Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ที่ , then ทิ่, ที่ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ที่, 11018 found, display 5651-5700
  1. เป๋า : น. กระเป๋า; ชื่อการนับแต้มลูกเต๋าที่ขึ้น ๓ หน้าเหมือนกัน.
  2. เป้า ๑ : น. สิ่งที่กําหนดไว้เป็นจุดหมาย เช่น นักยิงปืนยิงถูกตรงเป้าทุกนัด เอาต้นไม้เป็นเป้า; โดยปริยายหมายความว่า เป็นที่เพ่งเล็ง เช่น เป็นเป้าสายตา.
  3. เป้า ๒ : น. ชิ้นผ้าที่เย็บแทรกตะเข็บตรงรักแร้เสื้อหรือรอยต่อขากางเกงผ้า หรือกางเกงแพรเพื่อให้เคลื่อนไหวได้สะดวก; ส่วนของเสื้อที่อยู่ ใต้รักแร้หรือส่วนของกางเกงที่อยู่ใต้หว่างขา.
  4. เป่าคอ : ก. เป่ายาเข้าไปในคอ; อาการที่แก๊สในท้องพุ่งขึ้นมาทางลำคอ เนื่องจากร้อนใน เรียกว่า ลมเป่าคอ.
  5. เป้านิ่ง : น. เป้าที่อยู่กับที่, โดยปริยายหมายถึงสิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึง เช่นนั้น เช่น ยืนเป็นเป้านิ่งให้เขาชกข้างเดียว.
  6. เป้าบิน : น. เป้าที่โยนขึ้นไปในอากาศแล้วยิง.
  7. เป้าประสงค์ : น. วัตถุประสงค์หรือจุดหมายปลายทางที่บุคคลพยายาม บรรลุถึง เช่น เป้าประสงค์ของวิชานี้เพื่อฝึกทักษะของผู้เรียน.
  8. เป่ามนตร์ : ก. เสกคาถาแล้วเป่าลงไปที่สิ่งใดสิ่งหนึ่งหรือส่วนใด ส่วนหนึ่งของร่างกายมีกระหม่อมเป็นต้น.
  9. เป้าสายตา : น. บุคคลหรือสิ่งที่เป็นที่เพ่งเล็งหรือสนใจของผู้อื่น เช่น คนงามย่อมเป็นเป้าสายตาของใคร ๆ.
  10. เป้าหมาย : น. บุคคลหรือสิ่งที่ใช้เป็นเป้าแห่งการโจมตี หรือเป็น ศูนย์กลางแห่งความใส่ใจหรือสังเกต; ความมุ่งหมายเจาะจงให้ได้ ตามเจตนา เช่น การขายข้าวในปีนี้มีเป้าหมายให้ได้เกินหกแสนตัน.
  11. เปาะเปี๊ยะ : น. ชื่ออาหารชนิดหนึ่ง โดยนําแป้งสาลีมาทําให้สุกเป็นแผ่นกลม บาง ๆ เรียกว่า แผ่นเปาะเปี๊ยะ แล้วห่อถั่วงอกลวก หมูตั้งหรือกุนเชียง ชิ้นเต้าหู้ต้มเค็ม และแตงกวา ราดด้วยน้ำปรุงรสข้น ๆ รสหวานเค็ม โรยหน้าด้วยเนื้อปูและไข่หั่นฝอย หรือห่อรวมไว้ในแผ่นเปาะเปี๊ยะ ก็ได้ กินกับต้นหอมและพริกสด เรียกว่า เปาะเปี๊ยะสด, ชนิดที่ใช้ แผ่นเปาะเปี๊ยะห่อไส้ที่ประกอบด้วยวุ้นเส้น ถั่วงอก เนื้อไก่หรือหมูสับ เป็นต้นที่ลวกสุก แล้วนำไปทอด กินกับผักสดต่าง ๆ เช่น ใบโหระพา สะระแหน่ และน้ำจิ้มใสรสหวานอมเปรี้ยว เรียกว่า เปาะเปี๊ยะทอด. (จ.).
  12. เปาะแปะ : ว. อาการที่ฝนตกมีเม็ดห่าง ๆ แต่เล็กน้อย, เปราะแประ ก็ว่า.
  13. เปิง ๆ : ว. ดังเต็มที่ เช่น เสียงร้องเปิง ๆ, เตลิดไป เช่น วิ่งเปิง ๆ.
  14. เปิด : ก. ทําให้สิ่งที่ปิดอยู่เผยออก เช่น เปิดประตู, ทำให้เครื่องยนต์ กลไกทำงาน เช่น เปิดวิทยุ เปิดพัดลม, ตรงข้ามกับ ปิด; ทําพิธี เป็นประเดิมเพื่อดําเนินกิจการงานหรือให้ใช้ได้เป็นต้น เช่น เปิดร้านใหม่ เปิดถนน เปิดสมาคม; (ปาก) หนี เช่น ผู้ร้ายเปิด ไปไกลแล้ว.
