Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: กะ , then , กะ, กา .

Budhism Thai-Thai Dict : กะ, 283 found, display 151-200
  1. โฆสัปปมาณิกา : คนพวกที่ถือเสียงเป็นประมาณ, คนที่นิยมเสียง เกิดความเลื่อมใสศรัทธาเพราะเสียง ชอบฟังเสียงไพเราะ เช่น เสียงสวดสรภัญญะ เทศน์มหาชาติเป็นทำนอง เสียงประโคม เป็นต้น; อีกนัยหนึ่งว่า ผู้ถือชื่อเสียงกิตติศัพท์ หรือความโด่งดังเป็นประมาณ เห็นใครมีชื่อเสียงก็ตื่นไปตาม
  2. จริมกจิต : จิตดวงสุดท้าย ซึ่งจะดับไปเมื่อพระอรหันต์ปรินิพพานด้วย อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ
  3. จาตุมหาราชิกา : สวรรค์ชั้นที่ ๑ มีมหาราช ๔ องค์ เป็นประธาน ปกครอง ประจำทิศทั้ง ๔ ดู จาตุมหาราช
  4. จิตตกา : เครื่องลาดทำด้วยขนแกะ ที่ปักหรือทอเป็นลวดลายต่างๆ
  5. จิตตลหุกา : ความเบาแห่งจิต, ธรรมชาติที่ทำให้จิตเบาพร้อมที่จะเคลื่อนไหวทำหน้าที่ (ข้อ ๑๑ ในโสภณเจตสิก ๒๕)
  6. ตัสสาปาปิยสิกากรรม : กรรมอันสงฆ์พึงทำเพราะความที่ภิกษุนั้นเป็นผู้เลวทราม, กรรมนี้สงฆ์ทำแก่ภิกษุผู้เป็นจำเลยในอนุวาทาธิกรณ์ ให้การกลับไปกลับมา เดี๋ยวปฏิเสธ เดี๋ยวสารภาพ พูดถลากไถล พูดกลบเกลื่อนข้อที่ถูกซัก พูดมุสาซึ่งหน้า สงฆ์ทำกรรมนี้แก่เธอเป็นการลงโทษตามความผิดแม้ว่าเธอจะไม่รับ หรือเพื่อเพิ่มโทษจากอาบัติที่ต้อง
  7. ทำกาละ : ตาย
  8. ธรรมกามะ : ผู้ใคร่ธรรม, ผู้ชอบตริตรองสอดส่องธรรม
  9. ปฏลิกา : เครื่องลาดทำด้วยขนแกะที่มีสัณฐานเป็นพวงดอกไม้
  10. ปฏิกโกสนา : การกล่าวคัดค้านจังๆ (ต่างจากทิฏฐาวิกัมม์ ซึ่งเป็นการแสดงความเห็นแย้ง ชี้แจงความเห็นที่ไม่ร่วมด้วยเป็นสวนตัว แต่ไม่ได้คัดค้าน)
  11. ปฏิกา : เครื่องลาดทำด้วยขนแกะที่มีสีขาวล้วน
  12. ปมาณิกา : ดู ประมาณ
  13. ปริพาชิกา : ปริพาชกเพศหญิง
  14. ปักขันทิกาพาธ : โรคท้องร่วง พระสารีบุตรนิพพานด้วยโรคนี้
  15. ปาริวาสิกวัตร : ธรรมเนียมที่ควรประพฤติของภิกษุผู้อยู่ปริวาส
  16. ผ้าวัสสาวาสิกสาฏิกา : ดู ผ้าจำนำพรรษา
  17. ผ้าวัสสิกสาฏิกา : ดู ผ้าอาบน้ำฝน
  18. ภัณฑาคาริก : ภิกษุผู้ได้รับสมมติคือ แต่งตั้งจากสงฆ์ให้เป็นผู้มีหน้าที่รักษา เรือนคลังเก็บพัสดุของสงฆ์, ผู้รักษาคลังสิ่งของ
