Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ฝ่ายบุคคล, บุคคล, ฝ่าย , then บุคคล, ปุคคล, ฝาย, ฝ่าย, ฝายบคคล, ฝ่ายบุคคล .

Budhism Thai-Thai Dict : ฝ่ายบุคคล, 180 found, display 1-50
  1. บุคคล ๔ จำพวก : คือ ๑.อุคฆฏิตัญญู ผู้รู้เข้าใจได้ฉบพลัน แต่พอท่านยกหัวข้อขึ้นแสดง ๒.วิปจิตัญญู ผู้รู้เข้าใจต่อเมื่อท่านขยายความ ๓.เนยยะ ผู้ที่พอจะแนะนำต่อไปได้ ๔.ปทปรมะ ผู้ได้แค่ตัวบทคือถ้อยคำเป็นอย่างยิ่ง ไม่อาจเข้าใจความหมาย
  2. สุญญตา : “ความเป็นสภาพสูญ”, ความว่าง 1.ความเป็นสภาพที่ว่างจากความเป็นสัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา เฉพาะอย่างยิ่ง ภาวะที่ขันธ์ ๕ เป็นอนัตตา คือ ไร้ตัวมิใช่ตน ว่างจากความเป็นตน ตลอดจนว่างจากสาระต่างๆ เช่น สาระคือความเที่ยง สาระคือความสวยงาม สาระคือความสุข เป็นต้น, โดยปริยายหมายถึง หลักธรรมฝ่ายปรมัตถ์ดังเช่นขันธ์ ธาตุ อายตนะ และปัจจยาการ (อิทัปปัจจยตา หรือ ปฏิจจสมุปบาท) ที่แสดงแต่ตัวสภาวะให้เห็นความว่างเปล่าปราศจากสัตว์ บุคคล เป็นเพียงธรรมหรือกระบวนธรรมล้วนๆ 2.ความว่างจากกิเลส มีราคะ โทสะ โมหะ เป็นต้น ก็ดี สภาวะที่ว่างจากสังขารทั้งหลายก็ดี หมายถึง นิพพาน 3.โลกุตตรมรรค ได้ชื่อว่าเป็นสุญญตา ด้วยเหตุผล ๓ ประการ คือ เพราะลุด้วยปัญญาที่กำหนดพิจารณาความเป็นอนัตตา มองเห็นสภาวะที่สังขารเป็นสภาพว่าง (จากความเป็นสัตว์ บุคคล ตัวตน) เพราะว่างจากกิเลสมีราคะเป็นต้น และเพราะมีสุญญตา คือ นิพพาน เป็นอารมณ์ 4.ความว่าง ที่เกิดจากความกำหนดหมายในใจ หรือทำใจเพื่อให้เป็นอารมณ์ของจิตในการเจริญสมาบัติ เช่น ผู้เจริญอากิญจัญญายตนสมาบัติกำหนดใจถึงภาวะว่างเปล่าไม่มีอะไรเลย; สุญตา ก็เขียน
  3. บุคคลาธิษฐาน : มีบุคคลเป็นที่ตั้ง, เทศนายกบุคคลขึ้นอ้าง คู่กับธรรมาธิษฐาน
  4. บุคคลหาได้ยาก ๒ : คือ ๑.บุพการี ๒.กตัญญูกตเวที
  5. วิสาขา : ชื่อมหาอุบาสิกาสำคัญในครั้งพุทธกาล เป็นธิดาของธนัญชัยเศรษฐี และนางสุมนา เกิดที่เมืองภัททิยะในแคว้นอังคะ ได้บรรลุโสดาปัตติผล ตั้งแต่อายุ ๗ ขวบ ต่อมาได้ย้ายตามบิดามาอยู่ที่เมืองสาเกตในแคว้นโกศลแล้วได้สมรสกับนายปุณณวัฒน์บุตรชายมิคารเศรษฐีแห่งเมืองสาวัตถี และย้ายไปอยู่ในตระกูลฝ่ายสามี นางสามารถกลับใจมิคารเศรษฐี บิดาของสามี ซึ่งนับถือครนถ์ ให้หันมานับถือพระพุทธศาสนา มิคารเศรษฐีนับถือนางมาก และเรียกนางวิสาขาเป็นแม่ นางวิสาขาจึงได้ชื่อใหม่อีกอย่างหนึ่งว่า มิคารมารดา (มารดาของมิคารเศรษฐี) นางวิสาขาได้อุปถัมภ์บำรุงพระภิกษุสงฆ์อย่างมากมาย