Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ละเมิดสัญญา, ละเมิด, สัญญา , then ลมดสญญา, ละเมิด, ละเมิดสัญญา, สญญา, สญฺญา, สัญญ, สัญญา .

Budhism Thai-Thai Dict : ละเมิดสัญญา, 80 found, display 1-50
  1. สัญญา : การกำหนดหมาย, ความจำได้หมายรู้ คือ หมายรู้ไว้ ซึ่ง รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะและอารมณ์ที่เกิดกับใจว่า เขียว ขาว ดำ แดง ดัง เบา เสียงคน เสียงแมว เสียงระฆัง กลิ่น ทุเรียน รสมะปราง เป็นต้น และจำได้ คือ รู้จักอารมณ์นั้นว่าเป็นอย่างนั้น ๆ ในเมื่อไปพบเข้าอีก (ข้อ ๓ ในขันธ์ ๕) มี ๖ อย่าง ตามอารมณ์ที่หมายรู้นั้น เช่น รูปสัญญา หมายรู้รูป สัททสัญญา หมายรู้เสียง เป็นต้น; ความหมายสามัญในภาษาบาลีว่าเครื่องหมาย ที่สังเกตความสำคัญว่าเป็นอย่างนั้น ๆ, ในภาษาไทยมักใช้หมายถึง ข้อตกลง, คำมั่น
  2. สัญญา ๑๐ : ความกำหนดหมาย, สิ่งที่ความกำหนดหมายไว้ในใจ มี ๑๐ อย่าง คือ ๑.อนิจจสัญญา กำหนดหมายความไม่เที่ยงแห่งสังขาร ๒.อนัตตสัญญา กำหนดหมายความเป็นอนัตตาแห่งธรรมทั้งปวง ๓.อสุภสัญญา กำหนดหมายความไม่งามแห่งกาย ๔.อาทีนวสัญญา กำหนดหมายโทษแห่งกาย คือมีอาพาธต่าง ๆ ๕.ปหานสัญญา กำหนดหมายเพื่อละอกุศลวิตกและบาปธรรม ๖.วิราคสัญญา กำหนดหมายวิราคะ คืออริยมรรคว่าเป็นธรรมอันสงบประณีต ๗.นิโรธสัญญา กำหนดหมายนิโรธ คืออริยผล ว่าเป็นธรรมอันสงบประณีต ๘.สัพพโลเก อนภิรตสัญญา กำหนดหมายความไม่น่าเพลิดเพลินในโลกทั้งปวง ๙.สัพพสังขาเรสุ อนิฏฐสัญญา กำหนดหมายความไม่น่าปรารถนาใน สังขารทั้งปวง ๑๐.อานาปานัสสติ สติกำหนดลมหายใจเข้าออก
  3. สัญญาเวทยิตนิโรธ : การดับสัญญาและเวทนา เป็นสมาบัติ เรียกเต็มว่าสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ เรียกสั้น ๆ ว่า นิโรธสมาบัติ (ข้อ ๙ ในอนุปุพพวิหาร ๙) ดู นิโรธสมาบัติ
  4. นิโรธสัญญา : ความสำคัญหมายในนิโรธ คือ กำหนดหมายการดับตัณหาอันเป็นอริยผลว่า เป็นธรรมละเอียด ประณีต ดู สัญญา
  5. เนวสัญญานาสัญญายตนะ : ภาวะที่มีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่เป็นชื่ออรูปฌาน หรืออรูปภพที่ ๔
  6. ปหานสัญญา : กำหนดหมายเพื่อละอกุศลวิตก และบาปธรรมทั้งปวง (ข้อ ๕ ในสัญญา ๑๐)
  7. วิราคสัญญา : กำหนดหมายธรรมเป็นที่สิ้นราคะ หรือภาวะปราศจากราคะ ว่าเป็นธรรมละเอียด (ข้อ ๖ ในสัญญา ๑๐)
  8. สัพพโลเกอนภิรตสัญญา : กำหนดหมายถึงความไม่น่าเพลิดเพลินในโลกทั้งปวง (ข้อ ๘ ในสัญญา ๑๐)
  9. สัพพสังขาเรสุอนิฏฐสัญญา : กำหนดหมายถึงความไม่น่าปรารถนาในสังขารทั้งปวง (ข้อ ๙ ในสัญญา ๑๐)
  10. อนัตตสัญญา : กำหนดหมายถึงความเป็นอนัตตาแห่งธรรมทั้งหลาย (ข้อ ๒ ในสัญญา ๑๐)
