Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ไทยะ , then ทย, ไทย, ไทยะ .

ETipitaka Pali-Thai Dict : ไทยะ, 159 found, display 101-150
  1. มร : (ปุ.) การตาย, ความตาย. มรฺ ธาตุ อ, ยุ ปัจ. มรณะที่ใช้ในภาษาไทยใช้เป็นกิริยาว่า ตาย ศัพท์มคธที่เป็นนามเมื่อนำมาใช้ในภาษาไทยแล้วใช้เป็นกิริยามีมากมาย.
  2. มรณ : (นปุ.) การตาย, ความตาย. มรฺ ธาตุ อ, ยุ ปัจ. มรณะที่ใช้ในภาษาไทยใช้เป็นกิริยาว่า ตาย ศัพท์มคธที่เป็นนามเมื่อนำมาใช้ในภาษาไทยแล้วใช้เป็นกิริยามีมากมาย.
  3. มรณภาว : (ปุ.) ความเป็นคืออันตาย, ความเป็นคืออันจะตาย, ฯลฯ, ความตาย. ไทยมรณภาพ ใช้เป็นกิริยาว่า ตาย เฉพาะการตายของพระสงฆ์.
  4. มริจ : นป. พริกไทย
  5. มริจ มริจฺจ : (นปุ.) พริก, พริกไทย, กระวาน. มรฺ ปาณจาเค, โจ, อิ อาคโม. ศัพท์หลังซ้อน จฺ.
  6. มหานิกาย : (ปุ.) หมุ่ใหญ่, หมู่มาก, มหานิกาย เป็นคำเรียกคณะสงฆ์ไทยฝ่ายดั้งเดิม คำนี้เกิดขึ้นเมื่อตั้งคณะสงฆ์ธรรมยุตติกนิกายแล้ว จึงเรียาสงฆ์ที่มีอยู่ดั้งเดิมว่า มหานิกาย.
  7. มารวิชย : (ปุ.) การชนะวิเศษซึ่งมาร, การชนะมาร, ความชนะมาร, มารวิชัย (ผู้ชนะมาร). เป็นพระนามของพระพุทธเจ้า, พระพุทธเจ้า. คำ มารวิชัย นี้ไทยใช้เรียก พระพุทธรูปปางชนะมาร คือ ประทับนั่งขัดสมาธิ พระหัตถ์ขวาพาดพระชานุ (เข่า).
  8. มิชฺชน : (นปุ.) ความเจือ, ความเยื่อใย, ความเอ็นดู, ความรัก, ความสนิท. มิทฺ สิเนหเน, ยุ. ลง ย ปัจ. ประจำหมวดธาตุ แปลง ทฺย เป็น ชฺช ยุ เป็น อน.
  9. ยุตติ : (วิ.) ประกอบ, ฯลฯ, ตกลง, จบ, เลิก, ยุกติ, ยุตติ, ยุติ. ยุกติ ยุตติ ยุติ ไทยใช้เป็นกิริยาในความว่า จบ ตกลง เลิก ลงเอย.
  10. รณรงฺค : (ปุ.) การไปสู่ที่ เป็นที่รบ, การถึงซึ่งที่เป็นที่รบ, รณ+องฺค (การไป) รฺ อาคม. การรบ, สนามรบ. รณ ลง องฺค สกัด. คำ ณรงค์ที่ไทยใช้ตัดมาจาก รณฺรงฺค.
  11. สนฺนิปาต : (ปุ.) การประชุม, การประชุมกัน, ที่ประชุม, สันนิบาต. คำ สันนิบาต ไทยใช้เป็นชื่อของไข้ชนิดหนึ่ง มีอาการสั่นเทิ้มและเพ้อ. สํ นิ ปุพฺโพ, ปตฺ คติยํ, โณ. ส. สนฺนิปาต.
