Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ความเป็นอิสระ, อิสระ, เป็น, ความ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ความเป็นอิสระ, 10198 found, display 3051-3100
  1. คนดิบ : น. ชายที่ยังไม่ได้บวชเป็นพระภิกษุ.
  2. คนดี : น. คนที่มีคุณความดี, คนที่มีคุณธรรม.
  3. คนทา : [คน-] น. ชื่อไม้พุ่มชนิด Harrisonia perforata (Blanco) Merr. ในวงศ์ Simaroubaceae มักขึ้นเป็นหมู่ในป่าโปร่ง สูงได้ถึง ๘ เมตร มีหนาม ทั่วต้น ใบคล้ายมะขวิดแต่เขื่องกว่า ดอกสีขาว ผลกลมแป้นขนาดราว หัวแม่มือ ทุกส่วนมีรสขม ใช้ทํายาได้ กิ่งใช้ทําไม้สีฟัน, สีฟันคนทา หรือ กะลันทา ก็เรียก, พายัพเรียก จี้ หรือ หนามจี้.
  4. คนทีเขมา : [คนทีขะเหฺมา] น. ชื่อไม้พุ่มชนิด Vitex negundo L. ในวงศ์ Labiatae คล้ายต้นคนทีสอ แต่ใบเป็นใบประกอบ มีใบย่อย ๓-๕ ใบ และมีขนาดใหญ่กว่า ดอกสีขาว ปลูกไว้ตามบ้าน ใช้ทํายาได้, ปัตตานี เรียก กุโนกามอ.
  5. คนทีสอ : [คน-] น. ชื่อไม้พุ่มชนิด Vitex trifolia L. ในวงศ์ Labiatae มักขึ้นในที่โล่งริมนํ้า สูงได้ถึง ๖ เมตร ใบเป็นใบประกอบ มีใบย่อย ๓ ใบ ท้องใบสีนวล เมื่อขยี้มีกลิ่นฉุน ดอกสีครามอ่อน ใช้ทํายาได้, คนทิสอ โคนดินสอ หรือ สีสอ ก็เรียก, พายัพเรียก สีเสื้อน้อย หรือ ผีเสื้อน้อย.
  6. คนธรรพวิวาห์ : [คนทันพะ-] น. การได้เสียเป็นผัวเมียกันเองโดย ไม่แต่งงาน. (ส. คนฺธรฺววิวาห).
  7. คนใน : น. บุคคลที่เป็นพวกเดียวกัน, บุคคลในบ้าน, บุคคลในวงการ.
  8. คนสาบสูญ : (กฎ) น. บุคคลซึ่งได้ไปจากภูมิลําเนาหรือถิ่นที่อยู่ และ ไม่มีใครรู้แน่ว่าบุคคลนั้นยังมีชีวิตอยู่หรือไม่ตลอดระยะเวลา ๕ ปี และศาลมีคําสั่งให้เป็นคนสาบสูญ ระยะเวลา ๕ ปีดังกล่าว ลดลงเหลือ ๒ ปี นับแต่วันที่การรบหรือสงครามสิ้นสุดลง ถ้าบุคคลนั้นอยู่ในการรบ หรือสงคราม และหายไปในการรบหรือสงครามดังกล่าว หรือนับแต่วัน ที่ยานพาหนะที่บุคคลนั้นเดินทางไป ได้อับปาง ถูกทำลายหรือสูญหาย หรือนับแต่วันที่เหตุอันตรายแก่ชีวิต นอกจากที่ระบุไว้ใน ๒ กรณีดังกล่าว ข้างต้นได้ผ่านพ้นไป ถ้าบุคคลนั้นตกอยู่ในอันตรายเช่นว่านั้น.
  9. คนสุก : น. ชายที่บวชเป็นพระภิกษุและสึกแล้ว.
  10. คเนจร : [คะเนจอน] ก. เที่ยวซัดเซไป. น. เรียกตัวหนังใหญ่ที่สลักเป็นรูปใน ท่าเดิน. (ลัทธิ). (ส. คคเนจร ว่า ผู้ไปในท้องฟ้า).
  11. คบ ๒, คบไฟ, คบเพลิง : น. ของใช้สําหรับจุดไฟให้สว่าง ทําด้วยของแห้งเช่นใบไม้และขี้กบ เป็นต้น เอามามัดเป็นดุ้นยาว, มัดเชื้อเพลิง ก็ว่า.
