Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ไทยะ , then ทย, ไทย, ไทยะ .

ETipitaka Pali-Thai Dict : ไทยะ, 159 found, display 51-100
  1. จิตฺรตณฺฑุลา : (อิต.) พิลังกาสา ชื่อพรรณไม้ ชนิดหนึ่ง ผลกลมเล็กๆ ใช้ทำยาไทย วิ. จิตฺรานิ ตณฺฑุลานิ ยสฺสา สา จิตฺรตณฺฑุลา
  2. จินฺตา : (อิต.) ความนึก, ฯลฯ. วิ. จินฺตนํ จินฺตา. ปัญญาเป็นเครื่องคิด วิ. จินฺตนา จินฺตา. จินดา ไทยใช้ในความหมายว่า แก้วมีค่า.
  3. จินฺตามณี : (ปุ.) แก้วที่เกิดขึ้นตามใจนึก, จิน- ดามณี. ไทยใช้คำ จินดามณี ในความหมาย ว่า แก้วอันผลแก่เจ้าของดังใจนึก แก้วสาร- พัดนึก คือนึกอย่างไรได้อย่างนั้น อีกอย่าง หนึ่งเป็นชื่อของหนังสือแบบเรียนของไทย เล่มแรกแต่งในยุดกรุงศรีอยุธยา.
  4. จิรก : (ปุ.) พริกไทย.
  5. จีวร : (นปุ.) ผ้า วิ. จียตีติ จีวรํ. จิ จเย, อีวโร. ศัพท์จีวร นี้แปลว่าผ้า หมายถึงผ้าทุกชนิด ไทยนำคำจีวรมาใช้ออกเสียงว่า จีวอน ใช้ ในความหมาย ๒ อย่างคือหมายถึงผ้าของ ภิกษุทั้ง ๓ ผืน ได้แก่ ผ้านุ่ง ผ้าห่ม และ ผ้าสังฆาฏิ ได้ในคำว่า บาตรจีวร หรือไตร จีวรอย่าง ๑ หมายเอาเฉพาะผ้าห่มอย่าง เดียวได้ในคำว่า สบง จีวร สังฆาฏิ นี้อีก อย่าง ๑.
  6. จุติ : (อิต.) การเคลื่อน, การแตกดับ, การตาย, ความเคลื่อน, ฯลฯ. วิ. จวนํ จุติ. จุ จวเน, ติ. จุติ ไทยใช้เป็นกิริยาว่า ตาย. ส. จฺยุติ.
  7. เจตนา : (อิต.) ธรรมชาติผู้คิด, ความคิด, ความคิดอ่าน, ความนึก, ความตริ, ความดำริ, ความมุ่งหมาย, ความพอใจ. วิ. จินฺตนา เจตนา. เจตยตีติ วา เจตนา. จิตฺ สํเจตเน, ยุ. ไทยใช้ เจตนาเป็นกิริยา ในความหมาย ว่า จงใจ ตั้งใจ มุ่งหมาย ส. เจตนา.
  8. ฉาตกภย : (นปุ.) ภัยคือความหิว วิ. ฉาตโก เอว ภยํ ฉาตกภยํ. ภัยอันเกิดจากความหิว วิ. ฉาตกมฺหา ชาตํ ภยํ ฉาตกภยํ. ไทยใช้ ฉาตกภัยในความหมายว่า ภัยอันเกิดจาก ไม่มีอาหารการกิน ข้าวยากหมากแพง ภัย อันเกิดจากความแห้งแล้ง.
  9. ฉายา : (อิต.) เค้า คือสิ่งที่เป็นเครื่องกำหนด หมายให้รู้ สิ่งที่ส่อแสดงให้รู้ว่ามีลักษณะ เหมือนสิ่งอื่น, ความไม่มีแดด, เงา, ร่ม (บริเวณที่ไม่ถูกแดดไม่ถูกฝน), รูป, รูป เปรียบ, แสงสว่าง, ฉายา คือ ชื่อที่พระ – อุปัชฌายะตั้งให้เป็นภาษามคธเมื่ออุปสม – บท. วิ. เฉติ สํสยนฺติ ฉายา. ฉา เฉทเน, โย. ฉินฺทติ ปริสฺสมนฺติ วา ฉายา. ไทยใช้ เรียกชื่อภาษาไทยที่ตั้งกันเล่นๆตามลักษ – ณะที่หมายรู้กันในหมู่คณะ เช่น เปี๊ยก ว่ามี ฉายาว่า นายเปี๊ยก นอกจากนี้ยังหมายถึง นางผู้โฉมงามหรือเมียอีกด้วย.
