Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: หัวหน้า .

Royal Institute Thai-Thai Dict : หัวหน้า, 116 found, display 51-100
  1. นายกเทศมนตรี : (กฎ) น. ตําแหน่งหัวหน้าคณะเทศมนตรี.
  2. นายกรัฐมนตรี : (กฎ) น. ตําแหน่งหัวหน้าคณะรัฐมนตรี.
  3. นายงาน : ( น. หัวหน้างาน.
  4. นายประเพณี : ( (โบ) น. หัวหน้ารักษาประโยชน์ของวัดและบํารุงวัด ได้บังคับว่ากล่าวทั่วไป (ทํานองมรรคนายก). (ประชุมพงศ.).
  5. นายโรง : (น. พระเอกลิเก, เจ้าของคณะลิเก; หัวหน้าคณะหนังตะลุงหรือ มโนราห์.
  6. นายเวร : ( น. นายตํารวจชั้นสัญญาบัตร มีหน้าที่เป็นเลขานุการของผู้ที่ มีตําแหน่งสูงกว่าตน เช่น นายเวรผู้บังคับการ นายเวรผู้บัญชาการ นายเวรอธิบดี หรือเป็นหัวหน้าปกครองเจ้าหน้าที่เสมียนพนักงาน ในบังคับบัญชาเป็นต้น; เจ้าหน้าที่การทูตชั้นผู้น้อยในสถานกงสุล.
  7. นายอำเภอ : ( (กฎ) น. ตําแหน่งเจ้าพนักงานผู้ปกครองท้องที่ ซึ่งเป็น หัวหน้าปกครองบังคับบัญชาข้าราชการในอําเภอ และรับผิดชอบ ในการบริหารราชการของอําเภอ.
  8. นายิกา : น. หญิงผู้เป็นหัวหน้า. (ป.).
  9. ประโคนธรรพ, ประโคนธรรพ์ : [ปฺระโคนทับ, ปฺระโคนทัน] น. หัวหน้าคนธรรพ์ผู้เป็นเจ้าแห่ง การดนตรี ถือว่าเป็นครูปี่พาทย์, เขียนเป็น ประคนธรรพ หรือ ประคนธรรพ์ ก็มี.
  10. ประธาน ๑ : น. ตําแหน่งผู้ที่เป็นหัวหน้าหรือเป็นใหญ่ในที่ประชุม เช่น ตําแหน่ง ประธานรัฐสภา ตําแหน่งประธานกรรมการ, เรียกผู้ที่เป็นหัวหน้า หรือเป็นใหญ่ในที่ประชุม เช่น ประธานรัฐสภา ประธานกรรมการ. ว. ที่เป็นหลักสําคัญในที่นั้น ๆ เช่น พระประธาน.
  11. ประมุข : [ปฺระมุก] น. ผู้เป็นใหญ่เป็นหัวหน้าของประเทศหรือศาสนาเป็นต้น. (ส. ปฺรมุข; ป. ปมุข).
  12. ปาโมกข์ : น. ผู้เป็นหัวหน้า, ผู้เป็นประธาน. (ป.).
  13. ปุเรจาริก : ว. เป็นเครื่องนําหน้า, เป็นอารมณ์, เป็นหัวหน้า. (ป., ส.).
  14. ผู้หลักผู้ใหญ่ : น. ผู้มีอายุมาก เช่น โตจนเป็นผู้หลักผู้ใหญ่แล้วยัง ทำตัวเหลวไหล, ผู้ที่เป็นหัวหน้าในการงาน, บุคคลชั้นผู้บังคับบัญชา เช่น งานนี้มีผู้หลักผู้ใหญ่มากันมาก; บุคคลที่วางตัวหรือมีความคิด และความประพฤติเหมาะสมกับสถานภาพ เช่น แต่งงานแล้วดูเป็น ผู้หลักผู้ใหญ่มากขึ้น.
  15. ผู้ใหญ่ : น. คนที่มีอายุมาก, บุคคลที่มีอายุครบ ๑๘ ปีบริบูรณ์แล้ว, คนที่เป็นหัวหน้าในการงาน, บุคคลชั้นผู้บังคับบัญชา.
  16. พญา : [พะยา] (โบ) น. เจ้าแผ่นดิน เช่น พญาลิไทย; ผู้เป็นใหญ่, ผู้เป็นหัวหน้า, (มักใช้'';นําหน้านามอื่น) เช่น พญานาค พญาหงส์.