และได้ให้ขายเครื่องประดับประจำตัวตั้งแต่แต่งงาน เรียกชื่อว่า มหาลดาปสาธน์ ซึ่งมีค่าสูงยิ่ง นำเงินมาสร้างวัดถวายแด่พระพุทธเจ้าและภิกษุสงฆ์คือ มิคารมาตุปราสาท วัดบุพพาราม ณ พระนครสาวัตถี นางวิสาขามีบุตรหลานมากมายล้วนมีสุขภาพดีแทบทั้งนั้น แม้นางจะมีอายุยืนถึง ๑๒๐ ปี ก็ดูไม่แก่ และเป็นบุคคลที่ได้รับความนับถืออย่างกว้างขวางในสังคม ได้รับยกย่องจากพระศาสดาว่าเป็นเอตทัคคะ ในบรรดาทายิกาทั้งปวง
  6. อุปสัมปทา : การบวช, การบวชเป็นภิกษุหรือภิกษุณี; วิธีอุปสมบทมีทั้งหมด ๘ อย่าง แต่เฉพาะที่ใช้เป็นหลักมี ๓ อย่างคือ ๑) เอหิภิกขุอุปสัมปทา การอุปสมบทด้วยพระวาจาว่า “จงเป็นภิกษุมาเถิด” เป็นวิธีที่พระพุทธเจ้าทรงบวชให้เอง ๒) ติสรณคมนูปสัมปทา หรือสรณคมนูปสัมปทา การอุปสมบทด้วยถึงไตรสรณะ เป็นวิธีที่ทรงอนุญาตให้พระสาวกทำในยุคต้นพุทธกาล เมื่อคณะสงฆ์ยังไม่ใหญ่นัก เมื่อทรงอนุญาตวิธีที่ ๓ แล้ว วิธีที่ ๒ นี้ก็เปลี่ยนใช้สำหรับบรรพชาสามเณร ๓) ญัตติจตุตถกัมมอุปสัมปทา การอุปสมบทด้วยญัตติจตุตถกรรม เป็นวิธีที่ทรงอนุญาตให้สงฆ์ทำ ในเมื่อคณะสงฆ์เป็นหมู่ใหญ่ขึ้นแล้วส และเป็นวิธีใช้สืบมาจนทุกวันนี้; วิธีอุปสมบทอีก ๕ อย่าง ที่เหลือเป็นวิธีที่ทรงประทานเป็นการพิเศษ จำเพาะบุคคลบ้าง ขาดตอนหมดไปแล้วบ้าง ได้แก่ (จัดเรียงลำดับใหม่ เอาข้อ ๓) เป็นข้า ๘) ท้ายสุด) ๓) โอวาทปฏิคคหณูปสัมปทา การอุปสมบทด้วยการรับโอวาท เป็นวิธีที่ทรงอนุญาตแก่พระมหากัสสปะ ๔) ปัญหาพยากรณูปสัมปทา การอุปสมบทด้วยการตอบปัญหาของพระพุทธองค์ เป็นวิธีที่ทรงอนุญาตแก่โสปากสามเณร ๕) ครุธรรมปฏิคคหณูปสัมปทา (หรือ อัฏฐครุธรรมปฏิคคหณูปสัมปทา) การอุปสมบทด้วยการรับครุธรรม ๘ ประการ เป็นวิธีที่ทรงอนุญาตแก่พระนางมหาปชาบดีโคตมี ๖) ทูเตนะ อุปสัมปทา การอุปสมบทด้วยทูต เป็นวิธีที่ทรงอนุญาตแก่นางคณิกา (หญิงโสเภณี) ชื่ออัฑฒกาสี ๗) อัฏฐวาจิกาอุปสัมปทา การอุปสมบทมีวาจา ๘ คือ ทำด้วยญัตติจตุตถกรรม ๒) ครั้งจากสงฆ์ทั้ง ๒ ฝ่ายคือจากภิกษุณีสงฆ์ครั้งหนึ่ง จากภิกษุสงฆ์ครั้งหนึ่ง ได้แก่การอุปสมบทของภิกษุณี ๘) ญัตติจตุตถกรรมอุปสัมปทา (ข้อ ๓) เดิม)
  7. ปักษ์ : ปีก, ฝ่าย, ข้าง, กึ่งของเดือนทางจันทรคติ คือ เดือนหนึ่งมี ๒ ปักษ์ ข้างขึ้นเรียก ศุกลปักษ์ (ฝ่ายขาวหมายเอาแสงเดือนสว่าง) ข้างแรมเรียก กาฬปักษ์ (ฝ่ายดำ หมายเอาเดือดมือ); ชุณหปักษ์ และกัณหปักษ์ก็เรียก
  8. ถูปารหบุคคล : บุคคลผู้ควรแก่สถูป คือ บุคคลที่ควรนำกระดูกบรรจุสถูปไว้บูชา มี ๔ คือ ๑.พระพุทธเจ้า ๒.พระปัจเจกพุทธเจ้า ๓.พระอรหันตสาวก ๔.พระเจ้าจักรพรรดิ