  10. ฉิชฺชน : (วิ.) ขาด, ทะลุ, แตก, สลาย, เสียหาย, ผิด. ฉิทฺ ธาตุ ในความตัด, ฯลฯ. ย ปัจ. ประจำหมวดธาตุ ยุ ปัจ. แปลง ทฺย เป็น ชฺช ยุ เป็น อน.
  11. ชนปท : (ปุ.) ตำบล, บ้านเมือง, ประเทศถิ่น. ไทยใช้ ชนบท ในความหมายว่า พื้นที่ หรือ เขตแดนที่อยู่นอกเขตเมืองหลวง บ้านนอก. ส. ชนบท.
  12. ญตฺติ : (อิต.) วาจาเป็นเครื่องยังสงฆ์ให้รู้, คำ ประกาศให้สงฆ์ทราบ ( เพื่อทำกิจของ – สงฆ์ร่วมกัน ), การบอกให้รู้, การประกาศ (บอกให้รู้ให้เข้าใจ), ญัตติ (คำเสนอให้พิ- จารณา เพื่อลงมติ). ญา ธาตุ ติ ปัจ. รัสสะ ซ้อน ตฺ หรือแปลง ติ เป็น ตฺติ ไทยใช้ญัตติในความหมายว่า หัวข้อ, หัว ข้อโต้วาที.
  13. ตนุ : (อิต.) กาย, ร่างกาย, ตน, หนัง. วิ.ตโนติ สํสารทุกฺขนฺติ ตนุ. ตนุ วิตถาเร, อุ. รูปฯ ๖๓๕ ลง ณุ ปัจ. ไม่ทีฆะ. ไทยใช้ ดนุ เป็นสัพพนามแทนผู้พูด. ฉันข้าพเจ้าฯลฯ.
  14. ติปุฏา : (อิต.) จิงจ้อ ชื่อไม้เถาในสกุลผักทอด ยอดมีหลายชนิด ใช้ทำยาไทย. วิ. ติสฺโส ปุฏา ตจราชิโย อสฺสาติ ติปุฏา.
  15. ตุงฺคหาร : (ปุ.) แกแล ชื่อไม้เถาชนิดเขื่อง มี แก่นเหลือง ใช้ย้อมผ้าและทำยาไทย.
  16. ตุณฺหี : (วิ.) มีความนิ่ง วิ. ตุโณฺห เอตสฺสาตฺถีติ ตุณฺหี. นิ่ง วิ. โตหตีติ ตุณฺหี. ณิ ปัจ.ไม่ลบ ณฺ แปรไว้หน้า หฺ หฺ+อิ เป็น หิ ทีฑะ เป็น หี. ไทยใช้ ดุษฏี หมายถึง อาการนิ่งที่ แสดงอาการยอมรับ. ส. ตุษณีมฺ.
  17. ตุณฺหีภาว : (ปุ.) ความเป็นแห่งบุคคลผู้มีความนิ่ง, ความเป็นแห่งบุคคลผู้นิ่ง, ความเป็น ผู้นิ่ง. วิ. ตุณฺหิสฺส ภาโว ตุณฺหีภาโว. ตุณฺหี ภวนํ วา ตุณฺหีภาโว. ไทยใช้ ดุษณีภาพ หมายถึง อาการนิ่งที่แสดงอาการยอมรับ.
  18. ทยฺย : (ปุ.) คนไทย (เจริญรุ่งเรืองด้วยความดี). ทุ วุฒฒิยํ, โณ. พฤทธิ อุ เป็น โอ แปลง โอ เป็น อย ซ้อน ย.
