Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: บริหารร่างกาย, ร่างกาย, บริหาร , then บรหารรางกาย, บริหาร, บริหารร่างกาย, ปริหาร, รางกาย, ร่างกาย .

Budhism Thai-Thai Dict : บริหารร่างกาย, 52 found, display 1-50
  1. บริหาร : ดูแล, รักษา, ปกครอง
  2. สรีระ : ร่างกาย
  3. บริหารคณะ : ปกครองหมู่, ดูแลหมู่
  4. วิสมปริหารชา อาพาธา : ความเจ็บไข้ที่เกิดจากบริหารร่างกายไม่สม่ำเสมอ คือ ผลัดเปลี่ยนอิริยาบถไม่พอดี
  5. ศิลปศาสตร์ : ตำราว่าด้วยวิชาความรู้ต่างๆ มี ๑๘ ประการ เช่นตำราว่าด้วยการคำนวณ ตำรายิงธนู เป็นต้น อันได้มีการเรียนการสอนกันมาตั้งแต่สมัยก่อนพุทธกาล; ๑๘ ประการนั้น มีหลายแบบ ยกมาดูแบบหนึ่งจากคัมภีร์โลกนิติ และธรรมนิติ ได้แก่ ๑.สูติ ความรู้ทั่วไป ๒.สัมมติ ความรู้กฎธรรมเนียม ๓.สังขยา คำนวณ ๔.โยคยันตร์ การช่างการยนตร์ ๕.นีติ นิติศาสตร์ ๖.วิเสสิกา ความรู้การอันให้เกิดมงคล ๗.คันธัพพา วิชาร้องรำ ๘.คณิกา วิชาบริหารร่างกาย ๙.ธนุพเพธา วิชายิงธนู ๑๐.ปุราณา โบราณคดี ๑๑.ติกิจฉา วิชาแพทย์ ๑๒.อิติหาสา ตำนานหรือประวัติศาสตร์ ๑๓.โชติ ดาราศาสตร์ ๑๔.มายา ตำราพิชัยสงคราม ๑๕.ฉันทสา การประพันธ์ ๑๖.เกตุ วิชาพูด ๑๗.มันตา วิชามนต์ ๑๘.สัททา วิชาไวยากรณ์, ทั้ง ๑๘ อย่างนี้โบราณเรียกรวมว่า สิปปะ หรือศิลปะ ไทยแปลออกเป็น ศิลปศาสตร์ (ตำราว่าด้วยศิลปะต่างๆ); แต่ในสมัยปัจจุบัน ได้แยกความหมายศิลปะ กับ ศาสตร์ ออกจากกัน คือ ศิลปะ หมายถึง วิทยาการที่มีวัตถุประสงค์ตรง ความงาม เช่น ดุริยางคศิลป์ นาฏศิลป์ และจิตรกรรม เป็นต้น ศาสตร์ หมายถึง วิทยาการที่มีวัตถุประสงค์ตรงความจริง เช่น คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ เป็นต้น
  6. กายบริหาร : การรักษาร่างกายให้เหมาะสมแก่ความเป็นสมณะ เช่นไม่ไว้ยาวเกินไป ไม่ไว้หนวดเครา ไม่ไว้เล็บยาว ไม่ผัดหน้า ไม่แต่งเครื่องประดับกาย ไม่เปลือยกาย เป็นต้น
  7. อุปธิ : สิ่งนุงนัง, สภาวะกลั้วกิเลส, สิ่งที่ยังระคนด้วยกิเลส 1) ร่างกาย 2) สภาวะอันเป็นที่ตั้งที่ทรงไว้แห่งทุกข์ ได้แก่ กาม กิเลส เบญจขันธ์ และอภิสังขาร
  8. พุทธสรีระ : ร่างกายของพระพุทธเจ้า
  9. กพฬิงการาหาร : อาหารคือคำข้าว ได้แก่อาหารที่กลืนกินเข้าไปหล่อเลี้ยงร่างกาย, อาหารที่เป็นวัตถุ
  10. กรมการ : เจ้าพนักงานคณะหนึ่งมีหน้าที่บริหารราชการแผ่นดินในระดับหนึ่งๆ เช่น กรมการจังหวัด กรมการอำเภอ เป็นต้น