  12. คบ ๓ : ก. เข้าเป็นพวกกัน.
  13. คบค้า, คบค้าสมาคม : ก. ไปมาหาสู่เข้าเป็นพวกเดียวกัน, คบหา ก็ว่า.
  14. คบหา : ก. ไปมาหาสู่เข้าเป็นพวกเดียวกัน, คบค้า หรือ คบค้าสมาคม ก็ว่า.
  15. คม ๑ : ก. ก้ม, คํานับ, ไหว้, ราชาศัพท์ใช้ว่า ทรงคมในความหมายว่า ทรงไหว้. (กร่อนมาจาก บังคม). (ข.).
  16. คมในฝัก ๑ : (สํา) ว. มีความรู้ความสามารถแต่เมื่อยังไม่ถึงเวลาก็ ไม่แสดงออกมาให้ปรากฏ.
  17. ครก : [คฺรก] น. เครื่องใช้ที่มีลักษณะอย่างหลุมสําหรับตําหรือโขลกด้วยสาก, เครื่องใช้ที่ทําด้วยไม้ทั้งท่อนขนาดใหญ่ ยาวประมาณ ๗๐ เซนติเมตร ขุดเนื้อในออกให้เป็นหลุมลึก สําหรับตําหรือซ้อมข้าวเป็นต้นด้วยสาก หรือตะลุมพุก เรียกว่า ครกซ้อมมือ, ถ้าใช้ตําด้วยกระเดื่อง เรียกว่า ครก กระเดื่อง; เรียกขนมที่ทําด้วยแป้งกับกะทิหยอดในภาชนะกระเบื้องหรือโลหะ ที่ทําเป็นหลุม ๆ ตั้งบนไฟ ว่า ขนมครก; ชื่อปืนใหญ่ขนาดสั้นใช้สําหรับยิง โดยมีวิถีกระสุนโค้งมาก, เครื่องยิงลูกระเบิด มีลํากล้องขนาดใหญ่และสั้น ผิวลํากล้องเป็นเกลียวหรือเรียบก็ได้ บรรจุลูกระเบิดทางปากกระบอก ใช้สําหรับยิงลูกระเบิดโดยมีวิถีกระสุนโค้งมาก.
  18. ครรภ์ไข่ปลาอุก : น. ครรภ์ผิดปรกติที่เซลล์เยื่อหุ้มตัวอ่อนกลายเป็นเนื้องอก ในมดลูก มีลักษณะเป็นเม็ดติดกันเป็นพวงคล้ายไข่ปลาอุก. (อ. mole, hydatid mole, hydatidiform mole).
  19. ครรไลหงส์ : น. ``พระผู้มีหงส์เป็นพาหนะ'' หมายถึง พระพรหม เพราะ พระพรหมทรงมีหงส์เป็นพาหนะ.
  20. ครองแครง : [คฺรองแคฺรง] น. ชื่อขนมทําด้วยแป้งกดบนพิมพ์ที่เป็นรอยริ้ว ๆ คล้าย ฝาหอยแครง ต้มกับกะทิ, ถ้าทอดกรอบเคล้านํ้าตาลเคี่ยว เรียกว่า ครองแครงกรอบ.
  21. ครอบ ๑ : [คฺรอบ] ก. เอาของที่มีลักษณะคลุ่ม ๆ คล้ายขันควํ่าเป็นต้นปิดงําไว้ เช่น เอาฝาชีครอบ เอากะลาครอบ. น. แก้วรูปลูกฟักตัดสําหรับครอบ พระพุทธรูปหรือเครื่องบูชาเป็นต้น; ภาชนะชนิดหนึ่ง ทำด้วยโลหะ รูปทรงคล้ายลูกฟักหรือคล้ายน้ำเต้า มีเชิง ฝาครอบเป็นรูปทรงหัวเม็ด ทรงมัณฑ์เป็นต้น สำหรับใส่น้ำมนต์.
  22. ครอบ ๒ : [คฺรอบ] ก. ประสิทธิ์ประสาทวิชาให้, ถ่ายทอดความรู้ให้; ทําพิธีรับรอง ความรู้ เช่น ครูครอบศิษย์ (อย่างครูครอบศิษย์ด้วยหัวโขน).
