Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ท้องร่อง, ร่อง, ท้อง , then ทอง, ท้อง, ทองรอง, ท้องร่อง, รอง, ร่อง .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ท้องร่อง, 1146 found, display 451-500
  1. ลายเบา : น. ลายที่เกิดขึ้นด้วยการแกะเดินเส้นเป็นร่องตื้น ๆ บน พื้นหินหรือพื้นโลหะ เช่น ลายเบาจารึกบนพื้นหินชนวน ลายเบา บนรอยพระพุทธบาทสัมฤทธิ์.
  2. ลำไส้ : น. ส่วนของทางเดินอาหารซึ่งอยู่ระหว่างกระเพาะอาหารกับ ทวารหนัก เป็นท่อยาวขดไปมาอยู่ในช่องท้อง มีหน้าที่ย่อย ดูดซึม อาหารและน้ำ พักและขับถ่ายกากอาหาร, ไส้ ก็เรียก.
  3. ลิ้นกระดาน : น. ไม้ที่ทำเป็นลิ้นยื่นยาวไปตามตัวไม้สำหรับประกบ กับไม้อีกแผ่นหนึ่งที่ทำเป็นร่องยาวเพื่อให้เข้ากันแน่นสนิท.
  4. ลิ้นปี่ : น. ส่วนปลายล่างของกระดูกอกที่ย้อยลงมาในผนังหน้าท้อง ส่วนบน.
  5. ลิ่นฮื้อ : น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด Labeo jordani ในวงศ์ Cyprinidae เดิมรู้จักกัน ในชื่อ Cirrhinus molitorella ตัวยาว ท้องกลม ปากเล็กหนา อยู่ตํ่าที่ ปลายสุดของหัว มีหนวดเล็ก ๒ คู่ ตาเล็ก เกล็ดเล็กเรียบ ตัวสีเทาเงิน ถิ่นเดิมอยู่ในประเทศจีน นําเข้ามาเลี้ยงเป็นอาหาร, ตูลิ่นฮื้อ ก็เรียก.
  6. ลี่ ๑ : น. ชื่อมดขนาดยาว ๕–๖ มิลลิเมตร อยู่กันเป็นฝูงตามต้นไม้ ทํารัง ด้วยดินและวัสดุเศษไม้ตามซอกกิ่งไม้ ลักษณะคล้ายรังปลวก เวลาเดินจะยกท้องขึ้นเกือบตั้งฉากกับลําตัวคล้ายกับมีหางชี้ ที่พบ ได้บ่อยอยู่ในสกุล Crematogaster วงศ์ Formicidae คือ ชนิด C. dohrni หัวและอกสีส้ม ท้องสีดํา, รี่ หรือ ตูดงอน ก็เรียก.
  7. ลุ : ก. ถึง (ในลักษณะที่ต้องใช้ความพยายาม) เช่น ลุความสําเร็จ, ถึง เช่น ลุศักราช, บางทีก็ใช้เข้าคู่กับคำ ถึง เป็น ลุถึง; (โบ) รู้ความ เช่น ลุท้องตรา ลุหนังสือ.
  8. ลุยลาย : ก. แกะพื้นลายให้ลึกเป็นร่องระหว่างตัวลาย เช่น ใช้สิ่ว ลุยลาย.
  9. ลูกกรอก : น. ลูกคนหรือลูกสัตว์มีแมวเป็นต้นที่ตายตั้งแต่อยู่ใน ครรภ์หรือในท้อง มีร่างกายครบบริบูรณ์ แต่ขนาดเล็ก เชื่อกันว่า จะให้คุณแก่เจ้าของหรือบางทีก็ใช้เป็นเครื่องรางของขลัง.
  10. ลูกคัน : น. ดินที่พูนขึ้นเป็นคันตามท้องนาสำหรับขังน้ำไว้, คันนา หรือ หัวคันนา ก็เรียก.
  11. ลูกทุ่ง : น. ลูกป่า; ผู้ที่ทำมาหากินอยู่ตามท้องทุ่ง; ลูกสัตว์ที่เกิดใน ท้องทุ่ง; เรียกเหล้าเถื่อนว่า เหล้าลูกทุ่ง, โดยปริยายหมายถึงสิ่งที่มี ลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น นิยายลูกทุ่ง ภาษาลูกทุ่ง. ว. เรียก เพลงชนิดที่คนในชนบทนิยมว่า เพลงลูกทุ่ง.