  11. กายวิญญัติ : ความเคลื่อนไหวร่างกายให้รู้ความหมาย เช่น สั่นศีรษะ โบกมือ ขยิบตา ดีดนิ้ว เป็นต้น
  12. กายสังสัคคะ : ความเกี่ยวข้องด้วยกาย, การเคล้าคลึงร่างกาย, เป็นชื่ออาบัติสังฆาทิเสสข้อที่ ๒ ที่ว่าภิกษุมีความกำหนัดถึงความเคล้าคลึงด้วยกายกับมาตุคาม, การจับต้องกายหญิงโดยมีจิตกำหนัด
  13. คากรอง : เครื่องปกปิดร่างกายที่ทำด้วยหญ้า หรือเปลือกไม้
  14. จตุธาตุววัตถาน : การกำหนดธาตุ ๔ คือ พิจารณาร่างกายนี้ แยกแยะออกไปมองเห็นแต่ส่วนประกอบต่างๆ ที่จัดเข้าไปในธาตุ ๔ คือ ปฐวี อาโป เตโช วาโย ทำให้รู้ภาวะความเป็นจริงของร่างกาย ว่าเป็นแต่เพียงธาตุ ๔ ประชุมกันเข้าเท่านั้น ไม่เป็นตัวสัตว์บุคคลที่แท้จริง
  15. ดิรัจฉาน : สัตว์มีร่างกายเจริญโดยขวาง, สัตว์เว้นจากมนุษย์ (เดียรัจฉานก็ใช้)
  16. เดียรฉาน : สัตว์อื่นจากมนุษย์, สัตว์ผู้มีร่างกายเจริญขวางออกไป คือไม่เจริญตั้งขึ้นไปเหมือนคนหรือต้นไม้
  17. เดียรัจฉาน : สัตว์อื่นจากมนุษย์, สัตว์ผู้มีร่างกายเจริญขวางออกไป คือไม่เจริญตั้งขึ้นไปเหมือนคนหรือต้นไม้
  18. ตจปัญจกกัมมัฏฐาน : กัมมัฏฐานมีหนังเป็นที่คำรบ ๕, กัมมัฏฐานอันบัณฑิตกำหนดด้วยอาการมีหนังเป็นที่ ๕ เป็นอารมณ์ คือ กัมมัฏฐานที่ท่านสอนให้พิจารณาส่วนของร่างกาย ๕ อย่าง คือ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง โดยความเป็นของปฏิกูล หรือโดยความเป็นสภาวะอย่างหนึ่งๆ ตามที่มันเป็นของมัน ไม่เอาใจเข้าไปผูกพันแล้วคิดวาดภาพใฝ่ฝันตามอำนาจกิเลส พจนานุกรมเขียน ตจปัญจกกรรมฐาน เรียกอีกอย่างว่า มูลกัมมัฏฐาน (กัมมัฏฐานเบื้องต้น)
  19. เตโชธาตุ : ธาตุไฟ, ธาตุที่มีลักษณะร้อน, ความร้อน; ในร่างกาย ได้แก่ ไฟที่ยังกายให้อบอุ่น ไฟที่ยังกายให้ทรุดโทรม ไฟที่ยังกายให้กระวนกระวายและไฟที่เผาอาหารให้ย่อย
  20. ทวัตติงสาการ : อาการ ๓๒, ส่วนประกอบที่มีลักษณะต่างๆ กัน ๓๒ อย่าง ในร่างกาย คือ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจ ตับ พังผืด ไต ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า (อุจจาระ) มันสมอง ดี เสลด หนอง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา มันเหลว น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร (ปัสสาวะ); ในขุททกปาฐะ (ฉบับสยามรัฐ) เรียงลำดับมันสมองไว้เป็นข้อสุดท้าย; ทวัตดึงสาการ หรือ ทวดึงสาการ ก็เขียน
