Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ส่วนภูมิภาค, ภูมิภาค, ส่วน , then ภมภาค, ภุมิภาค, ภูมิภาค, สวน, ส่วน, สวนภมภาค, ส่วนภูมิภาค .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ส่วนภูมิภาค, 1298 found, display 1001-1050
  1. สังกรประโยค : [สังกะระปฺระโหฺยก, สังกอระปฺระโหฺยก] น. ประโยคใหญ่ที่มีประโยค เล็กตั้งแต่ ๒ ประโยคขึ้นไปมารวมกัน โดยมีประโยคหลักที่มีใจความ สำคัญเพียงประโยคเดียว ส่วนประโยคเล็กทำหน้าที่แต่งหรือประกอบ ประโยคหลัก.
  2. สังกัด : ก. ขึ้นอยู่, รวมอยู่, เช่น กรมวิชาการสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ. น. ส่วนราชการที่มีหน่วยงานย่อย ๆ ขึ้นอยู่ เช่น กรมสามัญศึกษาอยู่ ในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ, โดยปริยายหมายถึงที่อยู่เป็นหลักแหล่ง เช่น เขาเป็นคนไม่มีสังกัด คือ เป็นคนที่ไม่มีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง หมายถึง คนที่เร่ร่อนพเนจร. (ข. สงฺกาต่).
  3. สังคมนิยม : [สังคมมะ, สังคม] น. ทฤษฎีเศรษฐกิจและการเมือง ที่มี หลักการให้รัฐหรือส่วนรวมเป็นเจ้าของปัจจัยในการผลิต ตลอดจน การจําแนกแจกจ่าย และวางระเบียบการบริโภคผลผลิต.
  4. สังคัง : (ปาก) น. โรคผิวหนังชนิดหนึ่ง ส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อรา (Epidermophyton floccosum) บางรายเกิดจากเชื้อราในสกุล Trichophyton เกิดที่ถุงอัณฑะ ลักษณะเป็นผื่นแดง มีสะเก็ด มีอาการคันมาก.
  5. สังฆ : [สังคะ] น. สงฆ์, มักใช้เป็นส่วนหน้าสมาส.
  6. สังวร : [วอน] น. ความระวัง, ความเหนี่ยวรั้ง, ความป้องกัน. ก. สํารวม, เหนี่ยวรั้ง, เช่น สังวรศีล สังวรธรรม, ถ้าใช้เป็นส่วนท้ายของสมาส หมายความว่า ความสำรวม, ความระวัง, เช่น อินทรียสังวร จักษุสังวร ญาณสังวร ศีลสังวร, (ปาก) ให้ระวังจงดี (ผู้ใหญ่สั่งสอนเตือนสติผู้น้อย) เช่น เรื่องนี้พึงสังวร ไว้อย่าให้ผิดอีกเป็นครั้งที่ ๒. (ป., ส. สํวร).
  7. สัดส่วน : น. ส่วนผสมของสิ่งต่าง ๆ ตามอัตราที่กําหนด เช่น ในการ ผสมปูนโบกฝาผนังจะใช้ซีเมนต์ ทราย และปูนขาว ตามสัดส่วน ๓ : ๒ : ๑; (คณิต) การเท่ากันของ ๒ อัตราส่วน หมายความว่า อัตราส่วน ของปริมาณที่ ๑ ต่อปริมาณที่ ๒ เท่ากับอัตราส่วนของปริมาณที่ ๓ ต่อ ปริมาณที่ ๔ เช่น ๑ กิโลกรัม, ๒ กิโลกรัม; ๑๐๐ บาท, ๒๐๐ บาท ได้ชื่อว่า เป็นสัดส่วนกันก็เพราะ ๑ กิโลกรัม๒ กิโลกรัม = ๑๒ = ๑๐๐ บาท๒๐๐ บาท = ๑๒ ? ๑ กิโลกรัม : ๒ กิโลกรัม = ๑๐๐ บาท : ๒๐๐ บาท.). (อ. proportion)
  8. สัตถุ : น. ครู, ผู้สอน, มักใช้เป็นส่วนหน้าสมาส. (ป.).
