Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: อกุศลกรรมบถ, กรรมบถ, อกุศล , then กมฺมปถ, กรรมบถ, อกศลกรรมบถ, อกุศล, อกุศลกรรมบถ, อกุสล, อกุสลกมฺมปถ .

Budhism Thai-Thai Dict : อกุศลกรรมบถ, 69 found, display 1-50
  1. อกุศลกรรมบถ : ทางแห่งกรรมชั่ว, ทางแห่งกรรมที่เป็นอกุศล, กรรมชั่วอันเป็นทางนำไปสู่ทุคติ มี ๑๐ อย่าง คือ ก) กรรม ๓ ได้แก่ ๑) ปาณาติบาต การทำลายชีวิต ๒) อทินนาทาน ถือเอาของที่เขามิได้ให้ ๓) กาเมสุมิจฉาจาร ประพฤติผิดในกาม ข) วจีกรรม ๔ ได้แก่ ๔) มุสาวาท พูดเท็จ ๕) ปิสุณาวาจา พูดส่อเสียด ๖) ผรุสวาจา พูดคำหยาบ ๗) สัมผัปปลาปะ พูดเพ้อเจ้อ ค) มโนกรรม ๓ ได้แก่ ๘) อภิชฌา ละโมบคอยจ้องอยากได้ของเขา ๙) พยาบาท คิดร้ายเขา ๑๐) มิจฉาทิฏฐิ เห็นผิดจากคลองธรรม เทียบ กุศลกรรมบถ
  2. กรรมบถ : course of action; way of action; Karma as the way leading to the woeful or blissful existences.
  3. อกุศล : บาป, ชั่ว, ไม่ฉลาด, ความชั่ว, กรรมชั่ว
  4. มโนกรรม : การกระทำทางใจ ทางชั่ว เช่น คิดเพ่งเล็งจ้องจะเอาของเขา ทางดี เช่น คิดช่วยเหลือผู้อื่น ดู กุศลกรรมบถ, อกุศลกรรมบถ
  5. วจีกรรม : การกระทำทางวาจา, การกระทำด้วยวาจา, ทำกรรมด้วยคำพูด, ที่ดี เช่น พูดจริง พูดคำสุภาพ ที่ชั่ว เช่น พูดเท็จ พูดคำหยาบ ดู กุศลกรรมบถ, อกุศลกรรมบถ
  6. อกุศลกรรม : กรรมที่ไม่เป็นอกุศล, กรรมชั่ว, บาป, การกระทำที่ไม่ดี คือ เกิดจาก อกุศลมูล ดู กรรม
  7. อกุศลจิตตุบาท : จิตอกุศลเกิดขึ้น, ความคิดชั่ว
  8. อกุศลเจตนา : เจตนาที่เป็นอกุศล, ความตั้งใจชั่ว, ความคิดชั่ว
  9. อกุศลเจตสิก : เจตสิกอันเป็นอกุศล ได้แก่ ความชั่วที่เกิดขึ้นภายในใจ แต่งจิตให้เป็นบาป มี ๑๔ อย่าง แยกเป็น ก) สัพพากุศลสาธารณเจตสิก (เจตสิกที่เกิดทั่วไปกับอกุศลจิตทุกดวง) ๔ คือ ๑) ฉันทาคติ ลำเอียงเพราะรัก ๒) โทสาคติ ลำเอียงเพราะชัง ๓) โมหาคติ ลำเอียงเพราะเขลา ๔) ภยาคติ ลำเอียงเพราะกลัว
  10. ผรุสวาจา : วาจาหยาบ, คำพูดเผ็ดร้อน, คำหยาบคาย (ข้อ ๖ ในอกุศลกรรมบถ ๑๐)
  11. ผรุสาย วาจาย เวรมณี : เว้นจากพูดคำหยาบ (ข้อ ๖ ในอกุศลกรรมบถ ๑๐)
  12. มุสาวาท : พูดเพ็จ, พูดโกหก, พูดไม่จริง (ข้อ ๔ ในกรรมกิเลส ๔, ข้อ ๗ ในมละ ๙, ข้อ ๔ ในอกุศลกรรมบถ ๑๐)