  17. พลาธิการ : น. หน่วยงานของทหารและตํารวจ มีหน้าที่ควบคุมการ จัดที่พัก จัดเครื่องใช้ จัดอาหาร ฯลฯ; (โบ) หัวหน้ากรมในกองทัพบก ซึ่งมีหน้าที่เกี่ยวกับการนี้.
  18. พ่อ : น. ชายผู้ให้กําเนิดแก่ลูก; คําที่ลูกเรียกชายผู้ให้กําเนิดหรือเลี้ยง; ดูตนคําที่ผู้ใหญ่เรียกผู้ชายที่มีอายุน้อยกว่าด้วยความสนิทสนม หรือรักใคร่เป็นต้นว่า พ่อนั่น พ่อนี่; คําใช้นําหน้านามเพศชาย แปลว่า ผู้เป็นหัวหน้า เช่น พ่อเมือง; ผู้ชายที่กระทํากิจการหรือ งานอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ค้าขาย เรียกว่า พ่อค้า ทําครัว เรียกว่า พ่อครัว; เรียกสัตว์ตัวผู้ ที่มีลูก เช่น พ่อม้า พ่อวัว.
  19. พ่อครัว : (โบ) น. หัวหน้าครอบครัว.
  20. พ่อบ้าน : น. ชายที่เป็นหัวหน้าครอบครัว, ชายผู้จัดการงานธุรการ ในสถานที่เช่นโรงพยาบาลเป็นต้น.
  21. พ่อเล้า : (ปาก) น. ผู้ชายผู้เป็นหัวหน้าเลี้ยงหญิงสาวไว้บำเรอชาย.
  22. พัน ๑ : ว. เรียกจํานวน ๑๐ ร้อย. น. ตําแหน่งหัวหน้าทหารสมัยโบราณสูง กว่าหัวปาก, บรรดาศักดิ์ชั้นประทวนตํ่ากว่าหมื่น, ชื่อตําแหน่ง หัวหน้านายเวรในกระทรวงมหาดไทยและกลาโหม, ยศทหารชั้น สัญญาบัตรรองจากนายพล.
  23. พี่เบิ้ม : (ปาก) น. ผู้มีอํานาจมาก, ผู้เป็นหัวหน้าใหญ่.
  24. แพแตก : (สํา) ว. ลักษณะที่ครอบครัวเป็นต้นแตกกระจัดกระจาย แยกย้ายกันไปเพราะหัวหน้าครอบครัวหรือผู้เป็นหลักเป็นประธาน ประสบความวิบัติหรือเสียชีวิต.
  25. แม่ : น. หญิงผู้ให้กําเนิดหรือเลี้ยงดูลูก, คําที่ลูกเรียกหญิงผู้ให้กําเนิดหรือเลี้ยงดูตน; คําที่ผู้ใหญ่เรียกผู้หญิงที่มีอายุน้อยกว่าด้วยความสนิทสนมหรือรักใคร่เป็นต้นว่า แม่นั่น แม่นี่; คําใช้นําหน้านามเพศหญิง แปลว่า ผู้เป็นหัวหน้า เช่น แม่บ้าน; ผู้หญิงที่กระทํากิจการหรืองานอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ค้าขาย เรียกว่า แม่ค้า ทําครัว เรียกว่า แม่ครัว; เรียกสัตว์ตัวเมียที่มีลูก เช่น แม่ม้า แม่วัว; เรียกคน ผู้เป็นหัวหน้าหรือเป็นนายโดยไม่จํากัดว่าเป็นชายหรือหญิง เช่น แม่ทัพ แม่กอง; คํายกย่องเทวดาผู้หญิงบางพวก เช่น แม่คงคา แม่ธรณี แม่โพสพ, บางทีก็ใช้ว่า เจ้าแม่ เช่น เจ้าแม่กาลี; เรียกสิ่งที่เป็นประธานของสิ่งต่าง ๆ ในพวกเดียวกัน เช่น แม่กระได แม่แคร่ แม่แบบ; เรียกชิ้นใหญ่กว่าในจําพวกสิ่งที่สําหรับกัน เช่น แม่กุญแจ คู่กับ ลูกกุญแจ; แม่นํ้า เช่น แม่ปิง แม่วัง; คําหรือพยางค์ที่มีแต่สระ ไม่มีตัวสะกด เรียกว่า แม่ ก กา, คําหรือพยางค์ที่มีตัว ก ข ค ฆ สะกด เรียกว่า แม่กก, คําหรือพยางค์ที่มีตัว ง สะกด เรียกว่า แม่กง, คําหรือพยางค์ที่มีตัว จ ฉ ช ซ ฌ ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ด ต ถ ท ธ ศ ษ ส สะกด เรียกว่า แม่กด, คําหรือพยางค์ ที่มีตัว ญ ณ น ร ล ฬ สะกด เรียกว่า แม่กน, คําหรือพยางค์ที่มีตัว ม สะกด เรียกว่า แม่กม, คําหรือพยางค์ที่มีตัว ย สะกด เรียกว่า แม่เกย แต่ในมูลบทบรรพกิจมี ย ว อ สะกด, คําหรือพยางค์ที่มีตัว ว สะกด เรียกว่า แม่เกอว.