  15. เปิดคดี : (กฎ) ก. การที่โจทก์หรือจําเลยแถลงต่อศาลถึงข้อเท็จจริง หรือข้อกฎหมาย อีกทั้งพยานหลักฐานที่จะอ้างอิงก่อนที่จะนําพยาน เข้าสืบ.
  16. เปิดบริสุทธิ์ : ก. ร่วมประเวณีกับหญิงที่ยังไม่เคยมีประสบการณ์ ในการร่วมเพศมาก่อน เดิมเป็นประเพณีของชาวเขาบางเผ่า เช่น อีก้อ เมื่อเด็กหญิงมีอายุย่างเข้าสู่วัยสาวต้องไปศึกษาเรื่องกามกิจ โดยร่วมประเวณีเป็นครั้งแรกกับผู้ที่ชุมชนในเผ่านั้นคัดเลือกให้ทำ หน้าที่นี้.
  17. เปิดบัญชี : ก. บันทึกรายการทรัพย์สิน หนี้สิน และทุนไว้ในสมุด เมื่อเริ่มเปิดดําเนินกิจการ; ยกยอดสรุปที่ได้จากการปิดบัญชีมา เริ่มต้นใหม่; (ปาก) เปิดบัญชีเงินฝากที่ธนาคาร.
  18. เปิดเปิง : ว. อาการที่ไปอย่างไม่มีที่หมาย ไม่มีทิศทาง, มักใช้เข้าคู่ กับคำ เตลิด เป็น เตลิดเปิดเปิง เช่น วิ่งเตลิดเปิดเปิง.
  19. เปิดโปง : ก. เปิดเผยความลับที่เขาปิดไว้.
  20. เปิดผนึก : ว. เรียกจดหมายที่ส่งถึงบุคคลหนึ่งเพื่อให้นำออกเผยแพร่ว่า จดหมายเปิดผนึก.
  21. เปิดเผย : ก. ทำสิ่งที่ปิดบังอยู่ให้เผยออก, เผยให้รู้, เช่น เปิดเผย ความจริง เปิดเผยความลับ. ว. ตรงไปตรงมา, ไม่ปิดบัง, เช่น เป็นคนเปิดเผย.
  22. เปิดโลก : ก. เผยโลกทั้ง ๓ ให้เห็นกันในวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จลง จากดาวดึงส์. น. ชื่อพระพุทธรูปปางหนึ่ง เรียกว่า ปางพระเจ้าเปิดโลก.
  23. เปิ่น : (ปาก) ว. แสดงกิริยาอาการหรือกระทําการใด ๆ ผิดแปลกไปจาก ปรกติที่เป็นอยู่ในหมู่พวกหรือที่นิยมกันตามประเพณี เช่น แต่งตัวเปิ่น ทำท่าเปิ่น.
  24. เปีย ๑ : น. ผมที่ไว้ยาวบริเวณท้ายทอย, ผมที่ถักห้อยยาวลงมา, ผมเปีย หรือ หางเปีย ก็เรียก, เรียกลายที่ถักตอก ๓ ขาไขว้กันว่า ลายเปีย หรือ ลายผมเปีย; พวงมาลัยที่มีอุบะห้อยลงมาเหมือนผมเปีย. (จ.).
  25. เปียก ๑ : ก. มีนํ้าชุ่มปนผสมอยู่หรือติดอยู่ เช่น เปียกเหงื่อ เปียกฝน เปียกน้ำ. ว. ที่ชุ่มน้ำ เช่น ผมเปียก ผ้าเปียก เหงื่อเปียก, อ่อนเกือบเละอย่างข้าวเปียก.
  26. เปียก ๒ : ก. กวนสิ่งเช่นข้าวหรือแป้งเป็นต้นบนไฟให้สุก เช่น เปียก ข้าวเหนียว เปียกสาคู. ว. เรียกข้าวที่ต้มและกวนให้เละ หรือข้าว ที่ต้มกับน้ำกะทิเจือเกลือเล็กน้อย กวนให้สุกจนข้นหรือเละ มีรส เค็ม ๆ มัน ๆ ว่า ข้าวเปียก, เรียกสิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น แป้งเปียก สาคูเปียก, เรียกขนมชนิดหนึ่ง ทำจากแป้งข้าวเจ้า ตั้งไฟกวนกับน้ำตาลหม้อและกะทิ หยอดให้มีขนาดพอคำแล้วโรย ถั่วทองคั่ว ว่า ขนมเปียก.
