ตาต : (อาลปนะ) ใช้เป็นคำเรียก แปลว่า พ่อ ( ไม่ใช่พ่อผู้ให้กำเนิดลูก ) เป็นคำสุภาพ ใช้เรียกได้ทั่วไป เอก. เป็น ตาต พหุ เป็น ตาตา.
ปิตุ : ป. พ่อ
สมฺมาทิฏฐ : (อิต.) ความเห็นชอบ, ความเห็นโดยชอบ. วิ. สมฺมาทสฺสนํ สมฺมาทิฏฐ. ความเห็นโดยชอบคือโดยไม่วิปริต วิ. สมฺมา อวิปริตโต ทสฺสนํ สมฺมาทิฏฐ. ปัญญาอันเห็นชอบ, ปัญญาเห็นชอบ. สมฺมาปุพฺโพ, ทิสฺ เปกฺขเณ, ติ, ติสฺส ฏฐ, สฺโลโป. สัมาทิฆฐิ แบ่งเป็น ๒ คือ โลกิยสัมมาทิฏฐิ อย่าง ๑ โลกุตตรสัมมาทิฏฐิอย่าง ๑ อีกอย่างหนึ่ง สัมมาทิฏฐิ อย่างธรรมดา ได้แก่ ความเห็นที่ถูกต้องตามทำนองคลองธรรม เช่น เห็นว่าทำดี ได้ความดี ทำชั่วได้ความชั่ว พ่อ แม่ มีบุญคุณ เป็นต้น สัมมาทิฏฐิอย่างสูง ได้แก่ความเห็นอริยสัจ ๔.
อาวุโส : (อัพ. นิบาต) แน่ะท่านผู้มีอายุ, แน่ะ ผู้มีอายุ, ดูกรท่านผู้มีอายุ, ดูก่อนท่านผู้มี อายุ, ท่านผู้มีอายุ, คุณ. เป็นคำสำหรับ นักบวชเรียกนักบวช ผู้มีพรรษาอ่อนกว่า หรือสำหรับนักบวชพูดกับชาวบ้านก็ได้ แปลว่า จ๊ะ เจริญพร ขอเจริญพร. แปลว่า ขอรับ. ก็ได้. พูดกับผู้ชายแปลว่า พ่อ พูดกับผู้หญิง แปลว่า แม่. ส. อายุษมตฺ.
ตุมฺห : (ปุ. อิต.) เจ้า, ท่าน, สู, เอง, มึง, พระ คุณเจ้า, พระคุณท่าน, มหาบพิตร, มหา- บพิตรพระราชสมภารเจ้า, ฯลฯ. ลูกพูดกับ พ่อแม่ แปลว่า พ่อ, แม่, คุณพ่อ, คุณแม่. ยังมีคำแปลอีกมากใช้ยักย้ายให้เหมาะสม กับฐานะของบุคคล ตุมฺหศัพท์เป็นบุรุษที่ ผู้พูดพูดกับคนใด ใช้สำหรับคนนั้น แจกรูปเหมือนกันทั้งสองลิงค์.
กุฏิมฺพิก : ป. กระฎุมพี, คนมั่งมี, พ่อเรือน
กุฏุมฺพี : (ปุ.) คนมีทรัพย์, กุฏุมพี กระฏุมพี (คนมั่งมี, พ่อเรือน). ไทยใช้ กระฏุมพี หมายถึงคนชั้นเลวชั้นต่ำก็มี เช่น ไพร่ กระฏุมพี.
ขตฺตช : ป. ผู้เกิดแต่วรรณะกษัตริย์ (แม่เป็นศูทร พ่อเป็นกษัตริย์)
ขุลฺลตาต : (ปุ.) พ่อเล็ก, อา (น้องของพ่อ).
คหปติ : ป. คหบดี, พ่อบ้าน, พ่อเรือน, ผู้ชายเป็นเจ้าของบ้าน
คามเชฏฺฐก : (ปุ.) คนผู้เป็นใหญ่ในหมู้บ้าน, นายบ้าน, ผู้ใหญ่บ้าน, พ่อหลว(ผู้ใหญ่บ้าน)
คามโภชก : (ปุ.) นายบ้าน, พ่อบ้าน, ผู้ใหญ่ บ้าน, นายตำบล, กำนัน, นายอำเภอ.