  23. ครอบครู : น. พิธีตั้งครูโขนเพื่อให้ผู้นั้นสามารถเป็นผู้ครอบศิษย์ต่อไป.
  24. ครอบงำ : ก. มีอํานาจเหนือ บังคับให้เป็นไปตาม เช่น กิเลสครอบงํา.
  25. คระ ๒ : [คฺระ] ใช้แทน กระ ที่เป็นพยางค์หน้า เช่น คระหน คระหาย คระโหย.
  26. ครั่ง ๑ : [คฺรั่ง] น. ชื่อเพลี้ยหอยชนิด Laccifer lacca ในวงศ์ Lacciferidae ตัวเมีย ไม่มีปีก เมื่อเป็นตัวอ่อนระยะแรกจะมีขาและหนวด เคลื่อนไหวได้ เมื่อ ลอกคราบเวลาต่อมาจะไม่มีขา หยุดอยู่กับที่ดูดกินนํ้าเลี้ยงจากพืชและ ผลิตสารซึ่งเรียกว่า ขี้ครั่ง นําไปใช้ทําประโยชน์ในอุตสาหกรรมต่าง ๆ หลายอย่าง.
  27. ครัน : [คฺรัน] ว. ใช้ประกอบคําอื่นมีความหมายไปในทํานองว่า นัก, แท้, ยิ่ง, จริง, เช่น ครบครัน เสนาะครัน ดีครัน.
  28. ครั่นคร้าม : ก. เกรงขาม, รู้สึกพรั่นพรึง, สะทกสะท้านด้วยความกลัว
  29. ครั่นตัว, ครั่นเนื้อครั่นตัว : ก. รู้สึกหนาว ๆ ร้อน ๆ เป็นอาการแสดงว่า จะเป็นไข้, รู้สึกสะบัดร้อนสะบัดหนาว, รู้สึกตึงเนื้อตึงตัว.
  30. คราด ๑ : [คฺราด] น. เครื่องมือทําไร่ทํานาใช้วัวหรือควายลาก ลักษณะเป็นคาน มีซี่ห่าง ๆ กัน มีคันชักสําหรับลากขี้หญ้าและทําให้ดินที่ไถแล้วซุย, เครื่องมือสําหรับชักหรือลากขี้หญ้าหรือหยากเยื่อเป็นต้น ทําเป็นซี่ ๆ มีด้ามสําหรับจับชักหรือลากไป. ก. ชักหรือลากขี้หญ้าเป็นต้นด้วยคราดนั้น.
  31. คราม ๓ : [คฺราม] น. (๑) ชื่อไม้พุ่มชนิด Indigofera tinctoria L. ในวงศ์ Leguminosae ปลูกเพื่อใช้ใบและต้นทําสีนํ้าเงิน ใช้ย้อมผ้า. (๒) ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Strobilanthes cusia (Nees) Kuntze ในวงศ์ Acanthaceae ใบใช้ทําสีนํ้าเงิน ใช้ย้อมผ้า, พายัพเรียก ห้อม หรือ ห้อมเมือง, เขียนเป็น ฮ่อม หรือ ฮ่อมเมือง ก็มี.
  32. คร่าว : [คฺร่าว] น. โครงสร้างซึ่งทำขึ้นด้วยวัสดุอย่างใดอย่างหนึ่งเช่นไม้ โลหะ เพื่อใช้ในการยึดแผ่นวัสดุที่ทำเป็นฝา รั้ว หรือฝ้าเพดาน ส่วนใหญ่จะยึด กับโครงสร้างที่สำคัญมีเสาคาน เป็นต้น คร่าวตีได้ทั้งในแนวตั้ง แนวนอน หรือเป็นตาราง.
  33. คร่าว ๆ : ว. เลา ๆ พอเห็นเป็นเค้า, ยังไม่เรียบร้อย.
  34. คราว ๑ : [คฺราว] น. ครั้ง, หน, เช่น คราวหน้า คราวหลัง, รุ่น เช่น เด็ก ๒ คนนี้ อายุคราวเดียวกัน, ใช้เป็นลักษณนาม เช่น สินค้าชนิดนี้ส่งเข้ามา ๓ คราว.
