สพฺพญฺญตา : (อิต.) ความเป็นแห่งสัตบุรุษผู้รู้ซึ่งสังขตธรรมและอสังขตธรรมทั้งปวงหาส่วนเหลือมิได้, ความเป็นแห่งพระพุทธะผู้ทรงรู้ซึ่งสังขตธรรมและอสังขตธรรมหาส่วนเหลือมิได้, สรรเพชุดา (ออกเสียงว่าสันเพ็ดชุดา). วิ. สพฺพ ฺญฺญุตา. สพฺพ ฺญฺญู+ตาปัจ. รัสสะ อู เป็น อุ. รูปฯ ๓๗๑.
สุชาตา : (อิต.) พระนางสุชาดา ชื่อพระชายาของพระอินทร์, นางสุชาดา ผู้ถวายข้าวมธุปายาสแด่พระมหาบุรุษในเช้าวันตรัสรู้. วิ. สุเขน ชาดา สุนฺทรา วา ชาติ ยสฺสา สา สุชาตา.
ธมฺมมิลฺล : (ปุ.) ผมที่ถัก (ประกอบด้วยแก้วมุก ดาเป็นต้น) วิ. กุสุมคพฺภา เกสา เกสจูฬา มุตฺตาทินา พหิสํยตา สนฺตตา ธมฺมิลฺโลนาม. เอกโต กตฺวา ธรียติ พนฺธียตีติ ธมฺมิลโล. ธรฺ ธารเณ, อิโล, รสฺส มตฺตํ, ทฺวิตฺตํ, ลสฺส ลลตฺตํ จ. ฎีกาอภิฯ ไม่แปลง ล เป็น ลฺล จึงเป็น ธมฺมิล. ส. ธมฺมิลฺล.
จินฺตามณี : (ปุ.) แก้วที่เกิดขึ้นตามใจนึก, จิน- ดามณี. ไทยใช้คำ จินดามณี ในความหมาย ว่า แก้วอันผลแก่เจ้าของดังใจนึก แก้วสาร- พัดนึก คือนึกอย่างไรได้อย่างนั้น อีกอย่าง หนึ่งเป็นชื่อของหนังสือแบบเรียนของไทย เล่มแรกแต่งในยุดกรุงศรีอยุธยา.
ขสนา : (อิต.) คำด่า, คำว่า, ด่า, บริภาษ. ขุสิ อกฺโกเส, ยุ, นิคฺคหิตาคโม.
ขุเสติ : ก. ด่า, สาปแช่ง
ครหติ : ก. ติเตียน, กล่าวโทษ, ใส่ร้าย, นินทา, ด่า, ว่าร้าย
ชจฺจติ : ก. บริภาษ, ด่า
ทารี : (ปุ.) สามี, ภัสดา, ภรรดา, ภารดา, ผัว (ผู้ทำลายหรือแบ่งเบาความทุกข์ของภรรยา).
ปนตฺต : (ปุ.) เหลน, ปนัดดา, ประนัปดา คือ ลูกของหลานปู่. ส. ปรฺนปตุ.
ปริภาสติ : ก. บริภาษ, เยาะ, ด่า
ภตฺตุ : (ปุ.) ผัว, ภัสดา, ภัศดา, ภรรดา. ภรฺโปสเน, ริตุ, แปลง รฺ เป็น ตฺ ลบ ริ หรือ แปลง ตุ เป็น ตฺตุ ลบ รฺ และ ลบ ริ. อภิฯ. รูปฯ ๕๕๙ ลง ตุ. ปัจ. แปลง รฺ เป็น ตฺ. ส. ภฺรตถุ.
มหายุค : (ปุ.) ยุคใหญ่, มหายุค คือยุคทั้ง ๔ รวมกัน ยุคทั้ง ๔ นั้นคือ กฤดายุค ไตรดายุค ทวาปรยุค และ กลียุค.
ยุค : (ปุ.) คราว, สมัย, กัปป์ (ยุค), ยุค, แอก, คู่. กำหนดเวลาของโลกมี ๔ ยุค คือ กฤดายุค ไตรดายุค ทวาปรยุค และกลียุค. ยุคที่อยู่กันนี้เป็นกลียุค เป็นยุคเสื่อมกว่ายุคก่อนๆ.
อกฺโกสติ : ก. ด่า, ติเตียน, แช่ง
อตปฺปา : (อิต.) เทวดาชั้นอตัปปะ
อภิสปติ : ก. ด่า, สาป, ติเตียน ; สาบาน
อภิสฺสติ : ก. ด่า, ต่อว่า, ตัดพ้อ
อภิหรติ : ก. นำมา, นำไป ; ด่า, แช่ง
อรร : (นปุ.?)ประตู, ฝา (เครื่องปิดบัง), ฝักดาบอรฺคติยํ, อโร.
อุมส อุมฺมส : (วิ.) ทิ่มแทง, เสียดแทง, ด่า, พ้อ. อุปุพฺโพ, มสฺ หึสายํ, อ. ศัพท์หลัง ซ้อน มฺ.