คาหปจฺจ : (ปุ.) คาหปัจจะ ชื่อไฟอย่างหนึ่ง, ไฟอันประกอบด้วยพ่อเจ้าเรือน วิ. คหปตินา สํยุตฺโต อคฺคิ คาหปจฺโจ. ไฟอัน ควรบูชาคือ พ่อเจ้าเรือน. คหปติ ศัพท์ ณ ปัจ. ราคาทิตัท. แปลง ปติ เป็น ปจฺจ.
ฆรเมสี : ป. ผู้ดูแลบ้าน, พ่อบ้าน, เจ้าของบ้าน
จณฺฑาล : (ปุ.) คนเลว, คนต่ำ, คนชั้นต่ำ, คนดุ, ฯลฯ, คนจัณฑาล (ลูกของคนที่พ่อแม่ต่างวรรณะกัน).
จุลปิตุ จุลฺลปิตุ จุฬปิตุ จูฬปิตุ : (ปุ.) บิดาน้อย, อา ( น้องของพ่อ แต่ก่อนเขียนอาว์ ).
ฉมณฺฑ : (ปุ.) ลูกกำพร้า (ไร้พ่อไร้แม่ ). ฉฑฺฑฺ ฉฑฺฑเน, อ. แปลง ฑฺ ตัวสังโยคเป็น ทฺ แล้วแปลง ทฺ เป็น ม แปลง ฑ ตัวท้ายเป็น ท แล้วแปลงเป็น ณฺฑ.
นิปฺปิติก : ค. ลูกไม่มีพ่อ, ผู้ไม่มีบิดา
นิมฺมาตาปีติก : ค. ผู้ไม่มีมารดาและบิดา, ลูกไม่มีแม่ไม่มีพ่อ, ลูกกำพร้า
ปิติก : ค. ผู้มีพ่อ, อันเป็นของพ่อ, ซึ่งมาจากพ่อ
ปิติปกฺข : ป. ฝ่ายพ่อ, ข้างพ่อ
ปิตุกิจฺจ : นป. หน้าที่ของพ่อ
ปิตุฆาต : ป. การฆ่าพ่อ
ปิตุจฺฉา : อิต. น้องสาวของพ่อ, อาหญิง; ป้า
ปุริส : (ปุ.) ชาย, ผู้ชาย (ชาย), บุรุษ, คน, อาตมะ, มานพ, อาตมัน, จิต. วิ. อตฺตโน มาตาปิตูนํ หทยํ ปูเรตีติ ปุริโส (ผู้ยังหทัยของมารดาและบิดาของตนให้เต็ม). ปุรฺ ปูรฺ วา ปูรเณ, อิโส. ถ้าตั้ง ปูรฺ ธาตุ พึงรัสสะ อู เป็น อุ. ปุ นิรยํ ริสตีติ ปุริโส (ผู้กำจัดนรก). เป็นความเชื่อของพราหมณ์ว่าลูกชายจะกำจัด คือป้องกันไม่ให้พ่อแม่ตกนรก. ปุ บทหน้า ริสฺธาตุในความกำจัด อ ปัจ. ปุริ อุจฺเจ ฐาเน เสตีติ ปุริโส (ผู้ดำเนินไปในฐานะสูง). ปุริปุพฺโพ, สิคติยํ, อ. อตฺตโน มาตาปิตูนํ มโนรถํ ปุเรตีติ ปุริโส.
ภตฺตการ : ป. คนทำอาหาร, พ่อครัว
ภตฺตการ ภตฺตการก : (ปุ.) คนหุงข้าว, พ่อครัว. วิ. ภตฺตํ กโรติ กริสฺสติ อกาสีติ ภตฺตกาโร ภตฺตการโก วา. ศัพท์หลัง ก สกัด.
โภ : (อัพ. นิบาต) พ่อเฮ้ย, แนะท่านผู้เจริญ. โภ อักษรในอรรถแห่งสัมโพธะก็มี สมโณ ขลุ โภ โคตโม.
โภชก : (ปุ.) นายบ้าน, ผู้ใหญ่บ้าน, พ่อบ้าน (ผู้เป็นหัวหน้าของหมู่บ้าน).
โภวาที : (ปุ.) ชนผู้กล่าวว่าพ่อผู้เจริญโดยปกติ, พราหมณ์. วิ. สุภาสุภกถนตฺถํ โภ โภติ วจนํ วทติ สีเลาติ โภวาที. ณี ปัจ.