  19. ทยฺยชาติ : (อิต.) ชาติไทย
  20. ทยา : (อิต.) ความเอ็นดู, ความอนุเคราะห์, ความรัก, ความรักใคร่, ความกรุณา. วิ. ทยติ ปรทุกขํ อตฺตสุขญฺจ หึสตีติ ทยา. ทยฺ ทานคติหึสาทานรกฺขาสุ, อ. อธิบายความหมายของศัพท์ ทยา ตามอรรถของธาตุ ให้คือให้อภัยแก่สัตว์ ไป คือ จิตไปเสมอในคนดีคนชั่วและสัตว์เบียดเบียนคือ รบเร้าจิตเตือนให้ช่วยเหลือผู้อื่น. ส. ทยา.
  21. ทยิต : (วิ.) อันพึงใจ, อันพอใจ, อันน่าพึงใจ, อันเป็นที่รัก. ทยฺ อาทาเน, โต, อิอาคโม. ส. ทยิต.
  22. ทาย : (ปุ.) ป่า, หมู่ไม้, กอหญ้า, ทา อวขณฺฑนเฉทเนสุ. ทยฺ ทานคติหึสาสุ วา, โณ. แปลง อา เป็น อาย ถ้าตั้ง ทยฺ ธาตุ ก็ฑีฆะ.
  23. ทายชฺช : (นปุ.) ทรัพย์อันเป็นประโยชน์ เกื้อกูลแก่บุคคลผู้ถือเอาซึ่งทรัพย์อันมารดาและบิดาพึงให้ วิ. ทายาทสฺส หิตํ ธนํ ทายชฺชํ. ณฺยปัจ. ชาตาทิตัท. รูปฯ ๓๖๓. ความเป็นแห่งบุคคลผู้ถือเอาซึ่งทรัพย์ อัน...พึงให้, ความเป็นแห่งบุคคลผู้รับ ทรัพย์มรดก, ความเป็นแห่งบุคคลผู้รับมรดก. วิ. ทายาทสฺส ภาโว ทายชฺชํ. ทายาท+ณฺย ปัจ. ภาวตัท. รัสสะ อา ที่ ยาลบ อ ที่ ท ลบณฺ รวมเป็น ทายทฺย แปลง ทฺย เป็น ชฺช.
  24. ทิวงฺคต : (วิ.) ไปแล้วสู่สวรรค์, ไปสู่สวรรค์, ไปสวรรค์, ไทยใช้ทับศัพท์ว่า ทิวงคต ใช้เป็นกริยาสำหรับพระยุพราชหรือเทียบเท่าเมื่อสิ้นชีวิต.
  25. ทุ : (อัพ. อุปสรรค) ชั่ว, ยาก, ลำบาก, เลว, ทราม, เสีย, น้อย. ที่ใช้ในภาษาไทย เมื่ออยู่หน้าอักษรต่ำ แปลง ทุ เป็น ทร ทุร อุ. ทรชน ทุรชน. ส. ทุ.
  26. ทุกฺขเวทนา : (อิต.) ความเสวยอารมณ์อันเป็น ทุกข์, ความรู้สึกลำบาก, ไทยใช้ทุกขเวทนาในความว่ารู้สึกลำบาก รู้สึกเจ็บปวด.
  27. ทุจฺจริต : (นปุ.) ความประพฤติชั่ว, ความประพฤติเสียหาย, บาป. วิ. ทุ กุจฺฉิตํ จริตํ ทุจฺจริตํ. สารัตถทีปนี วิ. ทุฏฐ จริตํ ทุจฺจริตํ. วิเสเสหิ วา ทูสิตํ จริตนฺติ ทุจฺจริตํ. ทูสิต นั้นคือ ทุสฺ โทสเน, โต, อิอาคโม, ทีโฆ. คำ ทุจจริตนี้ ไทยใช้ว่า คดโกง, ฯลฯ. ส. ทุรฺศฺจริต ทุรฺจริต.
  28. ทุผสฺส : (ปุ.) ผัสสะหยาบ, อเนกคุณคัน อเนกคุณ ชื่อต้นไม้ชนิดหนึ่ง ใช้ทำยาไทย มีขนและหนามเล็กตามกิ่งก้านและใบ ถูกเข้าจะคัน.