  21. ทวาร : ประตู, ทาง, ช่องตามร่างกาย 1.ทางรับรู้อารมณ์ มี ๖ คือ ๑.จักษุทวาร ทางตา ๒.โสตทวาร ทางหู ๓.ฆานทวาร ทางจมูก ๔.ชิวหาทวาร ทางลิ้น ๕.กายทวาร ทางกาย ๖.มโนทวาร ทางใจ 2.ทางทำกรรม มี ๓ คือ ๑.กายทวาร ทางกาย ๒.วจีทวาร ทางวาจา ๓.มโนทวาร ทางใจ
  22. ธาตุกัมมัฏฐาน : กรรมฐานที่พิจารณาธาตุเป็นอารมณ์, กำหนดพิจารณาร่างกายแยกเป็นส่วนๆ ให้เห็นว่าเป็นแต่เพียงธาตุ ๔ คือ ดิน น้ำ ลม ประชุมกันอยู่ ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา
  23. นกุลบิดา : “พ่อของนกุล”, คฤหบดี ชาวเมืองสุงสุมารคีรี ในแคว้นภัคคะ มีภรรยาชื่อ นกุลมารดา สมัยหนึ่ง พระพุทธเจ้าเสด็จมายังเมืองสุงสุมารคีรี ประทับที่ป่าเภสกลาวัน ท่านคฤหบดีและภรรยาไปเฝ้าพร้อมกับชาวเมืองคนอื่นๆ พอได้เห็นครั้งแรก ทั้ง ๒ สามีภรรยาก็เกิดความรู้สึกสนิทหมายใจเหมือนว่าพระพุทธเจ้าเป็นบุตรของตน ได้เข้าไปถึงพระองค์และแสดงความรู้สึกนั้น พระพุทธเจ้าได้แสดงธรรมโปรด ทั้ง ๒ ท่านได้บรรลุธรรมเป็นพระโสดาบัน ท่านนกุลบิดาและนกุลมารดานี้ เป็นคู่สามีภรรยาตัวอย่าง ผู้มีความจงรักภักดีต่อกันอย่างบริสุทธิ์และมั่นคงยั่งยืน ตราบเท่าชรา ทั้งยังปรารถนาจะพบกันทั้งชาตินี้และชาติหน้า เคยทูลขอให้พระพุทธเจ้าแสดงหลักธรรมที่จะทำให้สามีภรรยาครองรักกันยั่งยืนตลอดไปทั้งภพนี้และภพหน้า เมื่อท่านนกุลบิดาเจ็บป่วยออดแอดร่างกายอ่อนแอ ไม่สบายด้วยโรคชรา ท่านได้ฟังพระธรรมเทศนาครั้งหนึ่ง ที่ท่านประทับใจมากคือ พระดำรัสที่แนะนำให้ทำใจว่า “ถึงแม้ร่างกายของเราจะป่วย แต่ใจของเราจะไม่ป่วย” ท่านนกุลบิดาได้รับยกย่องจากพระพุทธเจ้าให้เป็นเอตทัคคะในบรรดาอุบาสกผู้สนิทสนมคุ้นเคย (วิสสาสิกะ)
  24. ปฐวีธาตุ : ธาตุดิน คือธาตุที่มีลักษณะแข้นแข็ง ในร่างกายที่ใช้เป็นอารมณ์กรรมฐาน ได้แก่ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจ ตับ พังผืด ไต ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า; อย่างนี้เป็นการกล่าวถึงปฐวีธาตุในลักษณะที่คนสามัญทุกคนจะเข้าใจได้ และที่จะให้สำเร็จประโยชน์ในการเจริญกรรมฐาน แต่ในทางพระอภิธรรม ปฐวีธาตุเป็นสภาวะพื้นฐานที่มีอยู่ในรูปธรรมทุกอย่าง แม้แต่ในน้ำและในลมที่เรียกกันสามัญ ซึ่งรู้สึกถูกต้องได้ด้วยกายสัมผัส
  25. ปริจเฉทรูป : รูปที่กำหนดเทศะ ได้แก่ อากาสธาตุ หรืออากาศ คือ ช่องว่าง เช่น ช่องว่างในส่วนต่างๆ ของร่างกาย
  26. พยัญชนะ : อักษร, ตัวหนังสือที่มิใช่สระ; กับข้าวนอกจากแกง คู่กับสูปะ; ลักษณะของร่างกาย