มตชาย มตภริย : (ปุ.) ชายผู้มีภริยาตายแล้ว, พ่อหม้าย.
มหยฺยก : (ปุ.) ตา (พ่อของแม่).
มหาปิต : ป. พ่อใหญ่, ลุง
มหาปิตุ : (ปุ.) พ่อใหญ่, ปู่, ตา, มหาพรหม.
มาตาปิตุ : (ปุ.) มารดาและบิดา, แม่และพ่อ.
มาตามห : (ปุ.) ตา (พ่อของแม่) วิ. มาตุ ปิตา มาตามโห. อามห ปัจ. โมคฯ ณาทิกัณฺฑ์ ๓๘.
มาตามหยฺยก : (ปุ.) ตาทวด (พ่อของตา พ่อของยาย).
มาตามหา มาคามหี : (อิต.) ยาย (แม่ของแม่) วิ. มาตุ มาตา มาตามหา มาตามหี วา. อามห ปัจ. อา อี อิต. ย่า (แม่ของพ่อ) วิ. ปิตุโน มาตา ปิตามหา ปิตามหี วา.
มาตุลานี : (อิต.) ป้าสะใภ้, น้าสะใภ้ (ภรรยาของพี่ชายแม่ ภรรยาของน้องชายแม่). วิ. มาตุลสฺส ภริยา มาตุลานี. มาตุล+อี อิต. เพราะลง อี ปัจ. ให้เอา อ ที่ ล เป็น อาน รูปฯ ๑๘๙. ในบางแห่งแปลว่า ป้า น้า ซึ่งเป็นพี่น้องของพ่อก็มี ?
รสก : ป. พ่อครัว
สสสุร : (ปุ.) พ่อตา, พ่อผัว.
สสฺสุสสฺลุร : (ปุ.) แม่ผัวและพ่อผัว, แม่ยายและพ่อตา. วิ. สสฺสุ จ สสุโร จ สสฺสุสสุรา.
สสุร : (ปุ.) พ่อผัว, พ่อตา. สสฺ คติหึสาปาณเนสุ, อุโร.
สสุร สสฺสุร : (ปุ.) แม่ผัวและพ่อผัว, แม่ยายและพ่อตา. วิ. สสฺสุ จ สสุโร จ สสุรา สสฺสุรา วา.
สุณิสา : (อิต.) หญิงสะใภ้, ลูกสะใภ้. วิ. สุณาตีติ สุณิสา (ผู้ฟังคำของผู้ใหญ่). สุ สวเน, ณีโส. สสุเรหิ สุณิตพฺพาติ สุณิสา (ผู้อันแม่ผัวและพ่อผัวพึงเบียดเบียน). สุณฺ หึสายํ, อิโส. ทฺวินฺนํ ชนานํ กุลํ สุณาตีติ สุณิสา (ผู้สืบตระกูลของชนทั้งสองฝ่าย). สุณฺ กุลสนฺ ตาเน.
สูท : (ปุ.) คนผู้หลั่งออกซึ่งรส, คนผู้ยังรสให้หลั่งออก. สุ ปคฺฆรเรณ, โท, ทีโฆ. อถวา, สุทฺ สูทฺ วา ปคฺฆรเณ, อ. คนผู้ยังขาทนียะ และโภชนียะให้สุก, คนผู้ยังอาหารให้สุก, คนครัว, พ่อครัว. สุ. พฺยนฺตีกรเณ, โท.
สูทก : (ปุ.) คนครัว, พ่อครัว. วิ. สูเทตีติ สูทโก. สูทฺ ปคฺฆรเณ, ณฺวุ. วา สูโร. สุ ปสเว, โร. สูรฺ วิกฺกนฺติยํ, วา, อ. รูปฯ ๖๖๔ สุ หึสายํ, อูโร. ส. สูร.
สูปการ : ป. ผู้ทำแกง, พ่อครัว
สูปิก : ป. พ่อครัว
เสท : (ปุ.) เหงื่อ, เหื่อ (ภาษาเก่า), ไคล(เหงื่อที่ปนกับฝุ่นละอองติดกรังอยู่กับหนังกำพร้า). วิ. เสตีติ เสโท. เส ปาเก, โต, ตสฺส โท. พ่อครัว ก็แปล.