เมถุน : “การกระทำของคนที่เป็นคู่ๆ”, การร่วมสังวาส, การร่วมประเวณี
เมถุนสังโยค : อาการพัวพันเมถุน, ความประพฤติที่ยังเกี่ยวเนื่องกับเมถุน มี ๗ ข้อ โดยใจความคือ สมณะบางเหล่าไม่เสพเมถุน แต่ยังยินดีในเมถุนสังโยค คือ ชอบการลูบไล้และการนวดของหญิง, ชอบซิกซี้ เล่นหัวสัพยอกกับหญิง, ชอบจ้องดูตากับหญิง, ชอบฟังเสียงหัวเราะขับร้องของหญิง, ชอบนึกถึงการเก่าที่เคยหัวเราะพูดเล่นกับหญิง, เห็นชาวบ้านเขาบำรุงบำเรอกันด้วยกามคุณแล้วปลื้มใจ, หรือแม้แต่ประพฤติพรหมจรรย์ โดยตั้งความปรารถนาที่จะเป็นเทพเจ้า
เมถุนวิรัติ : การเว้นจากร่วมประเวณี
เสพเมถุน : ร่วมประเวณี, ร่วมสังวาส
ราศรี : 1.ชื่อมาตราวัดจักรราศีคือ ๓๐ องศาเป็น ๑ ราศรี และ ๑๒ ราศรีเป็น ๑ รอบจักรราศี (อาณาเขตโดยรอบดวงอาทิตย์ที่ดาวพระเคราะห์เดิน) ; ราศี ๑๒ นั้น คือ ราศีเมษ (แกะ), พฤษภ (วัว), เมถุน (คนคู่), กรกฏ (ปู), สิงห์ (ราชสีห์), กันย์ (หญิงสาว) ตุล (คันชั่ง), พฤศจิก (แมลงป่อง), ธนู (ธนู), มกร (มังกร), กุมภ์ (หม้อน้ำ), มีน (ปลา ๒ ตัว) 2.อาการที่รุ่งเรือง, ลักษณะที่ดีงาม 3.กอง เชน บุญราศี ว่ากองบุญ
ชักสื่อ : นำถ้อยคำหรือข่าวสาสน์ของชายและหญิง จากฝ่ายหนึ่งไปบอกอีกฝ่ายหนึ่ง หรือจากทั้ง ๒ ฝ่ายให้รู้ถึงกัน เพื่อให้เขาสำเร็จความประสงค์ในทางเมถุน (สังฆาทิเสส สิกขาบทที่ ๕)
ทุฏฐุลลวาจา : วาจาชั่วหยาบ เป็นชื่ออาบัติสังฆาทิเสสข้อที่ ๓ ที่ว่าภิกษุผู้มีความกำหนัด พูดเคาะมาตุคามด้วย วาจาชั่วหยาบ คือ พูดเกี้ยวหญิง กล่าววาจาหยาบโลมพาดพิงเมถุน
ปาราชิก : เป็นชื่ออาบัติหนักที่ภิกษุต้องเข้าแล้วขาดจากความเป็นภิกษุ, เป็นชื่อบุคคลผู้ที่พ่ายแพ้ คือ ต้องอาบัติปาราชิกที่ทำให้ขาดจากความเป็นภิกษุ, เป็นชื่อสิกขาบท ที่ปรับอาบัติหนักขั้นขาดจากความเป็นภิกษุมี ๔ อย่าง คือ เสพเมถุน ลักของเขา ฆ่ามนุษย์ อวดอุตริมนุสธรรมที่ไม่มีในตน
พรหมจรรย์ : การศึกษาพระเวท, การบวชซึ่งละเว้นเมถุน, การครองชีวิตที่ปราศจากเมถุน, การประพฤติธรรมอันประเสริฐ, การครองชีวิตประเสริฐ, มรรค, พระศาสนา
พรหมจารี : ผู้ประพฤติพรหมจรรย์, นักเรียนพระเวท, ผู้ประพฤติธรรมมีเว้นจากเมถุน เป็นต้น
วาจาชั่วหยาบ :
ในวินัยหมายถึงถ้อยคำพาดพิงทวารหนักทวารเบาและเมถุน ดู ทุฏฐุลลวาจา
อกรณียะ :
กิจอันบรรพชิตไม่ควรทำ ๔ อย่าง ทำแล้วขาดจากความเป็นภิกษุ คือ ๑) เสพเมถุน ๒) ลักของเขาตั้งแต่ ๕ มาสกขึ้นไป ๓) ฆ่ามนุษย์ ๔) อวดคุณพิเศษ (อุตริมนุสธรรม) ที่ไม่มีในตน (สำหรับภิกษุณี มี ๘) ดู อนุศาสน์
อนุศาสน์ : การสอน, คำชี้แจง; คำสอนที่อุปัชฌาย์หรือกรรมวาจาจารย์บอกแก่ภิกษุใหม่ ในเวลาอุปสมบทเสร็จประกอบด้วย นิสสัย ๔ และ อกรณียกิจ ๔ นิสสัย คือ ปัจจัยเครื่องอาศัยของบรรพชิต มี ๔ อย่าง ได้แก่ ๑) เที่ยวบิณฑบาต ๒) นุ่งห่มผ้าบังสุกุล ๓) อยู่โคนไม้ ๔) ฉันยาดองด้วยน้ำมูตรเน่า (ท่านบอกไว้เป็นทางแสวงหาปัจจัย ๔ พร้อมทั้งอตเรกลาภของภิกษุ) อกรณียกิจ กิจที่ไม่ควรทำ หมายถึง กิจที่บรรพชิตทำไม่ได้ มี ๔ อย่าง ได้แก่ ๑) เสพเมถุน ๒) ลักของเขา ๓) ฆ่าสัตว์ (ที่ให้าดจากความเป็นภิกษุหมายเอาฆ่ามนุษย์) ๔) พูดอวดคุณวิเศษที่ไม่มีในตน
อสัทธรรม : ธรรมของอสัตบุรุษ มีหลายหมวด เช่น อสัทธรรม ๗ คือที่ตรงข้ามกับ สัทธรรม ๗ มีปราศจากศรัทธา ปราศจากหิริ เป็นต้น; ในคำว่า “ทอดกายเพื่อเสพอสัทธรรมก็ดี” หมายถึง เมถุนธรรม คือการร่วมประเวณี