  13. วินัย : ระเบียบแบบแผนสำหรับฝึกฝนควบคุมความประพฤติของบุคคลให้มีชีวิตที่ดีงามเจริญก้าวหน้าและควบคุมหมู่ชนให้อยู่ร่วมกันด้วยความสงบเรียบร้อยดีงาม, ประมวลบทบัญญัติข้อบังคับสำหรับฝึกฝนควบคุมความประพฤติ; วินัย มี ๒ อย่างคือ ๑.อนาคาริยวินัย วินัยของผู้ไม่ครองเรือน คือ วินัยของบรรพชิต หรือวินัยของพระสงฆ์ ได้แก่ การไม่ต้องอาบัติทั้ง ๗ หรือ ปาริสุทธิศีล ๔ ๒.อาคาริยวินัย วินัยของผู้ครองเรือน คือ วินัยของชาวบ้าน ได้แก่ การงดเว้นจากอกุศลกรรมบถ ๑๐ หรือ กุศลกรรมบท ๑๐
  14. สัมผัปปลาปะ : พูดเพ้อเจ้อ, พูดเหลวไหล, พูดไม่เป็นประโยชน์ ไม่มีเหตุผลไร้สาระ ไม่ถูกกาลถูกเวลา (ข้อ ๗ ในอกุศลกรรมบถ ๑๐)
  15. อทินนาทาน : ถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้ด้วยอาการแห่งขโมย, ขโมยสิ่งของ, ลักทรัพย์ (ข้อ ๒ ในกรรมกิเลส ๔ ในอกุศลกรรมบถ ๑๐)
  16. อภิชฌา : โลภอยากได้ของเขา, ความคิด เพ่งเล็งจ้องจะเอาของคนอื่น (ข้อ ๘ ในอกุศลกรรมบถ ๑๐)
  17. กุศลกรรมบถ : ทางแห่งกรรมดี, ทางทำดี, ทางแห่งกรรมที่เป็นกุศล, กรรมดีอันเป็นทางนำไปสู่สุคติมี ๑๐ อย่าง คือก.กายกรรม ๓ ได้แก่ ๑.ปาณาติปาตา เวรมณี เว้นจากทำลายชีวิต ๒.อทินนาทานา เวรมณี เว้นจากถือเอาของที่เข้ามิได้ให้ ๓.กาเมสุมิจฉาจาร เวรมณี เว้นจากประพฤติผิดในกามข.วจีกรรม ๔ ได้แก่ ๔.มุสาวาทา เวรมณี เว้นจากพูดเท็จ ๕.ปิสุณาย วาจาย เวรมณี เว้นจากพูดส่อเสียด ๖.ผรุสาย วาจาย เวรมณี เว้นจากพูดคำหยาบ ๗.สัมผัปปลาปา เวรมณี เว้นจากพูดเพ้อเจ้อค.มโนกรรม ๓ ได้แก่ ๘.อนภิชฌา ไม่โลภคอยจ้องอยากได้ของเขา ๙.อพยาบาท ไม่คิดร้ายเบียดเบียนเขา ๑๐.สัมมาทิฏฐิ เห็นชอบตามคลองธรรม
  18. สังวร : ความสำรวม, การระวังปิดกั้นบาป อกุศล มี ๕ อย่าง คือ ๑.ปาฏิโมกขสังวร สำรวมในปาฏิโมกข์ (บางแห่งเรียก สีลสังวร สำรวมในศีล) ๒.สติสังวร สำรวมด้วยสติ ๓.ญาณสังวร สำรวมด้วยญาณ ๔.ขันติสังวร สำรวมด้วยขันติ ๕.วิริยสังวร สำรวมด้วยความเพียร
  19. กตัตตากรรม : กรรมสักว่าทำ, กรรมที่เป็นกุศลก็ตาม อกุศลก็ตาม สักแต่ว่าทำคือไม่ได้จงใจจะให้เป็นอย่างนั้นโดยตรง หรือมีเจตนาอ่อนไม่ชัดเจน ย่อมให้ผลต่อเมื่อไม่มีกรรมอื่น ท่านเปรียบเสมือนคนบ้ายิงลูกศร ย่อมไม่มีความหมายจะให้ถูกใคร ทำไปโดยไม่ตั้งใจชัดเจน ดู กรรม๑๒ - casual act, cumulative or reserve Karma.
