Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ยอด .

Budhism Thai-Thai Dict : ยอด, 23 found, display 1-23
  1. เมาลี : จอม, ยอด, ผมที่มุ่นเป็นจอม
  2. โมลี : จอม, ยอด, ผมที่มุ่นเป็นจอม
  3. อัคร : เลิศ, ยอด, ล้ำเลิศ, ประเสริฐ, สุงสุด
  4. ทัสสนานุตตริยะ : การเห็นที่ยอดเยี่ยม (ข้อ ๑ ในอนุตตริยะ ๓ หมายถึงปัญญาอันเห็นธรรม ตลอดถึงเห็นนิพพาน; ข้อ ๑ ในอนุตตริยะ ๖ หมายถึง เห็นพระตถาคต ตถาคตสาวก และสิ่งอันบำรุงจิตใจให้เจริญ)
  5. ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร : “พระสูตรว่าด้วยการยังธรรมจักรให้เป็นไป”, พระสูตรว่าด้วยการหมุนวงล้อธรรมเป็นชื่อของ ปฐมเทศนา คือพระธรรมเทศนาครั้งแรก ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่พระปัญจวัคคีย์ ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี ในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ หลังจากนั้น ตรัสรู้ ๒ เดือน ว่าด้วยมัชฌิมาปฏิปทา คือทางสายกลาง ซึ่งเว้นที่สุด ๒ อย่าง และว่าด้วยอริยสัจ ๔ ซึ่งพระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้ อันทำให้พระองค์สามารถปฏิภาณว่าได้ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ (ญาณคือความตรัสรู้เองโดยชอบอันยอดเยี่ยม) ท่านโกณฑัญญะหัวหน้าคณะปัญจวัคคีย์ ฟังพระธรรมเทศนานี้แล้ว ได้ดวงตาเห็นธรรม (ธรรมจักษุ) และขอบวชเป็นพระภิกษุรูปแรก เรียกว่า เป็นปฐมสาวก
  6. บรมพุทโธบาย : อุบาย คือ วิธีของพระพุทธเจ้าผู้ยอดเยี่ยม จากศัพท์ว่าบรม (ปรม) + พุทธ (พุทฺธ) + อุบาย (อุปาย)
  7. บรมศาสดา : ศาสดาที่ยอดเยี่ยม, พระผู้เป็นครูที่สูงสุด, พระบรมครู หมายถึง พระพุทธเจ้า
  8. ปฏิปทานุตตริยะ : การปฏิบัติอันยอดเยี่ยม ได้แก่ การปฏิบัติธรรมที่ได้เห็นแล้วในข้อทัสสนานุตตริยะ ทั้งส่วนที่จะพึงละและพึงบำเพ็ญ ดู อนุตตริยะ
  9. ปรมัตถบารมี : บารมียอดเยี่ยม, บารมีระดับสูงสุด สูงกว่าอุปบารมี เช่นการสละชีวิต เป็นทานปรมัตถบารมี เป็นต้น
