ปริยาย : ป. ระเบียบ, อันดับ, เหตุ, หนทาง, คุณภาพ, วิธีการพูดอ้อมค้อม, ไวพจน์, บรรยาย
ปริยายกถา : อิต. การเล่าเรียน, การพูดอ้อมค้อม
จิตฺตปริยาย : ป. ปริยายแห่งจิต, การกำหนดรู้จิต
อเนกปริยาย : (วิ.) มีปริยายมิใช่หนึ่ง, มีประการมิใช่หนึ่ง, หลายแบบ, หลายขบวน, หลายวิธี.
เจโตปริยาย : (ปุ.) การกำหนดใจ, การกำหนด วาระจิต (คือช่วงของความคิด).
ธมฺมปริยาย : (ปุ.) กระบวนของธรรม, ลำดับ ของธรรม, การเล่าเรียนธรรม, การสอนธรรม, นัยเป็นเครื่องยังคำสอนให้เป็นไปรอบ, การอธิบายตามความหมายของธรรม.
นิปฺปริยาย : ค. ไม่แตกต่าง, ไม่อ้อมค้อม, แน่ชัด, ตรงไปตรงมา, สิ้นเชิง
มูลปริยาย : (ปุ.) การเล่าเรื่องเดิม, การเล่าเรื่องเกี่ยวกับมูลเหตุของธรรมทั้งหลาย.
วิปริยาย : ป. ความตรงกันข้าม
อนุปริยาย : ค. อ้อม, วนเวียนไปมา
อกฺก : (ปุ.) ดวงอาทิตย์, พระอาทิตย์, อจฺจียเตติ อกฺโก (อันเขาบูชา). อจฺจ ปูชายํ, โณ, จฺจสฺส กฺโก.มหาชุติตายอกฺกียติตปฺปสนฺเนหิชเนหีติอกฺโก.อกฺกฺถวเน, อ.ต้นขอนดอก, ต้นรัก, ไม้รักแดง, ลูกขลุบ, เพลารถ.วิ.ตปฺปริยายนามกตฺตาอรตีติอกฺโก.อรฺ คมเน. โก.รสฺส โก(แปลง รฺเป็น ก) ส.อรฺก.
อเนกปริยาเยน : ก.วิ.โดยประการต่าง ๆ, โดยอเนกปริยาย
อาทิตฺตปริยายสุตฺต : นป. อาทิตตปริยายสูตร, พระสูตรที่ตรัสเปรียบราคะ, โทสะ, โมหะว่าเป็นของร้อน