  27. เปียกปูน : น. ชื่อขนมชนิดหนึ่ง ทำด้วยแป้งข้าวเจ้าผสมกาบมะพร้าว เผาให้เป็นถ่านบดละเอียด ตั้งไฟกวนกับน้ำตาล กะทิ และน้ำปูนใส เมื่อสุกเทลงใส่ถาด ตัดเป็นชิ้น ๆ ให้เป็นรูปสี่เหลี่ยมด้านขนานที่มี ด้านทั้ง ๔ ยาวเท่ากัน แต่ไม่มีมุมภายในเป็นมุมฉาก โรยด้วยมะพร้าวขูด.
  28. เปียแชร์ : ก. ประมูลแชร์ว่าจะให้ดอกเบี้ยเท่าใด ผู้ลงหุ้นที่ให้ดอกเบี้ยสูงสุด จะได้รับเงินก่อน เวียนไปจนครบจำนวนผู้เล่น.
  29. เปี่ยม : ก. เต็มถึงขอบ, เกือบจะล้น, เช่น แกงเปี่ยมหม้อ น้ำเปี่ยมฝั่ง, เต็มที่, บริบูรณ์, เช่น เปี่ยมด้วยคุณธรรม เปี่ยมด้วยความเมตตากรุณา.
  30. เปือก : น. ฟองหรือสิ่งที่เกิดเป็นฝ้าขึ้นจากโคลนตม.
  31. เปือกตม : น. เลนตมที่ละเอียด.
  32. เปื้อน : ก. ติดสิ่งที่ทําให้เกิดสกปรก น่ารังเกียจ หรือไม่ต้องการ เช่น เปื้อนโคลน เปื้อนแกง เปื้อนเลือด. ว. มีสิ่งสกปรก น่ารังเกียจ หรือไม่ต้องการติดอยู่ เช่น มือเปื้อน ผ้าเปื้อน.
  33. เปื่อย : ว. ที่ขาดง่าย เช่น ด้ายเปื่อย, ที่หลุดจากกันง่าย เช่น ผ้าเปื่อย, ยุ่ยง่าย เช่น เนื้อเปื่อย, ที่มีน้ำเหลืองเยิ้ม เช่น แผลเปื่อย.
  34. แป้ง : น. สิ่งที่เป็นผงละเอียดได้จากเมล็ดพืช ผลไม้ และรากไม้ เป็นต้น ใช้เป็นอาหาร, ผงขาว ๆ ที่ทําด้วยหินเป็นต้น สําหรับผัดหน้า.
  35. แป้งกระแจะ : น. แป้งที่ผสมผงกระแจะ ใช้ละลายน้ำ สำหรับทา หรือเจิม.
  36. แป้งข้าวสาลี, แป้งสาลี : น. แป้งที่ได้จากการบดเมล็ดข้าวสาลี ใช้ทําขนมปังเป็นต้น, แป้งมี่ หรือ แป้งหมี่ ก็เรียก.
  37. แป้งข้าวหมาก : น. แป้งที่เป็นเชื้อสําหรับทําข้าวหมาก.
  38. แป้งจี่ : น. ชื่อขนมอย่างหนึ่ง มักทําด้วยแป้งข้าวเหนียวดํา ผสมกับ มะพร้าว เกลือ นํ้าตาล แล้วทอดเป็นแผ่นเล็ก ๆ แบน ๆ ลงบนกระทะ แบนที่ทานํ้ามันน้อย ๆ; แป้งขนมจีนที่ทําเป็นแผ่นแล้วเผาไฟ.
  39. แป้งเท้ายายม่อม : น. แป้งที่ทำจากหัวของต้นเท้ายายม่อม.
  40. แป้งนวล : น. ผงสีขาวที่ทําด้วยหินปูนเป็นต้น แล้วทําเป็นเม็ด ๆ สําหรับผัดหน้า.
  41. แป้งเปียก : น. แป้งเจือเกลือเล็กน้อยตั้งไฟกวนให้ข้น ใช้เป็น อาหาร, แป้งที่ตั้งไฟกวนให้ข้นเหนียว ใช้แทนกาว.
  42. แป้งมัน : น. แป้งที่ทําจากมันสําปะหลัง, แป้งสิงคโปร์ ก็เรียก.
  43. แป้งร่ำ : น. แป้งที่ปรุงด้วยเครื่องหอม.
  44. แป้งสด : น. นํ้าอบกับแป้งรํ่านํ้าดอกไม้เทศใช้ชุบผ้าห่อใบตอง สําหรับแจก; แป้งที่ทําขึ้นใช้ได้ทันที ไม่ต้องหมักหรือตากแห้ง เช่น ขนมจีนแป้งสด ขนมบัวลอยแป้งสด, ตรงข้ามกับ แป้งหมัก.