  9. ทักขิเณยยบุคคล : บุคคลผู้ควรรับทักษิณา
  10. พร้อมหน้าบุคคล : บุคคลผู้เกี่ยวข้องในเรื่องนั้นอยู่พร้อมหน้ากัน เช่น คู่วิวาทหรือคู่ความพร้อมหน้ากันในวิวาทาธิกรณ์และในอนุวาทาธิกรณ์ เป็นต้น (ปุคคลสัมมุขตา)
  11. เสขบุคคล : บุคคลที่ยังต้องศึกษาอยู่ ดู เสขะ
  12. อภัพบุคคล : บุคคลผู้ไม่สมควร, มีความหมายตามข้อความแวดล้อม เช่น คนที่ไม่อาจบรรลุโลกุตตรธรรมได้ คนที่ขาดคุณสมบัติ ไม่อาจให้อุปสมบทได้ เป็นต้น
  13. อเสขบุคคล : บุคคลผู้ไม่ต้องศึกษา ดู อเสขะ
  14. ทกฺขิเณยยบุคคล : ผู้ควรแก่ทักขิณา, พระสงฆ์เป็นผู้ควรได้ของทำบุญ คือไทยธรรม มีอาหาร ผ้านุ่งห่ม เป็นต้น ที่มีผู้บริจาค (ข้อ ๗ ในสังฆคุณ ๙)
  15. ครุธรรม : ธรรมอันหนัก, หลักความประพฤติสำหรับนางภิกษุณีจะพึงถือเป็นเรื่องสำคัญอันต้องปฏิบัติด้วยความเคารพไม่ละเมิดตลอดชีวิต มี ๘ ประการ คือ ๑.ภิกษุณีแม้บวชร้อยพรรษาแล้ว ก็ต้องกราบไหว้ภิกษุแม้บวชวันเดียว ๒.ภิกษุณีจะอยู่ในวัดที่ไม่มีภิกษุไม่ได้ ๓.ภิกษุณีต้องไปถามวันอุโบสถและเข้าไปฟังโอวาทจากภิกษุทุกกึ่งเดือน ๔.ภิกษุณีอยู่จำพรรษาแล้วต้องปวารณาในสงฆ์ ๒ ฝ่ายโดยสถานทั้ง ๓ คือ โดยได้เห็น โดยได้ยิน โดยรังเกียจ (รังเกียจหมายถึง ระแวงสงสัยหรือประพฤติกรรมอะไรที่น่าเคลือบแคลง) ๕.ภิกษุณีต้องอาบัติหนัก ต้องประพฤติมานัตในสงฆ์ ๒ ฝ่าย (คือ ทั้งภิกษุสงฆ์และภิกษุณีสงฆ์) ๑๕ วัน ๖.ภิกษุณีต้องแสวงหาอุปสัมปทาในสงฆ์ ๒ ฝ่าย เพื่อนางสิกขมานา ๗.ภิกษุณีไม่พึงด่าไม่พึงบริภาษภิกษุไม่ว่าจะโดยปริยายใดๆ ๘.ไม่ให้ภิกษุณีว่ากล่าวภิกษุแต่ภิกษุว่ากล่าวภิกษุณีได้
  16. ติณวัตถารกวินัย : ระเบียบดังกลบไว้ด้วยหญ้า ได้แก่กิริยาที่ให้ประนีประนอมกันทั้ง ๒ ฝ่าย ไม่ต้องชำระสะสางหาความเดิม เป็นวิธีระงับอาปัตตาธิกรณ์ ที่ใช้ในเมื่อจะระงับลหุกาบัติที่เกี่ยวกับภิกษุจำนวนมาก ต่างก็ประพฤติไม่สมควรและซัดทอดกันเป็นเรื่องนุงนังซับซ้อน ชวนให้ทะเลาะวิวาท กล่าวซัดลำเลิกกันไปไม่มีที่สุด จะระงับวิธีอื่นก็จะเป็นเรื่องลุกลามไป เพราะถ้าจะสืบสวนสอบสวนปรับให้กันและกันแสดงอาบัติ ก็มีแต่จะทำให้อธิกรณ์รุนแรงยิ่งขึ้น จึงระงับเสียด้วยติณวัตถารกวิธี คือแบบกลบไว้ด้วยหญ้า ตัดตอนยกเลิกเสีย ไม่สะสางความหลังกันอีก