  12. ลูกฝาแฝด : น. ลูก ๒ คนที่เกิดจากท้องแม่คนเดียวกัน ในระยะเวลา เดียวกันหรือใกล้กัน อาจมีร่างกายติดกันหรือไม่ติดกันก็ได้ มักมี หน้าตาเหมือนกัน.
  13. ลูกแฝด : น. ลูกที่เกิดจากท้องแม่คนเดียวกัน ในระยะเวลาเดียวกัน หรือใกล้กัน อาจเป็นแฝด ๒ คน ๓ คน หรือมากกว่านั้นก็ได้.
  14. ลูกรอก : น. อาหารชนิดหนึ่ง ทําด้วยไข่กรอกในไส้ไก่แล้วเอาไปต้ม หรือนึ่งให้สุก ตัดเป็นแว่น ๆ เมื่อต้มในแกงจืดตอนปลายหัวท้ายจะ บานตรงกลางเป็นร่องคล้ายรอก.
  15. ลูกล่า : น. ลูกคนสุดท้องที่เกิดมาโดยไม่คาดว่าจะมีอีกแล้ว แต่ไม่ห่าง จากพี่มากเท่าลูกหลง, (ถิ่น) ลูกคนสุดท้อง.
  16. เล่นทุ่ง : ก. พายเรือเล่นในท้องทุ่งพร้อมกับเก็บผักกินกับน้ำพริก เป็นต้นหรือเก็บดอกบัวเพื่อเอามาบูชาพระ.
  17. เลือดล้างหน้า : น. เลือดระดูที่ออกมาเล็ก ๆ น้อย ๆ หลังจากคลอด ลูกแล้ว แสดงว่าจะตั้งท้องได้อีก.
  18. เลื่อน : น. ยานชนิดหนึ่งไม่มีล้อ ใช้ลากไปตามท้องนาและหมู่บ้าน สําหรับ บรรทุกฟ่อนข้าวเป็นต้น, บางถิ่นเรียกว่า กะเลิด, ยานชนิดหนึ่งใช้ แถบขั้วโลก ไม่มีล้อ ใช้สุนัขลากไปบนพื้นหิมะหรือบนพื้นนํ้าแข็ง. ก. เคลื่อนหรือย้ายจากที่เดิมโดยลักษณะอาการต่าง ๆ เช่น ลาก เสือกไส ยกขึ้น กดลง; เปลี่ยนเวลาจากที่กําหนดไว้เดิม เช่น เลื่อน เวลาเดินทาง เลื่อนวันประชุม; เขยิบชั้นหรือตําแหน่งฐานะสูงขึ้น ไปกว่าเดิม เช่น เลื่อนยศ เลื่อนตําแหน่ง; เพิ่มเติม (ใช้แก่อาหาร) เช่น เลื่อนแกง เลื่อนของหวาน.
  19. เลื่อยตะขาบ : น. เครื่องมือสำหรับตัดหรือซอยไม้ ใบเลื่อยมีลักษณะ เป็นแผ่นแบนยาว ท้องเลื่อยหย่อนโค้ง ปลายใบเลื่อยทั้ง ๒ ข้างทำ เป็นบ้อง สำหรับสอดไม้ท่อนกลม ๆ เพื่อใช้จับชักใบเลื่อย ใช้คน ชักเลื่อยคู่กัน ๒ คน, เลื่อยยมบาล ก็เรียก.
  20. โลเล : ว. ไม่แน่นอน (มักใช้แก่นิสัยใจคอ) เช่น มีจิตใจโลเล, ไม่อยู่กับ ร่องกับรอย (มักใช้แก่กริยาพูด) เช่นพูดจาโลเล.
  21. วัณโรค : น. โรคชนิดหนึ่งเกิดที่ปอดเป็นต้น ทําให้ร่างกายทรุด โทรมเสื่อมไปตามลําดับ, โบราณเรียกวัณโรคปอดว่า ฝีในท้อง.