  20. กรรม ๒ : กรรมจำแนกตามคุณภาพ หรือตามธรรมที่เป็นมูลเหตุ มี ๒ คือ ๑.อกุศลกรรม กรรมที่เป็นอกุศล กรรมชั่ว คือเกิดจากอกุศลมูล ๒.กุศลกรรม กรรมที่เป็นกุศล กรรมดี คือเกิดจากกุศลมูล
  21. กาลามสูตร : สูตรหนึ่งในคัมภีร์ติกนิบาต อังคุตตรนิกาย พระพุทธเจ้าตรัสสอนชนชาวกาลามะแห่งเกสปุตตนิคมใน แคว้นโกศล ไม่ให้เชื่อถืองมงายไร้เหตุผล ตามหลัก ๑๐ ข้อ คือ อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการฟังตามกันมา, ด้วยการถือสืบๆ กันมา, ด้วยการเล่าลือ, ด้วยการอ้างตำราหรือคัมภีร์, ด้วยตรรก, ด้วยการอนุมาน, ด้วยการคิดตรองตามแนวเหตุผล, เพราะเข้ากันได้กับทฤษฎีของตน, เพราะมองเห็นรูปลักษณะน่าเชื่อ, เพราะนับถือว่าท่านสมณะนี้ เป็นครูของเรา; ต่อเมื่อใด พิจารณาเห็นด้วยปัญญาว่า ธรรมเหล่านั้นเป็นอกุศล เป็นกุศล มีโทษ ไม่มีโทษ เป็นต้นแล้ว จึงควรละหรือถือปฏิบัติตามนั้น เรียกอีกอย่างว่าเกสปุตติยสูตร หรือเกสปุตตสูตร.
  22. ครุกรรม : กรรมหนักทั้งที่เป็นกุสลและอกุศล ในฝ่ายกุศลได้แก่ฌานสมาบัติในฝ่ายอกุศลได้แก่อนันตริยกรรม กรรมนี้ให้ผลก่อนกรรมอื่นเหมือนคนอยู่บนที่สูงเอาวัตถุต่างๆ ทิ้งลงมาอย่างไหนหนักที่สุด อย่างนั้นถึงพื้นก่อน
  23. จิต : ธรรมชาติที่รู้อารมณ์, สภาพที่นึกคิด, ความคิด, ใจ; ตามหลักฝ่ายอภิธรรม จำแนกจิตเป็น ๘๙ (หรือพิสดารเป็น ๑๒๑) แบ่ง โดยชาติ เป็นอกุศลจิต ๑๒ กุศลจิต ๒๑ (พิสดารเป็น ๓๗) วิปากจิต ๓๖ (๕๒) และ กิริยาจิต ๒๐; แบ่ง โดยภูมิ เป็นกามาวจรจิต ๕๔ รูปาวจรจิต ๑๕ อรูปาวจรจิต ๑๒ และโลกุตตรจิต ๘ (พิสดารเป็น ๔๐)
  24. เจตสิก : ธรรมที่ประกอบกับจิต, อาการหรือคุณสมบัติต่างๆ ของจิต เช่น ความโลภ ความโกรธ ความหลง ศรัทธา เมตตา สติ ปัญญา เป็นต้น มี ๕๒ อย่าง จัดเป็น อัญญสมานาเจตสิก ๑๓ อกุศลเจตสิก ๑๔ โสภณเจตสิก ๒๕