  27. พละ : กำลัง 1.พละ ๕ คือธรรมอันเป็นกำลัง ซึ่งเป็นเครื่องเกื้อหนุนแก่อริยมรรค จัดอยู่ในจำพวกโพธิปักขิยธรรม มี ๕ คือ สัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา; ดู อินทรีย์๕2.พละ ๔ คือธรรมอันเป็นพลังทำให้ดำเนินชีวิตด้วยความมั่นใจ ไม่ต้องหวาดหวั่นกลัวภัยต่างๆ ได้แก่ ๑.ปัญญาพละ กำลังปัญญา ๒.วิริยพละ กำลังความเพียร ๓.อนวัชชพละ กำลังคือการกระทำที่ไม่มีโทษ (กำลังความสุจริตและการกระทำแต่กิจกรรมที่ดีงาม) ๔.สังคหพละ กำลังการสงเคราะห์ คือช่วยเหลือเกื้อกูลอยู่ร่วมกับผู้อื่นด้วยดี ทำตนให้เป็นประโยชน์แก่สังคม 3.พละ ๕ หรือ ขัตติยพละ ๕ ได้แก่กำลังของพระมหากษัตริย์ หรือกำลังที่ทำให้มีความพร้อมสำหรับความเป็นกษัตริย์ ๕ ประการ ดังแสดงในคัมภีร์ชาดกคือ ๑.พาหาพละ หรือ กายพละ กำลังแขนหรือกำลังกาย คือแข็งแรงสุขภาพดี สามารถในการใช้แขนใช้มือใช้อาวุธ มีอุปกรณ์พรั่งพร้อม ๒.โภคพละ กำลังโภคสมบัติ ๓.อมัจจพละ กำลังข้าราชการที่ปรึกษาและผู้บริหารที่สามารถ ๔.อภิชัจจพละ กำลังความมีชาติสูง ต้องด้วยความนิยมเชิดชูของมหาชนและได้รับการศึกษาอบรมมาดี ๕.ปัญญาพละ กำลังปัญญา ซึ่งเป็นข้อสำคัญที่สุด
  28. พุทธัตถจริยา : ทรงประพฤติเป็นพระโยชน์แก่สัตว์โลก โดยฐานเป็นพระพุทธเจ้า เช่น ทรงแสดงธรรมแก่เวไนยสัตว์และบัญญัติวินัยขึ้นบริหารหมู่คณะ ทรงประดิษฐานพระพุทธศาสนาให้ยั่งยืนมาตราบเท่าทุกวันนี้
  29. โภชเนมัตตัญญุตา : ความเป็นผู้รู้จักประมาณในการบริโภคอาหาร, รู้จักประมาณในการกิน คือ กินเพื่อหล่อเลี้ยงร่างกายให้ชีวิตเป็นอยู่ได้ผาสุก มิใช่เพื่อสนุกสนานมัวเมา (ข้อ ๒ ใน อปัณณกปฏิปทา ๓)
  30. รากขวัญ : ส่วนของร่างกายที่เรียกว่าไหปลาร้า; ตำนานกล่าวว่า ในบรรดาพระบรมสารีริกธาตุทั้งหลายนั้น พระรากขวัญเบื้องขวาขึ้นไปประดิษฐานอยู่ในจุฬามณีเจดีย์ ณ ดาวดึงสเทวโลก พระรากขวัญเบื้องซ้าย ขึ้นไปประดิษฐานอยู่ในทุสสเจดีย์ (เจดีย์ที่ฆฏิการพรหมสร้างขึ้นไว้ก่อนแล้ว ให้เป็นที่บรรจุพระภูษาเครื่องทรงในฆราวาสที่พระโพธิสัตว์สละในคราวเสด็จออกบรรพชา) ณ พรหมโลก
  31. ราธะ : พระมหาสาวกองค์หนึ่ง เดิมเป็นพราหมณ์ในเมืองราชคฤห์ เมื่อชราลงถูกบุตรทอดทิ้ง อยากจะบวชก็ไม่มีภิกษุรับบวชให้ เพราะเห็นว่าเป็นคนแก่เฒ่า ราธะเสียใจ ร่างกายซูบซีด พระศาสดาทรงทราบจึงตรัสถามว่า มีใครระลึกถึงอุปการะของราธะได้บ้าง พระสารีบุตรระลึกถึงภิกษาทัพพีหนึ่งที่ราธะถวาย จึงรับเป็นอุปัชฌาย์ และราธะได้เป็นบุคคลแรกที่อุปสมบทด้วยญัตติจตุตถกรรมวาจา ท่านบวชแล้วไม่นานก็ได้บรรลุพระอรหัต พระราธะเป็นผู้ว่าง่าย ตั้งใจรับฟังคำสั่งสอน มีความสุภาพอ่อนโยน เป็นตัวอย่างของภิกษุผู้บวชเมื่อแก่ ทั้งพระพุทธเจ้าและพระสารีบุตรก็ชมท่าน ท่านเคยได้ใกล้ชิดพระพุทธเจ้า เคยทำหน้าที่เป็นพุทธอุปฐาก ได้รับยกย่องเป็นเอตทัคคะในทางก่อให้เกิดปฏิภาณ