  11. อนิจจสัญญา : กำหนดหมายถึงความไม่เที่ยงแห่งสังขาร (ข้อ ๑ ในสัญญา ๑๐)
  12. อสุภสัญญา : กำหนดหมายถึงความไม่งามแห่งร่างกาย (ข้อ ๓ ในสัญญา ๑๐)
  13. อาทีนวสัญญา : การกำหนดหมายโทษแห่งร่างกายซึ่งมีอาพาธคือโรคต่างๆ เป็นอันมาก (ข้อ ๔ ในสัญญา ๑๐)
  14. อุปาทานขันธ์ : ขันธ์อันเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน, ขันธ์ที่ประกอบด้วยอุปาทาน ได้แก่ เบญจขันธ์ คือ รูป, เวทนา, สัญญา, สังขาร, วิญญาณที่ประกอบด้วยอาสวะ
  15. ฆนสัญญา : ความสำคัญว่าเป็นก้อน, ความสำคัญเห็นเป็นชิ้นเป็นอัน ซึ่งบังปัญญาไม่ให้เห็นภาวะที่เป็นอนัตตา
  16. ทุกขสัญญา : ความหมายรู้ว่าเป็นทุกข์, การกำหนดหมายให้มองเห็นสังขารว่าเป็นทุกข์
  17. รูปสัญญา : ความหมายรู้ในรูป เกิดต่อจากจักขุสัมผัสสชา เวทนา
  18. สกสัญญา : ความสำคัญว่าเป็นของตน, นึกว่าเป็นของตนเอง
  19. สมณสัญญา : ความสำคัญว่าเป็นสมณะ, ความกำหนดใจไว้ว่าตนเป็นสมณะ, ความสำนึกในความเป็นสมณะของตน
  20. อาโลกสัญญา : ความสำคัญในแสงสว่าง, กำหนดหมายแสงสว่างคือ ตั้งความกำหนดหมายว่ากลางวันไว้ในใจ ให้เหมือนกันทั้งในเวลากลางวันและกลางคืน เป็นวิธีแก้ง่วงอย่างหนึ่ง
  21. อาหาเรปฏิกูลสัญญา : กำหนดหมายความเป็นปฏิกูลในอาหาร, ความสำคัญหมายในอาหารว่าเป็นของปฏิกูล พิจารณาให้เห็นว่าเป็นของน่าเกลียด โดยอาการต่างๆ เช่น ปฏิกูล โดยบริโภค, โดยประเทศที่อยู่ของอาหาร, โดยสั่งสมอยู่นาน เป็นต้น (ข้อ ๓๕ ในกรรมฐาน ๔๐)
  22. อุฏฐานสัญญามนสิการ : ทำในพระทัยถึงความสำคัญในอันที่จะลุกขึ้น, ตั้งใจว่าจะลุกขึ้นอีก
  23. ขันธปัญจก : หมวด ๕ แห่งขันธ์ อันไดแก่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ (นิยมเรียก ขันธปัญจก) ดู ขันธ์
  24. ขันธมาร : ขันธ์ ๕ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นมาร เพราะเป็นสภาพอันปัจจัยปรุงแต่งขึ้น เป็นที่ตั้งแห่งทุกข์ ถูกปัจจัยต่างๆ มีอาพาธเป็นต้น บีบคั้นเบียดเบียนเป็นเหตุขัดขวางหรือรอนโอกาส มิให้สามารถทำความดีงามได้เต็มที่ หรืออาจตัดโอกาสนั้นโดยสิ้นเชิง (ข้อ ๒ ในมาร ๕)
  25. นาม : ธรรมที่รู้จักกันด้วยชื่อ กำหนดรู้ด้วยใจ เป็นเรื่องของจิตใจ, สิ่งที่ไม่มีรูปร่าง ไม่ใช่รูปแต่น้อมมาเป็นอารมณ์ของจิตได้ 1.ในที่ทั่วไปหมายถึงอรูปขันธ์ ๔ คือ เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ 2.บางแห่งหมายถึงอรูปขันธ์ ๔ นั้นและนิพพาน (รวมทั้งโลกุตตรธรรมอื่นๆ) 3.บางแห่งเช่นในปฏิจจสมุปบาท บางกรณีหมายเฉพาะเจตสิกธรรมทั้งหลาย เทียบ รูป
