สโมห : ค. หลงรัก, มีความลุ่มหลง
สยน : (นปุ.) อันนอน, การนอน. วิ. สยนํ สยนํ. ที่เป็นที่นอน, ที่นอน. วิ. สยนฺตฺยตฺรติ สยนํ. ยุ ปัจ. การไป, การถึง, การเป็นไป, ความเป็นไป. สิ คติยํ ปวตฺตเน วา.
สฺยาม : (ปุ.) ประเทศเจริญ, ประเทศรุ่งเรือง(ด้วยความดี), สยาม(สะหยาม), ประเทศสยาม. ปัจจุบันคือ ประเทศไทย (เปลี่ยนเมื่อ พ.ศ.๒๔๘๓). สุ วุทฺธิยํ, อามปจฺจโย. แปลง อุ เป็น ย.
สรณตา : (อิต.) ความเป็นแห่งความระลึก, กิริยาที่ระลึก.
สรภญฺญ : (นปุ.) ความเป็นคืออันกล่าวด้วยเสียง, ธรรมอันบุคคลพึงกล่าวด้วยเสียง, สรภัญญะ ชื่อทำนองสำหรับสวดคำที่เป็นฉันท์ ชื่อทำนองสำหรับสวดคำที่เป็นฉันท์ ชื่อทำนองสวดอย่างหนึ่ง. สร+ภณ+ณฺย ปัจ. ภาวตัท. หรือ สร+ภณฺ+ณฺย ปัจ. นามกิตก์.
สรูป : (นปุ.) รูปแห่งตน, รูปของตน. ส+รูป. รูปเหมือนกัน. สม+รูป. รูปอันมีอยู่, รูปมีอยู่. สภาวะ, ธรรมชาติ. สนฺต+รูป. แปลง สนฺต เป็น ส. ความสมควรแก่ภาวะของตน วิ. รูปสฺส ยถา สรูปํ. ส แทน ยถา. ไทย สรุป สรูป ใช้เป็นกริยาว่า รวมความมาย่อเอาแต่ประเด็นของเรื่อง ใช้เป็นนามในความว่า ประเด็นย่อ ๆ ของเรื่อง.
สลฺยาณ สลฺลาณ : (ปุ. นปุ.) การไป, การเป็นไป, ความเป็นไป. สลฺ คติยํ, ยาโณ, ลาโณ วา. กัจฯ ๖๓๓ รูปฯ ๖๔๑.
สลฺเลข : (ปุ.) การขัดเกลา, ความขัดเกลา(ขัดเกลากิเลส). สํปุพฺโพ, ลิขฺ เลขเน, โณ.
สลิลพฺภม : (ปุ.) ความหมุนแห่งน้ำ, น้ำวน. วิ. จกฺก มิว สลิลานํ ภโม สลิลพฺภโม.
สวณีย สวนีย : (วิ.) อัน...พึงฟัง. สุ สวเน, อนิโย. ศัพท์ต้น แปลง นฺ เป็น ณฺ คำ เสานีย์ แผลงมาจาก สวนีย์ และใช้เป็นนามในความว่า คำหรือคำสั่งของนางพระยา หรือคำสั่งของท้าวพระยา.
สวตฺตนิก : ค. มีความเกี่ยวข้องด้วย, มีความเป็นไปด้วย
สวร : ป., สํวรณ นป. ความสำรวม
สวิตกฺก : ค. มีความตรึกตรอง
สเวค : ป. ความสลดใจ
สสย : ป. ความสงสัย
สสฺสต : (วิ.) เที่ยง, เที่ยงแท้, แน่นอน, มั่นคง, ยั่งยืน, คงที่, เป็นไปติดต่อ, เป็นอยู่ติดต่อ, เป็นไปทุกเมื่อ, เป็นไปเป็นนิตย์. สสฺสฺ สาตจฺเจ. อปัจ. ประจำหมวดธาตุ ต ปัจ. หรือตั้ง สทา+สรฺ ธาตุในความเป็นไป ต ปัจ. แปลง สทา เป็น ส ลบที่สุดธาตุซ้อน สฺ.
