Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ชื่อสกุล, สกุล, ชื่อ , then ชอ, ชอสกล, ชื่อ, ชื่อสกุล, ศกุล, สกล, สกุล, สกูล .

Budhism Thai-Thai Dict : ชื่อสกุล, 417 found, display 1-50
  1. สกุล : วงศ์, เชื้อสาย, เผ่าพันธุ์
  2. ควัมปติ : ชื่อกุลบุตรผู้เป็นสหายของพระยสะ เป็นบุตรเศรษฐีเมืองพาราณสี ได้ทราบข่าวว่ายสกุลบุตรออกบวช จึงบวชตามพร้อมด้วยสหายอีก ๓ คน คือ วิมล สุพาหุ ปุณณชิ ต่อมาได้สำเร็จพระอรหัตทั้งหมด
  3. สโภชนสกุล : สกุลที่กำลังบริโภคอาหารอยู่, ครอบครัวที่กำลังบริโภคอาหารอยู่ (ห้ามไม่ให้ภิกษุไปนั่งแทรกแซง ตามสิกขาบทที่ ๓ แห่งอเจลกวรรค ปาจิตติยกัณฑ์)
  4. สกุลบุตร : พระยสะเมื่อก่อนอุปสมบท เรียกว่า ยสกุลบุตร
  5. ประทุษร้ายสกุล : ดู กุลทุสก
  6. ศากยสกุล : ตระกูลศากยะ, เหล่าก่อพวกศากยะ
  7. นาลันทา : ชื่อเมืองเล็กๆ เมืองหนึ่งในแคว้นมคธ อยู่ห่างจากพระนครราชคฤห์ประมาณ ๑ โยชน์ ณ เมืองนี้ มีสวนมะม่วง ชื่อ ปาวาริกัมพวัน (สวนมะม่วงของปาวาริกเศรษฐี) ซึ่งพระพุทธเจ้าเสด็จมาประทับแรมหลายครั้ง คัมภีร์ฝ่ายมหายานกล่าวว่า พระสารีบุตร อัครสาวก เกิดที่เมืองนาลันทา แต่คัมภีร์ฝ่ายบาลีเรียกถิ่นเกิดของพระสารีบุตรว่า หมู่บ้านนาลกะหรือนาลันทคาม
  8. สมันตปาสาทิกา : ชื่อคัมภีร์อรรถกถาอธิบายความในพระวินัยปิฎก พระพุทธโฆษาจารย์เรียบเรียงขึ้น เมื่อ พ.ศ.ใกล้จะถึง ๑๐๐๐ โดยปรึกษาอรรถกถาภาษาสิงหฬที่มีอยู่ก่อน ชื่อ มหาปัจจริย และกุรุนที
  9. อังคุตตราปะ : ชื่อแคว้นหนึ่งในชมพูทวีป ครั้งพุทธกาล เมืองหลวงเป็นเพียงนิคม ชื่อ อาปณะ
  10. บอกวัตร : บอกข้อปฏิบัติในพระพุทธศาสนา เมื่อทำวัตรเย็นเสร็จแล้ว ภิกษุรูปเดียวเป็นผู้บอก อาจใช้วิธีหมุนเวียนกันไปทีละรูป ข้อความที่บอกว่าเป็นภาษาบาลี กล่าวถึงปฏิบัติบูชา คาถาโอวาทปาฏิโมกข์ คุณานิสงส์แห่งขันติธรรม คำเตือนให้ใส่ใจในธรรมในเมื่อได้มีโอกาสเกิดมาเป็นมนุษย์พบพระพุทธศาสนา ความไม่ประมาท เร่งเพียรพยายามในทางธรรมเพื่อน้อมไปสู่พระนิพพาน และพ้นจากทุคติ แล้วกล่าวถึงพุทธกิจประจำวัน ๕ ประการ ลำดับกาลใจพระพุทธประวัติ สิ่งแทนพระองค์ภายหลังพุทธปรินิพพาน ชื่อ วัน เดือน ปี และดาวนักษัตร ๒๗ จบลงด้วยคำเชื้อเชิญให้ตั้งอยู่ในพระพุทธโอวาท บำเพ็ญปฏิบัติบูชา เพื่อบรรลุสมบัติทั้งที่เป็นโลกิยะและโลกุตตระ; ธรรมเนียมนี้ บัดนี้ เลือนลางไปแล้ว
  11. อักโกสวัตถุ : เรื่องสำหรับด่า มี ๑๐ อย่าง คือ ๑) ชาติ ได้แก่ชั้นหรือกำเนิดของคน ๒) ชื่อ ๓) โคตร คือตระกูลหรือแซ่ ๔) การงาน ๕) ศิลปะ ๖) โรค ๗) รูปพรรณสัณฐาน ๘) กิเลส ๙) อาบัติ ๑๐) คำสบประมาทอย่างอื่นๆ