  25. ฉันทะ : 1.ความพอใจ, ความชอบใจ, ความยินดี, ความต้องการ, ความรักใคร่สิ่งนั้นๆ, ความรักงาน (เป็นกลางๆ เป็นอกุศลก็มี เป็นกุศลก็มี, เป็นอัญญสมานาเจตสิกข้อ ๑๓, ที่เป็นอกุศล เช่นในกามฉันทะ ที่เป็นกุศลเช่น ข้อ ๑ ในอิทธิบาท ๔) 2.ความยินยอม, ความยอมให้ที่ประชุมทำกิจนั้นๆ ในเมื่อตนมิได้ร่วมอยู่ด้วย, เป็นธรรมเนียมของภิกษุ ที่อยู่ในวัดซึ่งมีสีมารวมกัน มีสิทธิที่จะเข้าประชุมทำกิจของสงฆ์ เว้นแต่ภิกษุนั้นอาพาธจะเข้าร่วมประชุมด้วยไม่ได้ ก็มอบฉันทะคือแสดงความยินยอมให้สงฆ์ทำกิจนั้นๆ ได้
  26. ชนกกรรม : กรรมที่นำให้เกิด, กรรมที่เป็นกุศลหรืออกุศลก็ตามที่เป็นตัวแต่งสัตว์ให้เกิด คือชักนำให้ถือปฏิสนธิในภพใหม่ เมื่อสิ้นชีวิตจากภพนี้ (ข้อ ๕ ในกรรม ๑๒)
  27. ทิฏฐธัมมเวทนียกรรม : กรรมอันให้ผลในปัจจุบัน, กรรมทั้งที่เป็นกุศลและอกุศล ซึ่งให้ผลทันตาเห็น (ข้อ ๑ ใน กรรม ๑๒)
  28. โทสะ : ความคิดประทุษร้าย (ข้อ ๒ ใน อกุศลมูล ๓)
  29. ธรรมจริยา : การประพฤติธรรม, การประพฤติเป็นธรรม, การประพฤติถูกตามธรรม เป็นชื่อหนึ่งของ กุศลกรรมบถ ๑๐
  30. ธัมมานุปัสสนา : การตั้งสติกำหนดพิจารณาธรรม, สติพิจารณาธรรมที่เป็นกุศลหรืออกุศลที่บังเกิดกับใจเป็นอารมณ์ว่า ธรรมนี้ก็สักว่าธรรมไม่ใช่สัตว์บุคคลตัวตนเราเขา (ข้อ ๔ ในสติปัฏฐาน ๔)
  31. บาป : ความชั่ว, ความร้าย, ความชั่วร้าย, กรรมชั่ว, กรรมลามก, อกุศลธรรมที่ส่งให้ถึงความเดือดร้อน, สภาพที่ทำให้ถึงคติอันชั่ว, สิ่งที่ทำจิตให้ตกสู่ที่ชั่ว คือ ทำให้เลวลง ให้เสื่อมลง
  32. ปธาน : ความเพียร, ความเพียรที่ชอบเป็นสัมมาวายามะ มี ๔ อย่าง คือ ๑.สังวรปธาน เพียรระวังบาปอกุศลที่ยังไม่เกิด มิให้เกิดขึ้น ๒.ปหานปธาน เพียรละบาปอกุศลที่เกิดขึ้นแล้ว ๓.ภาวนาปธาน เพียรเจริญทำกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น ๔.อนุรักขนาปธาน เพียรรักษากุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ไม่ให้เสื่อมไปและให้เพิ่มไพบูลย์
  33. ปหานสัญญา : กำหนดหมายเพื่อละอกุศลวิตก และบาปธรรมทั้งปวง (ข้อ ๕ ในสัญญา ๑๐)
  34. ปหานะ : การละ, การกำจัด หมายถึง กำจัดกิเลส, ละตัณหา, กำจัดบาปอกุศลธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดทุกข์
  35. ปิสุณาย วาจาย เวรมณี : เว้นจากการพูดส่อเสียด, เว้นจากพูดยุยงให้เขาแตกร้าวกัน (ข้อ ๕ ในกุศลกรรมบถ ๑๐)
