Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: โรค , then รค, โรค, โรคา .

Budhism Thai-Thai Dict : โรค, 23 found, display 1-23
  1. อามัย : ความป่วยไข้, โรค, ความไม่สบาย; ตรังกันข้ามกับ อนามัย คือความสบาย, ไม่มีโรคภัยไข้เจ็บ
  2. อาพาธ : ความเจ็บป่วย, โรค (ใช้เฉพาะพระภิกษุสามเณร)
  3. อักโกสวัตถุ : เรื่องสำหรับด่า มี ๑๐ อย่าง คือ ๑) ชาติ ได้แก่ชั้นหรือกำเนิดของคน ๒) ชื่อ ๓) โคตร คือตระกูลหรือแซ่ ๔) การงาน ๕) ศิลปะ ๖) โรค ๗) รูปพรรณสัณฐาน ๘) กิเลส ๙) อาบัติ ๑๐) คำสบประมาทอย่างอื่นๆ
  4. กิลาโส : โรคกลาก
  5. กุฏฐัง : โรคเรื้อน
  6. คณฺโฑ : โรคฝี
  7. ปักขันทิกาพาธ : โรคท้องร่วง พระสารีบุตรนิพพานด้วยโรคนี้
  8. ภคันทลา : โรคริดสีดวงทวารหนัก
  9. โสโส : โรคมองคร่อ (มีเสมหะแห้งอยู่ในลำหลอดปอด)
  10. อปมาโร : โรคลมบ้าหมู
  11. กาสะ : ไอ (โรคไอ)
  12. คิลานปัจจัย : ปัจจัยสำหรับคนไข้, ยารักษาโรค
  13. นกุลบิดา : “พ่อของนกุล”, คฤหบดี ชาวเมืองสุงสุมารคีรี ในแคว้นภัคคะ มีภรรยาชื่อ นกุลมารดา สมัยหนึ่ง พระพุทธเจ้าเสด็จมายังเมืองสุงสุมารคีรี ประทับที่ป่าเภสกลาวัน ท่านคฤหบดีและภรรยาไปเฝ้าพร้อมกับชาวเมืองคนอื่นๆ พอได้เห็นครั้งแรก ทั้ง ๒ สามีภรรยาก็เกิดความรู้สึกสนิทหมายใจเหมือนว่าพระพุทธเจ้าเป็นบุตรของตน ได้เข้าไปถึงพระองค์และแสดงความรู้สึกนั้น พระพุทธเจ้าได้แสดงธรรมโปรด ทั้ง ๒ ท่านได้บรรลุธรรมเป็นพระโสดาบัน ท่านนกุลบิดาและนกุลมารดานี้ เป็นคู่สามีภรรยาตัวอย่าง ผู้มีความจงรักภักดีต่อกันอย่างบริสุทธิ์และมั่นคงยั่งยืน ตราบเท่าชรา ทั้งยังปรารถนาจะพบกันทั้งชาตินี้และชาติหน้า เคยทูลขอให้พระพุทธเจ้าแสดงหลักธรรมที่จะทำให้สามีภรรยาครองรักกันยั่งยืนตลอดไปทั้งภพนี้และภพหน้า เมื่อท่านนกุลบิดาเจ็บป่วยออดแอดร่างกายอ่อนแอ ไม่สบายด้วยโรคชรา ท่านได้ฟังพระธรรมเทศนาครั้งหนึ่ง ที่ท่านประทับใจมากคือ พระดำรัสที่แนะนำให้ทำใจว่า “ถึงแม้ร่างกายของเราจะป่วย แต่ใจของเราจะไม่ป่วย” ท่านนกุลบิดาได้รับยกย่องจากพระพุทธเจ้าให้เป็นเอตทัคคะในบรรดาอุบาสกผู้สนิทสนมคุ้นเคย (วิสสาสิกะ)
  14. ปกฺขหตตา : ความเป็นผู้ชาไปซีกหนึ่ง ได้แก่ โรคอัมพาต