  9. สัตว, สัตว์ : [สัดตะวะ, สัด] น. สิ่งมีชีวิตซึ่งแตกต่างไปจากพรรณไม้ ส่วนมาก มีความรู้สึกและเคลื่อนไหวย้ายที่ไปได้เอง, ความหมายที่ใช้กันเป็น สามัญหมายถึง สัตว์ที่ไม่ใช่คน, เดรัจฉาน. (ส. สตฺตฺว; ป. สตฺต).
  10. สั้น : ว. ลักษณะส่วนหนึ่งของสิ่งใด ๆ มีกําหนดระยะยืดหรือยืนเป็นเส้น ตรงจากจุดหนึ่งถึงอีกจุดหนึ่งน้อยกว่าอีกสิ่งหนึ่งเมื่อมีการเปรียบเทียบ กัน เช่น เสื้อแขนสั้น กระโปรงสั้น ถนนสายนี้สั้นกว่าถนนสายอื่น ๆ, มีระยะเวลานานน้อยกว่าอีกช่วงเวลาหนึ่ง เมื่อมีการเปรียบเทียบกัน เช่น หน้าหนาวกลางวันสั้นกว่ากลางคืน.
  11. สัน ๑ : น. สิ่งที่มีลักษณะนูนสูงขึ้นเป็นแนวยาว เช่น สันหลังคา สันหน้าแข้ง ดั้งจมูกเป็นสัน; ส่วนหนาของมีดหรือขวานซึ่งอยู่ตรงข้ามกับคม.
  12. สันเขา : น. ส่วนสูงของภูเขาที่ยาวเป็นทิวพืดไป.
  13. สันมือ : น. ส่วนข้างฝ่ามือด้านนิ้วก้อย เช่น สับด้วยสันมือ.
  14. สันหลัง : น. ส่วนของร่างกายด้านหลัง ซึ่งมีกระดูกเป็นแนวนูนลงมา ตลอดหลัง; โดยปริยายหมายความว่า ส่วนที่ตั้งมั่นของสิ่งใด ๆ.
  15. สัมพันธ, สัมพันธ์, สัมพันธน์ : [สําพันทะ, สําพัน] ก. ผูกพัน, เกี่ยวข้อง, เช่น เขากับฉันสัมพันธ์กัน ฉันญาติ ข้อความข้างหลังไม่สัมพันธ์กับข้อความข้างหน้า. (ไว) น. การแยกความออกเป็นประโยค ๆ หรือส่วนต่าง ๆ ของประโยค แล้ว บอกการเกี่ยวข้องของประโยคและคำต่าง ๆ ในประโยคนั้น ๆ. (ป., ส.).
  16. สัมมา : ว. ชอบ, ดี, (มักใช้เป็นส่วนหน้าของสมาส) เช่น สัมมาทิฐิ สัมมาชีพ. (ป.; ส. สมฺยกฺ).
  17. สัมฤทธิ, สัมฤทธิ์ : [สําริดทิ, สําริด] น. ความสําเร็จ ในคําว่า สัมฤทธิผล; โลหะเจือชนิดหนึ่ง ส่วนใหญ่ประกอบด้วยทองแดงกับดีบุก, ทองสัมฤทธิ์ หรือ ทองบรอนซ์ ก็เรียก, โบราณเขียนว่าสําริด. (ส. สมฺฤทฺธิ; ป. สมิทฺธิ).
  18. สาขา : น. กิ่งไม้, กิ่งก้าน, เช่น ต้นจามจุรีมีสาขามาก; แขนง, ส่วนย่อย, ส่วนรอง, เช่น วิทยาศาสตร์กายภาพเป็นสาขาหนึ่งของวิชาวิทยาศาสตร์ ธนาคาร ออมสินสาขาหน้าพระลาน. (ป.; ส. ศาขา).
  19. หก ๑ : ก. อาการที่ส่วนเบื้องสูงของร่างกาย ของภาชนะ หรือของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เอียงลง เทลง ในทันใดจากที่เดิม เช่น หกต่ำหกสูง น้ำหก ข้าวหก, โดย ปริยายเรียกอาการเช่นนั้น เช่น กระดานหก.