สสฺสตทิฏฐ : (อิต.) ความเห็นว่าเที่ยง.
สสฺสติ : (อิต.) ความเที่ยง, ฯลฯ. วิ. สทา สรนฺติ คจฺฉนฺตีติ สสฺสติ. สทาปุพฺโพ, สรฺ คติยํ, ติ.
สสิทฺธิ : อิต. ความสำเร็จ
สสุทฺธิ : อิต. ความหมดจด
สห : (วิ.) เป็นไปกับด้วยความยินดี, เป็นไปกับด้วยความร่าเริง.
สหกรณ : (นปุ.) การทำรวมกัน, การทำร่วมกัน, การร่วมมือกันทำ, สหกรณ์ คือการงานที่ร่วมกันทำ เป็นวิธีอย่างหนึ่งที่บุคคลหลายคนเข้าหุ้นกัน ร่วมมือกันเพื่อความเจริญในทางเศรษฐกิจ แล้วแบ่งผลประโยชน์แก่สมาชิกตามสิทธิเสมอกัน.
สหพฺยตา : (อิต.) ความเป็นแห่งสหาย, ความเป็นพวก.
สหสฺสเนตฺต : (ปุ.) เทวดาผู้มีพระเนตรพันหนึ่ง, เทวดาผู้มีพระเนตรพันหนึ่งเป็นประมาณ, เทวดาผู้มีพระเนตรหนึ่งพัน, ท้าวสหัสเนตร, ท้าวสหัสนัยน์, พระอินทร์. คำนี้ในหนังสือบางเล่ม เป็นท้าวหัสเนตร ท้าวหัสนัยน์ ตัด ส ตัวหน้าออก ความหมาย มิผิดหรือ? ส. สหสฺรากฺษ.
สหายตา : (อิต.) ความเป็นแห่งสหาย, ประชุมแห่งสหาย. ตา ปัจ. ภาวตัทและสมุหตัท. ความเป็นสหาย, คุณชาติ เครื่องเป็นสหาย.
สาเฐยฺย : นป. ความโอ้อวด
สาเฐยฺย สาเถยฺย : (นปุ.) ความเป็นแห่งบุคคลผู้โอ้อวด, ความเป็นคนโอ้อวด, ความโอ้อวด, ความกระด้าง, สาไถย. สฐ+ณฺย ปัจ. ศัพท์หลัง แปลง ฐ เป็น ถ สาไถย ไทยใช้ในความว่า การทำมารยาให้ผู้อื่นเข้าใจผิดหลงผิด หรือการพูดเป็นเหลี่ยมเป็นคู. ส. คาฐฺย.
สาตจฺจการี : ป. ผู้กระทำความเพียรติดต่อกันไป
สาตฺถ : ค. มีประโยชน์, มีเนื้อความ
สาตสิต : (วิ.) อาศัยแล้วซึ่งความยินดี, ฯลฯ.
สาตาวห : (วิ.) อันนำมาซึ่งความยินดี, ฯลฯ.
สาทน : (นปุ.) ความหวาน, ฯลฯ, ความสุข. ยุ ปัจ.
สาทร : (วิ.) เป็นไปกับด้วยความเคารพ, เป็นไปกับด้วยความเอื้อเฟื้อ, เป็นไปกับด้วยความเอาใจใส่.
สาธน : (นปุ.) ความสำเร็จ, เครื่องอุปกรณ์ที่จะให้สำเร็จ, อุปกรณ์, การกล สาธนะ ชื่อของศัพท์อันท่านให้สำเร็จมาแต่รูปวิเคราะห์ ศัพท์ ที่ท่านให้สำเร็จมาแต่วิเคราะห์. วิ. กิริยํ สาเธตีติ สาธนํ. สาธฺ. สํสิทฺธิยํ, ยุ. ส. สาธน.
