Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: หมาย .

ETipitaka Pali-Thai Dict : หมาย, 231 found, display 51-100
  1. ฉายา : (อิต.) เค้า คือสิ่งที่เป็นเครื่องกำหนด หมายให้รู้ สิ่งที่ส่อแสดงให้รู้ว่ามีลักษณะ เหมือนสิ่งอื่น, ความไม่มีแดด, เงา, ร่ม (บริเวณที่ไม่ถูกแดดไม่ถูกฝน), รูป, รูป เปรียบ, แสงสว่าง, ฉายา คือ ชื่อที่พระ – อุปัชฌายะตั้งให้เป็นภาษามคธเมื่ออุปสม – บท. วิ. เฉติ สํสยนฺติ ฉายา. ฉา เฉทเน, โย. ฉินฺทติ ปริสฺสมนฺติ วา ฉายา. ไทยใช้ เรียกชื่อภาษาไทยที่ตั้งกันเล่นๆตามลักษ – ณะที่หมายรู้กันในหมู่คณะ เช่น เปี๊ยก ว่ามี ฉายาว่า นายเปี๊ยก นอกจากนี้ยังหมายถึง นางผู้โฉมงามหรือเมียอีกด้วย.
  2. ชตุ : (นปุ.) ครั่ง ใช้เรียกทั้งตัวครั่งและขี้ครั่ง โดยมากหมายเอาขี้ครั่งที่ใช้เป็นชื่อตัวครั่ง น่าจะ เป็น ปุ., ยาง, ยางไม้. ชนฺ ชนเน, ตุ, นฺโลโป. ส. ชตุ.
  3. ชนปท : (ปุ.) ตำบล, บ้านเมือง, ประเทศถิ่น. ไทยใช้ ชนบท ในความหมายว่า พื้นที่ หรือ เขตแดนที่อยู่นอกเขตเมืองหลวง บ้านนอก. ส. ชนบท.
  4. ชิวฺหายตน : (นปุ.) อายนะคือลิ้น, ชิวหาประ สาท (หมายเอาประสาทรับรู้รส).
  5. ญตฺติ : (อิต.) วาจาเป็นเครื่องยังสงฆ์ให้รู้, คำ ประกาศให้สงฆ์ทราบ ( เพื่อทำกิจของ – สงฆ์ร่วมกัน ), การบอกให้รู้, การประกาศ (บอกให้รู้ให้เข้าใจ), ญัตติ (คำเสนอให้พิ- จารณา เพื่อลงมติ). ญา ธาตุ ติ ปัจ. รัสสะ ซ้อน ตฺ หรือแปลง ติ เป็น ตฺติ ไทยใช้ญัตติในความหมายว่า หัวข้อ, หัว ข้อโต้วาที.
  6. ญาติสาโลหิต : (ปุ.) พี่น้องผู้เกี่ยวเนื่องกันด้วย เลือด, พี่น้องผู้เกี่ยวเนื่องกันด้วยสายเลือด, พี่น้องผู้ร่วมสายเลือด, ญาติสาโลหิต, ญาติสายโลหิต ( ญาติที่ลืมสกุลมาโดยตรง ญาติสายโลหิตเดียวกัน ). คำ ญาติ ทาง ศาสนาหมายถึงคนที่ไม่ใช่สายเลือดเดียว กัน ก็ได้ ดังบาลีว่า วิสฺสาสาปรมา ญาติ ความคุ้นเคยชื่อว่าเป็นญาติอย่างยิ่ง. (ญาติ สนิท).
  7. ตุณฺหี : (วิ.) มีความนิ่ง วิ. ตุโณฺห เอตสฺสาตฺถีติ ตุณฺหี. นิ่ง วิ. โตหตีติ ตุณฺหี. ณิ ปัจ.ไม่ลบ ณฺ แปรไว้หน้า หฺ หฺ+อิ เป็น หิ ทีฑะ เป็น หี. ไทยใช้ ดุษฏี หมายถึง อาการนิ่งที่ แสดงอาการยอมรับ. ส. ตุษณีมฺ.
  8. ตุณฺหีภาว : (ปุ.) ความเป็นแห่งบุคคลผู้มีความนิ่ง, ความเป็นแห่งบุคคลผู้นิ่ง, ความเป็น ผู้นิ่ง. วิ. ตุณฺหิสฺส ภาโว ตุณฺหีภาโว. ตุณฺหี ภวนํ วา ตุณฺหีภาโว. ไทยใช้ ดุษณีภาพ หมายถึง อาการนิ่งที่แสดงอาการยอมรับ.