  12. อิสิปตนมฤคทายวัน : ป่าเป็นที่ให้อภัยแก่เนื้อ ชื่อ อิสิปตนะ อยู่ใกล้เมืองพาราณสี เป็นสถานที่ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนา ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร โปรดพระปัญจวัคคีย์ บัดนี้เรียก สารนาถ
  13. โอมสวาท : คำพูดเสียดแทงให้เจ็บใจหรือให้ได้ความอัปยศ ได้แก่ การพูดแดกหรือประชดก็ตาม ด่าก็ตาม กระทบถึงอักโกสวัตถุ ๑๐ ประการ มีชาติกำเนิด ชื่อ ตระกูล เป็นต้น ภิกษุกล่าวโอมสวาทแก่ภิกษุต้องอาบัติปาจิตตีย์ แก่อนุปสัมบันต้องอาบัติทุกกฏตามสิกขาบทที่ ๒ แห่งมุสาวาทวรรคปาจิตติยกัณฑ์
  14. กรมพระสุรัสวดี : ชื่อกรมสมัยโบราณ มีหน้าที่เกี่ยวกับการรวบรวมบัญชีเลข หรือชายฉกรรจ์
  15. กหาปณะ : ชื่อมาตราเงินในสมัยโบราณ ๑ กหาปณะ เท่ากับ ๒๐ มาสก หรือ ๔ บาท
  16. กัณฐกะ : ชื่อม้าสีขาวที่พระมหาบุรุษทรงในวันออกผนวช
  17. กัณฑกสามเณร : ชื่อสามเณรรูปหนึ่งในครั้งพุทธกาล ผู้กล่าวตู่พระธรรมเป็นต้นเหตุให้พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติสิกขาบทที่ ๑๐ แห่งสัปปาณกวรรคในปาจิตติยกัณฑ์ และทรงให้สงฆ์นาสนะเธอเสีย เขียนเป็น กัณฏกะ ก็มี
  18. กัปปิละ : ชื่อพราหมณ์นายบ้านของหมู่บ้านพราหมณ์หมู่หนึ่ง ในแขวงกรุงราชคฤห์ เป็นบิดาของปิปผลิมาณพ
  19. กัมปิละ : ชื่อนครหลวงแห่งแคว้นปัญจาละ
  20. กัมมขันธกะ : ชื่อหมวดหนึ่งในคัมภีร์จุลลวรรค พระวินัยปิฎก ว่าด้วยนิคคหกรรม ๕ ประเภท
  21. กัลลวาลมุตตคาม : ชื่อหมู่บ้าน อยู่ในแคว้นมคธ พระโมคคัลลานะอุปสมบทได้ ๗ วัน ไปทำความเพียรจนอ่อนใจ นั่งโงกงวงอยู่ พระพุทธเจ้าเสด็จไปเทศนาโปรด จนได้สำเร็จพระอรหัตที่หมู่บ้านนี้
  22. กัสสปสังยุตต์ : ชื่อเรียกพระสูตรหมวดหนึ่ง ในคัมภีร์สังยุตตนิกาย รวบรวมเรื่องเกี่ยวกับพระมหากัสสปไว้เป็นหมวดหมู่
  23. กุฑวะ : ชื่อมาตราตวงแปลว่า ฟายมือ คือ เต็มอุ้มมือหนึ่ง ดู มาตรา
  24. กุมารีภูตวรรค : ชื่อหมวดในพระวินัยปิฎก หมายถึงตอนอันว่าด้วยกุมารีภูตา คือสามเณรีผู้เตรียมจะอุปสมบทเป็นภิกษุณี มีอยู่ในปาจิตติยกัณฑ์ ในภิกขุนีวิภังค์
  25. กุสาวดี : ชื่อเก่าของเมืองกุสินารา นครหลวงของแคว้นมัลละ เมื่อครั้งเป็นราชธานีของพระเจ้ามหาสุทัศน์ จักรพรรดิครั้งโบราณ
  26. โกฏิ : ชื่อมาตรานับ เท่ากับสิบล้าน
  27. โกลิตะ : ชื่อเดิมของพระมหาโมคคัลลานะ เรียกตามชื่อหมู่บ้านที่เกิด (โกลิตคาม) เพราะเป็นบุตรของตระกูล หัวหน้าในหมู่บ้านนั้น สมัยเมื่อเข้าไปบวชเป็นปริพาชกในสำนักของสัญชัยก็ยังใช้ชื่อว่า โกลิตะ ต่อมาภายหลัง คือเมื่อบวชในพระพุทธศาสนา จึงเรียกกันว่า โมคคัลลานะหรือพระมหาโมคคัลลานะ