  19. มัชฌิมภาณกาจารย์ : อาจารย์ผู้สาธยายคัมภีร์มัชฌิมนิกาย คือ ผู้ได้ศึกษาทรงจำและชำนาญในมัชฌิมนิกาย
  20. เมณฑกานุญาต : ข้ออนุญาตที่ปรารภเมณฑกเศรษฐี คืออนุญาตให้ภิกษุยินดีของที่กัปปิยการก จัดซื้อมาด้วยเงินที่ผู้ศรัทธาได้มอบให้ไว้ตามแบบอย่างที่เมณฑกเศรษฐีเคยทำ
  21. ยุกติ : ชอบ, ถูกต้อง, สมควร
  22. เยภยยสิกา : กิริยาเป็นไปตามข้างมาก ได้แก่ วิธีตัดสินอารมณ์โดยถือเอาตามคำของคนข้างมาก เช่น วิธีจับสลากเพื่อชี้ข้อผิดถูก ข้างไหนมีภิกษุผู้ร่วมพิจารณาลงความเห็นมากกว่า ก็ถือเอาพวกข้างนั้น เป็นวิธีอย่างเดียวกับการโหวตคะแนนเสียง, ใช้สำหรับระงับวิวาทาธิกรณ์ ดู อธิกรณสมถะ
  23. รูปัปมาณิกา : ผู้ถือรูปเป็นประมาณ คือ พอใจในรูป ชอบรูปร่างสวยสง่างาม ผิวพรรณหมดจดผ่องใส เป็นต้น
  24. ลูขัปปมาณิกา : ผู้ถือความเศร้าหมองเป็นประมาณ ชอบผู้ที่ประพฤติปอน ครองผ้าเก่า อยู่เรียบๆ ง่ายๆ
  25. วัสสิกสาฎก : ดู ผ้าอาบน้ำฝน
  26. วิกติกา : เครื่องลาดที่เป็นรูปสัตว์ร้าย เช่น ราชสีห์ เสือ เป็นต้น
  27. สนฺนิปาติกา อาพาธา : ความเจ็บไข้เกิดจากสันนิบาต (คือประชุมกันแห่งสมุฏฐานทั้ง ๓), ไข้สันนิบาต คือความเจ็บไข้ที่เกิดขึ้นแต่ดี เสมหะ และลม ทั้ง ๓ เจือกัน
  28. สมันตปาสาทิกา : ชื่อคัมภีร์อรรถกถาอธิบายความในพระวินัยปิฎก พระพุทธโฆษาจารย์เรียบเรียงขึ้น เมื่อ พ.ศ.ใกล้จะถึง ๑๐๐๐ โดยปรึกษาอรรถกถาภาษาสิงหฬที่มีอยู่ก่อน ชื่อ มหาปัจจริย และกุรุนที
  29. สวากขาตธรรม : พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัสดีแล้ว คือ ตรัสได้จริงไม่วิปริต ไพเราะในเบื้องต้น ท่ามกลางและที่สุด
  30. สวากขาตนิยยานิกธรรม : ธรรมที่พระพุทธเจากล่าวดีแล้ว นำผู้ประพฤติตามให้ออกไปจากทุกข์
  31. สักการะ : เคารพนับถือบูชา, เครื่องแสดงความเคารพบูชา
  32. สังฆิกาวาส : อาวาสที่เป็นของสงฆ์, อาวาสของสงฆ์
  33. สัจจานุโลมิกญาณ : ปรีชาเป็นไปโดยสมควรแก่การกำหนดรู้อริยสัจ, ญาณอันคล้อยต่อการตรัสรู้อริยสัจ, อนุโลมญาณ ก็เรียก (ข้อ ๙ ในวิปัสสนาญาณ ๙)
