อตฺตสมฺมาปณิธิ : (นปุ.) การตั้งไว้ซึ่งตนโดย-ชอบ, ความตั้งไว้ซึ่งตนโดยชอบ, การตั้งตนไว้ชอบ. วิ. อตฺตโน สมฺมา ปณิธิ อตฺตสมฺมา ปณิธิ. คนไม่มีศิล ได้รับคำสอนแล้วทำตนให้มีศิล คนไม่มีศรัทธาทำตนให้มีศรัทธาคนมีความตระหนี่ทำตนให้ถึงพร้อมด้วยการบริจาคหรือตั้งตนไว้ในกุศลกรรมบถ ๑๐ ประการชื่อว่า การตั้งตนไว้ชอบ.
ตป : (ปุ.) ความเพียร เครื่องเผากิเลส, คุณ ธรรมอันยังกิเลสให้ร้อน, คุณธรรมอันยัง กิเลสให้เร่าร้อน (แห้ง), ความร้อน, ความสำรวม, ความเพียร, ธรรม, วัตร, พรต (ธรรมมีศีลเป็นต้น ความบำเพ็ญพรตเผา กิเลส), ศีล, ตบะ. วิ. กิเลเส ตาเปตีติ ตโป. ตปฺ ทาเห สนฺตาเป วา, อ. ส. ตปสฺ.
สิลา : (อิต.) หิน, หินก้อน, ผา(หิน หินที่เขา), สิลา, ศิลา, ไศล (สะไหล). สิลฺ อุจฺเจ, อ. สิ เสวายํ วา, โล.
อสฺม, อสุมา : ป. หิน, ศิลา
ทสวิธราชธมฺม : (ปุ.) ธรรมของพระราชามี อย่างสิบ, ธรรมของพระเจ้าแผ่นดินสิบ อย่าง, ทศพิธราชธรรมล ทศพิธราชธรรมเป้นหลักะรรมประจำองค์พระเจ้าแผ่นดินและเป็นคุณธรรมของผู้ปกครองบ้าน เมืองทั้งหลายด้วยมี ๑๐ อย่างคือ ทาน ศีล บริจาค อาชวะมัทวะ ตบะ อักโกธะ อวิหิงสาขันติ และอวิโรธนะ
ภิกฺขุนี : (อิต.) ภิกษุณี พระผู้หญิง ของพระพุทธ ศาสนา เป็นบริษัทที่ ๒ ในบริษัท ๔. ภิกฺขุ+อินี อิต. เป็นพระที่บวชจากสงฆ์ ๒ ฝ่าย คือจากภิกษุณีสงฆ์ และภิกษุสงฆ์รักษาสิกขาบท (ศีล) ๓๑๑ สิกขาบท.
มนุสฺสธมฺม : (ปุ.) ธรรมของมนุษย์, มนุษยธรรม คือ ศีล ๕ และ กัลยาณธรรม๕.
สาหุตฺถิกปโยค : (ปุ.) ประโยคที่ประกอบด้วยมือของตน, ฯลฯ, ประโยคที่ทำเอง. การรักษาศีล จะเป็นศีล ๕ ศีล ๘ หรือศีล ๑๐ ก็ตาม ตั้งแต่สิกขาบทที่ ๓ เป็นต้นไป เป็นสาหัตถิประโยค ทำเองศีลจึงขาด ใช้ให้เขาทำศีลตนเองไม่ขาด.
สิกฺขา : (อิต.) ปฏิปทาอันบุคคลพึงศึกษา, ปฏิปทาอันเขาพึงศึกษา, ทางดำเนินอันบุคคลพึงศึกษา, ข้อที่ควรศึกษา, ข้อปฏิบัติที่ควรศึกษา, วิชชาอันบุคคลพึงศึกษา, หัวข้อที่ควรศึกษา. วิ. สิกฺขิตพฺพนฺติ สิกฺขา, ปฏิปทาอันเขาย่อมศึกษา, ฯลฯ. วิ. สกฺขิยตีติ สิกฺขา, การศึกษา, การเล่าเรียน, การสำเหนียก (เอาใจใส่ กำหนดจดจำ). วิ. สิกขนํ สิกฺขา. อ ปัจ. อา อิต. พระพุทธศาสนาวางข้อ (เรื่อง) ที่ควรศึกษาไว้ ๓ คือ ศีล สมาธิ และปัญญา เรียกว่า ไตรสิกขา.
อมฺภ : (ปุ.) หิน, ก้อนหิน, ศิลา. อมฺ คติยํ, โภ.อภิวาสทฺเท, อ, นิคฺคหิตาคโม.