  10. ภูตคาม : ของเขียวหรือพืชพรรณอันเป็นอยู่กับที่ มี ๕ ชนิด ๑. พืชเกิดจากเหง้า คือ ใช้เหง้าเพาะ เช่น ขมิ้น ๒. พืชเกิดจากต้น คือตอนออกได้จากไม้ต้นทั้งหลาย เช่น ต้นโพธิ์ ๓. พืชเกิดจากข้อ คือใช้ข้อปลูก ได้แก่ไม้ลำ เช่น อ้อย ไม้ไผ่ ๔. พืชเกิดจากยอด คือ ใช้ยอดปักก็เป็น ได้แก่ ผักต่างๆ มีผักชีล้อม ผักบุ้ง เป็นต้น ๕. พืชเกิดจากเมล็ด คือใช้เมล็ดเพาะ ได้แก่ ถั่ว งา ข้าว, แปลตามรูปศัพท์ว่า บ้านของภูต, คู่กับ พีชคาม ภูตคามวรรค หมวดที่ว่าด้วยภูตคาม เป็นวรรคที่ ๒ แห่งปาจิตติยกัณฑ์ในมหาวิภังค์แห่งพระวินัยปิฎก
  11. มณฑป : เรือนยอดที่มีรูป ๔ เหลี่ยม
  12. เมรุ : 1.ชื่อภูเขาที่เป็นศูนย์กลางของจักรวาล บางทีเรียกพระสุเมรุ ตามคติของศาสนาฮินดู ถือว่าเป็นบริเวณที่มีสวรรค์อยู่โดยรอบ เช่น สวรรค์ของพระอินทร์อยู่ทางทิศเหนือ ไวกูณฐ์แดนสถิตของพระวิษณุหรือพระนารายณ์อยู่ทางทิศใต้ ไกลาสที่สถิตของพระศิวะหรืออิศวรก็อยู่ทางทิศใต้เหนือยอดเขาพระสุเมรุนั้น คือ พรหมโลก เป็นที่สถิตของพระพรหม, ภูเขานี้เรียกชื่อเป็นภาษาบาลีว่า สิเนรุ และตามคติฝ่ายพระพุทธศาสนา ในชั้นอรรถกถา ยอดเขาสิเนรุเป็นที่ตั้งของสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ซึ่งเป็นที่สถิตของพระอินทร์ เชิงเขาสิเนรุ ซึ่งหยั่งลึกลงไปในมหาสมุทรเป็นอสูรพิภพ สูงขึ้นไปกึ่งทางระหว่างแดนทั้ง๒นั้น เป็นสวรรค์ของท้าวจาตุมหาราช สวรรค์ชั้นอื่นๆ และโลกมนุษย์ เป็นต้น ก็เรียงรายกันอยู่สูงบ้างต่ำบ้าง รอบเขาสิเนรุนี้ (ในวรรณคดีบาลียุดหลัง เช่น จูฬวงส์ พงศาวดารลังกา เรียก เมรุ และสุเมรุ อย่างสันสกฤตก็มี) 2.ที่เผาศพ หลังคาเป็นยอด มีรั้วล้อมรอบ ซึ่งคงได้คติจากภูเขาเมรุนั้น
  13. โลกุตตมาจารย์ : อาจารย์ผู้สูงสุดของโลก, อาจารย์ยอดเยี่ยมของโลก หมายถึงพระพุทธเจ้า
  14. วุฏฐานคามินี : 1.วิปัสสนาที่ให้ถึงมรรค, วิปัสสนาที่เจริญแก่กล้าถึงจุดสุดยอด ทำให้เข้าถึงมรรค (มรรคชื่อว่าวุฏฐานะ โดยความหมายว่าเป็นที่ออกไปได้จากสิ่งที่ยึดติดถือมน หรืออกไปพ้นจากสังขาร), วิปัสสนาที่เชื่อมต่อให้ถึงมรรค 2.“อาบัติที่ให้ถึงวุฏฐานวิธี” คือ อาบัติที่จะพ้นได้ด้วยอยู่กรรม หมายถึงอาบัติสังฆาทิเสส, คู่กับเทสนาคามินี คืออาบัติที่พ้นได้ด้วยการแสดง (ตั้งแต่ถุลลัจจัยลงมา)
  15. สวนานุตตริยะ : การสดับที่ยอดเยี่ยม เช่น ได้สดับธรรมของพระพุทธเจ้า (ข้อ ๒ ในอนุตตริยะ ๖)