  29. ทุพฺพลภาว : (ปุ.) ความเป็นแห่ง...ผู้มีกำลัง อันโทษประทุษร้ายแล้ว, ฯลฯ, ความเป็นคนทุรพล, ความเป็นผู้ทุรพล. วิ.ทุพฺพลสฺส ภาโว ทุพฺพลภาโว. ไทยใช้คำทุพพลภาพ ในความว่า ไม่มีกำลังที่จะประกอบการงาน ความเสื่อมถอยกำลัง อ่อนเพลียไม่สมประกอบ.
  30. เทวทารุ : (ปุ.) เทพทารู เทพทาโร ชื่อพรรณ ไม้ชนิดหนึ่ง มีกลิ่นหอมคล้ายการบูร เปลือกหอมใช้ปรุงอาหารรากใช้ทำยาไทย วิ. เทวานํ ตรุภูตตฺตา เทวทารุ.
  31. ธมฺมยุตฺติกนิกาย : (ปุ.) ธรรมยุติกนิกาย ชื่อ นิกายสงฆ์ไทยฝ่ายเถรวาท ซึ่งเริ่มขึ้นในรัชกาลที่๓ ตั้งเป็นนิกายชัดเจนในรัชกาลที่ ๔ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์. เมื่อนิกายนี้เกิดขึ้น จึงเรียกคณะสงฆ์ไทยดั้งเดิมว่ามหานิกาย.
  32. นขลิขิต : (นปุ.) การขีดด้วยเล็บ, การเขียน ด้วยเล็บ, การเขียนทำเหมือนรูปเล็บ, นขลิขิต. ไทยใช้ นขลิต เป็นชื่อของเครื่อง หมายรูปดังนี้ ( ) เรียกว่าวงเล็บเปิด วงเล็บปิด.
  33. นชฺโช : (อิต.) แม่น้ำ ท. นทีศัพท์ โยวิภัติ แปลง อี เป็น ย รวมเป็น นทฺย แปลง ทฺย เป็น ช แปลง ช เป็น ชฺช หรือแปลง ทฺย เป็น ช ซ้อน ชฺ หรือแปลง ทฺย เป็น ชฺช แปลงโยเป็น โอ เป็นการต่อศัพท์กับวิภัติ รูปฯ ๑๘๘.
  34. นิปชฺชน : (นปุ.) การถึง, การนอน, นิปุพโพ, ปทฺ คติยํ, ยุ. ลง ย ปัจ. ประจำหมวดธาตุ แปลง ทฺย เป็น ชฺช ยุ เป็น อน.
  35. นิปฺผชฺช : (นปุ.) ความสำเร็จ. นิปุพฺโพ, ปทฺ คติยํ, โณฺย แปลง ป เป็น ผ ทฺย เป็น ชฺช ซ้อน ปฺ.
  36. นิยม : (ปุ.) การกำหนด, การหมายไว้, การจำ ศีล, ความกำหนด, ความแน่นอน, ความพร้อมกัน, ความประพฤติ, ความชอบ, ความนับถือ, วัตร, พรต, พรตที่ประพฤติ ตามกาล. นิปุพฺโพ, ยมุ อุปรเม, อ. คำนิยม ไทยใช้เป็นกิริยา ในความหมายว่า ชมชอบ ชื่นชม ยินดี ยอมรับ นับถือ. ส. นิยม.
  37. นิยาม : (ปุ.) การกำหนด, ความกำหนด, เหตุ เป็นเครื่องกำหนด, ทาง, หนทาง, มรรค, แบบ, อย่าง, วิธี, ทำนอง. นิปุพฺโพ, ยมุ อุปรเม, โณ. ไทยใช้นิยามเป็นกิริยาใน ความหมายว่า กำหนดหรือจำกัดความหมายที่แน่นอน หรือให้ความหมายอย่าง กะทัดรัด.
  38. ปทจร : (ปุ.) คนเที่ยวไปด้วยเท้า, คนเดินเท้า, การเที่ยวไปด้วยเท้า, การไปด้วยเท้า, บทจร. ไทยใช้ บทจร เป็นกิริยาว่าเดินไป.