  12. สมถ : (ปุ.) ธรรมเป็นเครื่องระงับ, ธรรมยังนิวรณ์ห้า มี กามฉันท์ เป็นต้นให้สงบ. วิ. กามฉนฺทาทิกํ ปญฺจนิวรณํ สเมตีติ สมโถ. สมุ อุปสเม. โถ แปลง อุ เป็น อ. ความสงบ, ความระงับ, ความสงบระงับ. วิ. สมนํ สมโถ. สมาธิ, สมถะ, ชื่อว่า สมถะ เพราะอรรถว่าไม่ฟุ้งซ้าน อวิกฺเขปฏเฐน สมโถ. สมถุ ชื่อของภาวนาอย่างที่ ๑ ในภาวนา ๒ เป็นอุบายสงบใจ เป็นวิธีทำใจให้สงบหลบทุกข์ไปได้ชั่วคราวมีผลเพียงให้กิเลสอย่างกลางระงับไปชั่วคราว ที่ท่านเปรียบไว้ว่าเหมือนเอาหินทับหญ้าเท่านั้น เมื่อเอาหินออก หญ้าก็งอกงามตามเดิม แต่ก็ยังผู้ปฏิบัติให้หลงไปว่าได้บรรลุโลกุตรธรรมเป็นพระอริยบุคคลไปก็มี เมื่อหลงไปเช่นนี้ก็เป็นอันตรายแด่พระพุทธศาสนาเหมือกัน. คำ สมถะ ไทยใช้ในความหมายว่า มักน้อย ปฏิบัติตนปอน ๆ.
  13. สมาปชฺชนา : (อิต.) การเข้า. สํ อาปุพฺโพ, ปทฺ คติยํ, ยุ. ลง ย ปัจ. ประจำหมวดธาตุ แปลง ทฺย เป็น ชฺช ยุ เป็น อน.
  14. สมาปน : (นปุ.) การชักชวนให้ถือเอาด้วยดี, การชักชวน, สํ อา ปุพฺโพ, ทยฺ อาทาเน, ยุ, ยสฺส โป.
  15. สมี : (อิต.) สมี (สะหมี) ชื่อต้นไม้ชนิดหนึ่งใช้ในพิธีพลีกูณฑ์. วิ. คณฺฑํ สเมตีติ สมี. สมุ อุปสเม. อี อภฯ ลง อิ ปัจ. คำ สมี(สะหมี) ในภาษาไทยใช้เรียกภิกษุผู้ต้องอาบัติปาราชิกไม่ใช้คำที่มาจากภาษามคธ.
  16. สาเฐยฺย สาเถยฺย : (นปุ.) ความเป็นแห่งบุคคลผู้โอ้อวด, ความเป็นคนโอ้อวด, ความโอ้อวด, ความกระด้าง, สาไถย. สฐ+ณฺย ปัจ. ศัพท์หลัง แปลง ฐ เป็น ถ สาไถย ไทยใช้ในความว่า การทำมารยาให้ผู้อื่นเข้าใจผิดหลงผิด หรือการพูดเป็นเหลี่ยมเป็นคู. ส. คาฐฺย.
  17. สาธก : (วิ.) ให้สำเร็จ, อัน...ให้สำเร็จ. สาธฺ สํสิทฺธิยํ, อ. ก สกัด. สาธก ไทยใช้เป็นกิริยาว่ายกตัวอย่างมาให้เห็น.
  18. สาธารณ : (วิ.) สามัญ, ทั่วไป. วิ. สมํ อาธาริยนฺติ ตสฺมินฺติ สาธารณํ. สมสทฺทุปฺปทํ, อาปุพฺโพ, ธารฺ ธารเณ, ยุ. สห ธารเณน วตฺตตีติ วา สาธารณํ (เป็นไปกับด้วยการทรงไว้). สาธารณ์ ไทยใช้เป็นเสสน์ในความว่า ต่ำ, เลว ด้วย. ส. สามานฺย.
  19. สารชฺช : (นปุ.) ความครันคร้าม, ความไม่แกล้วกล้า. สารท+ณฺย ปัจ. สกัด วิ. สารทสฺส ภาโย สารชฺชํ. แปลง ทฺย เป็น ชฺช.
  20. สิตปณฺณาส : (ปุ.) แมงลัก ชื่อผัก ใบคล้ายโหระพา กินได้ทั้งใบและเม็ด เม็ดนั้นแช่น้ำกินกับน้ำกะทิหวาน, อ้อยช้าง ชื่อพรรณไม้ใช้ทำยาไทย, ผักบุ้งรวม ชื่อผักบุ้งชนิดหนึ่ง ต้นเปนขนใบเล็กรสชมใช้ทำยาไทย. วิ. สิดต สุกฺโก ปณฺราโส สิตฺปณฺณาโส.
  21. สิเนรุ : (ปุ.) เขาสิเนรุ, เขาสุเมรุ, เขาพระสุเมรุ. วิ. สินาติ สุจึ กโรติ เทเวติ สิเนรุ. สินา โสเจยฺเย, เอรุ. มคธเป็น สิเนรุ ไทยใช้เป็นสุเมรุ.