  26. แม่กอง : น. ผู้เป็นนายกอง, หัวหน้างาน, เช่น แม่กองทำปราสาทพระเทพบิดร แม่กองทำประตูประดับมุก.
  27. แม่งาน : น. หัวหน้าผู้รับผิดชอบในงานบางอย่าง เช่น เขาเป็นแม่งาน ในการจัดเลี้ยงแขกที่มาในงาน.
  28. แม่แปรก : [-ปะแหฺรก] น. ช้างพังที่เป็นหัวหน้าโขลง, (ราชา) แม่หนัก; หญิงสาวแก่ที่จัดจ้านซึ่งเป็นหัวหน้าของหญิงสาวในหมู่.
  29. แม่เพลง : น. หญิงที่เป็นต้นบทหรือหัวหน้าวงเพลงพื้นบ้าน เช่น เพลงฉ่อย เพลงเกี่ยวข้าว เพลงเรือ.
  30. แม่เล้า : (ปาก) น. หญิงผู้เป็นหัวหน้าซ่องโสเภณี, ผู้หญิงผู้เป็นหัวหน้าควบคุม ดูแลเลี้ยงหญิงสาวไว้บําเรอชาย.
  31. แม่หนัก : (ราชา) น. ช้างพังที่เป็นหัวหน้าโขลง.
  32. โมกข์ ๒ : ว. หัวหน้า, ประธาน. (ป.; ส. มุขฺย).
  33. รถปุงคพ, รถปุงควะ : [ระถะ–] น. หัวหน้านักรบ. (ป., ส.).
  34. ราชครู : น. พราหมณ์ผู้รับราชการเป็นหัวหน้าพิธีฝ่ายพราหมณ์ เรียกว่า พระราชครู เช่น พระราชครูวามเทพมุนี. (ส. ราชคุรุ).
  35. เรือขาดหางเสือ : (สํา) น. คนที่ขาดสติสัมปชัญญะ, ครอบครัวที่ขาดผู้ ดูแลรับผิดชอบ, การงานที่ขาดหัวหน้า.
  36. ลุย : ก. เคลื่อนที่ฝ่าเรื่อยเข้าไป เช่น ลุยน้ำ ลุยโคลน ลุยไฟ ลุยป่า ขับรถ ลุยเข้าไปในฝูงคน, โดยปริยายหมายถึงอาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ลุยงานให้เสร็จภายในเวลาที่กำหนด หัวหน้าสั่งลูกน้องลุยฝ่าย ตรงข้าม.
  37. ลูกพรรค : น. สมาชิกที่มิได้เป็นหัวหน้าของพรรคการเมือง.
  38. ลูกพี่ : (ปาก) น. คําที่ลูกน้องหรือลูกสมุนเรียกเพื่อยกย่องผู้ที่เป็น หัวหน้านักเลงเป็นต้น.
  39. ลูกมือ : น. ผู้ทําการตามคําแนะนําของหัวหน้า เช่น ลูกมือทำกับข้าว.
  40. ลูกเรือ : น. กะลาสี, คนประจำอยู่ในเรือโดยสารหรือเรือประมง เป็นต้นยกเว้นชั้นหัวหน้าเช่นกัปตันหรือนายท้าย.
