Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: นูน , then นน, นุน, นูน .

Royal Institute Thai-Thai Dict : นูน, 122 found, display 101-122
  1. กระสัน : ก. คะนึง, คิดผูกพันอยู่, มีใจจดจ่ออยู่, เช่น ปู่กระสันถึง ไก่ในไพรพฤกษ์. (ลอ); กระวนกระวายในกาม เช่น เดี๋ยวนี้นะ พระองค์ทรงธรรม์ แสนกระสันจันทร์สุดาดวงสมร. (คาวี); ผูกให้แน่น เช่น กระสันเข้าไว้กับหลัก, ผูกพันพระพี่น้องสอง กระสันเข้าให้มั่นกับมือ. (ม. คำหลวง กุมาร), รัด เช่น สายกระสัน; ต่อเนื่อง เช่น มุขกระสัน; (ปาก) อยากมาก เช่น กระสันจะเป็น รัฐมนตรี. ว. แน่น เช่น พระขรรค์เหน็บกระสันอยู่เป็นนิจ.
  2. กันเกรา : [-เกฺรา] น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ชนิด Fagraea fragrans Roxb. ในวงศ์ Gentianaceae ชอบขึ้นในที่ชื้นแฉะทั่วไปในป่าดิบ ใบสีเขียวแก่ ค่อนข้างหนา ยาวราว ๕-๗ เซนติเมตร ดอกดก สีขาวแล้วเปลี่ยนเป็นสีเหลือง หอมมาก ออกเป็นช่อคล้ายช่อดอกเข็ม ผลเท่าเมล็ดถั่วลันเตา เมื่อสุกสีแดง เนื้อไม้สีเหลืองละเอียด แน่น เป็นมัน แข็งและทนทาน นิยมใช้ในการก่อสร้างต่าง ๆ, ตําเสา หรือ มันปลา ก็เรียก.
  3. เกิง : (โบ; กลอน) ว. ล่วง เช่น ตกพ่างบุษบนนเกิง ขาดขว้นน. (ทวาทศมาส).
  4. ขนุน ๑ : [ขะหฺนุน] น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ชนิด Artocarpus heterophyllus Lam. ในวงศ์ Moraceae มีนํ้ายางขาว ผลกลมยาวราว ๒๐-๕๐ เซนติเมตร ภายนอกเป็นหนามถี่ ภายในมียวงสีเหลืองหรือ สีจําปา รสหวาน กินได้ แก่นสีเหลือง เรียกว่า กรัก ใช้ต้มเอานํ้าย้อมผ้า, พันธุ์ที่มียวงสีเหลือง เนื้อนุ่มแต่ไม่เหลว เรียก ขนุนหนัง, พันธุ์ที่มียวง สีจําปา เนื้อนุ่ม เรียก ขนุนจําปาดะ, ส่วนพันธุ์ที่มียวงสีเหลือง เนื้อเหลว เรียก ขนุนละมุด.
  5. ขนุน ๒ : [ขะหฺนุน] ดู ใบขนุน(๑).
  6. เขม็ง : [ขะเหฺม็ง] ว. ตึงเครียด; แน่น, แข็ง; อย่างแน่วแน่ เช่น จ้องเขม็ง. ก. ทำให้ตึง เช่น เขม็งเกลียว.
  7. ครัดเคร่ง : [คฺรัดเคฺร่ง] (กลอน) ก. แน่น, ตึง เช่น แก้มทั้งสองข้างดังปรางทอง เต้านม ทั้งสองก็ครัดเคร่ง. (ขุนช้างขุนแผน), เคร่งครัด ก็ว่า. ว. เข้มงวด, กวดขัน; ถูกต้องครบถ้วน.
  8. เคร่งครัด : [-คฺรัด] ก. เข้มงวด, กวดขัน, เช่น อย่าเคร่งครัดนักเลย; (กลอน) แน่น, ตึง, เช่น สองเต้าตูมเต่งเคร่งครัด ดอกไม้ทัดทั้ง ห่อผ้าห่มหวง. (ขุนช้างขุนแผน), ครัดเคร่ง ก็ว่า. ว. เข้มงวด, กวดขัน, เช่น รักษาระเบียบวินัยอย่างเคร่งครัด; ถูกต้องครบถ้วน เช่น ปฏิบัติ ตามคำสั่งอย่างเคร่งครัด ข้อยกเว้นต้องตีความอย่างเคร่งครัด; ใช้ว่า ครัดเคร่ง ก็มี.