  26. นามขันธ์ : ขันธ์ที่เป็นฝ่ายนามธรรม มี ๔ คือ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
  27. นามรูป : นามธรรม และรูปธรรม นามธรรม หมายถึง สิ่งที่ไม่มีรูป คือรู้ไม่ได้ทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย แต่รู้ได้ด้วยใจ ได้แก่เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ รูปธรรม หมายถึง สิ่งที่มีรูป สิ่งที่เป็นรูป ได้แก่รูปขันธ์ทั้งหมด
  28. ปรมัตถสัจจะ : จริงโดยปรมัตถ์ คือ ความจริงโดยความหมายสูงสุด เช่น รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ตรงข้ามกับสมมติสัจจะ จริงโดยสมมติ เช่น สัตว์ บุคคล ฉัน เธอ ม้า รถ นาย ก.นาย ข.เป็นต้น
  29. ปิยรูป สาตรูป : สภาวะที่น่ารักน่าชื่นใจ มุ่งเอาส่วนที่เป็นอิฏฐารมณ์ซึ่งเป็นบ่อเกิดแห่งตัณหามี ๑๐ หมวดๆ ละ ๖ อย่าง คือ อายตนะภายใน ๖ อายตนภายนอก ๖ วิญญาณ ๖ สัมผัส ๖ เวทนา ๖ สัญญา ๖ สัญเจตนา ๖ มีรูปสัญเจตนา เป็นต้น ตัณหา ๖ มีรูปตัณหา เป็นต้น วิตก ๖ มีรูปวิตกเป็นต้น วิจาร ๖ มีรูปวิจาร เป็นต้น
  30. สัจจะ : ๑.ความจริง มี ๒ คือ ๑.สมมติสัจจะ จริงโดยสมมติ เช่น คน พ่อค้า ปลา แมว โต๊ะ เก้าอี้ ๒.ปรมัตถสัจจะ จริงโดยปรมัตถ์ เช่น รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ๒.ความจริง คือ จริงใจ ได้แก่ ซื่อสัตย์ จริงวาจา ได้แก่พูดจริง และ จริงการ ได้แก่ทำจริง (ข้อ ๑ ในฆราวาสธรรม ๔, ข้อ ๒ ในอธิษฐานธรรม ๔, ข้อ ๔ ในเบญจธรรม, ข้อ ๗ ในบารมี ๑๐)
  31. อัญญสมานาเจตสิก : เจตสิกที่มีเสมอกันแก่จิตพวกอื่น คือ ประกอบเข้าได้รับกับจิตทุกฝ่ายทั้งกุสลและอกุศล มิใช่เข้าได้ฝ่ายหนึ่งฝ่ายเดียว มี ๑๓ แยกเป็น ก) สัพพจิตตสาธารณเจตสิก (เจตสิกที่เกิดทั่วไปกับจิตทุกดวง) ๗ คือ ผัสสะ (ความกระทบอารมณ์) เวทนา สัญญา เจตนา เอกัคคตา ชีวิตินทรีย์ มนสิการ (ความกระทำอารมณ์ไว้ในใจ, ใส่ใจ) ข) ปกิณณกเจตสิก (เจตสิกที่เรี่ยราย คือ เกิดกับจิตได้ทั้งฝ่ายกุศลและอกุศล แต่ไม่แน่นอนเสมอไปทุกดวง) ๖ คือ วิตก (ความตรึกอารมณ์) วิจาร (ความตรองอารมณ์) อธิโมกข์ (ความปักใจในอารมณ์) วิริยะ ปีติ ฉันทะ (ความพอใจในอารมณ์)
  32. ล่วงสิกขาบท : ละเมิดสิกขาบท, ไม่ประพฤติตามสิกขาบท, ฝ่าฝืนสิกขาบท
  33. กัมมัฏฐาน ๔๐ : คือกสิณ ๑๐ อสุภะ ๑๐ อนุสสติ ๑๐ พรหมวิหาร ๔ อาหาเรปฏิกูลสัญญา ๑ จตุธาตุววัตถาน ๑ อรูป ๔
  34. ขันธ์ : กอง, พวก, หมวด, หมู่, ลำตัว; หมวดหนึ่งๆ ของรูปธรรมและนามธรรมทั้งหมดที่แบ่งออกเป็น ๕ กอง คือ รูปขันธ์ กองรูป เวทนาขันธ์ กองเวทนา สัญญาขันธ์ กองสัญญา สังขารขันธ์ กองสังขาร วิญญาณขันธ์ กองวิญญาณ เรียกรวมว่า เบญจขันธ์ (ขันธ์ ๕)