  28. โกลิยวงศ์ : ชื่อวงศ์กษัตริย์ข้างฝ่ายพระพุทธมารดา ที่ครองกรุงเทวทหะ; พระสิริมหามายา พุทธมารดา และ พระนางพิมพา ชายาของเจ้าชายสิทธัตถะ เป็นเจ้าหญิงฝ่ายโกลิยวงศ์
  29. โกสัมพิกขันธกะ : ชื่อขันธกะที่ ๑๐ (สุดท้าย) แห่งคัมภีร์มหาวรรค วินัยปิฎกว่าด้วยเรื่องภิกษุชาวเมืองโกสัมพีทะเลาะวิวาทกัน จนเป็นเหตุให้พระพุทธเจ้าเสด็จไปจำพรรษาในป่ารักขิตวัน ตำบลปาริไลยกะ ในที่สุด พระภิกษุเหล่านั้น ถูกมหาชนบีบคั้นให้ต้องกลับปรองดองกัน บังเกิดสังฆสามัคคีอีกครั้งหนึ่ง
  30. โกสัมพี : ชื่อนครหลวงของแคว้นวังสะ อยู่ตอนใต้ของแม่น้ำยมุนา บัดนี้เรียกว่า โกสัม (Kosam)
  31. ขุชชโสภิตะ : ชื่อพระเถระองค์หนึ่งในการกสงฆ์ผู้ทำสังคายนาครั้งที่ ๒
  32. คยาสีสะ : ชื่อตำบล ซึ่งเป็นเนินเขาแห่งหนึ่งในจังหวัดคยา พระพุทธเจ้าเทศนาอาทิตตปริยายสูตร โปรดภิกษุสงฆ์ปุราณชฎิลทั้งหมดให้สำเร็จพระอรหัตที่ตำบลนี้
  33. คัคคภิกษุ : ชื่อภิกษุรูปหนึ่งในครั้งพุทธกาล เคยเป็นบ้า และได้ต้องอาบัติหลายอย่างในระหว่างเวลานั้น ภายหลังหายเป็นบ้าแล้ว ได้มีผู้โจทว่า เธอต้องอาบัตินั้นๆ ในคราวที่เป็นบ้าไม่รู้จบ พระพุทธองค์จึงได้ทรงมีพุทธานุญาตให้ระงับอธิกรณ์ด้วย อมูฬหวินัย เป็นครั้งแรก
  34. คิชฌกูฏ : ชื่อภูเขาลูกหนึ่ง ในบรรดาภูเขา ๕ ลูกที่เรียกว่าเบญจคีรี ล้อมรอบพระนครราชคฤห์
  35. คืบพระสุคต : ชื่อมาตราวัด ตามอรรถกถานัยว่า เท่ากับ ๓ คืบของคนปานกลาง คือ เท่ากับศอกคืบช่างไม้ แต่มตินี้ไม่สมจริง ปัจจุบันยุติกันว่าให้ถือตามไม้เมตร คือ เท่ากับ ๒๕ เซนติเมตร ประมาณกันกับคืบช่างไม้ ซึ่งเป็นการสะดวก และถ้าหากจะสั้นกว่าขนาดจริง ก็ไม่เสีย เพราะจะไม่เกินกำหนด ไม่เสียทางวินัย
  36. โคดม : ชื่อตระกูลของพระพุทธเจ้า มหาชนเรียกพระพุทธเจ้าตามพระโคตรว่า พระโคดม พระโคตมะ หรือ พระสมณโคดม
  37. โคตมกเจดีย์ : ชื่อเจดียสถานแห่งหนึ่ง อยู่ทางทิศใต้ของเมืองเวสาลี เป็นที่ที่พระพุทธเจ้าเคยประทับหลายครั้ง และเคยทรงทำนิมิตโอภาสแก่พระอานนท์
  38. โคตมะ : ชื่อตระกูลของพระพุทธเจ้า มหาชนเรียกพระพุทธเจ้าตามพระโคตรว่า พระโคดม พระโคตมะ หรือ พระสมณโคดม
  39. โคตมี : ชื่อเรียกสตรีแห่งโคตมโคตร เช่น พระนางมหาปชาบดี ผู้เป็นพระแม่น้าของพระสิทธัตถะ เป็นต้น
  40. โคธาวรี : ชื่อแม่น้ำสายหนึ่ง ระหว่างเมืองอัสสกะ กับ เมืองอาฬกะ พราหมณ์พาวรี ตั้งอาศรมสอนไตรเพทอยู่ที่ฝั่งแม่น้ำสายนี้ (มักเพี้ยนเป็นโคธาวารี)
  41. โฆสิตาราม : ชื่อวัดสำคัญในกรุงโกสัมพี ครั้งพุทธกาล พระพุทธเจ้าเคยประทับหลายครั้ง เช่น คราวที่ภิกษุชาวโกสัมพีแตกกัน เป็นต้น