กถสีล : ค. มีศีลอย่างไร
กปฺปสมณ : ป. สมณะผู้มีมรรยาท, สมณะผู้มีศีล
กมฺพลสิลาสน : นป. กัมพลศิลาอาสน์, แท่นหินที่ปูลาดด้วยผ้ากัมพลใช้เป็นที่ประทับของท้าวสักกะ
กลฺยาณสีล : ค. ผู้มีศีลอันดีงาม
กุสลสีล : นป. ศีลอันเป็นกุศล, ความประพฤติดี
คิลานภตฺต : นป. ศิลานภัต, อาหารเพื่อผู้ป่วย
โคสีล : นป. โคศีล, การประพฤติวัตรอย่างโค
จ : (วิ.) บริสุทธิ์, สะอาด. อุ. จํ สีลํ สุทฺธสตฺตานํ. ศีลบริสุทธิ์แก่สัตว์ผู้บริสุทธิ์ ท.
จตุปาริสุทฺธิสีล : (นปุ.) ศีลอันภิกษุพึงให้เต็ม ด้วยเป็นศีลยังผู้ปฏิบัติให้บริสุทธิ์มี องค์สี่, ศีลยังภิกษุผู้ปฏิบัติให้บริสุทธิ์มีองค์สี่ ( มีสี่ข้อ ).
จาริตฺตสีล : นป. จาริตตศีล, ศีลที่ประพฤติเป็นอาจิณ
ตชฺชนียกมฺม : (นปุ.) กรรมอันสงฆ์พึงทำแก่ ภิกษุผู้อันสงฆ์จะต้องคุกคาม, ตัชนียกรรม เป็นชื่อการลงโทษอย่างหนึ่งตามพระวินัย ซึ่งสงฆ์ทำแก่ภิกษุผู้มีความผิด ๓ ประการ คือ เป็นผู้ประพฤติไม่เหมาะสม คือ ๑ . ๑ มักทำการบาดหมาง ทะเลาะ – วิวาท ฯลฯ ๑ . ๒ เป็นพาลมีอาบัติมาก มีมรรยาท ไม่สมควร ๑ . ๓ คลุกคลีกับคฤหัสถ์อันไม่ สมควร เป็นผู้มีศีลวิบัติ อาจารวิบัติ และ ทิฏฐิวิบัติ และ ๓. กล่าวติเตียน พระพุทธ พระธรรม หรือพระสงฆ์ แม้อย่างใดอย่างหนึ่ง ก็ ลงตัชนิยกรรมได้ สงฆ์ทำด้วยวิธีญัติติจตุตถกรรมวาจา ไตร. ๖/๓
ทานสีล : (วิ.) ผู้มีทานและศีล, ผู้มีการให้เป็นปกติ, ผู้มีปกติให้.
ทุสฺสีล : (วิ.) ผู้มีศีลอันโทษประทุษร้ายแล้ว. วิ. ทุฏฺฐ สีลํ ยสฺส โล ทุสฺสีโล. ผู้มีศีลชั่ว ผู้มี ศีลเสีย ผู้ทุศีล (ไม่มีศีล). ทุ+สีล ซ้อน สฺ.
ทุสฺสีลฺย ทุสฺสีลย : (นปุ.) ความเป็นแห่งบุคคล ผู้มีศีลอันโทษประทุษร้ายแล้ว, ฯลฯ. ณฺย ปัจ. ภาวตัท. ศัพท์หลังไม่ลบ อ ที่สุดศัพท์ หรือลง ย ปัจ.?
นิจฺจสีล : นป. ศีลซึ่งรักษาอยู่เป็นนิตย์
นิทฺทาลุ นิทฺทาลู นิทฺทาสีล : (วิ.) มีปกตินอน (นอนมาก), เกียจคร้าน. นิทฺทา+อาลุ, อาลู ปัจ. นิทฺทา+สีล. ส. นิทฺราลุ, นิทฺราศีล.
นิยม : (ปุ.) การกำหนด, การหมายไว้, การจำ ศีล, ความกำหนด, ความแน่นอน, ความพร้อมกัน, ความประพฤติ, ความชอบ, ความนับถือ, วัตร, พรต, พรตที่ประพฤติ ตามกาล. นิปุพฺโพ, ยมุ อุปรเม, อ. คำนิยม ไทยใช้เป็นกิริยา ในความหมายว่า ชมชอบ ชื่นชม ยินดี ยอมรับ นับถือ. ส. นิยม.
ปกติสีล : นป. ศีลปกติ
ปญฺจสีล : นป. ศีลห้า
ปณฺฑุกมฺพลสิลาสน : นป. แท่นศิลาที่มีสีเหมือนผ้ากัมพล, ชื่อแท่นที่ประทับนั่งของพระอินทร์
ปทร : (ปุ.) ลำธาร, ระแหง, ไม้เลียบ, กระดาน, ซอกศิลาใหญ่, ถ้ำใหญ่, การแตก, การทำลาย. ปปุพฺโพ, ทรฺ วิทารเณ, อ. เป็น นปุ. บ้าง.