  36. ปิสุณาวาจา : วาจาส่อเสียด, พูดส่อเสียด, พูดยุยงให้เขาแตกร้าวกัน (ข้อ ๕ ใน อกุศลกรรมบท ๑๐)
  37. พยาบาทวิตก : ความตริตรึกในทางคิดร้ายต่อผู้อื่น, ความคิดนึกในทางขัดเคืองชิงชัง ไม่ประกอบด้วยเมตตา (ข้อ ๒ ในอกุศลวิตก ๓)
  38. พหุลกรรม : กรรมทำมาก หรือกรรมชิน ได้แก่ กรรมทั้งที่เป็นกุศลและอกุศลที่ทำบ่อยๆ จนเคยชิน ย่อมให้ผลก่อนกรรมอื่น เว้นครุกรรม เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า อาจิณณกรรม (ข้อ ๑๐ ในกรรม ๑๒)
  39. มรณสติ : ระลึกถึงความตายอันจะต้องมีมาถึงตนเป็นธรรมดา พิจารณาให้ใจสงบจากอกุศลธรรม เกิดความไม่ประมาท และไม่หวาดกลัวคิดเร่งขวนขวายบำเพ็ญกิจและทำความดี (ข้อ ๗ ในอนุสติ ๑๐)
  40. มหากัจจายนะ : พระมหาสาวกองค์หนึ่ง เกิดในกัจจายนโคตรที่พระนครอุชเชนี เป็นบุตรปุโรหิตของพระราชาแห่งแคว้นอวันตี เรียนจบไตรเพทแล้ว ต่อมาได้เป็นปุโรหิตแทนบิดา พระเจ้าจัณฑปัชโชตตรัสสั่งให้หาทางนำพระพุทธเจ้าเสด็จมาสู่กรุงอุชเชนี กัจจายนปุโรหิตจึงเดินทางไปเฝ้าพระพุทธเจ้า ได้ฟังพระธรรมเทศนาแล้วบรรลุอรหัตตผล อุปสมบทแล้ว แสดงความประสงค์ที่จะอัญเชิญเสด็จพระพุทธเจ้าสู่แคว้นอวันตี พระพุทธองค์ตรัสสั่งให้ท่านเดินทางไปเอง ท่านเดินทางไปยังกรุงอุชเชนี ประกาศธรรม ยังพระเจ้าจัณฑปัชโชตและชาวเมืองทั้งหมดให้เลื่อมใสในพระศาสนาแล้ว จึงกลับมาเฝ้าพระบรมศาสดา ต่อมาได้รับยกย่องว่าเป็นเอตทัคคะในทางขยายความคำย่อให้พิสดาร มีเรื่องเล่าเป็นเกร็ดว่าท่านมีรูปร่างสวยงาม ผิวพรรณดังทองคำ บุตรเศรษฐีคนหนึ่ง ชื่อโสเรยยะเห็นแล้วเกิดมีอกุศลจิตต่อท่านว่าให้ได้อย่างท่านเป็นภรรยาตนหรือให้ภรรยาตนมีผิวพรรณงามอย่างท่าน เพราะอกุศลจิตนั้น เพศของโสเรยยะกลายเป็นหญิงไป นางสาวโสเรยยะแต่งงานมีครอบครัว มีบุตรแล้ว ต่อมาได้พบและขอขมาต่อท่านเพศก็กลับเป็นชายตามเดิม โสเรยยะขอบวชในสำนักของท่าน และได้บรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์องค์หนึ่ง