  35. ครุธรรม : ธรรมอันหนัก, หลักความประพฤติสำหรับนางภิกษุณีจะพึงถือเป็นเรื่องสำคัญอันต้องปฏิบัติด้วยความเคารพไม่ละเมิดตลอดชีวิต มี ๘ ประการ คือ ๑.ภิกษุณีแม้บวชร้อยพรรษาแล้ว ก็ต้องกราบไหว้ภิกษุแม้บวชวันเดียว ๒.ภิกษุณีจะอยู่ในวัดที่ไม่มีภิกษุไม่ได้ ๓.ภิกษุณีต้องไปถามวันอุโบสถและเข้าไปฟังโอวาทจากภิกษุทุกกึ่งเดือน ๔.ภิกษุณีอยู่จำพรรษาแล้วต้องปวารณาในสงฆ์ ๒ ฝ่ายโดยสถานทั้ง ๓ คือ โดยได้เห็น โดยได้ยิน โดยรังเกียจ (รังเกียจหมายถึง ระแวงสงสัยหรือประพฤติกรรมอะไรที่น่าเคลือบแคลง) ๕.ภิกษุณีต้องอาบัติหนัก ต้องประพฤติมานัตในสงฆ์ ๒ ฝ่าย (คือ ทั้งภิกษุสงฆ์และภิกษุณีสงฆ์) ๑๕ วัน ๖.ภิกษุณีต้องแสวงหาอุปสัมปทาในสงฆ์ ๒ ฝ่าย เพื่อนางสิกขมานา ๗.ภิกษุณีไม่พึงด่าไม่พึงบริภาษภิกษุไม่ว่าจะโดยปริยายใดๆ ๘.ไม่ให้ภิกษุณีว่ากล่าวภิกษุแต่ภิกษุว่ากล่าวภิกษุณีได้
  36. จิตตสังขาร : 1.ปัจจัยปรุงแต่งจิตได้แก่ สัญญาและเวทนา 2.สภาพที่ปรุงแต่งการกระทำทางใจ ได้แก่เจตนาที่ก่อให้เกิดมโนกรรม ดู สังขาร
  37. ต้อง : ถูก, ถึง, ประสบ (ในคำว่า “ต้องอาบัติ” คือ ถึงความละเมิด หรือมีความผิดสถานนั้นๆ คล้ายในคำว่า ต้องหา ต้องขัง ต้องโทษ ต้องคดี)
  38. ถุลลัจจัย : “ความล่วงละเมิดที่หยาบ”, ชื่ออาบัติหยาบอย่างหนึ่งเป็นความผิดขั้นถัดรองลงมาจากอาบัติสังฆาทิเสส เช่น ภิกษุชักสื่อให้ชายหญิงเป็นผัวเมียกัน ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ภิกษุชักสื่อบัณเฑาะก์ (กะเทย) ต้องอาบัติถุลลัจจัย ภิกษุนุ่งห่มหนังเสืออย่างเดียรถีย์ ต้องอาบัติถุลลัจจัย ดู อาบัติ
  39. ทานบน : ถ้อยคำหรือสัญญาว่าจะไม่ทำผิดตามเงื่อนไขที่ได้ให้ไว้ ทานบารมี จรรยาอย่างเลิศคือทาน (ข้อ ๑ ในบารมี ๑๐)
  40. ทุศีล : มีศีลชั่ว คือประพฤติไม่ดี มักละเมิดศีล
  41. เทวทูต : ทูตของยมเทพ, สื่อแจ้งข่าวของมฤตยู, สัญญาที่เตือนให้ระลึกถึงคติ ธรรมดาของชีวิตมิให้มีความประมาท จัดเป็น ๓ ก็มี ได้แก่ คนแก่ คนเจ็บ และคนตาย, จัดเป็น ๕ ก็มี ได้แก่ เด็กแรกเกิด คนแก่ คนเจ็บ คนถูกลงราชทัณฑ์ และคนตาย (เทวทูต ๓ มาในอังคุตตรนิกาย ติกนิบาต, เทวทูต ๕ มาในเทวทูตสูตร มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์); ส่วน เทวทูต ๔ ที่เจ้าชายสิทธัตถะพบก่อนบรรพชา คือ คนแก่ คนเจ็บ คนตาย สมณะนั้น ๓ อย่างแรก เป็นเทวทูต ส่วนสมณะเรียกรวมเป็นเทวทูตไปด้วยโดยปริยาย เพราะมาในหมวดเดียวกัน แต่ในบาลี ท่านเรียกว่า นิมิต ๔ หาเรียกเทวทูต ๔ ไม่ อรรถกถาบางแห่งพูดแยกว่า พระสิทธัตถะเห็นเทวทูต ๓ และสมณะ (มีอรรถกถาแห่งหนึ่งอธิบายในเชิงว่าอาจเรียกทั้ง ๔ อย่างเป็นเทวทูตได้ โดยความหมายว่า เป็นของที่เทวดานิรมิตไว้ ระหว่างทางเสด็จของพระสิทธัตถะ)