โอภาสติ : ก. ๑. โอภาส, ปราศรัย, กล่าวโทษ, เย้ยหยัน, ด่า, พูดคัดค้าน;
๒. ส่องแสง, รุ่งโรจน์
โอยาจติ : ก. พยาบาท, ด่า, สาป
อปฺปฏิวานิ (ณิ) ตา : อิต. ความไม่มีอุปสรรค, ความไม่มีสิ่งขัดขวาง
ตาปน : (นปุ.) การทรมาน, ความทรมาน, ความร้อน, ฯลฯ. ตปฺ สนฺปาเต, ยุ. การทำให้ตกใจ,ความสะดุ้ง,ฯลฯ.ตปฺ อุพฺเพเค. การทำให้พอใจ. ความอิ่มใจ. ตปุ ปีณเน. ส. ตาปน.
ตามร : (นปุ.) น้ำ, ทองแดง, ตามร. ส. ตามฺร.
ตารก : (ปุ.) ดาว, ดวงดาว. ดารา เอว ตารกา. ก สกัด อา อิต. ส. ตารก ตารกา ตารา.
ตารกา : (อิต.) ดาว, ดวงดาว. ดารา เอว ตารกา. ก สกัด อา อิต. ส. ตารก ตารกา ตารา.
ตารกา ตารา : (อิต.) ลูกตา, ลูกตาดำ, แก้วตา. ส. ตารก ตารกา.
ตารกา, ตารา : อิต. ดาว; แก้วตา, ตุ๊กตาในลูกตา
ตารกิต : (วิ.) มีดาวเกิดแล้ว, เกลื่อนกล่นแล้ว ด้วยดาว. วิ. ตารกา สญฺชาตา อสฺส ตารกิตํ ( คคนํ ). ตารกา+อิต ปัจ. โมค ฯ ณาทิ กัณฑ์ ๔๕.
ตารณิ : (อิต.) เรือ, สำเภา, กำปั่น, ดารณี. ณิ ปัจ. ไม่ลบ ณฺ. ส. ตารณี.
ตารา : (อิต.) ดาว, ดวงดาว, นักษัตร ( ดาว ฤกษ์มี ๒๗ หมู่). วิ. อกตฺตพฺพํ ตรนฺติ โลกา เอตายาติ ตารา. ตาเรติ วา โลกา อหิตโตติ ตารา. เต ปาลเน, โร อิตฺถิยํ อา.
ตาราปถ : (ปุ.) ทางแห่งดวงดาว, ทางดาว, กลาง หาว, อากาศ, ท้องฟ้า. วิ. ตารา วุจฺจนฺติ นกฺขตฺตาทโย, ตาสํ ปโถติ ตาราปโถ.
ตาลี ตาฬี : (อิต.) ต้นลาน. วิ. สณฺฐานโต ตาลสทิสตฺตา ตาลี ตาฬี อา อี ปัจ. ลงใน อรรถอุปมา หรือตั้ง ตฬฺ อาฆาเต, โณ, อตฺถิยํ อี. อภิฯ ลง อ ปัจ.
ตาวนฺตุ : (วิ.) มีประมาณเท่านั้น, มีประมาณ เพียงนั้น. ต+อาวนฺตุ ปัจ. รูปฯ ๓๖๙ เป็น ต+วนฺตุ ปัจ. ทีฆะ อ ที่ ต เป็น อา. โมคฯ เป็นตาวนฺต.
ตาตุ : (วิ.) ผู้ต้อต้าน, ฯลฯ. ตุ ปัจ.
ตาทิน, ตาทิส, ตาทิสก, ตาที : ค. ซึ่งคงที่, ซึ่งเป็นเช่นนั้น, ซึ่งเหมือนอย่างนั้น
ตาปนีย : (นปุ.) ทอง, ทองคำ. ดู ตปนีย.
ตาเปติ : ก. ให้เร่าร้อน, ทรมาน
ตารนาท : (ปุ.) เสียงจาม.
ตาราคณ : ป. หมู่ดาว, กลุ่มดาว
ตาราปติ : (ปุ.) พระจันทร์, ดวงจันทร์.
ตารามณิวิตาน : นป. เพดานที่ประดับด้วยดาวซึ่งทำด้วยแก้ว
ตาเรติ : ก. ให้ข้าม, ให้ผ่าน; ให้รีบเร่ง
ตาเรตุ : ก. ผู้ช่วยให้ข้าม
ตาลปกฺก : นป. ผลตาล, ลูกตาล
ตาลมิญฺช : นป. ลอนตาล, เนื้อตาล
ตาลาว : (ปุ.) ต้นโคคลาน ชื่อต้นไม้ใช้ทำยา ในจำพวกคูน.
ตาลาวตฺถุตก : ค. ต้นตาลที่มีรากขาดแล้ว, ต้นตาลที่ถอนรากแล้ว