ทิวาสญฺญา : อิต. ทิวาสัญญา, ความสำคัญหมายว่ากลางวัน
ทิวิภาว : ป. ความเป็นสิ่งมีในสวรรค์, ความเป็นของทิพย์, ความเป็นเทวดา
ทิสตา : อิต. ทิศ, ทิศทาง, เขต, ภาค, ส่วนแห่งโลก; ความเป็นข้าศึก, ความเป็นโจร
ทิสา : (อิต.) ด้าน, ข้าง, ทิศ. ทิสฺ เปกฺขเณ, อ. อา อิต. ถ้าใช้คู่กับวิทิสา แปลว่า ทิศใหญ่ แปล วิทิสา ว่าทิศน้อย และยังใช้ในความหมายว่า บิดา มารดา คนให้ทาน และ พระนิพพาน. ส. ทิศ ทิศา.
ที : (ปุ.?) การเปลือง, การเสื่อม, การสิ้น, ความเปลือง, ฯลฯ. ที ขเย, อ. ส. ที.
ทีฆ : (วิ.) ยาว, นาน, ช้า, ช้านาน, ยั่งยืน ยืน นาน (สิ้นความเสื่อม). คำนี้ มักเขียนผิด เป็นทีฆ พึงระวัง. ที ขเย, โฆ. ส. ทีรฺฆ.
ทีฆโสตฺติย : (นปุ.) ความเป็นคนแห่งคนผู้ประ พฤติช้า, ความเป็นคนประพฤติช้า, ฯลฯ, ณีย ปัจ. ภาวตัท.
ทีฆโสตฺถิย : นป. ความปลอดภัยตลอดกาลนาน, สวัสดิภาพอันยั่งยืน, ความเจริญรุ่งเรืองชั่วกาลนาน
ทีฆายุตา : (อิต.) ความเป็นแห่งคนผู้มีอายุยืน, ฯลฯ, ความเป็นคนมีอายุยืน.
ทีธิติ : (อิต.) ความรุ่งเรือง, รัศมี, แสง, แสงสว่าง. วิ. ทีธฺยตีติ ทีธีติ. ทีธิ ทิตฺติยํ, ติ. ทิปฺปตีติ วา ทีธีติ. ทิปฺ ทิตฺติยํ, ติ, ปสฺส โธ, อิอาคโม, ทีโฆ. ส. ทีธีติ.
ทีนตา : อิต., ทีนตฺต นป. ความเป็นคนจน, เข็ญใจ, มีทุกข์, เลว, ทราม, ต่ำช้า
ทีปนี : ค., อิต. ซึ่งส่อง, ซึ่งแสดง, ซึ่งชี้แจง, ซึ่งอธิบาย; คัมภีร์อธิบายความ
ทีปิ : (ปุ.) เสือเหลือง เสือดาว (ผู้ประกาศ ความยิ่งใหญ่ในป่า). ทีปฺ ปกาสเน, อิ.
ทุกฺกฎ : (นปุ.) กรรมอัน...ทำชั่วแล้ว, กรรม ชั่ว, การทำเสีย, ความชั่ว, บาป, ทุกกฎ ชื่ออาบัติกองที่ ๖ เป็นอาบัติเบา แม้จะ เป็นอาบัติเบา ภิกษุ-สามเณรล่วงบางข้อ ก็ทำให้ศรัทธาของพระพุทธศาสนิกชนตกไปได้ เช่น นุ่งห่มไม่เรียบร้อย พูดจาไม่สำรวม เป็นต้น พึงระวัง. ศัพท์เป็น ทุกฺกต แปลง ต เป็น ฏ.
ทุกฺกฏ : นป. การกระทำผิด, ความชั่ว, ชื่ออาบัติเบาชนิดหนึ่งซึ่งเรียกว่าอาบัติทุกกฎ
ทุกฺกรกริยา : (อิต.) การกระทำอันบุคคลทำ ได้โดยยาก, การทำกิจที่บุคคลทำได้โดย ยาก, การทำกิจที่ทำได้โดยยาก, การทำ ความเพียรที่ทำได้โดยยาก, ทุกกรกิริยา คือการทรมานร่างกายให้ลำบากโดย ประการต่างๆ.