  17. โรหิณี : 1.เจ้าหญิงองค์หนึ่งแห่งศากยวงศ์เป็นพระธิดาของพระเจ้าอมิโตทนะ ซึ่งเป็นพระเจ้าอาของพระพุทธเจ้า เป็นกนิษฐภคินี คือน้องสาวของพระอนุรุทธ ได้บรรลุธรรมเป็นพระโสดาบัน 2.ชื่อแม่น้ำที่เป็นเส้นแบ่งเขตแดน ระหว่างแคว้นศากยะกับแคว้นโกลิยะ การแย่งกันใช้น้ำในการเกษตรเคยเป็นมูลเหตุให้เกิดกรณีพิพาทระหว่างแคว้นทั้ง ๒ จนจวนเจียนจะเกิดสงคราม ระหว่างพระญาติ ๒ ฝ่าย พระพุทธเจ้าเสด็จมาระงับศึก จึงสงบลงได้ สันนิษฐานกันว่า เป็นเหตุการณ์ในพรรษาที่ ๕ (บางท่านว่า ๑๔ หรือ ๑๕) แห่งการบำเพ็ญพุทธกิจ และเป็นที่มาของพระพุทธรูปปางห้ามญาติ; ปัจจุบันเรียก Rowai หรือ Rohwaini
  18. อัตถะ : ประโยชน์, ผลที่มุ่งหมาย มี ๓ คือ ๑) ทิฏฐธัมมิกัตถะ ประโยชน์ปัจจุบัน, ประโยชน์ในภพนี้ ๒) สัมปรายิกัตถะ ประโยชน์เบื้องหน้า, ประโยชน์ในภพหน้า ๓) ปรมัตถะ ประโยชน์อย่างยิ่ง, ประโยชน์สูงสุดคือ พระนิพพาน; อัตถะ ๓ อีกหมวดหนึ่ง คือ ๑) อัตตัตถะ ประโยชน์ตน ๒) ปรัตถะ ประโยชน์ผู้อื่น ๓) อุภยัตถะ ประโยชน์ทั้ง ๒ ฝ่าย
  19. อานนท์ : พระมหาสาวกองค์หนึ่ง เป็นเจ้าชายในศากยวงศ์ เป็นโอรสของพระเจ้าสุกโกทนะ ซึ่งเป็นพระเจ้าอาของเจ้าชายสิทธิตถะ ท่านออกบวชในพระพุทธศาสนาพร้อมกับอนุรุทธะและอุบาลีเป็นต้น และได้รับเลือกเป็นพระอุปัฏฐากประจำพระองค์ของพระพุทธเจ้า ได้รับยกย่องเป็นเอตทัคคะหลายด้านคือ เป็นพหูสูต เป็นผู้มีสติ มีคติ มีธิติ และเป็นอุปัฏฐาก ท่านบรรลุพระอรหัตหลังจากพระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว ๓ เดือน เป็นกำลังสำคัญในคราวทำปฐมสังคายนา คือ เป็นผู้วิสัชนาพระสูตรและพระอภิธรรม ท่านดำรงชีวิตสืบมาจนอายุได้ ๑๒๐ ปี จึงปรินิพพานในอากาศ เหนือแม่น้ำโรหิณี ซึ่งเป็นเส้นกั้นแดนระหว่างแคว้นของพระญาติ ๒ ฝ่าย คือ ศากยะและโกลิยะ
  20. อุภโตสุชาต : เกิดมีแล้วทั้ง ๒ ฝ่าย คือ ทั้งฝ่ายมารดาทั้งฝ่ายบิดา หมายความว่า มีสกุลสูง เป็นเชื้อสายวรรณะนั้นต่อเนื่องกันมาโดยตลอด ทั้งฝ่ายบิดาและฝ่ายมารดา, เป็นคุณสมบัติที่พวกพราหมณ์และกษัตริย์บางวงศ์ถือเป็นสำคัญมาก
  21. การก : ผู้กระทำกรรมได้ตามพระวินัย มี ๓ คือ สงฆ์ คณะ และ บุคคล เช่น ในการทำอุโบสถ ภิกษุตั้งแต่ ๔ รูปขึ้นไปเรียก สงฆ์ สวดปาฏิโมกข์ได้ ภิกษุ ๒ หรือ ๓ รูป เรียก คณะ ให้บอกความบริสุทธิ์ได้ ภิกษุรูปเดียวเรียกว่า บุคคล ให้อธิษฐาน
  22. เจดีย์ : ที่เคารพนับถือ บุคคล สถานที่ หรือวัตถุที่ควรเคารพบูชา, เจดีย์เกี่ยวกับพระพุทธเจ้ามี ๔ อย่างคือ ๑.ธาตุเจดีย์ บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ๒.บริโภคเจดีย์ คือสิ่งหรือสถานที่ที่พระพุทธเจ้าเคยทรงใช้สอย ๓.ธรรมเจดีย์ บรรลุพระธรรม คือ พุทธพจน์ ๔.อุทเทสิกเจดีย์ คือพระพุทธรูป; ในทางศิลปกรรมไทยหมายถึงสิ่งที่เคารพนับถือเช่นพระธาตุและอัฐิบรรพบุรุษ เป็นต้น