  22. วัสสานฤดู : [วัดสานะรึดู] น. ฤดูฝน, ในกลุ่มประเทศเขตร้อน อันมีประเทศไทยรวมอยู่ด้วย แบ่งฤดูกาลออกเป็น ๓ ฤดู คือ ฤดูหนาว ฤดูร้อน และฤดูฝน ช่วงระยะเวลาของแต่ละฤดูในแต่ละ ท้องถิ่นหรือประเทศอาจแตกต่างกันไปบ้างและไม่ค่อยตรงกัน เฉพาะในภาคกลางของประเทศไทย ฤดูฝนเริ่มต้นประมาณตั้งแต่ กลางเดือนพฤษภาคมถึงกลางเดือนตุลาคม หรือทางจันทรคติเริ่มต้น, วันแรมค่ำหนึ่ง เดือน๘ถึงขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒ บางทีก็เขียนเพี้ยน ไปเป็น วสันต์. (ป. วสฺสาน + ส. ฤตุ = ฤดูฝน).
  23. วิฬังค์ : น. ผักดอง. (ป.; ส. วิฑงฺค ว่า ยาสําหรับฆ่าตัวพยาธิในท้อง).
  24. วี่แวว : น. เค้าเงื่อนตามที่แว่วมา, ร่องรอย, เช่น ของหายไปไม่มีวี่แวว.
  25. เวียง ๒ : ปกครองท้องที่ดูแลทุกข์สุขของราษฎร.
  26. ศาลปกครอง : (กฎ) น. ศาลที่มีอํานาจพิจารณาพิพากษาคดีปกครอง ตามที่กฎหมายบัญญัติอันได้แก่ คดีพิพาทที่เกิดจากการกระทำทาง ปกครองไม่ว่าจะเป็นคดีที่เป็นข้อพิพาทระหว่างหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น หรือ เจ้าหน้าที่ของรัฐที่อยู่ในบังคับบัญชาหรือในกำกับดูแลของรัฐบาล กับเอกชน หรือระหว่างหน่วยราชการหน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ ที่อยู่ในบังคับบัญชาหรือในกำกับดูแลของรัฐบาลด้วยกัน.
  27. ศูนย์ชุมชน : น. หน่วยงานถาวรที่เป็นศูนย์กลางในการวางแผน ปฏิบัติงานและประสานงานบริการของหน่วยราชการและ องค์การต่าง ๆ โดยประชาชนในท้องถิ่นนั้นจะเลือกคณะ กรรมการขึ้นทําหน้าที่กําหนดนโยบายและบริหารงาน.
  28. สกัด : ก. กั้น, ขวาง, เช่น สกัดหน้า; ตัดหรือกะเทาะของแข็งเช่นเหล็ก หิน ให้เป็นร่อง รอย ทะลุ หรือให้ขาดจากกัน, เรียกเหล็กที่ใช้ตัดหรือ กะเทาะของแข็งเช่นนั้นว่า เหล็กสกัด; เค้นหรือแยกเอาออกมา เช่น สกัดนํ้ามัน สกัดน้ำหอมจากดอกกุหลาบ. (ข.).
  29. สนุ่น ๑ : [สะหฺนุ่น] น. ชื่อไม้ต้นชนิด Salix tetrasperma Roxb. ในวงศ์ Salicaceae ชอบขึ้นริมนํ้า ใบเรียวเล็ก ท้องใบขาว เปลือก และราก ใช้ทํายา, ตะไคร้บก ก็เรียก.
  30. ส้มตำ : น. ของกินชนิดหนึ่ง เอาผลไม้มีมะละกอเป็นต้นมาตําประสม กับเครื่องปรุงมีกระเทียม พริก มะนาว กุ้งแห้ง เป็นต้น มีรสเปรี้ยว, บางท้องถิ่นเรียก ตําส้ม.
  31. สมอเกา : ก. อาการที่สมอหลุดจากพื้นที่ทอดไว้ แล้วครูดไปตามพื้น ท้องน้ำด้วยแรงลมและกระแสน้ำ.
  32. สลาด : [สะหฺลาด] น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด Notopterus notopterus ในวงศ์ Notopteridae รูปร่างคล้ายปลากราย หัวและลําตัวแบนข้างมาก ท้องเป็นสันคม ปากตํ่า สันหัวแอ่นลงเล็กน้อย ครีบหลังเด่นแต่มี ขนาดเล็กเท่า ๆ กันกับครีบอก ครีบท้องเล็ก ครีบก้นยาวต่อเนื่อง กับครีบหางซึ่งเล็กและมีขอบกลม พื้นลําตัวสีขาว หลังเทา ไม่มี จุดสีเด่นหรือลวดลายสีเข้มใด ๆ ขนาดยาวเพียง ๓๕ เซนติเมตร, ฉลาด หรือ ตอง ก็เรียก.