ทุกฺกรตา : อิต., ทุกฺกรตฺต นป. ความเป็นสิ่งที่ทำได้ยาก
ทุกฺขกฺขย : ป. ความสิ้นไปแห่งทุกข์, ธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งทุกข์, พระนิพพาน
ทุกฺขการณ : นป. เหตุแห่งทุกข์, ความทุกข์ที่จะต้องได้รับการลงโทษ
ทุกฺขขย ทุกฺขกฺขย : (ปุ.) ความสิ้นแห่งทุกข์, ความสิ้นไปแห่งทุกข์, ทุกขขยะ ทุกขักขยะ ชื่อของพระนิพพาน, พระนิพพาน. วิ. สพฺพทุกขานํ ขยการณตฺตา ทุกฺขขโย ทุกฺขกฺขโย วา.
ทุกฺขตา : อิต., ทุกฺขตฺต นป. ความเป็นสิ่งที่ทนได้ยาก, ความเป็นทุกข์, ความเป็นสิ่งที่นำมาซึ่งทุกข์
ทุกฺขธมฺม : ป. ภาวะที่มีความทุกข์เป็นธรรมดา, ความทุกข์
ทุกฺขนิโรธ : (ปุ.) ความดับซึ่งทุกข์, ความดับทุกข์, ทุกขนิโรธ ชื่ออริยสัจ ๔ ข้อที่ ๓.
ทุกฺขนิโรธคามินี : ค. (ปฏิปทา) ซึ่งยังผู้ปฏิบัติให้ถึงซึ่งความดับแห่งทุกข์
ทุกฺขนิโรธคามินีปฏิปทา : (อิต.) ปฏิปทาอัน ยังผู้ปฏิบัติให้ถึงซึ่งความดับทุกข์, ทางดำเนินอันยังสัตว์ให้ถึงความดับทุกข์, ข้อปฏิบัติอันยังผู้ปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์, ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ชื่ออริยสัจ ๔ ข้อที่ ๔.
ทุกฺขปฺปตฺต : ค. ผู้ถึงแล้วซึ่งทุกข์, ผู้ประสพความทุกข์
ทุกฺขลาภ : (ปุ.) การได้ด้วยความลำบาก, การได้โดยยาก, ลาภที่ได้โดยยาก.
ทุกฺขเวทนา : (อิต.) ความเสวยอารมณ์อันเป็น ทุกข์, ความรู้สึกลำบาก, ไทยใช้ทุกขเวทนาในความว่ารู้สึกลำบาก รู้สึกเจ็บปวด.
ทุกฺขสจฺจ : นป. ความจริงคือทุกข์, สิ่งที่เป็นทุกข์จริง, ความจริงแห่งทุกข์
ทุกฺขสญฺญา : อิต. ความหมายรู้ว่าเป็นทุกข์, ความสำคัญว่าเป็นทุกข์
ทุกฺขสมฺผสฺสตา : อิต. ความเป็นสิ่งมีสัมผัสเป็นทุกข์
ทุกฺขสมุทย : (ปุ.) ความตั้งขึ้นพร้อมแห่งทุกข์, ความเกิดขึ้นแห่งทุกข์, เหตุให้เกิดทุกข์, ทุกขสมุทัย ชื่ออริยสัจ ๔ ข้อที่ ๒.
ทุกฺขาธิวาห : (ปุ.) ธรรมชาตผู้ซึ่งนำไปซึ่งทุกข์ อันยิ่ง, ความนำไปยิ่งซึ่งทุกข์.
ทุกฺขานุภวน : นป. การเสวยทุกข์, การได้รับความทุกข์ทรมาน
ทุกฺขาปคม : ป. การไปปราศจากความทุกข์, การหลีกออกจากทุกข์, การเปลื้องทุกข์
ทุกฺขาสหนตา : อิต. ความไม่อดทนต่อความทุกข์, ความทนต่อความยากลำบากไม่ได้
ทุกฺขิต : (วิ.) ผู้ลำบาก วิ. ทุกฺขตีติ ทุกฺโข. ทุกฺขฺ ทุกฺเข, อิโต. ผู้มีความลำบากเกิดพร้อมแล้ว, ผู้มีความลำบากทุกประการ. วิ. ทุกขํ สํชาตํ เอตสฺสาติ ทุกฺขิโต. ผู้มีความลำบาก วิ. ทุกฺขํ อสฺส อตฺถีติ ทุกฺขิโต. ผู้เป็นไปแล้วโดย ความลำบาก, ผู้เป็นไปด้วยความยาก. วิ. ทุกเขน อิโตติ ทุกฺขิโต. ทุกฺข+อิตศัพท์.