  22. สิปฺป : (นปุ.) สิปปะ ศิลปะ. วิชาความรู้ที่ได้มาจากการศึกษาทุกอย่าง ซึ่งสามารถนำมาใช้ในการประกอบกิจเลี้ยงชีวิตในทางสุจริต เรียกว่า สิปปะ หรือ ศิลปะตามภาษาสันสกฤต พระพุทธเจ้าตรัสว่าเป็นมงคลคือเหตุที่ทำให้ผู้ปฏิบัติตามถึงความเจริญ เป็นมงคลที่ ๘ ในมงคล ๓๘ . สิกฺขฺ วิชฺโชปาทาเน, ปฺปปจฺจโย, กฺขฺโลโป, สิ สยเสวาสุ วา, ปฺปปจฺจโย, สปฺปฺ คติยํ วา, อ, อสฺสิ. คำ ศิลปะ ไทยใช้ความว่าฝีมือทางการช่าง ที่ผู้ทำทำได้คล่องแคล่วกว่า หรือดีเด่นกว่า งดงามกว่าช่างด้วยกันหรือสิ่งที่สำเร็จจากฝีมือนั้น ทำให้เกิดอารมณ์สะเทือนใจได้ดีกว่าช่างอื่น. ส. ศิลฺป.
  23. สิสฺสานุสิสฺส : (ปุ.) ศิษย์และศิษย์น้อย, ศิษย์ใหญ่และศิษย์น้อย, ศิษยานุศิษย์, ไทยใช้เป็น ศานุศิษย์ ก็มี.
  24. สุรภิ : (ไตรลิงค์.) ของหอม, เครื่องหอม, สารภี ชื่อต้นไม้ดอกหอมใช้ทำยาไทยอยู่ในกลุ่มเกสรทั้งห้า. วิ. สุฎฺฐุ รภนฺติ ตุสฺสนฺตฺยเน เนติ สุรภิ. รภฺ ตุสฺสเน, อิ. พิมเสน ก็แปล. ส. สุรภิ.
  25. สุวณฺณปฎ : (ปุ. นปุ.) แผ่นสำเร็จแล้วด้วยทอง, แผ่นแห่งทอง, แผ่นทอง, สุพรรณบัฎ. สุพรรณบัฎ ไทยใช้เรียกแผ่นทองคำที่จารึกราชทินนามชั้นสูงหรือจารึกพระราชสาสน์. ส. สุวรฺณปฎ.
  26. เสยฺยาสน : (นปุ.) ที่นอนและที่นั่ง, ที่นอน ที่นั่ง. ไทยใช้เป็นกิริยาว่า นอน เช่น พระไสยาสน์ คือพระนอน.
  27. หฺชช : (วิ.) อันพึงใจ, น่าพึงใจ, น่ายินดี, ยินดี, พึงใจ. วิ. หทเย สาธุ หชฺชํ หทยสฺส วา ปิยนฺติ หชฺชํ. หทย+ณฺย ปัจ. ลบอักษรที่สุดแห่งศัพท์ คือ ย ลบ อ ที่ ท และ ลบ ณฺ แปลง ทฺย เป็น ชฺช.
  28. หตฺถสิปฺป : (นปุ.) วิชาเนื่องด้วยมือ, หัตถศิลป์ คือวิชาเกี่ยวกับการใช้มือทำสิ่งต่าง ๆ หัตถศิลป์ ไทยใช้ในความหมายว่า การช่างทำด้วยมือ.
  29. หรีตก : นป. สมอไทย
  30. หรึตกี : (อิต.) สมอ, สมอไทย. วิ. โรคภยํ หรตีติ หรีตกี. หรฺ อปนยเน, อโต. แปลง อ ที่ ร เ ป็น อี ก สกัด อี อิต. แปลง ต เ ป็น ฎ เป็น หรีฎกี ก็มี แปลง อ เป็น อิ และซ้อน ตฺ เป็น หริตฺตกี ก็มี.
  31. อญฺญมญฺญ : (วิ.) กันและกัน.วิ. อญฺญํอญฺญอญฺญมญฺญํ.ํมฺอาคมไทยใช้เป็นภาษาพูดว่าอัญญมัญญังในความหมายว่า ซึ่งกันและกัน.