  42. นิมิต : 1.เครื่องหมาย ได้แก่วัตถุอันเป็นเครื่องหมายแห่งสีมา, วัตถุที่ควรใช้เป็นนิมิตมี ๘ อย่าง ภูเข ศิลา ป่าไม้ ต้นไม้ จอมปลวก หนทาง แม่น้ำ น้ำ 2.(ในคำว่าทำนิมิต) ทำอาการเป็นเชิงชวนให้เขาถวาย, ขอเขาโดยวิธีให้รู้โดยนัย ไม่ขอตรงๆ 3.เครื่องหมายสำหรับให้จิตกำหนดในการเจริญกรรมฐาน, ภาพที่เห็นในใจของผู้เจริญกรรมฐาน, ภาพที่เป็นอารมณ์กรรมฐาน มี ๓ คือ ๑.บริกรรมนิมิต นิมิตแห่งบริกรรม หรือนิมิตตระเตรียม ได้แก่สิ่งที่เพ่ง หรือกำหนดนึกเป็นอารมณ์กรรมฐาน ๒.อุคคหนิมิต นิมิตที่ใจเรียน หรือนิมิตติดตาติดใจ ได้แก่ สิ่งที่เพ่งหรือนึกนั้นเอง ที่แม่นในใจ จนหลับตามองเห็น ๓.ปฏิภาคนิมิต นิมิตเสมือน หรือนิมิตเทียบเคียง ได้แก่ อุคคหนิมิตนั้น เจนใจจนกลายเป็นภาพที่เกิดจากสัญญา เป็นของบริสุทธิ์ จะนึกขยาย หรือย่อส่วนก็ได้ตามปรารถนา 4.สิ่งที่พระโพธิสัตว์ทอดพระเนตรเห็นก่อนเสด็จออกบรรพชา ๔ อย่าง ดู เทวทูต
  43. นิโรธสมาบัติ : การเข้านิโรธ คือ ดับสัญญาความจำได้หมายรู้ และเวทนา การเสวยอารมณ์ เรียกเต็มว่าเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ, พระอรหันต์และพระอนาคามีที่ได้สมาบัติ ๘ แล้ว จึงจะเข้านิโรธสมาบัติได้ (ข้อ ๙ ใน อนุปุพพวิหาร ๙)
  44. เนวสัญญีนาสัญญี : มีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่
  45. เบญจขันธ์ : ขันธ์ ๕, กองหรือหมวดทั้ง ๕ แห่งรูปธรรมและนามธรรมที่ประกอบเข้าเป็นชีวิต ได้แก่ ๑.รูปขันธ์ กองรูป ๒.เวทนาขันธ์ กองเวทนา ๓.สัญญาขันธ์ กองสัญญา ๔.สังขารขันธ์ กองสังขาร ๕.วิญญาณขันธ์ กองวิญญาณ
  46. ปฏิภาคนิมิต : นิมิตเสมือน, นิมิตเทียบเคียง เป็นภาพเหมือนของอุคคหนิมิต เกิดจากสัญญา สามารถนึกขยายหรือย่อส่วน ให้ใหญ่หรือเล็กได้ตามความปรารถนา
  47. ปหานปริญญา : กำหนดรู้ถึงขั้นละได้ คือ กำหนดรู้สังขารว่าเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา จนถึงขั้นละนิจจสัญญา เป็นต้น ในสังขารนั้นได้ (ข้อ ๓ ใน ปริญญา ๓)
  48. ปัจจัตตลักษณะ : ลักษณะเฉพาะตน, ลักษณะเฉพาะของสิ่งต่างๆ เช่น เวทนา มีลักษณะเสวยอารมณ์ สัญญามีลักษณะจำได้เป็นต้น, คู่กับ สามัญลักษณะ
  49. ปัญจขันธ์ : ขันธ์ห้า คือ รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์
  50. ปัณณัติติวัชชะ : อาบัติที่เป็นโทษทางพระบัญญัติ คือคนสามัญทำเข้าไม่เป็นความผิดความเสีย เป็นผิดเฉพาะแก่ภิกษุ โดยฐานละเมิดพระบัญญัติ เช่น ฉันอาหารในเวลาวิกาล ขุดดินใช้จีวรที่ไม่ได้พินทุ นั่นนอนบนเตียงตั่งที่ไม่ได้ตรึงเท้าให้แน่นเป็นต้น
  51. [1-50] | 51-80

(0.0417 sec)