  23. ทิฏฐิวิสุทธิ : ความหมดจดแห่งความเห็น คือ เกิดความรู้ความเข้าใจ มองเห็นนามรูปตามสภาวะที่เป็นจริง คลายความหลงผิดว่าเป็นสัตว์ บุคคล ตัวตน ลงได้ (ข้อ ๓ ในวิสุทธิ ๗)
  24. บัว ๔ เหล่า : ดู บุคคลจำพวก
  25. ปทปรมะ : “ผู้มีบท (คือถ้อยคำ) เป็นอย่างยิ่ง”, บุคคลผู้ด้อยปัญญาเล่าเรียนได้อย่างมากที่สุดก็เพียงถ้อยคำ หรือข้อความ ไม่อาจเข้าใจความหมาย ไม่อาจเข้าใจธรรม ดู บุคคล
  26. ปรมัตถสัจจะ : จริงโดยปรมัตถ์ คือ ความจริงโดยความหมายสูงสุด เช่น รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ตรงข้ามกับสมมติสัจจะ จริงโดยสมมติ เช่น สัตว์ บุคคล ฉัน เธอ ม้า รถ นาย ก.นาย ข.เป็นต้น
  27. สหชาต : “ผู้เกิดร่วมด้วย” หมายถึง บุคคล (ตลอดจนสัตว์และสิ่งของ) ที่เกิดร่วมวันเดือนปีเดียวกัน อย่างเพลา หมายถึง ผู้เกิดร่วมปีกัน; ตำนานกล่าวว่า เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะประสูตินั้น มีสหชาต ๗ คือ พระมารดาของเจ้าชายราหุล (เจ้าหญิงยโสธราหรือพิมพา) พระอานนท์ นายฉันนะ อำมาตย์กาฬุทายี ม้ากัณฐกะ ต้นมหาโพธิ์ และขุมทรัพย์ทั้ง ๔ (นิธิกุมภี)
  28. สหชาติ : ผู้เกิดร่วมด้วย หมายถึง บุคคล (ตลอดจนสัตว์และสิ่งของ) ที่เกิดร่วมวันเดือนปีเดียวกัน อย่างเพลา หมายถึง ผู้เกิดร่วมปีกัน; ตำนานกล่าวว่า เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะประสูตินั้น มีสหชาต ๗ คือ พระมารดาของเจ้าชายราหุล (เจ้าหญิงยโสธราหรือพิมพา) พระอานนท์ นายฉันนะ อำมาตย์กาฬุทายี ม้ากัณฐกะ ต้นมหาโพธิ์ และขุมทรัพย์ทั้ง ๔ (นิธิกุมภี)
  29. สัปปายะ : สิ่ง สถาน หรือบุคคล ซึ่งเป็นที่สบาย เหมาะกัน เกื้อกูล หรือเอื้ออำนวยโดยเฉพาะที่ช่วยเกื้อกูลแก่การบำเพ็ญและประคับประคองรักษาสมาธิ ท่านแสดงไว้ ๗ อย่าง คือ อาวาส (ที่อยู่) โคจร (ที่บิณฑบาตหรือแหล่งอาหาร) ภัสสะ (เรื่องพูดคุยที่เสริมการปฏิบัติ) บุคคล (ผู้ที่เกี่ยวข้องด้วยแล้วช่วยให้จิตผ่องใสสงบมั่นคง) โภชนะ (อาหาร) อุตุ (สภาพแวดล้อมและอุณหภูมิ) อิริยาบถ; ทั้ง ๗ นี้ที่เหมาะกันเป็นสัปปายะ ที่ไม่สบายเป็นอสัปปายะ