  32. รูป : 1.สิ่งที่จะต้องสลายไปเพราะปัจจัยต่างๆ อันขัดแย้ง, สิ่งที่เป็นรูปร่างพร้อมทั้งลักษณะอาการของมัน, ส่วนร่างกาย จำแนกเป็น ๒๘ คือ มหาภูต หรือ ธาตุ ๔ และ อุปาทายรูป ๒๔ (= รูปขันธ์ในขันธ์ ๕) 2.อารมณ์ที่รู้ได้ด้วยจักษุ, สิ่งที่ปรากฏแก่ตา (ข้อ ๑ ในอารมณ์ ๖ หรือในอายตนะภายนอก ๖) 3.ลักษณนาม ใช้เรียกพระภิกษุสามเณร เช่น ภิกษุรูปหนึ่ง สามเณร ๕ รูป ; ในภาษาพูดบางแห่งนิยมใช้ องค์
  33. รูปกาย : ประชุมแห่งรูปธรรม, กายที่เป็นส่วนรูป โดยใจความได้แก่รูปขันธ์หรือร่างกาย
  34. วาโยธาตุ : ธาตุลม คือธาตุที่มีลักษณะพัดไปมา, ภาวะสั่นไหว เคร่งตึง ค้ำจุน; ในร่างกายนี้ ส่วนที่ใช้กำหนดเป็นอารมณ์กรรมฐาน ได้แก่ลมพัดขึ้นเบื้องบน ลมพัดลงเบื้องต่ำ ลมในท้อง ลมในไส้ ลมพัดไปตามตัว ลมหายใจ (ตามสภาวะ วาโยธาตุ คือ สภาพสั่นไหว หรือค้ำจุน) ดู ธาตุ
  35. เวมานิกเปรต : เปรตอยู่วิมาน ได้เสวยสุขและทุกข์สลับกันไป บางตนข้างแรมเสวยทุกข์ ข้างขึ้นเสวยสุข บางตนกลางคืนเสวยสุข กลางวันเสวยทุกข์ เวลาเสวยสุขอยู่ในวิมาน มีร่างเป็นทิพย์สวยงาม เวลาจะเสวยทุกข์ต้องออกจากวิมานไป และร่างกายก็กลายเป็นน่าเกลียดน่ากลัว
  36. ศิวาราตรี : พิธีลอยบาปของพราหมณ์ ทำในวันเพ็ญเดือน ๓ เป็นประจำปี วิธีทำคือ ลงอาบน้ำในแม่น้ำ สระเกล้า ชำระร่างกายให้สะอาดหมดจด เท่านี้ถือว่าได้ลอยบาปไปตามกระแสน้ำแล้ว เป็นอันสิ้นบาปกันคราวหนึ่ง ถึงปีก็ทำใหม่ (คำสันสกฤตเดิมเป็นศิวราตริ แปลว่า ราตรีของพระศิวะ พจนานุกรมสันสกฤตว่า ตรงกับแรม ๑๔ ค่ำ เดือน ๓)
  37. สรรพางค์ : ทุก ๆ ส่วนแห่งร่างกาย, ร่างกายทุก ๆ ส่วน
  38. สรีรยนต์ : กลไกคือร่างกาย
  39. สรีราพยพ : ส่วนของร่างกาย, อวัยวะในร่างกาย
  40. สันโดษ : ความยินดี, ความพอใจ, ยินดีด้วยปัจจัย ๔ คือ ผ้านุ่งผ้าห่ม อาหารที่นอนที่นั่ง และยา ตามมีตามได้, ยินดีของของตน, การมีความสุขความพอใจด้วยเครื่องเลี้ยงชีพที่หามาได้ด้วยความเพียรพยายามอันชอบธรรมของตน ไม่โลภ ไม่ริษยาใคร; สันโดษ ๓ คือ ๑.ยถาลาภสันโดษ ยินดีตามที่ได้ คือได้สิ่งใดมาด้วยความเพียรของตน ก็พอใจด้วยสิ่งนั้น ไม่เดือดร้อนเพราะของที่ไม่ได้ ไม่เพ่งเล็งอยากได้ของคนอื่นไม่ริษยาเขา ๒.