  9. : พยัญชนะตัวที่ ๖ นับเป็นพวกอักษรตํ่า ใช้เป็นตัวสะกดในแม่กกในคํา ที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤต ที่ใช้เขียนในคําไทยมีบ้างเล็กน้อย [คะนะ-] (แบบ) น. แท่ง, ก้อน. ว. แน่น, ทึบ, แข็ง เช่น กรวดกรับ
  10. ฆน-, ฆนะ : [คะนะ-] (แบบ) น. แท่ง, ก้อน. ว. แน่น, ทึบ, แข็ง เช่น กรวดกรับ อันคละฆนศิลา. (ดุษฎีคําฉันท์). (ป., ส.).
  11. เจ้า ๒ : ส. คําใช้แทนผู้ที่เราพูดด้วย สําหรับผู้ใหญ่พูดกับผู้น้อยอย่างสุภาพหรือ เอ็นดู, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒ เช่น เจ้ามานี่, คําใช้แทนผู้ที่เราพูดถึง, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๓, มักใช้เข้าคู่กับคํา นั่น เป็น เจ้านั่น เช่น เจ้านั่น จะไปด้วยหรือเปล่า.
  12. ดาน : ว. แข็ง, แน่น, เรียกดินที่จับตัวแข็งเป็นชั้น โดยมากเป็นประเภทดินเหนียว เนื้อแน่นที่นํ้าไหลผ่านไม่ได้ เกาะตัวแข็งอยู่ใต้ผิวดิน ว่า ดินดาน, เรียก หินแข็งหรือหินผุที่รองรับดิน ทราย กรวด ซึ่งมีแร่เช่นดีบุก ทองคํา รวม อยู่ด้วย ว่า หินดาน, เรียกสิ่งที่มีลักษณะแข็งเป็นดานอยู่ในท้อง เช่น ดานเลือด ดานลม.
  13. ตระหง่อง, ตระหน่อง : [ตฺระ-] (โบ; กลอน) ก. จ้อง, คอยดู, เช่น ตาเรียมตระหง่องตั้ง ตาเรือ แม่ฮา. (ทวาทศมาส), เขียนเป็น ตรง่อง ก็มี เช่น อันว่าพระมหาสัตวก็ต้งงตาแลตรง่อง ซึ่งช้นนช่องมรรคา ที่มีผู้จะมาน้นน โสดแล. (ม. คําหลวง กุมาร), กระหง่อง หรือ กระหน่อง ก็ใช้.
  14. ถัทธ : [ถัด] (แบบ) ว. แน่น, แข็ง, กระด้าง, เช่น อันว่าชูชกใจถัทธ. (ม. คําหลวง นครกัณฑ์). (ป.).
  15. นี่ : ส. คําใช้แทนนามที่อ้างถึงบุคคลหรือสิ่งที่อยู่ใกล้ เช่น นี่ใคร นี่อะไร. ว. คําใช้ประกอบคํานามหรือกริยาให้รู้ว่าอยู่ใกล้หรือชี้เฉพาะ เช่น หนังสือนี่แต่งดี ขนมนี่อร่อย อยู่นี่ มานี่; คําประกอบท้ายคําเพื่อเน้น ความหมาย เช่น เดี๋ยวเฆี่ยนเสียนี่. นี่แน่ะ คําบอกให้ดูหรือเตือนให้รู้, นี่ ก็ว่า. นี่แหละ คําแสดงการเน้นให้หนักแน่นยิ่งขึ้น เช่น ฉันนี่แหละ นี่แหละ โลก. นี่เอง คําประกอบคําอื่นแสดงการเน้นให้หนักแน่นยิ่งขึ้น เช่น เธอนี่เอง เด็กคนนี้นี่เอง.
  16. มั่น : ว. แน่, แน่นอน, เช่น ใจมั่น; แน่น เช่น จับให้มั่น.
  17. สรลน : [สฺระหฺลน] (กลอน) ว. สลอน, แน่น; เชิดชู.
  18. หนั่น : ว. แน่น, แน่นหนา, เช่น เนื้อหนั่น. (โบ) ก. หนุน.
  19. อวล : [อวน] ก. ฟุ้งด้วยกลิ่นหอม, มักใช้เข้าคู่กับคํา อบ เป็น อบอวล. (ข. ว่า เต็ม, แน่น, อึดอัด).
  20. อัดแอ : ว. ยัดเยียด, แน่น, แออัด ก็ว่า.
  21. แออัด : ว. ยัดเยียด, แน่น, อัดแอ ก็ว่า.
  22. 1-50 | 51-100 | [101-122]

(0.0403 sec)