  34. สัปปิโสณฑิกา : ชื่อเงื้อมเขาแห่งหนึ่งอยู่ที่สีตวัน ใกล้กรุงราชคฤห์ ณ ที่นี้พระพุทธเจ้าเคยทำนิมิตตโอภาสแก่พระอานนท์
  35. สัมมติกา : กัปปิยภูมิที่สงฆ์สมมติ คือ กุฏีที่สงฆ์เลือกจะใช้เป็นกัปปิยกุฏีแล้วสวดประกาศด้วยญัตติทุติยกรรม ดู กัปปิยภูมิ
  36. สามุกกังสิกา : แปลตามอรรถกถาว่า พระธรรมเทศนาที่พระพุทธเจ้าทรงยกขึ้นถือเอาเอง คือ ทรงเห็นด้วยพระสยัมภูญาณ (ตรัสรู้เอง) ได้แก่อริยสัจจเทศนา, ตามแบบเรียน แปลว่า ธรรมเทศนาที่พระพุทธเจ้าทรงยกขึ้นแสดงเอง คือไม่ต้องปรารภคำถามเป็นต้นของผู้ฟัง ได้แก่เทศนาเรื่องอริยสัจ
  37. สีมันตริก : เขตคั่นระหว่างมหาสีมากับขัณฑสีมา เพื่อมิให้ระคนกัน เช่นเดียวกับชานที่กั้นเขตของกันและกันในระหว่าง
  38. สุทธิกปาจิตติยะ : อาบัติปาจิตตีย์ล้วน คืออาบัติปาจิตตีย์ ที่ไม่ต้องให้เสียสละสิ่งของ มี ๙๒ สิกขาบท ตามปกติเรียกกันเพียงว่า ปาจิตติยะหรือปาจิตตีย์
  39. อัพโภกาสิกังคะ : องค์แห่งผู้ถืออยู่ในที่แจ้งเป็นวัตร คือ อยู่เฉพาะกลางแจ้ง ไม่อยู่ในที่มุงบัง หรือแม้แต่โคนไม้ (ห้ามถือในฤดูฝน) (ข้อ ๑๐ ในธุดงค์ ๑๓)
  40. อาคันตุกวัตร : ธรรมเนียมที่ภิกษุควรปฏิบัติต่ออาคันตุกะ คือภิกษุผู้จรมา เช่นขวนขวายต้อนรับ แสดงความนับถือ จัดหรือบอกให้น้ำให้อาสนะ ถ้าอาคันตุกะจะมาพักมาอยู่ พึงแสดงเสนาสนะ บอกที่ทางและกติกาสงฆ์ เป็นต้น
  41. อาทิพรหมจริยกาสิกขา : หลักการศึกษาอบรมในฝ่ายบทบัญญัติหรือข้อปฏิบัติที่เป็นเบื้องต้นของพรหมจรรย์ สำหรับป้องกันความประพฤติเสียหาย, ข้อศึกษาที่เป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ หมายถึง สิกขาบท ๒๒๗ ที่มาในพระปาฏิโมกข์ เทียบ อภิสมาจาริกาสิกขา
  42. อุพพาหิกา : กิริยาที่ถอนนำไป, การเลือกแยกออกไป, หมายถึงวิธีระงับวิวาทาธิกรณ์ ในกรณีที่ที่ประชุมสงฆ์มีความไม่สะดวก ด้วยเหตุอย่างใดอย่างหนึ่ง สงฆ์จึงเลือกภิกษุบางรูปในที่ประชุมนั้น ตั้งเป็นคณะ แล้วมอบเรื่องให้นำเอาไปวินิจฉัย (เป็นทำนองตั้งคณะกรรมการพิเศษ)
  43. เอกาสนิกังคะ : องค์แห่งผู้ถือนั่งฉันที่อาสนะเดียวเป็นวัตร คือ ฉันวันละมื้อเดียว ลุกจากที่แล้วไม่ฉันอีกในวันนั้น (ข้อ ๕ ในธุดงค์ ๑๓)