  42. จักกวัตติสูตร : ชื่อสูตรที่ ๓ แห่งทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค พระสุตตันตปิฎก พระพุทธเจ้าตรัสสอนภิกษุทั้งหลายให้พึ่งตน คือพึ่งธรรม ด้วยการเจริญสติปัฏฐาน ๔ ซึ่งจะทำให้ได้ชื่อว่าเป็นผู้ดำเนินอยู่ในแดนของตนเองที่สืบมาแต่บิดา จะมีแต่ความดีงามเจริญขึ้นไม่เปิดช่องให้แก่มาร เช่นเดียวกับพระเจ้าจักรพรรดิที่ทรงประพฤติตามหลักจักรวรรดิวัตร อันสืบกันมาแต่บรรพชนของพระองค์ ย่อมทำให้จักรรัตนะบังเกิดขึ้นมาเอง, จักรวรรดิวัตร นั้นมี ๔ ข้อใหญ่ ใจความว่า ๑.พระเจ้าจักรพรรดิเป็นธรรมาธิปไตย และจัดการคุ้มครองป้องกันโดยชอบธรรม แก่ชนทุกหมู่เหล่าในแผ่นดิน ตลอดไปถึงสัตว์ที่ควรสงวนพันธุ์ทั้งหลาย ๒.มิให้มีการอันอธรรมเกิดขึ้นในแผ่นดิน ๓.ปันทรัพย์เฉลี่ยให้แก่ผู้ไร้ทรัพย์ ๔.ปรึกษาสอบถามการดีชั่ว ข้อควรและไม่ควรประพฤติ กะสมณพราหมณ์ ผู้ประพฤติดี ปฏิบัติชอบ อยู่เสมอ; จักรวรรดิวัตร ๔ ข้อนี้ บางทีจัดเป็น ๕ โดยแยกข้อ ๑.เป็น ๒ ข้อ คือ เป็นธรรมาธิปไตย ถือธรรมเป็นใหญ่อย่างหนึ่ง กับจัดการคุ้มครองป้องกันอันชอบธรรม อย่างหนึ่ง, นอกจากนั้น สมัยต่อมา อรรถกถาจัดแบ่งซอยออกไป และเพิ่มเข้ามาอีก รวมเป็น ๑๒ ข้อ เรียกว่า จักรวรรดิวัตร ๑๒ ; พระสูตรนี้ถือว่าเป็นคำสอนแสดงหลักวิวัฒนาการของสังคมตามแนวจริยธรรม กล่าวถึงหลักการปกครอง และหลักความสัมพันธ์ระหว่างเศรษฐกิจกับจริยธรรม; เรื่องพระศรีอารยเมตไตรย ก็มีต้นเค้ามาจากพระสูตรนี้
  43. จัมปา : ชื่อนครหลวงของแคว้นอังคะตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำจัมปา ไม่ห่างไกลมากนักจากที่บรรจบกับแม่น้ำคงคา
  44. จัมเปยยขันธกะ : ชื่อขันธกะที่ ๙ แห่ง คัมภีร์มหาวรรค วินัยปิฎก ว่าด้วยข้อควรทราบบางแง่เกี่ยวกับนิคคหกรรมต่างๆ
  45. จัมมขันธกะ : ชื่อขันธกะที่ ๕ แห่งคัมภีร์มหาวรรค วินัยปิฎก ว่าด้วยเครื่องหนังต่างๆ มีรองเท้าและเครื่องลาดเป็นต้น
  46. จำปา : ชื่อเมืองในมัธยมประเทศ ที่ถูกเขียน จัมปา
  47. จิตตคฤหบดี : ชื่ออุบาสกคนหนึ่ง มีศรัทธามั่นคงในพระพุทธศาสนา ได้รับยกย่องเป็นเอตทัคคะในบรรดาอุบาสกธรรมกถิก; ท่านผู้นี้เคยถูกภิกษุชื่อสุธรรมด่า เป็นเหตุให้พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติปฏิสาราณียกรรมคือการลงโทษภิกษุผู้ด่าว่าคฤหัสถ์ที่ไม่มีความผิด ด้วยการให้ไปขอขมาเขา
  48. จีวรขันธกะ : ชื่อขันธกะที่ ๘ แห่งคัมภีร์มหาวรรค วินัยปิฎก ว่าด้วยเรื่องจีวร
  49. จุลกาล : ชื่อน้องชายของพระมหากาล ที่บวชตามพี่ชาย แต่ไม่ได้บรรลุมรรค ผล สึกเสียในระหว่าง
  50. จุลคัณฐี : ชื่อนิกายพระสงฆ์พม่านิกายหนึ่ง
  51. [1-50] | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-417

(0.0707 sec)