  30. อนัตตลักษณะ : ลักษณะที่เป็นอนัตตา, ลักษณะที่ให้เห็นว่าเป็นของมิใช่ตัวตน ได้แก่ ๑) เป็นของสูญ คือ เป็นเพียงการประชุมเข้าขององค์ประกอบที่เป็นส่วนย่อยๆ ทั้งหลาย ว่างเปล่าจากความเป็นสัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา หรือการสมมติเป็นต่างๆ ๒) เป็นสภาพหาเจ้าของมิได้ ไม่เป็นของใครจริง ๓) ไม่อยู่ในอำนาจ ไม่เป็นไปตามความปรารถนา ไม่ขึ้นต่อการบังคับบัญชาของใครๆ ๔) เป็นสภาวธรรมอันเป็นไปตามเหตุปัจจัย ขึ้นต่อเหตุปัจจัย ไม่มีอยู่โดยลำพังตัว แต่เป็นไปโดยสัมพันธ์ อิงอาศัยกันอยู่กับสิ่งอื่นๆ ๕) โดยสภาวะของมันเอง ก็แย้งหรือค้านต่อความเป็นอัตตา มีแต่ภาวะที่ตรงข้ามกับความเป็นอัตตา
  31. เอกเสสนัย : อาการกำหนดด้วยเหลือศัพท์เดียว, เป็นวิธีการอย่างหนึ่งในไวยากรณ์บาลี กล่าวคือ บุคคล วัตถุ หรือภาวะบางอย่าง เป็นของควบคู่กันมาด้วยกันเสมอ เมื่อเห็นอย่างหนึ่งก็เป็นอันรู้ถึงอีกอย่างหนึ่งด้วย หรือเป็นของชุดเดียวกัน จำพวกเดียวกัน เมื่อเรียกอย่างหนึ่ง จะหมายถึงอย่างหนึ่งอย่างใดในชุดหรือในจำพวกนั้นก็ได้ ในกรณีเช่นนี้ บางทีท่านกล่าวถึงหรือออกชื่อไว้อย่างใดอย่างหนึ่ง แต่เพียงอันเดียวให้ผู้อ่านหรือผู้ฟังหมายรู้อีกอย่างหนึ่งด้วย หรือให้เข้าใจเอาเอง จากข้อความแวดล้อมว่า ในที่นั้น หมายถึงอย่างไหนข้อใดในชุดหรือในจำพวกนั้น จึงเรียกว่า เหลือไว้อย่างเดียว หรือเหลือไว้ศัพท์เดียว เช่น พูดอย่างคำบาลีว่า พระสารีบุตรทั้งหลาย ก็หมายถึง พระสารีบุตรและพระมหาโมคคัลลานะ หรือในหลักปฏิจจสมุปบาท คำว่า นามรูป เป็นเอกเสสหมายถึง นามหรือรูป หรือทั้งนามและรูป คำว่า สฬายตนะ ก็เป็นเอกเสส หมายถึง อายตนะที่ ๖ ก็ได้ อายตนะทั้ง ๖ ก็ได้ ดังนั้น เมื่อพูดว่านามรูปเป็นปัจจัยให้เกิดสฬายตนะ ถ้าหมายถึงอรูปภพก็ต้องแปลความว่า นามเป็นปัจจัยให้เกิดอายตนะที่ ๖ (คือมโน) อนึ่ง เมื่อสิ่งอื่นในชุดเดียวกัน มีคำเฉพาะระบุชัดอยู่แล้ว คำที่เป็นชื่อรวมๆ ของชุด ก็ย่อมหมายถึงสิ่งที่ยังไม่ถูกระบุด้วยคำอื่น เช่น ในคำว่า สุคติ (และ) โลกสวรรค์ สวรรค์เป็นสุคติ แต่มีคำเฉพาะระบุไว้แล้ว ดังนั้น คำว่าสุคติในกรณีนี้จึงหมายถึง โลกมนุษย์ ซึ่งเป็นสุคติอย่างเดียวที่เหลือนอกจากสวรรค์
  32. กรรมการ : บุคคลในคณะซึ่งร่วมกันทำงานบางอย่างที่ได้รับมอบหมาย
  33. ชุณหปักษ์ : ฝ่ายขาว, ฝ่ายสว่าง, ข้างขึ้น
  34. ทักขิไณยบุคคล : บุคคลผู้ควรรับทักษิณา ดู ทักขิไณย
  35. ทิศ ๖ : บุคคลประเภทต่างๆ ที่เราต้องเกี่ยวข้องสัมพันธ์ ดุจทิศที่อยู่รอบตัว จัดเป็น ๖ ทิศ ดังนี้ ๑.ปุรัตถิมทิส ทิศเบื้องหน้า ๒.ทักขิณาทิส ทิศเบื้องขวา ๓.ปัจฉิมทิส ทิศเบื้องหลัง ๔.อุตตรทิส ทิศเบื้องซ้าย ๕.เหฏฐิมทิส ทิศเบื้องล่าง ๖.อุปริมทิศ ทิศเบื้องบน
  36. บุพการี : บุคคลผูทำอุปการะก่อน คือ ผู้มีพระคุณ ได้แก่ มารดาบิดา ครูอาจารย์ เป็นต้น (ข้อ ๑ ในบุคคลหาได้ยาก ๒)