  39. ปมชฺชน : (นปุ.) ความมัวเมา, ความประมาท. ปปุพฺโพ, มทฺ อุมฺมาเท. ย ปัจ. ประจำ หมวดธาตุ ยุ ปัจ. แปลง ทฺย เป็น ชฺช ยุ เป็น อน.
  40. ปริกมฺม : (นปุ.) การทำบ่อยๆ, การทำซ้ำๆ, การขัดถู, การบริกรรม, ไทยใช้บริกรรม เป็นกิริยาในความว่า สำรวมใจสวดมนต์ สำรวมใจร่ายมนต์เสกคาถา เสกเป่า ตกแต่ง กำหนดใจ นวดฟั้น ฉาบทา.
  41. ปิปฺปล : นป. พริกไทย, พริกขี้หนู, พริกชี้ฟ้า
  42. ปูชนา ปูชา : (อิต.) การยกย่อง, การนับถือ, การต้อนรับ, การบูชา, ความยกย่อง, ฯลฯ. คำ บูชา ไทยใช้เป็นกิริยาในความว่าให้ด้วยความนับถือ.
  43. พฺยาปชฺฌ : (นปุ.) ความเบียดเบียน ความพยาบาท. วิ อา ปุพฺโพ, ปทฺ คติยํ, โณฺยฺ แปลง อิ เป็น ย ทฺย เป็น ชฺฌ. เป็น พฺยาปชฺฌา พฺยาปชฺชา บ้าง.
  44. พฺรหฺมจาริณี พรหฺมจารี : (อิต.) หญิงผู้ประพฤติประเสริฐ, หญิงผู้ประพฤติเหมือนพรหม, หญิงพรหมจารี. พรหมจาริณี พรหมจารี ไทยใช้หมายถึงหญิงที่ยังบริสุทธิ์เรื่องเพศ.
  45. พุทฺธาภิเสก : (ปุ.) การได้บรรลุเป็นพระพุทธเจ้า, พุทธาภิเษก. พุทธาภิเษกไทยใช้เป็นชื่อของพิธีกรรม มีพระสงฆ์สวดสรรเสริญคุณ มีพระอาจารย์นั่งปรกในการหล่อ พิมพ์ พระพุทธรูป หรือ รูปเปรียบ รูปเหมือน หรือวัตถุต่างๆ หรือเมื่อหล่อหรือพิมพ์แล้ว เพื่อบรรจุพลังจิตลงไปในรูปหรือวัตถุนั้นๆ ไม่ใช่ปลุกพระพุทธเจ้าดังที่บางท่านเข้าใจ เพราะพระพุทธเจ้าทรงเป็นพุทธะแล้ว.
  46. ภิชฺชน : (นปุ.) อันแตก, อันทำลาย, อันสลาย, การแตก, ฯลฯ. ภิทิ เภทเน, ยุ. ลง ย ปัจ. ประจำหวดธาตุ ลบ อิ แปลง ทฺย เป็น ชฺช ยุ เป็น อน.
  47. ภุชิสฺส : (ปุ.) ความเป็นอิสระ, ความเป็นไทย. ภุชฺ ปาล-เน, อิโส. แปลง ส เป็น สฺส.
  48. ภูธร : (ปุ.) เขา, ภู, ภูเขา. วิ. ภํ ภูมึ ธรตีติ ภูธโร. ภูปุพฺโพ, ธรฺ ธารเณ, อ. ไทยใช้ภูธร เป็นพระนามของพระเจ้าแผ่นดินตามความหมายของสันสกฤต.
  49. มชฺช : (วิ.) อัน...พึงเมา วิ. มชฺฌิตพฺพนฺติ มชฺชํ. มทฺ อุมฺมาเท, โณฺย. แปลง ทฺย เป็น ชฺช.
  50. มชฺชน : (นปุ.) ความเมา, ฯลฯ. วิ. มทนํ มชฺชนํ. มทฺ อุมฺมาเท, ยุ. ลง ย ปัจ. ประจำหมวดธาตุ แปลง ทฺย เป็น ชฺช ยุ เป็น อน.
  51. 1-50 | [51-100] | 101-150 | 151-159

(0.0204 sec)