  44. โอกกันติกาปีติ : ปีติเป็นระลอก, ความอิ่มใจเป็นพักๆ เมื่อเกิดขึ้นทำให้รู้สึกซู่ซ่าเหมือนคลื่นกระทบฝั่ง (ข้อ ๓ ใน ปีติ ๕)
  45. โอปกฺกมิกา อาพาธา : ความเจ็บไข้เกิดจากความพยายามหรือจากคนทำให้, เจ็บป่วยเพราะการกระทำของคนคือ ตนเองเพียงเกินกำลัง หรือถูกเขากระทำ เช่น ถูกจองจำ ใส่ขื่อคา เป็นต้น
  46. กัณฐชะ : อักษรเกิดในคอ คือ อ อา ก ข ค ฆ ง
  47. สิถิล : พยัญชนะออกเสียงเพลา ได้แก่พยัญชนะที่ ๑ ที่ ๓ ในวรรคทั้ง ๕ คือ ก ค, จ ช, ฏ ฑ, ต ท, ป พ
  48. อกุศลกรรมบถ : ทางแห่งกรรมชั่ว, ทางแห่งกรรมที่เป็นอกุศล, กรรมชั่วอันเป็นทางนำไปสู่ทุคติ มี ๑๐ อย่าง คือ ก) กรรม ๓ ได้แก่ ๑) ปาณาติบาต การทำลายชีวิต ๒) อทินนาทาน ถือเอาของที่เขามิได้ให้ ๓) กาเมสุมิจฉาจาร ประพฤติผิดในกาม ข) วจีกรรม ๔ ได้แก่ ๔) มุสาวาท พูดเท็จ ๕) ปิสุณาวาจา พูดส่อเสียด ๖) ผรุสวาจา พูดคำหยาบ ๗) สัมผัปปลาปะ พูดเพ้อเจ้อ ค) มโนกรรม ๓ ได้แก่ ๘) อภิชฌา ละโมบคอยจ้องอยากได้ของเขา ๙) พยาบาท คิดร้ายเขา ๑๐) มิจฉาทิฏฐิ เห็นผิดจากคลองธรรม เทียบ กุศลกรรมบถ
  49. อกุศลเจตสิก : เจตสิกอันเป็นอกุศล ได้แก่ ความชั่วที่เกิดขึ้นภายในใจ แต่งจิตให้เป็นบาป มี ๑๔ อย่าง แยกเป็น ก) สัพพากุศลสาธารณเจตสิก (เจตสิกที่เกิดทั่วไปกับอกุศลจิตทุกดวง) ๔ คือ ๑) ฉันทาคติ ลำเอียงเพราะรัก ๒) โทสาคติ ลำเอียงเพราะชัง ๓) โมหาคติ ลำเอียงเพราะเขลา ๔) ภยาคติ ลำเอียงเพราะกลัว
  50. อัญญสมานาเจตสิก : เจตสิกที่มีเสมอกันแก่จิตพวกอื่น คือ ประกอบเข้าได้รับกับจิตทุกฝ่ายทั้งกุสลและอกุศล มิใช่เข้าได้ฝ่ายหนึ่งฝ่ายเดียว มี ๑๓ แยกเป็น ก) สัพพจิตตสาธารณเจตสิก (เจตสิกที่เกิดทั่วไปกับจิตทุกดวง) ๗ คือ ผัสสะ (ความกระทบอารมณ์) เวทนา สัญญา เจตนา เอกัคคตา ชีวิตินทรีย์ มนสิการ (ความกระทำอารมณ์ไว้ในใจ, ใส่ใจ) ข) ปกิณณกเจตสิก (เจตสิกที่เรี่ยราย คือ เกิดกับจิตได้ทั้งฝ่ายกุศลและอกุศล แต่ไม่แน่นอนเสมอไปทุกดวง) ๖ คือ วิตก (ความตรึกอารมณ์) วิจาร (ความตรองอารมณ์) อธิโมกข์ (ความปักใจในอารมณ์) วิริยะ ปีติ ฉันทะ (ความพอใจในอารมณ์)
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | [151-200] | 201-250 | 251-283

(0.0333 sec)