  35. คราส : [คฺราด] ก. กิน เช่น จันทรคราส สุริยคราส (โบราณ เขียนเป็น จันทรคาธ สุริยคาธ โดยถือว่ามาจากบาลีว่า จนฺทคฺคาห สุริยคฺคาห); จับ, ถือ, เช่น สิบนิ้วคราสคนธกำจร เทียนธูปบวร. (สมุทรโฆษ). (ส.).
  36. ครำ : [คฺรํา] น. เรียกน้ำเสียที่ขังอยู่ในพื้นดินที่เป็นแอ่งเช่นใต้ถุนครัว ในท่อ ระบายน้ำเสีย ว่า นํ้าครํา, ไขเสนียด ก็เรียก.
  37. คร่ำ ๔ : [คฺร่ำ] ก. เอาเส้นเงินหรือเส้นทองกดและตอกให้ติดบนผิวเหล็ก ทำเป็น ลวดลาย, ถ้าเป็นลวดลายเงิน เรียก คร่ำเงิน, ถ้าเป็นลวดลายทอง เรียก คร่ำทอง.
  38. คร่ำหวอด : (ปาก) ว. มีประสบการณ์สูง, มีความชํานาญสูงมาก, เช่น เขาคร่ำหวอดอยู่ในวงการเมือง.
  39. คริปทอน : น. ธาตุลําดับที่ ๓๖ สัญลักษณ์ Kr เป็นแก๊สเฉื่อย มีปรากฏเพียง ๑ ใน ๖๗๐,๐๐๐ ส่วนในบรรยากาศ. (อ. krypton).
  40. คริสตจักร : น. ประชาคมที่เชื่อและรับพระเยซูเป็นพระผู้ไถ่บาป แบ่งเป็น ๓ นิกายใหญ่ ได้แก่ โรมันคาทอลิก โปรเตสแตนต์ และออร์ทอดอกซ์.
  41. ครีบ : [คฺรีบ] น. อวัยวะที่เป็นแผ่นติดกันเป็นพืดอยู่ใต้ท้องและสันหลังของปลา เป็นต้น; เรียกของบางอย่างที่มีลักษณะเช่นนั้น เช่น ครีบตาล คือ ครีบ ๒ ข้างของทางตาล มีลักษณะคล้ายฟันเลื่อย.
  42. ครีษมายัน : [คฺรีดสะ-] (ดารา) น. จุดสุดทางเหนือ เมื่อดวงอาทิตย์ปรากฏในราว วันที่ ๒๒ มิถุนายน เป็นจุดในหน้าร้อน มีกลางวันยาวที่สุด เรียกว่า ครีษมายัน (summer solstice), คู่กับ เหมายัน, อุตตรายัน ก็เรียก. (ส. คฺรีษฺม + อายน).
  43. ครึกโครม : [คฺรึกโคฺรม] ว. อึกทึก, อื้ออึง, ชวนให้ตื่นเต้น, เป็นที่เล่าลือกันแพร่หลาย.
  44. ครึ่งชาติ : น. ลูกที่เกิดจากพ่อแม่ที่เป็นคนต่างชาติกัน, ลูกครึ่ง ก็ว่า.
  45. ครึน : [คฺรึน] น. ชื่อเครื่องดักนกและไก่ทําเป็นบ่วง, ครืน ก็เรียก.
  46. ครื้นเครง : [คฺรื้นเคฺรง] ว. เสียงดังครึกครื้น, สนุกสนาน เช่น หัวเราะกันอย่าง ครื้นเครง, มีอารมณ์สนุกสนาน เช่น เขาเป็นคนครื้นเครง.
  47. ครุ ๒ : [คะรุ] ว. หนัก, ใช้ในตําราฉันทลักษณ์ หมายถึง พยางค์ที่มีเสียงหนัก ได้แก่ พยางค์ที่ประกอบด้วยสระเสียงยาวและสระเกินทั้ง ๔ คือ สระอำ ใอ ไอ เอา เช่น ตา ดำ (สระอำถือเป็น ครุ ก็ได้ ลหุ ก็ได้) และพยางค์ที่มี ตัวสะกดทั้งสิ้น เช่น หัด เรียน ใช้เครื่องหมาย ?แทน, คู่กับ ลหุ ซึ่งใช้ เครื่องหมาย ? แทน. (ป. ครุ ว่า หนัก; สำคัญ, ควรเคารพ, มีค่าสูง; ส. คุรุ ว่า หนัก; สำคัญ, ควรเคารพ, มีค่าสูง).