ปทรสิลา : อิต. ศิลาเรียบ, แผ่นหินที่ใช้ปูพื้นสำหรับเดิน
ปาริสุทฺธิสีล : นป. ศีลอันบริสุทธิ์, ความเป็นอยู่อย่างบริสุทธิ์
ปาสาณเลข, - ขา : ป., อิต. รอยเขียนบนหิน, ศิลาจารึก, การเขียนบนแผ่นหิน
พทฺธสีมา : (อิต.) เขตอันสงฆ์ผูกแล้ว, แดนอันสงฆ์ผูกแล้ว, พัทธสีมา คือเขตแดนที่สงฆ์กำหนดขึ้น มีศิลาเป็นต้น เป็นครื่องหมายเขต.
ภตฺตกาล : (ปุ.) เวลาแห่งภัต, ภัตกาล คือ เวลาฉันอาหารของภิกษุ-สามเณร หรือ ผู้รักษาอุโบสถศีล.
ภินฺนสีล : ค. ผู้มีศีลขาด, คนศีลขาด
มิจฺฉาอาชีว : (ปุ.) ความเป็นอยู่ผิด, การเลี้ยงชีวิตในทางที่ผิด, อาชีพผิด, มิจฉาอาชีวะ มิจฉาชีพ คือการหาเลี้ยงชีวิตด้วยการประกอบกิจที่ผิดกฎหมายและศีลธรรม.
ยถาสตฺถ : ก.วิ.ตามศีล, ตามกฎ, ตามวินัย
สมสีส : (นปุ.) สมธรรมและศีลธรรม, ธรรมสงบและธรรมเป็นประธาน. ไตร. ๓๑ ข้อ ๙๑๕.
สมาทานวิรติ : (อิต.) การงดเว้นด้วยการสมาทาน, การงดเว้นจากการล่วงศีลด้วยการสมาทาน, เจตนางดเว้นด้วยการเปล่งคำสมาทาน, เจตนาเป็นเครื่องงดเว้นด้วยการสมาทาน, สมาทานวิรัติ(เจตนางดเว้นจากการล่วงศีลซึ่งตนได้สมาทานไว้แล้ว).
สามเณร : (ปุ.) เหล่ากอแห่งสมณะ, สามเณร (ผู้ดำรงเพศอย่างภิกษุ แต่สมาทานศีล ๑๐). วิ. สมณสฺส อปจฺจํ สามเณโร. เณร ปัจ. ในบทกลอนและภาษาพูดใช้ว่า “เณร” ได้.
สามเณรี : (อิต.) หญิงผู้เป็นเหล่ากอของสมณะ, หญิงผู้เป็นสามเณร, สามเณรหญิง, สามเณรี หญิงผู้ดำรงเพศอย่างภิกษุณีแด่สมาทานศีล ๑๐.
สิกขาปท : (นปุ.) บทอันบุคคลพึงศึกษา, สิกขาบทคือ ข้อศีล ข้อวินัย ข้อหนึ่ง ๆ เป็นสิกขาบทหนึ่ง ๆ หรือมูลบัญญัติ ข้อที่ทรงตั้งไว้เดิม และอนุบัญญัติ ข้อที่ทรงตั้งเพิ่มเติมภายหลัง รวมเป็นสิกขาบทหนึ่ง ๆ สิกขาบทมีความหมายแคบ หมายเอาเฉพาะ สีล ส่วน สิกขา หมายเอา สีล สมาธิ และ ปัญญา.
สิขรี : (ปุ.) ศิลา, สีลา, สิขรโยคา สิขรี. อี ปัจ.
สีลกถา : (อิต.) วาจาเป็นเครื่องกล่าวพรรณาซึ่งศีล, กถาพรรณาศีล, สีลกถา, ศีลกถา.
สีลธน : (นปุ.) ทรัพย์คือศีล.
สีลพฺพต : (นปุ.) ศีลและวัตร, ศีลและพรต.
สีลพฺพตปรามาส : (ปุ.) การถือมั่นศีลและพรต, การยึดมั่นศีลและพรต, การจับต้องศีลหรือพรต, สีลัพพตปรามาส คือ ความเชื่อถือความศักดิ์สิทธิ์ด้วยเข้าใจว่ามีได้ด้วยศีลหรือวัตรปฏิบัติ เป็นการรักษาหรือบำเพ็ญพรตด้วยความเชื่อเรืองบันดาลไม่เชื่อกรรม เชื่อความขลัง.
สีลเภท : ป. การทำลายศีล, ศีลขาด