  45. แป้งสารภี : [-สาระพี] น. แป้งที่เอาเกสรสารภีตําปนกับแป้ง สําหรับทาตัว.
  46. แป้งหมัก : น. แป้งขนมจีนที่ทำจากข้าวที่หมักไว้ก่อน, ตรงข้ามกับ แป้งสด.
  47. แป้งเหล้า : [-เล่า] น. แป้งที่เป็นเชื้อสําหรับทําเหล้า.
  48. แป้น ๑ : น. กระดานที่มักมีรูปกลมแบน, ไม้ฐานสําหรับปั้นหม้อ, ไม้กระดานที่ติดไว้บนหัวเสา; ไม้สําหรับสอยผลไม้ชนิดหนึ่ง; เหล็กที่เจาะเป็นรูสําหรับชักลวด.
  49. แปปลายเต้า : น. แปซึ่งอยู่ที่ปลายเต้า มีหน้าตัดเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส.
  50. แปรกขวางทาง : น. ไม้ขวางทางที่ยึดหัวท้ายทั้ง ๒ ด้านของแปรกบัง.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | 2051-2100 | 2101-2150 | 2151-2200 | 2201-2250 | 2251-2300 | 2301-2350 | 2351-2400 | 2401-2450 | 2451-2500 | 2501-2550 | 2551-2600 | 2601-2650 | 2651-2700 | 2701-2750 | 2751-2800 | 2801-2850 | 2851-2900 | 2901-2950 | 2951-3000 | 3001-3050 | 3051-3100 | 3101-3150 | 3151-3200 | 3201-3250 | 3251-3300 | 3301-3350 | 3351-3400 | 3401-3450 | 3451-3500 | 3501-3550 | 3551-3600 | 3601-3650 | 3651-3700 | 3701-3750 | 3751-3800 | 3801-3850 | 3851-3900 | 3901-3950 | 3951-4000 | 4001-4050 | 4051-4100 | 4101-4150 | 4151-4200 | 4201-4250 | 4251-4300 | 4301-4350 | 4351-4400 | 4401-4450 | 4451-4500 | 4501-4550 | 4551-4600 | 4601-4650 | 4651-4700 | 4701-4750 | 4751-4800 | 4801-4850 | 4851-4900 | 4901-4950 | 4951-5000 | 5001-5050 | 5051-5100 | 5101-5150 | 5151-5200 | 5201-5250 | 5251-5300 | 5301-5350 | 5351-5400 | 5401-5450 | 5451-5500 | 5501-5550 | 5551-5600 | 5601-5650 | [5651-5700] | 5701-5750 | 5751-5800 | 5801-5850 | 5851-5900 | 5901-5950 | 5951-6000 | 6001-6050 | 6051-6100 | 6101-6150 | 6151-6200 | 6201-6250 | 6251-6300 | 6301-6350 | 6351-6400 | 6401-6450 | 6451-6500 | 6501-6550 | 6551-6600 | 6601-6650 | 6651-6700 | 6701-6750 | 6751-6800 | 6801-6850 | 6851-6900 | 6901-6950 | 6951-7000 | 7001-7050 | 7051-7100 | 7101-7150 | 7151-7200 | 7201-7250 | 7251-7300 | 7301-7350 | 7351-7400 | 7401-7450 | 7451-7500 | 7501-7550 | 7551-7600 | 7601-7650 | 7651-7700 | 7701-7750 | 7751-7800 | 7801-7850 | 7851-7900 | 7901-7950 | 7951-8000 | 8001-8050 | 8051-8100 | 8101-8150 | 8151-8200 | 8201-8250 | 8251-8300 | 8301-8350 | 8351-8400 | 8401-8450 | 8451-8500 | 8501-8550 | 8551-8600 | 8601-8650 | 8651-8700 | 8701-8750 | 8751-8800 | 8801-8850 | 8851-8900 | 8901-8950 | 8951-9000 | 9001-9050 | 9051-9100 | 9101-9150 | 9151-9200 | 9201-9250 | 9251-9300 | 9301-9350 | 9351-9400 | 9401-9450 | 9451-9500 | 9501-9550 | 9551-9600 | 9601-9650 | 9651-9700 | 9701-9750 | 9751-9800 | 9801-9850 | 9851-9900 | 9901-9950 | 9951-10000 | 10001-10050 | 10051-10100 | 10101-10150 | 10151-10200 | 10201-10250 | 10251-10300 | 10301-10350 | 10351-10400 | 10401-10450 | 10451-10500 | 10501-10550 | 10551-10600 | 10601-10650 | 10651-10700 | 10701-10750 | 10751-10800 | 10801-10850 | 10851-10900 | 10901-10950 | 10951-11000 | 11001-11018

(0.3164 sec)