  41. มิจฉาวายามะ : พยายามผิด ได้แก่ พยายามทำบาป พยายามทำอกุศลที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น เป็นต้น
  42. มุสาวาทา เวรมณี : เว้นจากการพูดเท็จ, เว้นจากการพูดโกหก, เว้นจากพูดไม่จริง (ข้อ ๔ ในศีล ๕ ศีล ๘ ศีล ๑๐ และกุศลกรรมบถ ๑๐)
  43. เมฆิยะ : พระมหาสาวกองค์หนึ่ง เคยเป็นอุปัฏฐากของพระพุทธองค์ คราวหนึ่ง ได้เห็นสวนมะม่วงริมฝั่งแม่น้ำกิมิกาฬา น่ารื่นรมย์ จึงขอลาพระพุทธเจ้าไปบำเพ็ญที่นั่น พระพุทธเจ้าห้ามไม่ฟัง ท่านไปบำเพ็ญเพียร ถูกอกุศลวิตกต่างๆ รบกวนในที่สุดต้องกลับมาเฝ้าพระพุทธเจ้าได้ฟังพระธรรมเทศนาเรื่องธรรม ๕ ประการสำหรับบ่มเจโตวิมุตติ เป็นต้น ที่พระศาสดาทรงแสดงจึงได้สำเร็จพระอรหัต
  44. โมหะ : ความหลง, ความไม่รู้ตามเป็นจริง, อวิชชา (ข้อ ๓ ในอกุศลมูล ๓)
  45. เยวาปนกธรรม : “ก็หรือว่าธรรมแม้อื่นใด” หมายถึงธรรมจำพวกที่กำหนดแน่ไม่ได้ว่าข้อไหนจะเกิดขึ้น ได้แก่ เจตสิก ๑๖ เป็นพวกที่เกิดในกุศลจิต ๙ คือ ๑.ฉันทะ ๒.อธิโมกข์ ๓.มนสิการ ๔.อุเบกขา (ตัตรมัชฌัตตตา) ๕.กรุณา ๖.มุทิตา ๗.สัมมาวาจา (วจีทุจริตวิรัติ) ๘.สมมากันมันตะ (กายทุจริตวิรัติ) ๙.สัมมาอาชีวะ (มิจฉาชีววิรัติ) เป็นพวกที่เกิดในอกุศลจิต ๑๐ คือ ๑.ฉันทะ ๒.อธิโมกข์ ๓.มนสิการ ๔.มานะ ๕.อิสสา ๖.มัจฉริยะ ๗.ถีนะ ๘.มิทธะ ๙.อุทธัจจะ ๑๐.กุกกุจจะ นับเฉพาะที่ไม่ซ้ำ (คือเว้น ๓ ข้อแรก) เป็น ๑๖
  46. โลภ : ความอยากได้ (ข้อ ๑ ในอกุศลมูล ๓)
  47. วาสนา : อาการกายวาจา ที่เป็นลักษณะพิเศษของบุคคล ซึ่งเกิดจากกิเลสบางอย่าง และได้สั่งสมอบรมมาเป็นเวลานานจนเคยชินติดเป็นพื้นประจำตัว แม้จะละกิเลสนั้นได้แล้ว แต่ก็อาจจะละอาการกายวาจาที่เคยชินไม่ได้ เช่น คำพูดติดปาก อาการเดินที่เร็ว หรือเดินต้วมเตี้ยม เป็นต้น ท่านขยายความว่า วาสนา ที่เป็นกุศล ก็มี เป็นอกุศล ก็มี เป็นอัพยากฤต คือ เป็นกลางๆ ไม่ดีไม่ชั่ว ก็มี ที่เป็นกุศลกับอัพยากฤตนั้น ไม่ต้องละ แต่ที่เป็นอกุศลซึ่งควรจะละนั้น แบ่งเป็น ๒ ส่วน คือ ส่วนที่จะเป็นเหตุให้เกิดอาการแสดงออกทางกายวาจาแปลกๆ ต่างๆ ส่วนแรก พระอรหันต์ทุกองค์ละได้ พระอรหันต์อื่นละไม่ได้ จึงมีคำกล่าวว่า พระพุทธเจ้าเท่านั้นละกิเลสทั้งหมดได้ พร้อมทั้งวาสนา; ในภาษาไทย คำว่า วาสนา มีความหมายเพี้ยนไป กลายเป็นอำนาจบุญเก่า หรือกุศลที่ทำให้ได้รับลาภยศ
