Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: อภิญญา , then อภญญา, อภิญญา .

Budhism Thai-Thai Dict : อภิญญา, 13 found, display 1-13
  1. อภิญญา : ความรู้ยิ่ง, ความรู้เจาะตรงยวดยิ่ง, ความรู้ชั้นสูง มี ๖ อย่างคือ ๑) อิทธิวิธิ แสดงฤทธิ์ต่างๆ ได้ ๒) ทิพพโสต หูทิพย์ ๓) เจโตปริยญาณ ญาณที่ให้ทายใจคนอื่นได้ ๔) ปุพเพนิวาสานุสติ ญาณที่ทำให้ระลึกชาติได้ ๕) ทิพพจักขุ ตาทิพย์ ๖) อาสวักขยญาณ ญาณที่ทำให้อาสวะสิ้นไป, ๕ อย่างแรกเป็นโลกียอภิญญา ข้อสุดท้ายเป็นโลกุตตรอภิญญา
  2. อภิญญาเทสิตธรรม : ธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงด้วยพระปัญญาอันยิ่ง หมายถึง โพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ มีสติปัฏฐาน ๔ เป็นต้น
  3. เจโตปริยญาณ : ปรีชากำหนดรู้ในผู้อื่นได้, รู้ใจผู้อื่นอ่านความคิดของเขาได้ เช่น รู้ว่าเขากำลังคิดอะไรอยู่ ใจเขาเศร้าหมองหรือผ่องใส เป็นต้น ดู วิชชา, อภิญญา
  4. บุพเพนิวาสานุสติญาณ : ความรู้เป็นเครื่องระลึกได้ถึงขันธ์ที่อาศัยอยู่ในก่อน, ระลึกชาติได้ ดู วิชชา, อภิญญา
  5. ทิพพจักขุ : จักษุทิพย์, ตาทิพย์, ญาณพิเศษของพระพุทธเจ้า และท่านผู้ได้อภิญญาทั้งหลาย ทำให้สามารถเล็งเห็นหมู่สัตว์ที่เป็นไปต่างๆ กันเพราะอำนาจกรรม เรียกอีกอย่างว่า จุตูปปาตญาณ ดู อภิญญา
  6. ทิพพโสต : หูทิพย์, ญาณพิเศษที่ทำให้ฟังอะไรได้ยินหมดตามปรารถนา ดู อภิญญา
  7. จาตุรงคสันนิบาต : การประชุมพร้อมด้วยองค์ ๔ คือ ๑.วันนั้นดวงจันทร์เสวยมาฆฤกษ์ (เพ็ญเดือน ๓) ๒.พระสงฆ์ ๑,๒๕๐ รูปมาประชุมกัน โดยมิได้นัดหมาย ๓.พระสงฆ์เหล่านั้นทั้งหมดล้วนเป็นพระอรหันต์ผู้ได้อภิญญา ๖ ๔.พระสงฆ์เหล่านั้นทั้งหมดล้วนเป็นเอหิภิกขุ ดู มาฆบูชา
  8. จูฬปันถกะ : พระมหาสาวกองค์หนึ่ง ในอสีติมหาสาวก เป็นบุตรของธิดาเศรษฐีกรุงราชคฤห์ และเป็นน้องชายของมหาปันถกะ ออกบวชในพระพุทธศาสนา ปรากฏว่ามีปัญญาทึบอย่างยิ่ง พี่ชายมอบถาคาเพียง ๑ คาถาให้ ท่องตลอดเวลา ๔ เดือน ก็ท่องไม่ได้จึงถูกพี่ชายขับไล่ เสียใจคิดจะสึก พอดีพอพระพุทธเจ้า พระองค์ตรัสปลอบแล้วประทานผ้าขาวบริสุทธิ์ให้ไปลูบคลำพร้อมทั้งบริกรรมสั้นๆ ว่า “รโชหรณํ ๆๆ” ผ้านั้นหมองเพราะมือคลำอยู่เสมอ ทำให้มองเห็นไตรลักษณ์และได้สำเร็จพระอรหัต ท่านมีความชำนาญ แคล่วคล่อง ในอภิญญา ๖ ได้รับยกย่องเป็นเอตทัคคะในบรรดาผู้ฉลาดในเจโตวิวัฏฏ์; ชื่อท่านเรียกว่าง่ายๆ ว่าจูฬบันถก, บางแห่งเขียนเป็นจุลลบันถก
  9. ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ : ความรู้เป็นเครื่องระลึกได้ถึงขันธ์ที่อาศัยอยู่ในก่อน, ระลึกชาติได้ (ข้อ ๑ ในวิชชา ๓,) ข้อ ๔ ในอภิญญา ๖, ข้อ ๖ ในวิชชา ๘, ข้อ ๘ ในทศพลญาณ)
  10. สุกขวิปัสสกะ : พระผู้เจริญวิปัสสนาล้วนสำเร็จพระอรหัต มิได้ทรงคุณวิเศษอย่างอื่นอีก เช่นไม่ได้ฌานสมาบัติไม่ได้อภิญญา เป็นต้น ดู อรหันต์
  11. อรหันต์ : ผู้สำเร็จธรรมวิเศษสูงสุดในพระพุทธศาสนา, พระอริยบุคคลชั้นสูงสุด ผู้ได้บรรลุอรหัตตผล, พระอรหันต์ ผู้สำเร็จธรรมวิเศษสูงสุดในพระพุทธศาสนา, พระอริยบุคคลชั้นสูงสุด ผู้ได้บรรลุอรหัตตผล, พระอรหันต์ ๒ ประเภท คือ พระสุกขวิปัสสก กับพระสมถยานิก ; พระอรหันต์ ๔ คือ ๑) พระสุกขวิปัสสก ๒) พระเตวิชชะ (ผู้ได้วิชชา ๓) ๓) พระฉฬภิญญะ (ผู้ได้อภิญญา ๖) ๔) พระปฏิสัมภิทัปปัตตะ (ผู้บรรลุปฏิสัมภิทา ๔); พระอรหันต์ ๕ คือ ๑) พระปัญญาวิมุต ๒) พระอุภโตภาควิมุต ๓) พระเตวิชชะ ๔) พระฉฬภิญญะ ๕) พระปฏิสัมภิทัปปัตตะ ดู อริยบุคคล
  12. อาสวักขยญาณ : ความรู้เป็นเหตุสิ้นอาสวะ, ญาณหยั่งรู้ในธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย, ความตรัสรู้ (เป็นความรู้ที่พระพุทธเจ้าได้ในยามสุดท้ายแห่งราตรี วันตรัสรู้) (ข้อ ๓ ในวิชชา ๓, ข้อ ๖ ในอภิญญา ๖, ข้อ ๘ ในวิชชา ๘, ข้อ ๑๐ ในทศพลญาณ)
  13. อิทธิวิธี : แสดงฤทธิ์ได้ต่างๆ เช่น นิรมิตกายคนเดียวเป็นหลายคน หลายคนเป็นคนเดียว ล่องหน ดำดิน เดินน้ำ เป็นต้น (ข้อ ๑ ในอภิญญา ๖, ข้อ ๓ ในวิชชา ๘)

(0.0148 sec)