  16. สังฆคุณ : คุณของพระสงฆ์ (หมายถึงสาวกสงฆ์ หรือ อริยสงฆ์) มี ๙ คือ ๑.สุปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นผู้ปฏิบัติดี ๒.อุชุปฏิปนฺโน เป็นผู้ปฏิบัติตรง ๓.ายปฏิปนฺโน เป็นผู้ปฏิบัติถูกทาง ๔.สามีจิปฏิปนฺโน เป็นผู้ปฏิบัติสมควร (ยทิทํ จตฺตาริ ปุริสยุคานิ อฏฺ ปุริสปุคฺคลา ได้แก่ คู่บุรุษ ๔ ตัวบุคคล ๘ เอส ภควโต สาวกสงฺโฆ พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคนี้) ๕.อาหุเนยฺโย เป็นผู้ควรแก่ของคำนับ คือควรรับของที่เขานำมาถวาย ๖.ปาหุเนยฺโย เป็นผู้ควรแก่ทักษิณา คือควรแก่ของทำบุญ ๘.อญฺชลีกรณีโย เป็นผู้ควรแก่การทำอัญชลี คือควรแก่การกราบไหว้ ๙.อนุตฺตรํ ปุญฺกฺเขตฺตํ โลกสฺส เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก คือเป็นแหล่งเพาะปลูกและเผยแพร่ความดีที่ยอดเยี่ยมของโลก
  17. สารีบุตร : พระอัครสาวกเบื้องขวาของพระพุทธเจ้า เกิดที่หมู่บ้านนาลกะ (บางแห่งเรียกนาลันทะ) ไม่ไกลจากเมืองราชคฤห์ เป็นบุตรแห่งตระกูลหัวหน้าหมู่บ้านนั้น บิดาชื่อวังคันตพราหมณ์ มารดาชื่อ สารี จึงได้นามว่าสารีบุตร แต่เมื่อยังเยาว์เรียกว่า อุปติสสะ มีเพื่อนสนิทชื่อ โกลิตะ ซึ่งต่อมาคือ พระมหาโมคคัลลานะ มีน้องชาย ๓ คนชื่อ จุนทะ อุปเสนะ และเรวตะ น้องหญิง ๓ คน ชื่อจาลา อุปจาลา และสีสุปจาลา ซึ่งต่อมาได้บวชในพระธรรมวินัยทั้งหมด เมื่ออุปติสสะและโกลิตะจะบวชนั้น ทั้ง ๒ คนไปเที่ยวดูมหรสพที่ยอดเขาด้วยกัน คราวหนึ่งไปดูแล้วเกิดความสลดใจ คิดออกแสวงหาโมกขธรรม และต่อมาได้บวชอยู่ในสำนักของสัญชัยปริพาชกแต่ก็ไม่บรรลุจุดมุ่งหมาย จนวันหนึ่งอุปติสสปริพาชก พบพระอัสสชิเถระขณะท่านบิณฑบาต เกิดความเลื่อมใสติดตามไปสนทนาขอถามหลักคำสอนได้ฟังความย่อเพียงคาถาเดียวก็ได้ดวงตาเห็นธรรม กลับไปบอกข่าวแก่โกลิตะแล้วพากันไปเฝ้าพระพุทธเจ้า มีปริพาชกที่เป็นศิษย์ตามไปด้วยถึง ๒๕๐ คน ได้รับเอหิภิกขุอุปสมบททั้งหมดที่เวฬุวัน เมื่อบวชแล้วได้ ๑๕ วัน พระสารีบุตรได้ฟังพระธรรมเทศนาเวทนาปริคคหสูตรที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่ทีฆนขปริพาชก ณ ถ้ำสุกรขาตา เขาคิชฌกูฏ ก็ได้บรรลุพระอรหัต ได้รับยกย่องเป็น เอตทัคคะ ในทางมีปัญญามาก และเป็น พระอัครสาวกฝ่ายขวา ท่านได้เป็นกำลังสำคัญของพระพุทธเจ้าในการประกาศพระศาสนา