  37. ปฏิปักข์ : ฝ่ายตรงกันข้าม, คู่ปรับ, ข้าศึก, ศัตรู
  38. ปฏิปักษ์ : ฝ่ายตรงกันข้าม, คู่ปรับ, ข้าศึก, ศัตรู
  39. ปูชนียบุคคล : บุคคลที่ควรบูชา
  40. สมสีสี : บุคคลผู้สิ้นอาสวะพร้อมกับสิ้นชีวิต คือ บรรลุอรหัตตผล ในขณะเดียวกับที่สิ้นชีวิต; นี้เป็นความหมายหลักตามพระบาลี แต่ในมโนรถปูรณี อรรถกถาแห่งอังคุตตรนิกาย ให้ความหมายสมสีสี ว่าเป็นการสิ้นอาสวะพร้อมกับสิ้นอย่างอื่นอันใดอันหนึ่งใน ๔ อย่าง และแสดงสมสีสีไว้ ๔ ประเภท คือ ผู้สิ้นอาสวะพร้อมกับหายโรค เรียกว่า โรคสมสีสี ผู้สิ้นอาสวะพร้อมกับที่เวทนา ซึ่งกำลังเสวยอยู่สงบระงับไปเรียกว่า เวทนาสมสีสี ผู้สิ้นอาสวะพร้อมกับการสิ้นสุดของอิริยาบถอันใดอันหนึ่ง เรียกว่า อิริยาบถสมสีสี ผู้สิ้นอาสวะพร้อมกับสิ้นชีวิต เรียกว่า ชีวิตสมสีสี สมสีสีในความหมายหลักข้างต้น ก็คือ ชีวิตสมสีสี; อย่างไรก็ดีในอรรถกถาแห่งปุคคลปัญญัติ เป็นต้น แสดงสมสีสีไว้ ๓ ประเภท และอธิบายต่างออกไปบ้าง ไม่ขอนำมาแสดงในที่นี้ เพราะจะทำให้ฟั่นเฝือ
  41. สอุปาทิเสสบุคคล : บุคคลผู้ยังมีเชื้อกิเลสเหลืออยู่, ผู้ยังไม่สิ้นอุปาทาน ได้แก่ พระเสขะ คือ พระอริยบุคคลทั้งหมด ยกเว้นพระอรหันต์; เทียบ อนุปาทิเสสบุคคล
  42. อโคจร : บุคคลและสถานที่อันภิกษุไม่ควรไปมาหาสู่ มี ๖ คือ หญิงแพศยา หญิงหม้าย สาวเทื้อ ภิกษุณี บัณเฑาะก์ (กะเทย) และร้านสุรา
  43. อนุปาทิเสสบุคคล : บุคคลผู้ไม่มีเชื้อกิเลสเหลือ, ผู้หมดอุปาทานสิ้นเชิง ได้แก่ พระอเสขะ คือ พระอรหันต์; เทียบ สอุปาทิเสสบุคคล
  44. อริยบุคคล : บุคคลผู้เป็นอริยะ, ท่านผู้บรรลุธรรมวิเศษมีโสดาปัตติมรรค เป็นต้น มี ๔ คือ ๑) พระโสดาบัน ๒) พระสกทาคามี (หรือสกิทาคามี) ๓) พระอนาคามี ๔) พระอรหันต์; แบ่งพิสดารเป็น ๘ คือ พระผู้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติมรรค และพระผู้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผลคู่ ๑, พระผู้ตั้งอยู่ในสกทาคามมิมรรค และพระผู้ตั้งอยู่ในสกทาคามิผล คู่ ๑, พระผู้ตั้งอยู่ในอนาคามิมรรค และพระผู้ตั้งอยู่ในอนาคามิผล คู่๑, พระผู้ตั้งอยู่ในอรหัตตมรรค และพระผู้ตั้งอยู่ในอรหัตตผล คู่ ๑
  45. อริยบุคคล : บุคคลผู้เป็นอริยะ, บุคคลผู้ประเสริฐ, ท่านผู้บรรลุธรรมวิเศษ มีโสดาปัตติมรรค เป็นต้น นัยหนึ่ง จำแนกเป็น ๗ คือ สัทธานุสารี ธัมมานุสารี สัทธาวิมุติ ทิฏฐิปปัตตะ กายสักขี ปัญญาวิมุต และ อุภโตภาควิมุต (ดูคำนั้นๆ)
  46. อุปสัมปทาเปกขะ : บุคคลผู้เพ่งอุปสมบท คือผู้มุ่งจะบวชเป็นภิกษุ, ผู้ขอบวช, นาค