  33. ส่วนควบ : (กฎ) น. ส่วนของทรัพย์ซึ่งโดยสภาพแห่งทรัพย์หรือโดย จารีตประเพณีแห่งท้องถิ่นเป็นสาระสำคัญในความเป็นอยู่ของทรัพย์นั้น และไม่อาจแยกจากกันได้นอกจากจะทำลาย ทำให้บุบสลายหรือทำให้ ทรัพย์นั้นเปลี่ยนแปลงรูปทรงหรือสภาพไป.
  34. ส่วนตัว : ว. เฉพาะตัว, เฉพาะบุคคล, เช่น เรื่องส่วนตัว ของใช้ส่วนตัว. ส่วนท้องถิ่น น. เขตเทศบาล.
  35. สวนรุกขชาติ : น. บริเวณที่ปลูกพรรณไม้นานาชนิด โดยเฉพาะ ไม้ยืนต้นที่มีค่าทางเศรษฐกิจและไม้ดอกซึ่งมีอยู่ในท้องถิ่น มักเขียน ป้ายบอกชื่อสามัญและชื่อวิทยาศาสตร์ไว้ด้วย เพื่อพักผ่อนหย่อนใจ เช่น สวนรุกขชาติที่ห้วยแก้ว จังหวัดเชียงใหม่. (อ. arboretum).
  36. สวัสดิภาพ : น. ความปลอดภัย เช่น ขอให้เดินทางโดยสวัสดิภาพ ตำรวจออกตรวจท้องที่ในเวลากลางคืนเพื่อสวัสดิภาพของประชาชน.
  37. สว้าน : [สะว่าน] ก. อาการที่ลมในท้องดันขึ้นมา เป็นอาการของไข้หนัก จวนจะสิ้นใจ.
  38. สอบประวัติส่วนบุคคล : ก. ขอให้เจ้าพนักงานตำรวจท้องที่ที่บุคคลซึ่ง จะบรรจุเข้ารับราชการเป็นต้นอาศัยอยู่ สอบประวัติย่อ ภูมิลำเนาครั้ง สุดท้าย และลายพิมพ์นิ้วมือเป็นต้นของบุคคลนั้น.
  39. สะดือ : น. ส่วนของร่างกายอยู่ตรงกลางพื้นท้องเป็นรูหวําเข้าไป.
  40. สังกะวาด : น. ชื่อปลานํ้าจืดหลายชนิดในสกุล Pangasius วงศ์ Schilbeidae ลักษณะทั่วไปคล้ายปลาสวาย แต่เมื่อโตเต็มที่มีขนาดเล็กกว่า เช่น สังกะวาดท้องโต (P. micronemus) สังกะวาดเหลือง (P. siamensis).
  41. หน่วง : [หฺน่วง] ก. ดึงไว้แต่น้อย ๆ, เหนี่ยวไว้, ทําให้ช้า, เช่น หน่วงเรื่องไว้ หน่วง เวลาไว้ หน่วงตัวไว้. อาการที่รู้สึกปวดถ่วงที่บริเวณท้องในเวลามี ประจำเดือนหรือเป็นบิดเป็นต้น.
  42. หนวดพราหมณ์ ๒ : [หฺนวดพฺราม] น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด Polynemus longipectoralis ในวงศ์ Polynemidae ลําตัวยาว แบนข้าง หัวแหลมมน ปากอยู่ตํ่า ตาเล็ก เกล็ดเล็ก สากมือ ครีบหลังมี ๒ ตอน ครีบหางใหญ่เป็นแฉกเรียวแหลมตอนปลาย ที่สําคัญคือตรงส่วนล่างของครีบอกมีก้านครีบแยกเป็นเส้นยาวมากรวม ๗ เส้นยาวไม่เท่ากัน ลําตัวด้านหลังสีเทาหรือเขียวหม่น ส่วนท้องและ ครีบสีเหลืองหรือส้มคลํ้า ขนาดยาวได้ถึง ๒๕ เซนติเมตร พบบ้างใน นํ้ากร่อยหรือทะเล.
  43. หนอก ๑ : [หฺนอก] น. ก้อนเนื้อที่ต้นคอของสัตว์บางชนิดเช่นวัว, ก้อนเนื้อที่นูนขึ้นมา ที่ต้นคอของคนบางคน เช่น เธออ้วนจนคอเป็นหนอก, เนื้อใต้ท้องน้อย เช่น นุ่งผ้าขัดหนอก.