  20. หงส์แล่น : น. เครื่องประดับสันหลังคาหรือส่วนฐานของอาคาร ทำด้วยปูน ไม้ หรือหิน เป็นรูปหงส์เรียงกันเป็นแถว.
  21. หนวดพราหมณ์ ๒ : [หฺนวดพฺราม] น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด Polynemus longipectoralis ในวงศ์ Polynemidae ลําตัวยาว แบนข้าง หัวแหลมมน ปากอยู่ตํ่า ตาเล็ก เกล็ดเล็ก สากมือ ครีบหลังมี ๒ ตอน ครีบหางใหญ่เป็นแฉกเรียวแหลมตอนปลาย ที่สําคัญคือตรงส่วนล่างของครีบอกมีก้านครีบแยกเป็นเส้นยาวมากรวม ๗ เส้นยาวไม่เท่ากัน ลําตัวด้านหลังสีเทาหรือเขียวหม่น ส่วนท้องและ ครีบสีเหลืองหรือส้มคลํ้า ขนาดยาวได้ถึง ๒๕ เซนติเมตร พบบ้างใน นํ้ากร่อยหรือทะเล.
  22. หน่วยคำ : น. หน่วยที่เล็กที่สุดในภาษาซึ่งมีความหมาย อาจมีลักษณะเป็น ส่วนหนึ่งของคำหรือเป็นคำก็ได้ แบ่งเป็น ๒ ประเภท ได้แก่ หน่วยคำ อิสระ คือ หน่วยคำที่ปรากฏตามลำพังได้ เช่น นก บันได เรียน และ หน่วยคำไม่อิสระ คือ หน่วยคำที่ปรากฏตามลำพังไม่ได้ ต้องปรากฏ ร่วมกับหน่วยคำอื่นเสมอ เช่น นัก ชาว. (อ. morpheme).
  23. หนอนกอ : น. ชื่อหนอนของผีเสื้อซึ่งเจาะกินเข้าไปในลําต้นข้าว ทําให้ข้าว ไม่ออกรวง หรือออกรวงแต่เมล็ดลีบเป็นสีขาว ซึ่งเรียกว่า ข้าวหัวหงอก ส่วนใหญ่เป็นหนอนของผีเสื้อชีปะขาว.
  24. หนัง ๑ : น. ส่วนของร่างกายที่หุ้มเนื้ออยู่, หนังสัตว์ที่เอามาทําเป็นของใช้หรือ เป็นอาหาร; การมหรสพอย่างหนึ่งเอาหนังสัตว์มาสลักเป็นภาพ เช่น หนังตะลุง, หนังใหญ่, (ปาก) ภาพยนตร์ เช่น โรงหนัง ถ่ายหนัง ฉายหนัง เล่นหนัง.
  25. หนังสือราชการ : น. เอกสารที่เป็นหลักฐานในราชการ ได้แก่ หนังสือที่มี ไปมาระหว่างส่วนราชการ หนังสือที่ส่วนราชการมีไปถึงหน่วยงานอื่น ซึ่งไม่ใช่ส่วนราชการ หนังสือที่หน่วยงานอื่นซึ่งไม่ใช่ส่วนราชการหรือ ที่บุคคลภายนอกมีมาถึงส่วนราชการ เอกสารที่ทางราชการจัดทำขึ้นเพื่อ เป็นหลักฐาน และเอกสารที่ทางราชการจัดทำขึ้นตามกฎหมาย ระเบียบ หรือข้อบังคับ.
  26. หนา ๑ : น. ส่วนสูงมากจากผิวพื้น. ว. มีส่วนสูงมากจากผิวพื้น; แน่นทึบ, มาก, ตรงข้ามกับ บาง.
  27. หน้ากาก : น. เครื่องบังใบหน้าทั้งหมดหรือบางส่วน.
  28. หน้าขา : น. ส่วนหน้าของขานับตั้งแต่โคนขาถึงหัวเข่า.
  29. หน้าแข้ง : น. ส่วนหน้าของขา ใต้เข่าลงไปถึงข้อเท้า, แข้ง ก็ว่า.
  30. หน้าแง : น. ส่วนของหน้าตรงหว่างคิ้ว เช่น นักมวยถูกชกหน้าแง.