  48. ครุกรรม : [คะรุกำ] น. กรรมหนัก มีทั้งฝ่ายกุศลและอกุศล, การได้บรรลุ ฌานสมาบัติเป็นครุกรรมฝ่ายกุศล การกระทำอนันตริยกรรมเป็น ครุกรรมฝ่ายอกุศล.
  49. ครุคระ : [คฺรุคฺระ] ว. ขรุขระ, ไม่เรียบเป็นตะปุ่มตะป่ำ, เช่น ทั้งคางเคราก็ครุคระ ขึ้นรำไรอกย่นขนเขียวขดแข็ง. (ม. ร่ายยาว ชูชก).
  50. ครุฑ : [คฺรุด] น. พญานกในเทพนิยาย เป็นพาหนะของพระนารายณ์, ใช้เป็น ตราแผ่นดินและเครื่องหมายทางราชการ. (ส.; ป. ครุฬ).
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | 2051-2100 | 2101-2150 | 2151-2200 | 2201-2250 | 2251-2300 | 2301-2350 | 2351-2400 | 2401-2450 | 2451-2500 | 2501-2550 | 2551-2600 | 2601-2650 | 2651-2700 | 2701-2750 | 2751-2800 | 2801-2850 | 2851-2900 | 2901-2950 | 2951-3000 | 3001-3050 | [3051-3100] | 3101-3150 | 3151-3200 | 3201-3250 | 3251-3300 | 3301-3350 | 3351-3400 | 3401-3450 | 3451-3500 | 3501-3550 | 3551-3600 | 3601-3650 | 3651-3700 | 3701-3750 | 3751-3800 | 3801-3850 | 3851-3900 | 3901-3950 | 3951-4000 | 4001-4050 | 4051-4100 | 4101-4150 | 4151-4200 | 4201-4250 | 4251-4300 | 4301-4350 | 4351-4400 | 4401-4450 | 4451-4500 | 4501-4550 | 4551-4600 | 4601-4650 | 4651-4700 | 4701-4750 | 4751-4800 | 4801-4850 | 4851-4900 | 4901-4950 | 4951-5000 | 5001-5050 | 5051-5100 | 5101-5150 | 5151-5200 | 5201-5250 | 5251-5300 | 5301-5350 | 5351-5400 | 5401-5450 | 5451-5500 | 5501-5550 | 5551-5600 | 5601-5650 | 5651-5700 | 5701-5750 | 5751-5800 | 5801-5850 | 5851-5900 | 5901-5950 | 5951-6000 | 6001-6050 | 6051-6100 | 6101-6150 | 6151-6200 | 6201-6250 | 6251-6300 | 6301-6350 | 6351-6400 | 6401-6450 | 6451-6500 | 6501-6550 | 6551-6600 | 6601-6650 | 6651-6700 | 6701-6750 | 6751-6800 | 6801-6850 | 6851-6900 | 6901-6950 | 6951-7000 | 7001-7050 | 7051-7100 | 7101-7150 | 7151-7200 | 7201-7250 | 7251-7300 | 7301-7350 | 7351-7400 | 7401-7450 | 7451-7500 | 7501-7550 | 7551-7600 | 7601-7650 | 7651-7700 | 7701-7750 | 7751-7800 | 7801-7850 | 7851-7900 | 7901-7950 | 7951-8000 | 8001-8050 | 8051-8100 | 8101-8150 | 8151-8200 | 8201-8250 | 8251-8300 | 8301-8350 | 8351-8400 | 8401-8450 | 8451-8500 | 8501-8550 | 8551-8600 | 8601-8650 | 8651-8700 | 8701-8750 | 8751-8800 | 8801-8850 | 8851-8900 | 8901-8950 | 8951-9000 | 9001-9050 | 9051-9100 | 9101-9150 | 9151-9200 | 9201-9250 | 9251-9300 | 9301-9350 | 9351-9400 | 9401-9450 | 9451-9500 | 9501-9550 | 9551-9600 | 9601-9650 | 9651-9700 | 9701-9750 | 9751-9800 | 9801-9850 | 9851-9900 | 9901-9950 | 9951-10000 | 10001-10050 | 10051-10100 | 10101-10150 | 10151-10198

(0.2483 sec)