  48. วิกขัมภนวิมุตติ : พ้นด้วยข่มหรือสะกดไว้ ได้แก่ ความพ้นจากกิเลสและอกุศลธรรมได้ด้วยกำลังฌาน อาจสะกดไว้ได้นานกว่าตทังควิมุตติ แต่เมื่อฌานเสื่อมแล้ว กิเลสอาจเกิดขึ้นอีก จัดเป็นโลกิยวิมุตติ (ข้อ ๒ ในวิมุตติ ๕; ในบาลีเป็นข้อ ๑ ถึงชั้นอรรถกถา จึงกลายมาเป็นข้อ ๒)
  49. วิหิงสาวิตก : ความตรึกในทางเบียด, ความคิดในทางทำลายหรือก่อความเดือดร้อนแก่ผู้อื่น (ข้อ ๓ ใน อกุศลวิตก ๓)
  50. สังขาร : ๑.สิ่งที่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง, สิ่งที่เกิดจากเหตุปัจจัย เป็นรูปธรรมก็ตาม นามธรรมก็ตาม ได้แก่ขันธ์ ๕ ทั้งหมด, ตรงกับคำว่า สังขตะหรือสังขตธรรม ได้ในคำว่า สังขารทั้งหลายทั้งปวงไม่เที่ยง ดังนี้เป็นต้น ๒.สภาพที่ปรุงแต่งใจให้ดีหรือชั่ว, ธรรมมีเจตนาเป็นประธานที่ปรุงแต่งความคิด การพูด การกระทำ มีทั้งที่ดีเป็นกุศล ที่ชั่วเป็นอกุศล และที่กลาง ๆ เป็นอัพยากฤต ได้แก่เจตสิก ๕๐ อย่าง (คือ เจตสิกทั้งปวง เว้นเวทนาและสัญญา) เป็นนามธรรมอย่างเดียว, ตรงกับสังขารขันธ์ ในขันธ์ ๕ ได้ในคำว่า รูปไม่เที่ยง เวทนาไม่เที่ยง สัญญาไม่เที่ยง สังขารไม่เที่ยง วิญญาณไม่เที่ยง ดังนี้เป็นต้น; อธิบายอีกปริยายหนึ่ง สังขารตามความหมายนี้ยกเอาเจตนาขึ้นเป็นตัวนำหน้า ได้แก่ สัญเจตนา คือ เจตนาที่แต่งกรรมหรือปรุงแต่งการกระทำ มี ๓ อย่างคือ ๑.กายสังขาร สภาพที่ปรุงแต่งการกระทำทางกาย คือ กายสัญเจตนา ๒.วจีสังขาร สภาพที่ปรุงแต่งการกระทำทางวาจา คือ วจีสัญเจตนา ๓.จิตตสังขาร หรือ มโนสังขาร สภาพที่ปรุงแต่งการกระทำทางใจ คือ มโนสัญเจตนา ๓.สภาพที่ปรุงแต่งชีวิตมี ๓ คือ ๑.กายสังขาร สภาพที่ปรุงแต่งกาย ได้แก่ อัสสาสะ ปัสสาสะ คือลมหายใจเข้า ลมหายใจออก ๒.วจีสังขาร สภาพที่ปรุงแต่งวาจา ได้แก่ วิตกและวิจาร ๓.จิตตสังขาร สภาพที่ปรุงแต่งใจ ได้แก่ สัญญาและเวทนา
  51. [1-50] | 51-69

(0.0159 sec)