  9. เถรภูมิ : (อิต.) ชั้นแห่งพระเถระ, ขั้นแห่ง พระเถระ, ชั้นมั่น, ฐานะมั่น, เถรภูมิ ชื่อ ชั้นหรือฐานะของท่านผู้สอบความรู้ใน พระพุทธศาสนา ได้นักธรรมชั้นเอก หรือ หมายถึงพระผู้ใหญ่มีพรรษาครบ ๑๐ แล้ว.
  10. ทกฺขิโณทก : (นปุ.) น้ำอันบุคคลพึงให้เพื่อทาน สมบัติอันเจริญ, ทักขิโณทก, ทักษิโณทก. เดิมคำนี้เป็นชื่อของน้ำที่เจ้าภาพถวายแด่ พระก่อนจะฉันภัตตาหาร เพื่อใช้บ้วนปาก ล้างมือหรือชุบมือ ( กรณีฉันด้วยมือ ) แต่ปัจจุบันนี้หมายถึงน้ำที่เจ้าภาพหลั่ง ( เทให้ใหลลงช้าๆ โดยไม่ขาดสาย ) เวลา ทำบุญ เพื่ออุทิศส่วนกุศลแด่ผู้ล่วงลับไป แล้ว หรือเป็นชื่อของน้ำที่เจ้าของสิทธิ์ หลั่งลง เป็นการแสดงการมอบของที่ไม่ สามารถยกได้ให้เป็นสิทธิ์ขาด อีกอย่าง หนึ่ง เป็นชื่อของเต้าน้ำ ราชาศัพท์ใช้ว่า พระเต้าษิโณทก คำกลอนมักตัดทักออก ใช้ว่า ษิโณทก.
  11. ทยา : (อิต.) ความเอ็นดู, ความอนุเคราะห์, ความรัก, ความรักใคร่, ความกรุณา. วิ. ทยติ ปรทุกขํ อตฺตสุขญฺจ หึสตีติ ทยา. ทยฺ ทานคติหึสาทานรกฺขาสุ, อ. อธิบายความหมายของศัพท์ ทยา ตามอรรถของธาตุ ให้คือให้อภัยแก่สัตว์ ไป คือ จิตไปเสมอในคนดีคนชั่วและสัตว์เบียดเบียนคือ รบเร้าจิตเตือนให้ช่วยเหลือผู้อื่น. ส. ทยา.
  12. ทฺวิชิวฺห : (ปุ.) สัตว์มีลิ้นสอง. งู. คนมีลิ้นสอง หมายถึงคนส่อเสียด. วิ. เทฺว ชิวฺหา ยสฺสโส ทวิชิโวฺห.
  13. ทาฐาพลี : ค. ผู้มีเขี้ยวเป็นกำลัง, ผู้มีกำลังอยู่ที่เขี้ยว (หมายถึงราชสีห์)
  14. ทิฏฺฐธมฺม : (ปุ.) สิ่งอันตนเห็นแล้ว, สิ่งอัน...เห็นแล้ว, ทิฏฐธรรม. คำ ทิฏฐธรรม มีความหมายดังนี้ ความเป็นไปในปัจจุบัน, โลกนี้, ภพนี้, ชาตินี้, ปัจจุบัน; ปัจจุบัน ชาติ, ปัจจุบันภพ. วิ. ทิฏฺโฐ ธมฺโม ทิฏฺฐธมฺโม. ทิฏฺฐธมฺโม นาม ปจฺจกฺข- อตฺตภาโว.
  15. ทิวาสญฺญา : อิต. ทิวาสัญญา, ความสำคัญหมายว่ากลางวัน
  16. ทิสา : (อิต.) ด้าน, ข้าง, ทิศ. ทิสฺ เปกฺขเณ, อ. อา อิต. ถ้าใช้คู่กับวิทิสา แปลว่า ทิศใหญ่ แปล วิทิสา ว่าทิศน้อย และยังใช้ในความหมายว่า บิดา มารดา คนให้ทาน และ พระนิพพาน. ส. ทิศ ทิศา.
  17. ทุกฺขสญฺญา : อิต. ความหมายรู้ว่าเป็นทุกข์, ความสำคัญว่าเป็นทุกข์
  18. ทุวงฺคุลปญฺญ : ค. ผู้มีปัญญาเพียงสองนิ้ว, ผู้มีปัญญาน้อย (หมายถึงสตรี)
  19. เทว : (ปุ.) เทวะ ชื่อของเทพทั้ง ๓ คือ อุปัตติ เทพ วิสุทธิเทพ และ สมมุติเทพ, เทพ, เทพเจ้า, เทพยะ, เทพยดา, เทพบุตร, เทวดา. วิ. ทิพฺพนติ ปญฺจกามคุณาทีหิ กีฬนฺตีติเทวา. ทิวุ กีฬายํ, โณ. วิ. นี้เฉพาะ อุปัตติเทพ และสมมุติเทพ. เทวะที่หมาย ถึงวิสุทธิเทพ มี วิ. ว่า โลกุตฺตรธมฺเม โลกุตฺตรธมฺเมหิ วา ทิพฺพนฺติ เทโว (ผู้บรรลุโลกุตตรธรรม หรือผู้รุ่งเรืองด้วย โลกุตตรธรรม). ทิวุ คติยํ ชุติยํ วา, โณ.