  15. ปัจจัย : 1.เหตุที่ให้ผลเป็นไป, เหตุ, เครื่องหนุนให้เกิด 2.ของสำหรับอาศัยใช้, เครื่องอาศัยของชีวิต, สิ่งจำเป็นสำหรับชีวิต มี ๔ อย่าง คือ จีวร (ผ้านุ่งห่ม) บิณฑบาต (อาหาร) เสนาสนะ (ที่อยู่อาศัย) คิลานเภสัช (ยาบำบัดโรค)
  16. ปาปโรโค : คนเป็นโรคเลวร้าย, บางทีแปลว่า โรคเป็นผลแห่งบาป อรรถกถาว่าได้แก่ โรคเรื้อรัง เช่น ริดสีดวงกล่อน เป็นต้น เป็นโรคที่ห้ามไม่ให้รับบรรพชา
  17. ปิตตะ : น้ำดี, น้ำจากต่อมตับ, โรคดีเดือด
  18. เปลี่ยวดำ : หนาวอย่างใหญ่, โรคอย่างหนึ่งเกิดจากความเย็นมาก
  19. เภสัช : ยา, ยารักษาโรค, ยาแก้โรค เป็นอย่างหนึ่งในปัจจัย ๔, เภสัช ๕ ที่เป็นสัตตาหกาลิก รับไว้ฉันได้ตลอด ๗ วัน คือ ๑.สัปปิ เนยใส ๒.นวนีตะ เนยข้น ๓.เตละ น้ำมัน ๔.มธุ น้ำผึ้ง ๕.ผาณิต น้ำอ้อย; ส่วนยาแก้โรคที่ทำจากรากไม้ เปลือกไม้ ใบไม้ เป็นต้น จัดเป็นยาวชีวิก คือรับประเคนไว้แล้ว เก็บไว้ฉันได้ตลอดชีวิต
  20. เภสัชชขันธกะ : ชื่อขันธกะที่ ๖ แห่งคัมภีร์มหาวรรควินัยปิฎก ว่าด้วยเรื่องเภสัชคือ ยาบำบัดโรค ตลอดจนเรื่องยาคู อุทิสสมังสะ กัปปิยะอกัปปิยะ และกาลิก ๔
  21. สมสีสี : บุคคลผู้สิ้นอาสวะพร้อมกับสิ้นชีวิต คือ บรรลุอรหัตตผล ในขณะเดียวกับที่สิ้นชีวิต; นี้เป็นความหมายหลักตามพระบาลี แต่ในมโนรถปูรณี อรรถกถาแห่งอังคุตตรนิกาย ให้ความหมายสมสีสี ว่าเป็นการสิ้นอาสวะพร้อมกับสิ้นอย่างอื่นอันใดอันหนึ่งใน ๔ อย่าง และแสดงสมสีสีไว้ ๔ ประเภท คือ ผู้สิ้นอาสวะพร้อมกับหายโรค เรียกว่า โรคสมสีสี ผู้สิ้นอาสวะพร้อมกับที่เวทนา ซึ่งกำลังเสวยอยู่สงบระงับไปเรียกว่า เวทนาสมสีสี ผู้สิ้นอาสวะพร้อมกับการสิ้นสุดของอิริยาบถอันใดอันหนึ่ง เรียกว่า อิริยาบถสมสีสี ผู้สิ้นอาสวะพร้อมกับสิ้นชีวิต เรียกว่า ชีวิตสมสีสี สมสีสีในความหมายหลักข้างต้น ก็คือ ชีวิตสมสีสี; อย่างไรก็ดีในอรรถกถาแห่งปุคคลปัญญัติ เป็นต้น แสดงสมสีสีไว้ ๓ ประเภท และอธิบายต่างออกไปบ้าง ไม่ขอนำมาแสดงในที่นี้ เพราะจะทำให้ฟั่นเฝือ
  22. อันตราย : ๑๐ เหตุฉุกเฉิน หรือเหตุขัดขวางต่างๆ เช่น เหตุขัดขวางการอุปสมบท ๘ อย่าง มีการเป็นโรคเรื้อน เป็นต้น
  23. อาทีนวสัญญา : การกำหนดหมายโทษแห่งร่างกายซึ่งมีอาพาธคือโรคต่างๆ เป็นอันมาก (ข้อ ๔ ในสัญญา ๑๐)
  24. [1-23]

(0.0094 sec)