สิลา : (อิต.) หิน, หินก้อน, ผา(หิน หินที่เขา), สิลา, ศิลา, ไศล (สะไหล). สิลฺ อุจฺเจ, อ. สิ เสวายํ วา, โล.
สิขรี : (ปุ.) ศิลา, สีลา, สิขรโยคา สิขรี. อี ปัจ.
สีล : (นปุ.) สภาวะ, ธรรมชาติ, ปกติ. สีลฺ สมาธิมฺหิ, อ.
สลาฎ : (วิ.) ดิบ. สลาฎฺ พาเ ลฺย, อุ.
สิลาภู : (ปุ.) งูเห่า, งูเขียว, งูเล็ก. วิ. ปฐมกาเล สิลายํ ภวตีติ สิลาภู. ภู สตฺตายํ, กฺวิ.
สีลกถา : (อิต.) วาจาเป็นเครื่องกล่าวพรรณาซึ่งศีล, กถาพรรณาศีล, สีลกถา, ศีลกถา.
สีลรกฺขิก : (วิ.) ผู้รักษาศีล วิ. สีลํ รกฺขติตี สีลรกฺขิโก.
สลากา : (อิต.) ซี่, ซี่ไม้, ติ้ว, ตั๋ว, สลาก ฉลาก คือ สิ่งที่ทำไว้สำหรับจับเสี่ยงทายโดยมีเครื่องหมายกำกับ เป็นการทำบุญเป็นสังฆทาน. สลฺ คติยํ จลเน วา. อาโก, อิตฺถิยํ อา.
สลาฏก : ค. ดิบ
สลาภ : (วิ.) มีลาภ
สิลาปาการ : ป. กำแพงหิน
สิลาโปกขรณี : (อิต.) ตระพังหิน. วิ. สิลามยา โปกฺขรณี สิลาโปกฺขรณี. ตระพังคือบ่อน้ำ.
สิลาเลขนี : (อิต.) ดินสอหิน.
สีลตา : อิต. ความปรกติ
สีลธน : (นปุ.) ทรัพย์คือศีล.
สีลเภท : ป. การทำลายศีล, ศีลขาด
สีลสามญฺญตา : (อิต.) ความเป็นแห่งบุคคลผู้เสมอกันโดยศีล, ความเป็นผู้มีศีลเสมอกัน.
ทุสฺสีล : (วิ.) ผู้มีศีลอันโทษประทุษร้ายแล้ว. วิ. ทุฏฺฐ สีลํ ยสฺส โล ทุสฺสีโล. ผู้มีศีลชั่ว ผู้มี ศีลเสีย ผู้ทุศีล (ไม่มีศีล). ทุ+สีล ซ้อน สฺ.
นิทฺทาลุ นิทฺทาลู นิทฺทาสีล : (วิ.) มีปกตินอน (นอนมาก), เกียจคร้าน. นิทฺทา+อาลุ, อาลู ปัจ. นิทฺทา+สีล. ส. นิทฺราลุ, นิทฺราศีล.
มโนสิลารส : (ปุ.) รสแห่งมโนสิลา, น้ำแห่งมโนสิลา.
รชสฺสลา : (อิต.) หญิงมีฤดู, หญิงมีระดู, หญิงถึงผ้า. วิ. รชโยคา รชสฺสลา. สล ปัจ.
กถสีล : ค. มีศีลอย่างไร
กมฺพลสิลาสน : นป. กัมพลศิลาอาสน์, แท่นหินที่ปูลาดด้วยผ้ากัมพลใช้เป็นที่ประทับของท้าวสักกะ
กมฺมสีล : ค. ผู้ทำการงานเป็นปกติ
กลฺยาณสีล : ค. ผู้มีศีลอันดีงาม
กึสีล : ค. ผู้มีอะไรเป็นปกติ, ผู้มีอุปนิสัยอย่างไร
กุสลสีล : นป. ศีลอันเป็นกุศล, ความประพฤติดี
กุสลานุเอสี : ค. ผู้แสวงหากุศล, ผู้แสวงหาความดี
กุสลาภิสนฺท : ป. วิบากเป็นแดนไหลออกแห่งกุศล, ผลแห่งกุศลธรรม, ห้วงบุญ
โคสีล : นป. โคศีล, การประพฤติวัตรอย่างโค
จตุปาริสุทฺธิสีล : (นปุ.) ศีลอันภิกษุพึงให้เต็ม ด้วยเป็นศีลยังผู้ปฏิบัติให้บริสุทธิ์มี องค์สี่, ศีลยังภิกษุผู้ปฏิบัติให้บริสุทธิ์มีองค์สี่ ( มีสี่ข้อ ).
จาริตฺตสีล : นป. จาริตตศีล, ศีลที่ประพฤติเป็นอาจิณ
ทานสีล : (วิ.) ผู้มีทานและศีล, ผู้มีการให้เป็นปกติ, ผู้มีปกติให้.
โธรยฺหสีล : ค. ชินต่อภาระหน้าที่, อดทนต่อธุระการงาน
นิจฺจสีล : นป. ศีลซึ่งรักษาอยู่เป็นนิตย์
ปกติสีล : นป. ศีลปกติ
ปญฺจสีล : นป. ศีลห้า
ปณฺฑุกมฺพลสิลาสน : นป. แท่นศิลาที่มีสีเหมือนผ้ากัมพล, ชื่อแท่นที่ประทับนั่งของพระอินทร์
ปตฺตสลากา : อิต. สลากทำด้วยใบไม้
ปทรสิลา : อิต. ศิลาเรียบ, แผ่นหินที่ใช้ปูพื้นสำหรับเดิน
ปทสิลา : อิต. หินที่ใช้วางไว้บนพื้นดินสำหรับก้าวเดิน, หินปูพื้น
ปาปสีล : ค. มีความชั่วเป็นปกติ, มีใจชั่วเป็นนิสัย
ปาริสุทฺธิสีล : นป. ศีลอันบริสุทธิ์, ความเป็นอยู่อย่างบริสุทธิ์
ปิสีล : นป. หน้าปัดนาฬิกา, ถาด, บาตร
เพลุวสลาฏก : นป. มะตูมแก่, มะตูมที่ยังไม่สุก, มะตูมดิบ
ภินฺนสีล : ค. ผู้มีศีลขาด, คนศีลขาด
มโนสิลา : (อิต.) น้ำชาด (คุณสมบัติหรือสาระของชาด). ชาดก้อน. ชาดเป็นชื่อของวัตถุสีแดงเป็นผงก็มี เป็นก้อนก็มี.
ยสลาภ : ป. การได้ยศ, การมียศ
โลหสลากา : อิต. เส้นลวด
สุลา : (อิต.) สุลา ชื่อโรคหัวเดือนที่ขึ้นปลายนิ้ว, โรคจุกเสียด. สูลฺ รุชายํ, อ, รสฺโส.