มนาป : (วิ.) อันยังใจให้เอิบอาบ, เป็นที่เอิบอาบแห่งใจ, เป็นที่พึงใจ, เป็นที่พอ ใจ, เป็นที่ชอบใจ, แนบในใจ, เจริญใจ, พึงใจ, พอใจ, ดีใจ, ดีนัก, งาม. วิ. มโน ปปฺโปติ ยสฺมึ โส มนาโป. มนํ อปฺเปติ วฑฺเฒตีติ วา มนาโป. มนปุพฺโพ, อปฺ ปาปุณเน, กฺวิ.
มนุญฺญ : (วิ.) อันยังใจให้ฟูขึ้น, อันยังใจให้สูงขึ้น, อันยังใจให้ยินดีโดยยิ่ง, เป็นที่ชอบใจ, เป็นที่พึงใจ, เป็นที่พอใจ, เป็นที่ฟูใจ, เป็นที่เจริญใจ, ถูกใจ, พึงใจ, พอใจ, ประเสริฐ, เลิศ, งาม, ดี, ดีนัก. วิ. มนํ ญาเปตีติ มนุญฺญ. มนปุพฺโพ, ญปฺ โตสเน, กฺวิ. แปลง อ ที่ น เป็น อุ ลบ ปฺ ซ้อน ญฺ. มนํ อาภุโส โตเสตีติ วา มนุญฺญ. มนโส โตสนชนนํ วา มนุญฺญ.
สาต : (วิ.) จืด, หวาน, อร่อย, ยินดี, ชอบใจ, พอใจ, พึงใจ, เพลิน, เพลิดเพลิน, สุข. ส. ศาต.
สาทิ : (วิ.) หวาน, อร่อย, ฯลฯ, พึงใจ, ชื่นใจ. สทฺ อสฺสาทเน, ณุ.
สุทสฺสน : (วิ.) เห็นดี, เห็นงาม, พึงใจ, น่าดู, งาม, งดงาม, สวย.
อิฏฺฐ : (วิ.) พอใจ, พึงใจ, น่าพึงใจ, ชอบใจ, ใคร่, สวย, งาม. ปรารถนา, ต้องการ, อิสุ อิจฺฉายํ, โต. แปลง ต เป็น ฏฺฐ ลบ สุ. ส. อิษฺฎ.
หฺชช : (วิ.) อันพึงใจ, น่าพึงใจ, น่ายินดี, ยินดี, พึงใจ. วิ. หทเย สาธุ หชฺชํ หทยสฺส วา ปิยนฺติ หชฺชํ. หทย+ณฺย ปัจ. ลบอักษรที่สุดแห่งศัพท์ คือ ย ลบ อ ที่ ท และ ลบ ณฺ แปลง ทฺย เป็น ชฺช.
กามคุณ : (ปุ.) ชั้นของกาม, ส่วนอันเป็นกาม, ส่วนที่ปรารถนา, กามคุณ ได้แก่รูป เสียง กลิ่น รส และโผฏฐัพพะ อันพึงใจ.
ทยิต : (วิ.) อันพึงใจ, อันพอใจ, อันน่าพึงใจ, อันเป็นที่รัก. ทยฺ อาทาเน, โต, อิอาคโม. ส. ทยิต.
ทยิตา : (อิต.) หญิง, ผู้หญิง (ชายพึงใจ).
มธุ : (วิ.) หวาน, อร่อย, อันพึงใจ, เป็นที่รัก, ไพเราะ, ดี.
มธุโภชน : (นปุ.) โภชนะอันบุคคลพึงใจ, โภชนะอันอร่อย.
สาตรูป : (นปุ.) รูปอันน่ายินดี, รูปเป็นที่พึงใจ, ฯลฯ.
สาทูทก : (นปุ.) น้ำหวาน, น้ำอันบุคคลพึงใจ, ฯลฯ.
สุภค : (วิ.) พึงใจ, น่าพึงใจ. สุภตฺตปุพฺโพ, คมฺ คติยํ, กฺวิ. ส. ศุภค, สุภค.
โสมฺม : (วิ.) เป็นที่พอใจ, เป็นที่พึงใจ. ส. โสมฺม.
อภิรมฺม : (วิ.) อัน...พึงยินดียิ่ง, อัน...พึงรื่นรมย์ยิ่ง, อันน่ายินดียิ่ง, อันน่าเกษม, อันน่าพึงใจ.
อิฏฺฐผล : (วิ.) มีผลอัน...พึงใจแล้ว, ฯลฯ, มีผล อันพึงใจ, ฯลฯ. ณ ปัจ. ตทัสสัทถิตัท.