  31. หน้าท้อง : น. ส่วนหน้าของท้อง ตั้งแต่ลิ้นปี่จนถึงบริเวณต้นขา เช่น ฉีดเซรุ่ม ป้องกันพิษสุนัขบ้าที่หน้าท้องหลังจากถูกสุนัขกัด; โดยปริยายหมายถึงท้อง ที่ยื่นเพราะมีไขมันมาก เช่น ผู้หญิงคนนี้สวยดี เสียแต่มีหน้าท้อง.
  32. หน้าผาก : น. ส่วนเบื้องบนของใบหน้าอยู่เหนือคิ้วขึ้นไป.
  33. หนาม ๑ : น. ส่วนแหลม ๆ ที่งอกออกจากต้นหรือกิ่งของไม้บางชนิดเป็นต้น เช่น หนามงิ้ว หนามพุทรา.
  34. หนามเตย : น. ลายหยักบนตัวหนังสือขอม; ส่วนที่เป็นหยัก ๆบนหลัง จระเข้; โลหะที่มีลักษณะเป็นเขี้ยวคล้ายหนามสำหรับเกาะยึดหัวแหวน เป็นต้น.
  35. หน้ามุข : น. ส่วนของอาคารที่ยื่นเด่นออกมาทางหน้า.
  36. หน้าอก : น. ส่วนภายนอกของอก, นมของผู้หญิง, อก ก็ว่า.
  37. ห่ม ๒ : ก. ใช้ผ้าเป็นต้นคลุมหรือพันสิ่งใดสิ่งหนึ่งทั้งหมดหรือเพียงบางส่วน เช่น ห่มผ้า ห่มสไบ เอาผ้าไปห่มต้นโพธิ์.
  38. หมวกเห็ด : น. ส่วนที่เป็นดอกของเห็ด.
  39. หมอ ๓ : น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด Anabas testudineus ในวงศ์ Anabantidae ลําตัวป้อม แบนข้าง ท้องกลม คอดหางกว้าง หัวโต ปากซึ่งอยู่ปลายสุดของหัวกว้าง และเชิดขึ้นเล็กน้อย ยืดหดไม่ได้ ฟันเล็กแต่แข็งแรง เกล็ดแข็ง ขอบเป็นจัก คล้ายหนามยึดแน่นกับหนังและคลุมตลอดทั้งลําตัวและหัว กระดูกแผ่น ปิดเหงือกหยักเป็นหนาม ใช้แถกเพื่อช่วยยึดยันให้เคลื่อนไปบนบกได้ดี ขอบครีบต่าง ๆ กลม ลําตัวและครีบมีสีดําคลํ้า ส่วนปลาขนาดเล็กมีสีจาง กว่าและมีลายบั้งพาดลําตัวเป็น ระยะ ๆ อาศัยอยู่ในแหล่งนํ้าแทบทุก ประเภท พบขึ้นมาบนบกในฤดูฝนเสมอ ซึ่งเป็นธรรมชาติการย้ายถิ่น ที่อยู่อาศัยแบบหนึ่ง และยังแสดงให้เห็นความสามารถในการหายใจใน ที่ดอนได้อีกด้วยขนาดยาวได้ถึง ๒๕ เซนติเมตร, หมอไทย หรือ สะเด็ด ก็เรียก, อีสานเรียก เข็ง.
  40. หมอบ : [หฺมอบ] ก. กิริยาที่คู้เข่าลงและยอบตัวให้ท่อนแขนส่วนล่างราบอยู่กับพื้น, ยอบตัวลงในอาการคล้ายคลึงเช่นนั้น; (ปาก) สิ้นเรี่ยวสิ้นแรง, ลุกไม่ขึ้น, เช่น ถูกตีเสียหมอบ เป็นไข้เสียหมอบ.
  41. หมาไม้ : น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิด Martes flavigula ในวงศ์ Mustelidae หัวคล้ายหมา ใบหูกลม ขอบหูขาว ลําตัวยาวสีนํ้าตาลอ่อน หางยาว ขนที่คาง ลําคอ และหน้าอกสีเหลือง ขนด้านบนของหัวสีดํา เล็บ แหลมคม กินผลไม้และเนื้อสัตว์ ว่องไวมาก กลิ่นแรง อาศัยอยู่บน ต้นไม้เป็นส่วนใหญ่.
