เลศ : แสดงอาการให้รู้ในที; อาการที่พอจะยกขึ้นอ้างเพื่อใส่ความ
  50. โลก : แผ่นดินเป็นที่อาศัย, หมู่สัตว์ผู้อาศัย; โลก ๓ คือ ๑.สังขารโลก โลกคือสังขาร ๒.สัตวโลก โลกคือหมู่สัตว์ ๓.โอกาสโลก โลกคือแผ่นดิน; อีกนัยหนึ่ง ๑.มนุษยโลก โลกมนุษย์ ๒.เทวโลก โลกสวรรค์ ทั้ง ๖ ชั้น ๓.พรหมโลก โลกของพระพรหม
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | [1501-1550] | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | 2051-2098

(0.0436 sec)