  20. เทวตา : (อิต.) เทวดา, เทพดา, เทพยดา, เทวัญ. คำ เทวตา นี้หมายเอาทั้ง เทพบุตร เทพธิดา และพรหม. เทโว เอว เทวตา. ตา ปัจ. สกัด. อภิฯ และรูปฯ ๓๖๕. ศัพท์ ที่แปลว่า เทวดา มี ๑๕ ศัพท์ และใช้เป็น พหุ. ทั้งสิ้น. ส. เทวตา.
  21. เทวิสิ : ป. เทพฤษี หมายถึงพระพุทธเจ้า
  22. เทโวโรหณ : (นปุ.) การลงจากเทวดา, การลงจากเทวโลก การลงจากสวรรค์. เทวโลกหรือสวรรค์ในที่นี้หมายเอาเฉพาะสวรรค์ ชั้นดาวดึงส์
  23. เทสธมฺม : (ปุ.) กฏหมายของประเทศ. ส. เทศธรฺม.
  24. ธมฺมตฺถเทสนา : อิต. การแสดงธรรมหรือความหมายแห่งข้อธรรม
  25. ธมฺมธาตุ : (ปุ.) ชนผู้ทรงไว้ซึ่งธรรม, พระ ธรรมธาดา หมายเอาพระบรมศาสดา.
  26. ธมฺมปริยาย : (ปุ.) กระบวนของธรรม, ลำดับ ของธรรม, การเล่าเรียนธรรม, การสอนธรรม, นัยเป็นเครื่องยังคำสอนให้เป็นไปรอบ, การอธิบายตามความหมายของธรรม.
  27. ธาตุสณฺณา : (อิต.) ความสำคัญว่าธาตุ, ความรู้ว่าธาตุ, ความหมายรู้ว่าธาตุ, ความกำหนดว่าธาตุ.
  28. นขลิขิต : (นปุ.) การขีดด้วยเล็บ, การเขียน ด้วยเล็บ, การเขียนทำเหมือนรูปเล็บ, นขลิขิต. ไทยใช้ นขลิต เป็นชื่อของเครื่อง หมายรูปดังนี้ ( ) เรียกว่าวงเล็บเปิด วงเล็บปิด.
  29. นมสฺสการ : (ปุ.) การทำซึ่งการนอบน้อม, ฯลฯ, นมัสการ. คำนมัสการใช้ในความหมาย ว่า ไหว้ เป็นส่วนมาก. ส. นมสฺการ.
  30. นโยปาย : (ปุ.) หนทางเป็นเครื่องนำไป, วิธี เป็นเครื่องนำไป, อุบายเป็นเครื่องนำไป, วิธีดำเนินการ. วิ. นโย อุปาโย นโยปาโย. ไทย นโยบาย ใช้ในความหมายว่า หลัก และวิธีปฏิบัติที่ถือเป็นแนวดำเนินการ.
  31. นรวร : (ปุ.) นรวร พระนามของพระพุทธเจ้า ทั้งปวง, คนประเสริฐ (หมายเอาเทวดา ทั้งปวงด้วย).
  32. นวกภูมิ : (อิต.) ชั้นต้น, ลำดับ, ฐานะต้น, ฯลฯ, นวกภูมิ คือชั้นหรือฐานะของคน ชั้นต้น ในพุทธศาสนา หมายถึง นักธรรม ชั้นตรี ธรรมศึกษาชั้นตรี พระชั้นต้น คือ ตั้งแต่อุปสมบทถึงพรรษาครบ ๕ ใน พจนาฯ นับตั้งแต่อุปสมบทถึงครบพรรษา ๔.
  33. นารา : (อิต.) แสง, แสงสว่าง (นำไปถึงที่หมาย). นรฺ นยเน, โณ. รัศมี ก็แปล.