  42. หมูสามชั้น : น. เนื้อหมูส่วนท้องที่ชําแหละให้ติดทั้งหนัง มัน และเนื้อ.
  43. หยวก ๑ : น. ลําต้นกล้วย เช่น หั่นหยวกต้มกับรำให้หมูกิน, บางทีก็เรียกว่า หยวก กล้วยเช่น แพหยวกกล้วย, ส่วนในหรือแกนอ่อนของลำต้นเทียมของ กล้วย มีสีขาว กินได้ เช่น ต้มหยวก แกงหยวก, กาบกล้วย ในคำว่า แทงหยวก; (ปาก) ไม่แข็งแน่น เช่น มีดเล่มนี้คมมากตัดกิ่งไม้ได้ง่าย เหมือนฟันหยวก, ใช้เปรียบผิวที่ขาวมากว่า ขาวเหมือนหยวก.
  44. หย่อง : น. สิ่งสําหรับใส่หมากพลู มีรูปเหมือนถาดขอบสูง มีตีน โดยมากทําด้วย ทองเหลือง; เครื่องรองรับไม้แม่กำพองประจำช่องหน้าต่าง; ส่วนประกอบ ของเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสาย เช่น ซอสามสาย ซอด้วง ขิม ไวโอลิน ใช้รองรับสายเพื่อรับแรงสั่นสะเทือนจากสายลงสู่เครื่องดนตรีให้เสียง กังวานขึ้น, ส่วนประกอบของจะเข้ ใช้หนุนสายเพื่อมิให้แตะนมจะเข้. ว. อาการที่นั่งชันเข่าทั้ง ๒ ข้างโดยก้นไม่ถึงพื้น เรียกว่า นั่งหย่อง หรือ นั่งยอง ๆ.
  45. หยาดน้ำค้าง : น. ชื่อเครื่องหมายรูปดังนี้ ?, นิคหิต หรือ นฤคหิต ก็เรียก. (ดู นิคหิต)ส่วนที่มีลักษณะกลม ๆ คล้ายเม็ดน้ำค้างอยู่ตรงปลายยอดเจดีย์ ยอดปราสาท เป็นต้น, เม็ดน้ำค้าง ก็เรียก.
  46. หยี ๒ : (ถิ่น-ปักษ์ใต้) น. ชื่อไม้ต้น ๓ ชนิดในสกุล Dialium วงศ์ Leguminosae ผลมี เมล็ดเดียว เมื่อแก่เปลือกกรอบสีดํา เนื้อหุ้มเมล็ดสีนํ้าตาล รสเปรี้ยวอมหวาน คือ ชนิด D. indum L. ลูกหยีที่เป็นของกินเล่นส่วนใหญ่เป็นผลของต้นนี้, หยีท้องบึ้ง (D. platysepalum Backer), และชนิด D. cochinchinense L. ชนิดหลังนี้ เขลง ก็เรียก, อีสานเรียก นางดํา.
  47. หรีด : น. ดอกไม้ที่จัดแต่งขึ้นตามโครงรูปต่าง ๆ เช่น วงกลม วงรี มักมีใบไม้ เป็นส่วนประกอบด้วย สําหรับใช้เคารพศพ, พวงหรีด ก็เรียก. (อ. wreath).
  48. หลอดลม : น. ทางเดินอากาศหายใจส่วนล่าง อยู่ระหว่างท่อลมส่วนอก กับถุงลมปอด. (อ. bronchus, lower airways).
  49. หลอดลมฝอย : น. ทางเดินอากาศหายใจส่วนล่างในปอด ขนาดไม่เกิน ๑ มิลลิเมตร. (อ. bronchiole).
  50. หลอดเลือด : น. ส่วนของร่างกายที่มีลักษณะเป็นหลอดสำหรับนำเลือดไป สู่หรือออกจากส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย, เส้นเลือด ก็เรียก. (อ. blood vessel).
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | [1001-1050] | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1298

(0.1443 sec)