สาธารณ : (วิ.) สามัญ, ทั่วไป. วิ. สมํ อาธาริยนฺติ ตสฺมินฺติ สาธารณํ. สมสทฺทุปฺปทํ, อาปุพฺโพ, ธารฺ ธารเณ, ยุ. สห ธารเณน วตฺตตีติ วา สาธารณํ (เป็นไปกับด้วยการทรงไว้). สาธารณ์ ไทยใช้เป็นเสสน์ในความว่า ต่ำ, เลว ด้วย. ส. สามานฺย.
สาธิก : ค. มีความสำเร็จ
สาธุ : (วิ.) ยังประโยชน์ให้สำเร็จ, เป็นความดี, เป็นที่ชอบใจ, งามดี, อันดี, ดีนัก, ถูกต้อง, เหมาะ, ควร, สมควร, ชอบ, ประเสริฐ, เลิศ, สาธร. ส. สาธุ.
สาธุกมฺยตา : (อิต.) ความเป็นแห่งบุคคลผู้ใคร่ความดี, ความใคร่ความดี.
สาธุการ : (ปุ.) เสียงเครื่องกระทำว่าสาธุ, การเปล่งวาจาว่าชอบ, การเปล่งวาจาว่าชอบแล้ว, การแสดงความยินดี, การแสดงความยินดีด้วย, การแสดงความเห็นชอบด้วย.
สานฺตวาน : (นปุ.) ความเอ็นดู.
สามคฺคี : (อิต.) ความเป็นแห่งบุคคลผู้พร้อมเพรียงกัน, การรวมกำลัง, ความพร้อมเพรียง, ความพร้อมเพรียงกัน, ความปรองดอง, ความปรองดองกัน, ความรวมกำลัง, ความกลมเกลียว, ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน. วิ. สมคฺคานํ ภาโว สามคฺคี. อิปัจ. ภาวตัท. รูปฯ ๓๗๒.
สามญฺญ : (นปุ.) ความเป็นสมณะ, ความเป็นแห่งสมณะ. วิ. สมณสฺส ภาโว สามญฺญํ. ความเกื้อกูลแก่สมณะ. วิ. สมณานํ หิตํ สามญฺญํ. ณฺย ปัจ.
สามญฺญตา : (อิต.) ความเป็นแห่งบุคคลผู้เกื้อกูลแก่สมณะ, ความประพฤติเกื้อกูลแก่สมณะ, ความเป็นแห่งบุคคลผู้เสมอกัน.
สามญฺญผล : (นปุ.) ผลแห่งความเป็นสมณะ, สามัญผล ได้แก่โสดาปัติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล อรหัตผล.
สามตฺถ สามตฺถิย : (ปุ.) ความอาจ, ความองอาจ, ความสามารถ, ความแข็งแรง, อำนาจ, กำลัง.
สามฺย : (นปุ.) ความเป็นแห่งของคล้ายกัน, ความเป็นแห่งของเสมอกัน, ความเป็นแห่งของเท่ากัน, ความเป็นแห่งของควร. สม+ณิย ภาวตัท. ความเสมอกัน, ความเท่ากัน,, ความควร. ณฺย ปัจ. สกัด.
สามิตฺ : (นปุ.) ความเป็นแห่งเจ้าของ, ความเป็นเจ้าของ
สามี : (ปุ.) สามี องค์แห่งความเป็นพระราชา ๑ ใน ๗ องค์, พระราชา.
สายน : (นปุ.) ความยินดี, ความเพลิน, การลิ้ม, การจิบ. สา อสฺสาทเน, ยุ. ลง ย ปัจ. ประจำหมวดธาตุ. แปลง ยุ เป็น อน.
สายิต : (นปุ.) ความยินดี, ฯลฯ, การจิบ. ต ปัจ. อิอาคม.