  32. อนาทร : (วิ.) ไม่เอื้อเฟื้อ, ไม่เอาใจใส่, ไม่พะวงไม่นำพา, เฉยเมย, เกียจคร้าน, คร้าน, เบียดเบียน, รบกวน, ดูถูก, ดูหมิ่น, ดูแคลนไม่เห็นแก่กัน, อนาทร (อะนาทอน) ไทยใช้ในความหมายว่าเป็นทุกข์เป็นร้อนร้อนอกร้อนใจ.น+อาทร.
  33. อนุช : (ปุ.) ชนผู้เกิดในภายหลัง, น้อง, น้องชายวิ.อนุ ปจฺฉาชาโต อนุโช. อนุปุพฺโพ, ชนฺ ชนเน, กฺวิ. รูปฯ ๕๗๐ ใช้ ปจฺฉาแทนอนุ.วิ.ปจฺฉาชาโต อนุโช.ในคำประพันธ์ไทยตัดอออกเป็นนุช (นุต)ใช้ในความหมายว่าน้องน้องสาว หรือหญิงคู่รัก.ส. อนุช.
  34. อนุญฺญาต : (วิ.) รู้ตามแล้ว, ตามรู้แล้ว, อนุญาตแล้ว.อนุญาตไทยใช้ในความหมายว่ายินยอม, ยอมให้, ยกให้, ตกลง.
  35. อนุญฺาต : (วิ.) รู้ตามแล้ว, ตามรู้แล้ว, อนุญาต แล้ว. อนุญาต ไทยใช้ในความหมายว่า ยินยอม, ยอมให้, ยกให้, ตกลง.
  36. อนุทยาอนุทฺทยา : (อิต.) ความกรุณา, ความปราณี, ความเอ็นดู.วิ.อนุทยติปรทุกฺขํ, อตฺตสุขญฺจหึสตีติอนุทยาอนุทฺทยาวา.อนุปุพฺโพ, ทยฺ ทานคติหึสาทาเนสุ, อ.
  37. อนุทยา อนุทฺทยา : (อิต.) ความกรุณา, ความปราณี, ความเอ็นดู. วิ. อนุทยติ ปรทุกฺขํ, อตฺตสุขญฺจ หึสตีติ อนุทยา อนุทฺทยา วา. อนุปุพฺโพ, ทยฺ ทานคติหึสาทาเนสุ, อ.
  38. อภิสิทฺธิ : (อิต.) ความเจริญยิ่ง, ความสำเร็จยิ่ง, ความสำเร็จ, ไทยใช้อภิสิทธิ์.ในความหมายว่าทำอะไรได้เหนือคนอื่นเหนือกฏ-หมายถ้ามีคนใช้อภิสิทธิ์ในความหมายนี้สังคมก็วุ่นวาย ประเทศชาติก็วุ่นวาย.
  39. อมฺห : (ปุ. อิต.) ฉัน, ข้า, กู, ฯลฯ.คำแทนตัวภิกษุแปลว่าอาตมภาพ, อาตมา, รุป.ลูกพูดกับพ่อแม่แปลว่าลูก, หนู.หญิงพูดกับคนใกล้ชิดหรือคุ้นเคยหรือ คนรักแปลว่าหนูชายพูดกับหญิงที่รักแปลว่าเรียม, พี่. อมฺหศัพท์เป็นคำแทนตัวผู้พูดบาลีไวยากรณ์เป็นบุรุษที่๓ไวยากรณ์ไทยเป็นบุรุษที่๑.
  40. อริฏฺฐ : (ปุ.) ประคำดีควายชื่อต้นไม้ชนิดหนึ่งใช้ทำยาไทยมะคำดีควายก็เรียก.หตชนฺตุปโมหสํขาตาริผลตายอริฏฺโฐ.ตํโรคาริวนฺตชเนหิอิจฉิตพฺพผลตฺตาวาอริฏฺโฐ.สะเดาก็แปล.
  41. อาจิณฺณอาจิณฺณกมฺม : (นปุ.) อาจิณณกรรมคือกรรมที่ทำเสมอ ๆ เนือง ๆ บ่อย ๆ. วิ.อาจียติ ปุนปฺปุนํกรียตีติอาจิณฺณํ. อาปุพฺโพจิจเย, โต.แปลงตเป็น อิณฺณไทยใช้อาจิณเป็นวิเศษในความว่าเป็นปกติเนือง ๆบ่อย ๆ เสมอ.
  42. อิจฺฉา : (อิต.) อิจฉา ชื่อของตัณหา, ตัณหา, ความปรารถนา, ฯลฯ. วิ. เอสนํ อิจฺฉา. รูปฯ ๕๘๓. ไทยใช้ อิจฉา เป็นกิริยาใน ความว่า ริษยา. ส. อิจฉา.