  34. นิกฺกาม นิกาม : (วิ.) มีความใคร่ออกแล้ว วิ. นิกฺขนฺโต กาโม ยสฺมา โส นิกฺกาโม. ไม่มี ความใคร่ วิ. นตฺถิ กาโม เอตสฺสาติ นิกฺกาโม. ออกแล้วจากความใคร่ วิ. กาเหมิ นิกฺขนฺโต นิกฺกาโม. ลบ กฺขนฺต แล้วกลับบทหน้าไว้หลัง. ความหมาย อย่างสูง หมายเอาความตั้งใจทำความเพียรเพื่อละกิเลส โดยไม่ห่วงกายและ ชีวิตแบบคนบริโภคกามคุณห่วง.
  35. นิกฺขิตฺต : ๑. กิต. เก็บไว้แล้ว, วางไว้แล้ว, ๒. ค. ผู้ได้รับมอบหมายให้มีหน้าที่รับผิดชอบ, ผู้ได้รับแต่งตั้งให้รับผิดชอบ
  36. นิจฺจสญฺญา : อิต. ความสำคัญหมายว่าเที่ยง, แน่นอน
  37. นิจฺจสญฺญี : ค. มีความสำคัญหมายว่าเที่ยงหรือแน่นอน
  38. นิติปุคฺคล : (ปุ.) บุคคลโดยกฎหมาย, บุคคล ตามกฎหมาย, นิติบุคคล. ไทย นิติบุคคล หมายถึงองค์การหรือคณะบุคคล ซึ่ง กฎหมายสมมุติให้เป็นบุคคลมีสิทธิและ หน้าที่ที่กำหนดไว้ตามกฎหมาย.
  39. นิทสฺเสติ : ก. ชี้แจง, อธิบาย, แสดงความหมาย, แนะนำ
  40. นินาท : (ปุ.) เสียง วิ. นิรตฺโถ นาโถ นินาโท. ส.นินาท. หมายถึงเสียงทั่วไป.
  41. นิพฺพานสญฺญา : อิต. ความหมายรู้พระนิพพาน
  42. นิยม : (ปุ.) การกำหนด, การหมายไว้, การจำ ศีล, ความกำหนด, ความแน่นอน, ความพร้อมกัน, ความประพฤติ, ความชอบ, ความนับถือ, วัตร, พรต, พรตที่ประพฤติ ตามกาล. นิปุพฺโพ, ยมุ อุปรเม, อ. คำนิยม ไทยใช้เป็นกิริยา ในความหมายว่า ชมชอบ ชื่นชม ยินดี ยอมรับ นับถือ. ส. นิยม.
  43. นิยเมติ : ก. กำหนด, จำกัด, บังคับ, แสดงความหมาย
  44. นิยฺยูห : (ปุ.) การไหล, การซึม, การไหลซึม, ความไหล. ฯลฯ, ยาง, ยางไม้, เหงือก, ดอกไม้กรองบนศรีษะ, มงกุฎ, ประตู, หลักติดไว้สำหรับแขวนหมวก. โบราณว่า บันไดแก้ว เขมรว่า ไดแก้ว หมายเอาที่ แขวนหมวก. นิปุพฺโพ, อูหฺ วิตกฺเก ปีฑเน วา. อ. ยฺอาคโม, ทฺวิตฺตญจ. ส. นิรฺยูห, นิรฺยฺยูห.
  45. นิยาม : (ปุ.) การกำหนด, ความกำหนด, เหตุ เป็นเครื่องกำหนด, ทาง, หนทาง, มรรค, แบบ, อย่าง, วิธี, ทำนอง. นิปุพฺโพ, ยมุ อุปรเม, โณ. ไทยใช้นิยามเป็นกิริยาใน ความหมายว่า กำหนดหรือจำกัดความหมายที่แน่นอน หรือให้ความหมายอย่าง กะทัดรัด.
  46. นิลญจก นิลญฉก : (ปุ.) คมผู้หมายลง, คน ประทับตา, คนผู้ทำรูป, คนผู้ทำรูปสัตว์. นิปุพฺโพ, ลญจฺ ลญฉฺ ลกฺขเณ, อ, สกตฺเถ โก.
  47. ปญฺจวคฺคิย : ค. มีพวกห้า หมายถึงภิกษุห้ารูปเหล่านี้คือ อัญญาโกณฑัญญะ, วัปปะ, ภัททิยะ, มหานามะ, อัสสชิ
  48. ปฏิกฺขติ : ก. เพ่งเฉพาะ, มองดู, คาดหมาย
  49. ปฏิกูลสญฺญา : อิต. ปฏิกูลสัญญา, ความสำคัญว่าเป็นของปฏิกูล, ความกำหนดหมายว่าเป็นของน่ารังเกียจ
  50. ปฏิกูลสญฺญี : ค. ผู้กำหนดหมายว่าเป็นของปฏิกูล
  51. 1-50 | [51-100] | 101-150 | 151-200 | 201-231

(0.0230 sec)