  41. เละเทะ : ว. ไม่เป็นระเบียบ เช่น หัวหน้าไม่อยู่ งานการเละเทะ; มีความประพฤติเหลวไหลไม่มีความรับผิดชอบ เช่น คนกินเหล้า เมายาเป็นคนเละเทะ เชื่อถือไม่ได้, มีความประพฤติเป็นที่น่ารังเกียจ (มักใช้ในทางชู้สาว) เช่น ผู้หญิงคนนั้นทำตัวเละเทะ.
  42. เลือก ๑ : ก. คัดสิ่งที่มีจํานวนมากกว่าหนึ่งขึ้นไปเพื่อเอาไว้หรือเอาออกตาม ต้องการ เช่น เลือกผู้ใหญ่บ้าน เลือกหัวหน้าชั้น.
  43. โลกบาล : [โลกกะ–] น. หัวหน้าเทวดาในชั้นจาตุมหาราช มีหน้าที่ รักษาโลกในทิศทั้ง ๔ เรียกเต็มว่า ท้าวจตุโลกบาล หรือ ท้าว จัตุโลกบาล คือ ๑. ท้าวธตรฐ จอมภูต หรือจอมคนธรรพ์ รักษาโลก ด้านทิศบูรพาหรือทิศตะวันออก ๒. ท้าววิรุฬหก จอมเทวดา หรือ จอมกุมภัณฑ์ รักษาโลกด้านทิศทักษิณหรือทิศใต้ ๓. ท้าววิรูปักษ์ จอมนาค รักษาโลกด้านทิศประจิมหรือทิศตะวันตก ๔. ท้าวกุเวร จอมยักษ์ รักษาโลกด้านทิศอุดรหรือทิศเหนือ. (ป., ส. โลกปาล).
  44. วัดรอยตีน, วัดรอยเท้า : (สํา) ก. เทียบดูว่าพอสู้ได้หรือไม่ เช่น ลูกศิษย์วัดรอยเท้าครู, คอยเทียบตัวเองกับผู้ที่เหนือกว่าเพื่อชิงดี ชิงเด่น เช่น ลูกน้องวัดรอยตีนหัวหน้า.
  45. สมุห, สมุห์ : [สะหฺมุหะ, สะหฺมุ] น. หมู่, กอง, พวก. (ป.; ส. สมูห); หัวหน้าใน ตําแหน่งหน้าที่ เช่น สมุหพระราชพิธี สมุหราชองครักษ์ สมุห์บัญชี; ตําแหน่งพระฐานานุกรมเหนือใบฎีกา เช่น พระสมุห์ พระครูสมุห์. สมุหกลาโหม, สมุหพระกลาโหม น. ตําแหน่งข้าราชการชั้นอัครมหา เสนาบดีฝ่ายทหารครั้งโบราณ.
  46. สรั่ง : [สะหฺรั่ง] น. หัวหน้ากะลาสี. (เปอร์เซีย).
  47. สังฆนายก : (กฎ; เลิก) น. ตําแหน่งหัวหน้าคณะสังฆมนตรีตาม พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พุทธศักราช ๒๔๘๔.
  48. สังฆปาโมกข์ : น. หัวหน้าสงฆ์. (ป.).
  49. หนักหน้า : ก. มีภาระต้องรับผิดชอบทั้งหมด เช่น เรื่องนี้หัวหน้าคณะ หนักหน้าอยู่คนเดียว.
  50. หมวด : [หฺมวด] น. กลุ่มที่ประกอบด้วยหลายหมู่ เช่น หมวดหนังสือวิทยาศาสตร์ ประกอบด้วยหมู่หนังสือเคมี หมู่หนังสือฟิสิกส์ เป็นต้น; กำลังพลของ ทหาร ตำรวจ เป็นต้น มีจำนวนไม่เกิน ๔ หมู่ มีหัวหน้าเรียกว่า ผู้บังคับ หมวด หรือทั่ว ๆ ไปเรียกว่า ผู้หมวด, ถ้าเป็นทหารบกหรือตำรวจจะต้อง มียศเป็นร้อยตรี ร้อยโท หรือร้อยตำรวจตรี ร้อยตำรวจโท, ถ้าเป็นทหารเรือ หรือทหารอากาศจะต้องมียศเป็นเรือตรี เรือโท; เรียกสิ่งที่ขมวดไว้เป็น จุกเดียวกัน.
  51. 1-50 | [51-100] | 101-116

(0.0159 sec)