  43. อิทฺธ : (อิต.) ความเจริญ, ความงอกงาม, ความสำเร็จ, คุณเครื่องให้สำเร็จกิจนั้น ๆ, ฤทธิ์, เดช. อิธฺ วุฑฺฒิยํ, อิ, ทฺสํโยโค. คำฤทธิ์ ไทยใช้ในความหมายว่า อำนาจศักดิ์สิทธิ์ หรือการทำอะไร ๆ ได้พิเศษกว่าคนอื่น. ส. ฤทฺธิ.
  44. อิทฺธิพล : (นปุ.) กำลังแห่งความสำเร็จ, กำลัง อันยังผลให้สำเร็จ, อิทธิพล (กำลังอำนาจ). คำอิทธิพล ไทยใช้ทั้งในทางดีและทางเสีย ทางดี เช่น อิทธิพลของดวงดาว ทางเสีย เช่น ใช้อิทธิพลบังคับให้ยินยอม.
  45. อินฺทธนุ : (นปุ.) รุ้ง, สายรุ้ง, รุ้งกินน้ำ. วิ. อินฺทสฺส สกฺกสฺส ธนุ อินฺทธนุ. ส. อินฺทฺร ธนุ. ไทยนำคำนี้มาใช้ตามรูปสันสกฤตว่า อนิทรธนู (ออกเสียงว่า อินทะนู) เป็นชื่อ ของเครื่องประดับบ่าทั้งสองข้าง เป็นผ้า เนื้อ เดียวกับเสื้อ เย็บติดกับเสื้อ รูปเรียวเล็กน้อย ด้านทางคอมีรูสำหรับร้อยลูกกระดุม อีกอย่างหนึ่ง ทำเป็นธนูแข็งติดเครื่องหมายยศทั้งสองข้าง. และเป็นชื่อของลายขอบ ที่เป็นกระหนก.
  46. อินฺทยว : (ปุ.) ผลมวกเหล็ก, ไม้มวกเหล็ก. วิ. อินฺทสฺส สกฺกสฺส ธญฺญ วิเสโส อินฺทยโว.
  47. อิสฺสรชน : ป. อิสรชน, ผู้เป็นไทย, ผู้มีอำนาจ
  48. อิสฺสา : (อิต.) ความเกียดกัน, ความชิงชัง, ความหึงหวง, ความริษยา (นิสัยที่เห็นเขา ได้ดีแล้วทนอยู่ไม่ได้ คิดตัดรอนเขา คิด ทำลายเขา). วิ. อิสฺสติ สตฺเตสุปิ คุเณสุ วจสา มนสา วา โทสาโรปนํ กโรตีติ อิสฺสา. อิสฺส อิสฺสายํ, อ. อิสฺ อิสฺสายํ วา, โส. ไทยนำคำ อิจฉา ซึ่งแปลว่าความหวัง เป็นต้น มาใช้ในความหมายว่าริษยา ดังคำ ว่า อิจฉาตาร้อน. ส. อีรฺษยา.
  49. อุตฺตราสค อุตฺตราสงฺค : (ปุ.) ผ้าอันคล้องอยู่ เหนืออวัยวะด้านซ้าย, ผ้าอันคล้องอยู่ที่ ส่วนแห่งกายด้านซ้าย, ผ้าคล้องไว้บนบ่า เบื้องซ้าย, ผ้าห่ม (คือจีวรในภาษาไทย). วิ. อุตฺตรสฺมึ เทหภาเค อาสชฺชเตติ อุตฺตราสํโค อุตฺตราสงฺโค วา. อุตฺตร อา บทหน้า สญฺชฺ ธาตุในความคล้อง อ ปัจ. แปลง ช เป็น ค ญฺ เป็นนิคคหิต ศัพท์ หลังแปลงนิคคหิตเป็น งฺ.
  50. อุตฺตริ : (วิ.) ยิ่ง, ยอดเยี่ยม, ชั้นเยี่ยม, แปลก, มากขึ้น, อุตริ. คำ อุตริ ที่นำมาใช้ใน ภาษาไทยออกเสียงว่า อุดตะหริ ใช้ใน ความหมายว่า แปลกออกไป นอกแบบ นอกทาง.
  51. 1-50 | 51-100 | [101-150] | 151-159

(0.0256 sec)