  47. อุภยัตถะ : ประโยชน์ทั้ง ๒ ฝ่าย, ประโยชน์ร่วมกน, สิ่งที่เกื้อกูลแก่ส่วนรวมเป็นคุณแก่ชีวิตทั้งของตนเองและของผู้อื่นช่วยให้เป็นอยู่กันด้วยดีพากันประสบทิฏฐธัมมิกัตถะ สัมปรายิกัตถะ และปรมัตถะ ยิ่งขึ้นไป; ดู อัตถะ
  48. กตัญญูกตเวที : ผู้รู้อุปการะที่ท่านทำแล้วและตอบแทน แยกออกเป็น ๒ คือ กตัญญู รู้คุณท่าน กตเวที ตอบแทนหรือสนองคุณท่าน; ความกตัญญูกตเวทีว่าโดยขอบเขต แยกได้เป็น ๒ ระดับ คือ กตัญญูกตเวทีต่อบุคคลผู้มีคุณความดีหรืออุปการะต่อตนเป็นส่วนตัว อย่างหนึ่ง กตัญญูกตเวทีต่อบุคคลผู้ได้บำเพ็ญคุณประโยชน์หรือมีคุณความดีเกื้อกูลแก่ส่วนรวม เช่นที่พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงแสดงความกตัญญูกตเวทีต่อพระพุทธเจ้าโดยฐานที่ได้ทรงประกาศธรรมยังหมู่ชนให้ตั้งอยู่ในกุศลกัลยาณธรรม เป็นต้น อย่างหนึ่ง (ข้อ ๒ ในบุคคลหาได้ยาก ๒) - one who is thankful for benefits received and reciprocates them.
  49. กรรม ๑๒ : กรรมจำแนกตามหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการให้ผล พระอรรถกถาจารย์รวบรวมแสดงไว้ ๑๒ อย่างคือ หมวดที่ ๑ ว่าด้วยปากกาล คือ จำแนกตามเวลาที่ให้ผล ได้แก่ ๑.ทิฏฐธรรมเวทนียกรรม กรรมให้ผลในปัจจุบัน คือในภพนี้ ๒.อุปปัชชเวทนียกรรม กรรมให้ผลในภพที่จะไปเกิด คือในภพหน้า ๓.อปราปริยเวทนียกรรม กรรมให้ผลในภพต่อๆไป ๔.อโหสิกรรม กรรมเลิกให้ผล หมวดที่ ๒ ว่าโดยกิจ คือจำแนกการให้ผลตามหน้าที่ ได้แก่ ๕.ชนกกรรม กรรมแต่งให้เกิด หรือกรรมที่เป็นตัวนำไปเกิด ๖.อุปัตถัมภกกรรม กรรมสนับสนุน คือเข้าสนับสนุนหรือซ้ำเติมต่อจากชนกกรรม ๗.อุปปีฬกกรรม กรรมบีบคั้น คือเข้ามาบีบคั้นผลแห่งชนกกรรมและอุปัตถัมภกกรรมนั้นให้แปรเปลี่ยนทุเลาเบาบางหรือสั้นเข้า ๘.อุปฆาตกกรรม กรรมตัดรอน คือกรรมแรงฝ่ายตรงข้ามที่เข้าตัดรอนการให้ผลของกรรม ๒ อย่างนั้นให้ขาดหรือหยุดไปทีเดียว หมวดที่ ๓ ว่าโดยปากทานปริยาย คือจำแนกตามลำดับความแรงในการให้ผล ได้แก่ ๙.ครุกกรรม กรรมหนัก ให้ผลก่อน ๑๐.พหุลกรรม หรือ อาจิณณกรรม กรรมทำมากหรือกรรมชิน ให้ผลรองลงมา ๑๑.อาสันนกรรม กรรมจวนเจียน หรือกรรมใกล้ตาย ถ้าไม่มี ๒ ข้อก่อนก็จะให้ผลก่อนอื่น ๑๒.กตัตตากรรม หรือ กตัตตาวาปนกรรม กรรมสักว่าทำ คือเจตนาอ่อน หรือมิใช่เจตนาอย่างนั้น ให้ผลต่อเมื่อไม่มีกรรมอื่นให้ผล
  50. กัณหปักข์ : 1.ข้างแรม 2.ฝ่ายดำ คือฝ่ายตรงกันข้ามกับอีกฝ่ายหนึ่ง เขียน กัณหปักษ์ ก็มี
  51. [1-50] | 51-100 | 101-150 | 151-180

(0.0340 sec)