ทุกฺขูปธาน : นป. การเข้าไปตั้งไว้ซึ่งความทุกข์, การก่อทุกข์
ทุกฺขูปสม : ป. ความเข้าไปสงบแห่งทุกข์, ความหมดทุกข์
ทุกร ทุกฺกร : (นปุ.) กรรม...อันได้โดยยาก, ความเพียรอัน... ทำได้โดยยาก. ศัพท์ต้น ไม่ซ้อน กฺ.
ทุคฺค : (นปุ.) ที่อัน...ไปได้โดยยาก, ความยาก, ช่องแคบ, กำแพง, ป้อม, คู, หอรบ, ห้วง น้ำ, หล่ม อุ. ปงฺคทุคฺค หล่มคือเปลือกตม. ทุกฺข+คมฺ+อ ปัจ. ลบ กฺข และ มฺ ซ้อน คฺ. ส. ทุรค.
ทุคฺคต : (วิ.) ถึงแล้วซึ่งความยาก, ฯลฯ. ทุกฺข+คต.
ทุคฺคต. : (ปุ.) คนถึงแล้วซึ่งความยาก, คนถึงแล้วซึ่งยาก, ฯลฯ, คนเข็ญใจ. วิ. ทุกขํ คโต ทุคฺคโต. ลบ กฺข ซ้อน ค.
ทุคฺคติ : (อิต.) คติชั่ว วิ. ทุฎฺฐุ คติ ทุคฺคติ. ลบ ฎฺฐุ ซ้อน คฺ. คติอันบัณฑิตติเตียน วิ. กุจฺฉิตา คติ ทุคฺคติ. ลบ จฺฉิต แปลง กุ เป็น ทุ, การไปชั่ว, ความเป็นไปชั่ว, ภูมิเป็นที่ไป ชั่ว. ทุ+คติ ซ้อน คฺ. ที่เป็นที่ไปแห่งทุกข์, ที่เป็นที่ถึงซึ่งทุกข์. วิ. ทุกขสส คติ ทุคคติ. ลบ กขฺ ซ้อน ค. ภูมิเป็นที่ตั้งแห่งทุกข์ วิ. ทุกฺขสฺส คติ ปติฏฺฐา ทุคฺคติ, ทุคคติ (ภพชั่ว). ส. ทุรฺคติ.
ทุคฺคหิต : ค., นป. ซึ่งถือเอาชั่ว, ซึ่งถือเอาผิด, ซึ่งจับไว้ไม่ดี; ความเห็นผิด
ทุจฺจริต : (นปุ.) ความประพฤติชั่ว, ความประพฤติเสียหาย, บาป. วิ. ทุ กุจฺฉิตํ จริตํ ทุจฺจริตํ. สารัตถทีปนี วิ. ทุฏฐ จริตํ ทุจฺจริตํ. วิเสเสหิ วา ทูสิตํ จริตนฺติ ทุจฺจริตํ. ทูสิต นั้นคือ ทุสฺ โทสเน, โต, อิอาคโม, ทีโฆ. คำ ทุจจริตนี้ ไทยใช้ว่า คดโกง, ฯลฯ. ส. ทุรฺศฺจริต ทุรฺจริต.
ทุชชร : (ปุ.) ความคร่ำคร่ายาก, ฯลฯ.
ทุชฺชีว : (ปุ. นปุ.) ความเป็นอยู่ยาก,ความเป็นอยู่ลำบาก,ชีวิตยากแค้น.
ทุชฺชีวิต : (นปุ.) ความเป็นอยู่ยาก,ความเป็นอยู่ลำบาก,ชีวิตยากแค้น.
ทุติยฺยาตา : อิต. ความเป็นผู้เป็นที่สอง, ความเป็นสหาย, ความเกื้อกูลกัน