ยถาพลสันโดษ ยินดีตามกำลัง คือพอใจเพียงแค่พอแก่กำลังร่างกายสุขภาพและขอบเขตการใช้สอยของตน ของที่เกินกำลังก็ไม่หวงแหนเสียดายไม่เก็บไว้ให้เสียเปล่า หรือฝืนใช้ให้เป็นโทษแก่ตน ๓.ยถาสารุปปสันโดษ ยินดีตามสมควร คือ พอใจตามที่สมควรแก่ภาวะ ฐานะ แนว ทางชีวิต และจุดหมายแห่งการบำเพ็ญกิจของตน เช่นภิกษุพอใจแต่ของอันเหมาะกับสมณภาวะ หรือได้ของใช้ที่ไม่เหมาะกับตนแต่จะมีประโยชน์แก่ผู้อื่น ก็นำไปมอบให้แก่เขา เป็นต้น; สันโดษ ๓ นี้เป็นไปในปัจจัย ๔ แต่ละอย่าง จึงรวมเรียกว่า สันโดษ ๑๒
  41. สัสสตทิฏฐิ : ความเห็นว่าเที่ยง คือความเห็นว่าอัตตาและโลก เป็นสิ่งเที่ยงแท้ยั่งยืน คงอยู่ตลอดไป เช่น เห็นว่าคนและสัตว์ตายไปแล้ว ร่างกายเท่านั้นทรุดโทรมไป ส่วนดวงชีพหรือเจตภูตหรือมนัสเป็นธรรมชาติไม่สูญ ย่อมถือปฏิสนธิในกำเนิดอื่นสืบไป เป็นมิจฉาทิฏฐิอย่างหนึ่ง ตรงข้ามกับอุจเฉททิฏฐิ (ข้อ ๑ ในทิฏฐิ ๒)
  42. โสณโกฬิวิสะ : พระมหาสาวกองค์หนึ่ง เดิมเป็นกุลบุตรชื่อโสณะ ตระกูลโกฬิวิสะ เป็นบุตรของอุสภเศรษฐีแห่งวรรณะแพศย์ ในเมืองกาฬจัมปากแคว้นอังคะ โสณกุลบุตรมีลักษณะพิเศษในร่างกาย คือ มีฝ่ามือฝ่าเท้าอ่อนนุ่ม และมีขนอ่อนขึ้นภายใน อีกทั้งมีความเป็นอยู่อย่างดี ได้รับการบำรุงบำเรอทุกประการ อยู่ในปราสาท ๓ ฤดู จึงได้สมญาว่าเป็น สุขุมาลโสณะ ต่อมาพระเจ้าพิมพิสารทรงสดับกิตติศัพท์ จึงรับสั่งให้โสณะเดินทางไปเฝ้าและให้แสดงขนฝ่ามือฝ่าเท้าให้ทอดพระเนตร คราวนั้นโสณะมีโอกาสได้ไปเฝ้าพระพุทธเจ้า ได้สดับพระธรรมเทศนา เกิดความเลื่อมใสขอบวช ท่านทำความเพียรอย่างแรงกล้าจนเท้าแตกและเริ่มท้อใจ พระพุทธเจ้าจึงทรงประทานโอวาทด้วยข้ออุปมาเรื่องพิณ๓สาย ท่านปฏิบัติตาม ไม่ช้าก็ได้สำเร็จพระอรหัต พระศาสดาทรงยกย่องว่าเป็นเอตทัคคะในทางปรารภความเพียร
  43. อทิสสมานกาย : กายที่มองไม่เห็น, ผู้มีกายไม่ปรากฏ, ไม่ปรากฏร่าง, มองไม่เห็นตัว กล่าวคือ เป็นวิสัยของผู้มีฤทธิ์บางประเภท (วิกุพพนฤทธิ์) อาจทำการบางอย่างโดยไม่ให้ผู้อื่นมองเห็นร่างกาย; อีกอย่างหนึ่ง เป็นความเชื่อของพราหมณ์ว่าบรรพบุรุษที่ตายไป มีถิ่นเป็นที่อยู่เรียกว่าปิตฤโลก ยังทรงอยู่ด้วยเป็นอทิสสมานกาย ความเชื่อนี้คนไทยก็รับมาแต่ให้บรรพบุรุษเหล่านั้น คงอยู่ที่บ้านเรือนเดิม อย่างที่เรียกว่า ผีเรือน
  44. อนามาส : วัตถุอันภิกษุไม่ควรจับต้อง เช่น ร่างกายและเครื่องแต่งกายสตรีเงินทอง อาวุธ เป็นต้น