  44. หนู ๑ : น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมหลายสกุลในวงศ์ Muridae มีฟันแทะ มีอยู่ ทั่วไปตามบ้านเรือนและในถิ่นธรรมชาติ มีหลายชนิด เช่น หนูพุกใหญ่ (Bandicota indica) หนูท้องขาว (Rattus rattus) บางชนิดเป็นพาหะ นําโรค. ว. เล็ก (ใช้เฉพาะพรรณไม้บางอย่างที่มีพันธุ์เล็กหรือของ บางอย่างชนิดเล็ก) เช่น กุหลาบหนู แตงหนู หม้อหนู.
  45. หมอ ๓ : น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด Anabas testudineus ในวงศ์ Anabantidae ลําตัวป้อม แบนข้าง ท้องกลม คอดหางกว้าง หัวโต ปากซึ่งอยู่ปลายสุดของหัวกว้าง และเชิดขึ้นเล็กน้อย ยืดหดไม่ได้ ฟันเล็กแต่แข็งแรง เกล็ดแข็ง ขอบเป็นจัก คล้ายหนามยึดแน่นกับหนังและคลุมตลอดทั้งลําตัวและหัว กระดูกแผ่น ปิดเหงือกหยักเป็นหนาม ใช้แถกเพื่อช่วยยึดยันให้เคลื่อนไปบนบกได้ดี ขอบครีบต่าง ๆ กลม ลําตัวและครีบมีสีดําคลํ้า ส่วนปลาขนาดเล็กมีสีจาง กว่าและมีลายบั้งพาดลําตัวเป็น ระยะ ๆ อาศัยอยู่ในแหล่งนํ้าแทบทุก ประเภท พบขึ้นมาบนบกในฤดูฝนเสมอ ซึ่งเป็นธรรมชาติการย้ายถิ่น ที่อยู่อาศัยแบบหนึ่ง และยังแสดงให้เห็นความสามารถในการหายใจใน ที่ดอนได้อีกด้วยขนาดยาวได้ถึง ๒๕ เซนติเมตร, หมอไทย หรือ สะเด็ด ก็เรียก, อีสานเรียก เข็ง.
  46. หม้อเกลือ : น. หม้อตาลใส่เกลือเม็ด ใช้สำหรับตั้งไฟให้ร้อน นำมาห่อหรือ พันด้วยใบพลับพลึง ใช้นาบท้องและตามตัวหญิงแรกคลอดบุตร เพื่อคลาย ความเมื่อยตึงตัวเป็นต้น.
  47. หมัด ๑ : น. ชื่อแมลงขนาดเล็กหลายชนิดในอันดับ Siphonaptera ตัวยาวประมาณ ๕ มิลลิเมตรไม่มีปีก ลําตัวแบนข้าง มีขนเรียงเป็นแถวข้างลําตัวบริเวณปล้อง แต่ละปล้อง หัวและอกเล็กกว่าท้อง ขายาว กระโดดได้เก่งปากเป็นชนิดเจาะ ดูด ดูดเลือดคนและสัตว์กินเป็นอาหาร เช่น หมัดคน (Pulexirritans) หมัดหมา (Ctenocephalides canis) หมัดหนู (Xenopsyllacheopsis) ในวงศ์ Pulicidae.
  48. หมายเกณฑ์ : (กฎ) น. หนังสือสั่งเกณฑ์ซึ่งเจ้าพนักงานปกครองท้องที่ ออกไปถึงผู้ถูกเกณฑ์แรงงาน หรือเจ้าของหรือผู้ครอบครองทรัพย์สิน ที่ถูกเกณฑ์.
  49. หมู ๓ : น. (๑) ชื่อปลานํ้าจืดในสกุล Botia วงศ์ Cobitidae ลําตัวยาว แบนข้าง คอดหางใหญ่ มีหนวด ๓ คู่ หนังหนาคลุมเกล็ดมิด มีเขี้ยวพับเก็บได้ ในร่องบริเวณด้านหน้าของตา เช่น หมูขาว (B. modesta) หมูลาย (B. hymenophysa). (๒) ดู ซ่อนทราย(๑).
  50. หมู่บ้าน : (กฎ) น. ท้องที่ที่รวมบ้านหลายบ้านให้อยู่ในความปกครอง อันเดียวกัน และมีประกาศจัดตั้งเป็นหมู่บ้าน มีผู้ใหญ่บ้านเป็นหัวหน้า ปกครอง.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | [451-500] | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1146

(0.1183 sec)