และได้รับยกย่องเป็น พระธรรมเสนาบดี คำสอนของท่านปรากฏอยู่ในพระไตรปิฏกเป็นอันมาก เช่น สังคีติสูตร และทสุตตรสูตร ที่เป็นแบบอย่างแห่งการสังคายนา เป็นต้น ท่านปรินิพพานก่อนพระพุทธเจ้าไม่กี่เดือนเมื่อจวนจะปรินิพพาน ท่านเดินทางไปโปรดมารดาของท่านซึ่งยังเป็นมิจฉาทิฐิให้มารดาได้เป็นพระโสดาบันแล้ว ปรินิพพานที่บ้านเกิด ด้วยปักขันทิกาพาธ หลังจากปลงศพแล้วพระจุนทะน้องชายของท่านนำอัฐิธาตุไปถวายพระบรมศาสดา พระองค์ตรัสว่าให้ก่อสถูปบรรจุอัฐิธาตุของท่านไว้ ณ พระเชตวัน เมืองสาวัตถี (อรรถกถาว่าท่านปรินิพพานในวันเพ็ญเดือน ๑๒ จึงเท่ากับ ๖ เดือนก่อนพุทธปรินิพพาน)
  18. อนุตตริยะ : ภาวะที่ยอดเยี่ยม, สิ่งที่ยอดเยี่ยม มี ๓ คือ ๑) ทัสสนานุตตริยะ การเห็นอันเยี่ยม คือ เห็นธรรม ๒) ปฏิปทานุตตริยะ การปฏิบัติอันเยี่ยม คือ มรรคมีองค์ ๘ ๓) วิมุตตานุตตริยะ การพ้นอันเยี่ยม คือ พ้นกิเลสและกองทุกข์; อนุตตริยะอีกหมวดหนึ่งมี ๖ คือ ๑) ทัสสนานุตตริยะ การเห็นอันเยี่ยม ๒) สวนานุตตริยะ การฟังอันเยี่ยม ๓) ลาภานุตตริยะ ลาภหรือการได้อันเยี่ยม ๔) สิกขานุตตริยะ การศึกษาอันเยี่ยม ๕) ปาริจริยานุตตริยะ การบำรุงอันเยี่ยม ๖) อนุสสตานุตตริยะ การระลึกอันเยี่ยม ดู คำอธิบายที่คำนั้นๆ
  19. อรรคสาวก : สาวกผู้เลิศ, สาวกผู้ยอดเยี่ยม, ศิษย์ผู้เลิศกว่าศิษย์อื่นของพระพุทธเจ้า หมายถึง พระสารีบุตรและพระมหาโมคคัลลานะ ดู อัครสาวก
  20. อัครพหูสูต : พหูสูตผู้เลิศ, ยอดพหูสูต, ผู้คงแก่เรียนอย่างยอดเยี่ยม หมายถึง พระอานนท์
  21. อัครสาวก : สาวกผู้เลิศ, สาวกผู้ยอดเยี่ยม หมายถึงพระสารีบุตร (เป็นอัครสาวกเบื้องขวา) และพระมหาโมคคัลลานะ (เป็นอัครสาวกเบื้องซ้าย)
  22. อุตตริมนุสสธรรม : ธรรมยวดยิ่งของมนุษย์, ธรรมของมนุษย์ผู้ยอดยิ่ง, ธรรมล้ำมนุษย์ ได้แก่ ฌาน วิโมกข์ สมาธิ สมาบัติ มรรคผล, บางทีเรียกให้ง่ายว่า ธรรมวิเศษ บ้าง คุณวิเศษ หรือ คุณพิเศษ บ้าง (พจนานุกรมเขียน อุตริมนุสธรรม)
  23. เอตทัคคะ : พระสาวกที่ได้รับยกย่องจากพระพุทธเจ้าว่าเป็นผู้ยอดเยี่ยมในทางใดทางหนึ่ง เชน เป็นเอตทัคคะในทางธรรมกถึก หมายความว่าเป็นผู้ยอดเยี่ยมในทางแสดงธรรม เป็นต้น; ดู อสีติมหาสาวก
  24. [1-23]

(0.0137 sec)