  45. อสุภ : สภาพที่ไม่งาม, พิจารณาร่างกายของตนและผู้อื่นให้เห็นสภาพที่ไม่งาม; ในความหมายเฉพาะ หมายถึงซากศพในสภาพต่างๆ ซึ่งใช้เป็นอารมณ์กรรมฐาน รวม ๑๐ อย่าง คือ ๑) อุทธุมาตกะ ซากศพที่เน่าพอง ๒) วินีลกะ ซากศพที่มีสีเขียวคล้ำ ๓) วิปุพพกะ ซากศพที่มีน้ำเหลืองไหลออกอยู่ ๔) วิจฉิททกะ ซากศพที่ขาดกลางตัว ๕) วิกขายิตกะ ซากศพที่สัตว์กัดกินแล้ว ๖) วิกขิตตกะ ซากศพที่มีมือ เท้า ศีรษะขาด ๗) หตวิกขิตตกะ ซากศพที่คนมีเวรเป็นข้าศึกษกัน สับฟันเป็นท่อนๆ ๘) โลหิตกะ ซากศพที่ถูกประหารด้วยศัสตรามีโลหิตไหลอาบอยู่ ๙) ปุฬุวกะ ซากศพที่มีตัวหนอนคลานคล่ำไปอยู่ ๑๐) อัฏฐิกะ ซากศพที่ยังเหลืออยู่แต่ร่างกระดูก
  46. อสุภสัญญา : กำหนดหมายถึงความไม่งามแห่งร่างกาย (ข้อ ๓ ในสัญญา ๑๐)
  47. อสุภะ : สภาพที่ไม่งาม, พิจารณาร่างกายของตนและผู้อื่นให้เห็นสภาพที่ไม่งาม; ในความหมายเฉพาะ หมายถึงซากศพในสภาพต่างๆ ซึ่งใช้เป็นอารมณ์กรรมฐาน รวม ๑๐ อย่าง คือ ๑) อุทธุมาตกะ ซากศพที่เน่าพอง ๒) วินีลกะ ซากศพที่มีสีเขียวคล้ำ ๓) วิปุพพกะ ซากศพที่มีน้ำเหลืองไหลออกอยู่ ๔) วิจฉิททกะ ซากศพที่ขาดกลางตัว ๕) วิกขายิตกะ ซากศพที่สัตว์กัดกินแล้ว ๖) วิกขิตตกะ ซากศพที่มีมือ เท้า ศีรษะขาด ๗) หตวิกขิตตกะ ซากศพที่คนมีเวรเป็นข้าศึกษกัน สับฟันเป็นท่อนๆ ๘) โลหิตกะ ซากศพที่ถูกประหารด้วยศัสตรามีโลหิตไหลอาบอยู่ ๙) ปุฬุวกะ ซากศพที่มีตัวหนอนคลานคล่ำไปอยู่ ๑๐) อัฏฐิกะ ซากศพที่ยังเหลืออยู่แต่ร่างกระดูก
  48. อากาศธาตุ : สภาวะที่ว่าง, ความเป็นที่ว่างเปล่า, ช่องว่างในร่างกาย ที่ใช้เป็นอารมณ์กรรมฐาน เช่น ช่องหู ช่องจมูก ช่องปาก ช่องอวัยวะต่างๆ ดู ธาตุ
  49. อาทีนวสัญญา : การกำหนดหมายโทษแห่งร่างกายซึ่งมีอาพาธคือโรคต่างๆ เป็นอันมาก (ข้อ ๔ ในสัญญา ๑๐)
  50. อาโปธาตุ : ธาตุที่มีลักษณะเป็นเอิบอาบ ดูดซึม, แปลสามัญว่า ธาตุน้ำ, ในร่างกายที่ใช้เป็นอารมณ์กรรมฐาน ได้แก่ ดี เสลด หนอง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา เปลวมัน น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร ข้อความนี้ เป็นการกล่าวถึงอาโปธาตุในลักาณะที่คนสามัญทุกคนจะเข้าใจได้และพอให้สำเร็จประโยชน์ในการเจริญกรรมฐาน แต่ในทางอภิธรรม อาโปธาตุเป็นสภาวะที่สัมผัสด้วยกายไม่ได้มีในรูปธรรมทั่วไป แม้แต่ในกระดาษหนังสือ ในก้อนหิน ก้อนเหล็ก และแผ่นพลาสติก ดู ธาตุ
  51. [1-50] | 51-52

(0.0153 sec)