จกฺกวตฺติ : (วิ.) ผู้ยังจักรให้เป็นไป.
จกฺกวตฺติ จกฺกวตฺติราช : (ปุ.) พระราชา จักรพรรดิ, พระเจ้าจักรพรรดิ, จักรพรรดิ- ราช.
จงฺกมติ : ก. จงกรม, เดินเวียนรอบไปมา
จชติ : ก. สละ, บริจาค, มอบให้, ทอดทิ้ง, เลิก
จญฺจลติ : ก. เคลื่อนไหวไปมา, ร่ายรำ, ท่องเที่ยว
จตุชาติคนฺธ, จตุชฺชาติยคนฺธ : ป. ของหอมมีชาติสี่, คันธชาติสี่ชนิด คือ
๑. กุงฺกุม = หญ้าฝรั่น
๒. ตคล = กฤษณา
๓. ตุรุกฺข = กำยาน
๔. ยานปุปฺผา = บุปผชาติอันมีในแดนโยนก
จตุนวุติ : ค. เก้าสิบสี่
จตุราสีติ : ค. แปดสิบสี่
จตุราสีติโยชนสตสหสฺสุพฺเพธ : (วิ.) มีแสนแห่ง โยชน์แปดสิบสี่เป็นส่วนสูง, สูงแปดสิบสี่ แสนโยชน์, สูงแปดโกฏิสี่แสนโยชน์.
จตุราสีติโยชนสหสฺสคมฺภีร : (วิ.) อันลึกสิ้นพ้น แห่งโยชน์แปดสิบสี่, มีพันแห่งโยชน์แปด สิบสี่เป็นส่วนลึก, ลึกแปดหมื่นสี่พันโยชน์. เป็น ฉ. ตุล มี ฉ.ตัป และ ส.ทิคู. เป็น ท้อง มีลึกมีพันแห่งโยชน์แปดสิบสี่เป็น ประมาณ ตั้ง วิ. เพิ่ม ฉ.ตุล ต่อจาก ส.ทิคุ อีก ๑ สมาส.
จตุราสีติสหสฺส : (นปุ.) พันแปดสิบสี่เป็นประ มาณ, พันแปดสิบสี่, แปดหมื่นสี่พัน.
จรติ : ก. เที่ยวไป, ท่องเที่ยวไป, ดำเนินไป, ประพฤติ
จลติ : ก. ไหว, หวั่นไหว, สั่น, คลอนแคลน, กระเพื่อม, พลิ้ว, สะบัด
จวติ : ก. จุติ, เคลื่อน, ตาย (จากภพหนึ่งไปเกิดในภพอื่นต่อไป), ดับไป
จาเวติ : ก. ทำให้เลื่อน, ทำให้พ้น, ทำให้หลุดไป, พราก, ไล่
จิกิจฺฉติ : ก. คิด, ใคร่ครวญ, พิจารณา, ตั้งใจ, มุ่งหมาย; เยียวยา, รักษา
จิตฺตสญฺญตฺติ : อิต. ความหมายรู้ด้วยใจ, มั่นใจ
จิตฺติกโรติ, - ตีกโรติ : ก. กระทำความยำเกรง, เคารพยกย่อง, บูชา
จิตฺเตติ : ก. วาด, เขียน, ทำให้วิจิตร, ทำให้เป็นสีต่างๆ
จิติ : อิต. ความสั่งสม, ความสะสม; กอง, ก้อน
จินฺเตติ : ก. คิด, ดำริ, ไตร่ตรอง
จินาติ : ก. สั่งสม, รวบรวม, ก่อ
จิรฏฺฐติกาล : (ปุ.) กาลอันตั้งอยู่นาน, ฯลฯ.
จิรายติ : ก. ประพฤติชั่วช้า, ช้า, ล่าช้า
จุณฺเณติ : ก. บด, ขยี้, ทำให้แหลก, ทำให้ละเอียด
จุติจิตฺต : (นปุ.) จิตอันเคลื่อนจากภพที่เกิด, จุติจิต เป็นชื่อของจิตดวงที่เคลื่อนจากภพ ที่เกิด แล้วเป็นปฏิสนธิจิตทันที ไม่มีจิต อื่นคั่น จะเกิดเป็นอะไรนั้น ก็แล้วแต่กรรม ที่ทำไว้.
จุมฺพติ : ก. จุมพิต, จูบ
จูฬาสีติ : ค. แปดสิบสี่
เจติยงฺคณ : นป. ลานเจดีย์, บริเวณรอบองค์เจดีย์
เจติยงฺคณสมฺมชฺชนคนฺธมาลาทิกิจฺจ : (นปุ.) กิจ มีอันกวาดซึ่งลานแห่งเจดีย์และอันบูชาด้วย วัตถุมีของหอมและระเบียบเป็นต้น เป็น วิเสสนบุพ. กัม. มี ฉ. ตัป., ส. ทวัน., ฉ. ตุล., ฉ. ตัป., ส. ทวัน,และฉ.ตุล.เป็นภายใน
เจติยวนฺทนา : อิต. การไหว้พระเจดีย์
เจโตวิมุตฺติ : (อิต.) ความหลุดพ้นด้วยอำนาจ แห่งใจ. ความหลุดพ้นที่มีสมาธิเป็น ปทัฏฐาน คือได้บรรลุฌานมาก่อนแล้วจึง บำเพ็ญวิปัสสนาต่อจนละกิเลสาสวะได้ เรียกว่า เจโตวิมุติ. ลำพังฌาน ไม่สามารถ ละกิเลสาสวะได้เด็ดขาด เป็นแต่สะกดไว้ อย่าเข้าใจผิด.
ฉฑฺเฑติ : ก. ทิ้ง,ขว้าง, ซัดไป, สละ
ฉทฺเทติ : ก. อาเจียน, อ้วก, ราก
ฉนวุติ : ค. เก้าสิบหก
ฉมติ : ก. กิน, บริโภค; ไปถึง, เป็นไป
ฉมฺภติ : ก. สะดุ้ง, ตกใจกลัว
ฉาเทติ : ก. ปกปิด, กำบัง, ห่อหุ้ม; ให้ดีใจ, ให้ยินดี, ชอบ
ฉิชฺชติ : ๑. ก. อันเขาตัด, อันเขาทำให้แตก, อันเขาฉีก, อันเขาทำให้ขาด, อันเขาทำลาย, อันเขาเจาะ;
๒. ตัด, แตก, ฉีก, ขาด, ทำลาย
ฉินฺทติ : ก. ตัด, ทำลาย
ฉิยติ, ฉุฏติ, - เฏติ, ฏยติ : ก. ตัด, ทำให้ขาด, บั่น, ทอน
ฉุปติ : ก. แตะต้อง, ลูบคลำ
เฉทนกปาจิตฺติยา : (อิต.) เฉทนกปาจิตตีย์ ชื่ออาบัติปาจิตตีย์ ที่ต้องให้ตัดของที่ทำ เกินกำหนด (ประมาณ) ออกเสียก่อนจึง แสดงอาบัติตก คือจึงจะพ้นจากอาบัติ.
เฉเทติ, เฉทยติ : ก. ตัด, ทอน, ฉีก
ชกฺขติ : ก. หัวเราะ, กิน, บริโภค
ชคฺฆติ : ก. หัวเราะ, กระซิกกระซี้, พอใจ
ชงฺคมติ : ก. เคลื่อนไหวไปมา