Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: สนิท , then สนท, สนิท .

Royal Institute Thai-Thai Dict : สนิท, 139 found, display 101-139
  1. รู้ไต๋ : ก. รู้ความลับ, รู้ความในใจ, เช่น พอเขามาตีสนิทก็รู้ไต๋แล้วว่า ต้องการอะไร.
  2. ลิ้นกระดาน : น. ไม้ที่ทำเป็นลิ้นยื่นยาวไปตามตัวไม้สำหรับประกบ กับไม้อีกแผ่นหนึ่งที่ทำเป็นร่องยาวเพื่อให้เข้ากันแน่นสนิท.
  3. ลิ้นกระบือ ๑ : น. ไม้แผ่นบาง ๆ สําหรับสอดเพลาะกระดานเป็น ระยะ ๆ ให้สนิทแข็งแรง.
  4. ลิ้นหีบ : น. ขอบด้านในของตัวหีบทำเพื่อให้ฝาครอบแน่นสนิท.
  5. เลี่ยม ๑ : ก. ใช้โลหะเช่นทองคํา ทองเหลือง ตะกั่ว หุ้มโดยรอบที่ปลาย หรือ หุ้มเป็นแนวไปตามริม ขอบ หรือปากของสิ่งต่าง ๆ มีถ้วยชามเป็นต้น แล้วกวดให้แนบสนิทเพื่อทําให้แข็ง กันสึก กันบิ่น ปกปิดตําหนิ หรือ เพื่อความงาม เช่น เลี่ยมหัวตะพด เลี่ยมป้าน เลี่ยมถ้วย.
  6. เลี่ยมกาบกล้วย : ก. ตีแผ่นโลหะให้โค้งเหมือนกาบกล้วยและขด เป็นวงขนาดเท่าปากภาชนะ แล้วครอบลงที่ปากภาชนะและกวด ให้แนบสนิท.
  7. เลี่ยมหุ้ม : ก. แผ่โลหะให้เป็นแถบยาวและขดเป็นวงขนาดเท่าปาก ภาชนะ แล้วสวมรอบขอบปากภาชนะและพับเม้มกวดให้แนบสนิท.
  8. วัลลภ : [วันลบ] น. คนสนิท, ผู้ชอบพอ, คนโปรด, คนรัก. (ป., ส.).
  9. วางหน้า : ก. ตีหน้า เช่น วางหน้าไม่สนิท วางหน้าเก้อ ๆ.
  10. วิสาสะ : น. ความคุ้นเคย, ความสนิทสนม; การถือว่าเป็นกันเอง เช่น หยิบของไปโดยถือวิสาสะ. ก. พูดจาปราศรัยอย่างคุ้นเคยกัน เช่น ไม่เคยวิสาสะกันมาก่อน. (ป. วิสฺสาส; ส. วิศฺวาส).
  11. ศีล : [สีน] น. ข้อบัญญัติทางพระพุทธศาสนาที่กําหนดการปฏิบัติกาย และวาจา เช่น ศีล ๕ ศีล ๘, การรักษากายวาจาให้เรียบร้อย, เป็น ธรรมข้อ ๑ ในทศพิธราชธรรม; (ดู ทศพิธราชธรรม และ ราชธรรม)พิธีกรรมบางอย่างทางศาสนา เช่น ศีลจุ่ม ศีลมหาสนิท. (ส. ศีล ว่า ความประพฤติที่ดี, ป. สีล).
  12. สดับ : [สะดับ] ก. ตั้งใจฟัง เช่น สดับพระธรรมเทศนา, มักใช้เข้าคู่กับคํา ตรับฟัง เป็น สดับตรับฟัง; (วรรณ) ได้ยิน เช่น ถึงแม้ว่าจะสนิทนิทรา ก็ผวาเมื่อสดับศัพท์เสียงพี่. (วิวาหพระสมุท). (ข. สฎาบ่).
  13. สมมาตร : [สมมาด] น. ลักษณะที่รูป ๒ รูปหรือรูปรูปเดียว แต่แยกได้เป็น ๒ ส่วน มีสมบัติว่า ถ้านํารูปแรกไปทับรูปที่ ๒ หรือพับส่วนแรกไปทับส่วนที่ ๒ ในกรณีที่เป็นรูปเดียวกันแล้ว ทั้ง ๒ รูปหรือ ๒ ส่วนนั้นจะทับกันสนิท, ถ้าเป็นรูปทรง ๓ มิติ เมื่อแบ่งครึ่งออกไป ๒ ซีกจะเหมือนกันทุกประการ. (อ. symmetry).
  14. สมาน ๒ : [สะหฺมาน] ก. ทําให้ติดกัน, ทําให้สนิท, เช่น ยาสมานแผล การสมาน เนื้อไม้; เชื่อม, ผูกพัน, เช่น สมานไมตรี.
  15. สะดม : ก. ปล้นโดยใช้วิธีรมยาให้เจ้าของทรัพย์หลับสนิทไม่รู้สึกตัว, ใช้เข้าคู่ กับคำ ปล้น เป็น ปล้นสะดม. (ข. สณฺฎํ).
  16. สัขยะ : [สักขะยะ] (แบบ) น. มิตรภาพ, ความสนิทสนมกัน, ความรักใคร่กัน. (ส.).
  17. สังสรรค์ : ก. พบปะวิสาสะกันเป็นครั้งคราวด้วยความสนิทสนม เช่น จัดงาน สังสรรค์กันในหมู่พนักงาน เพื่อน ๆ ได้พบปะสังสรรค์กันในงาน ชุมนุมศิษย์เก่า. ว. ที่พบปะวิสาสะกันเป็นครั้งคราวด้วยความ สนิทสนม เช่น งานสังสรรค์. (ส. สํสรฺค).
  18. สันถวไมตรี : น. ความเป็นมิตรสนิทสนมกัน เช่น ต้อนรับด้วย สันถวไมตรี ทูตสันถวไมตรี.
  19. สันถว, สันถวะ : [สันถะวะ] น. การนิยมชมชอบกัน, การสรรเสริญซึ่งกันและกัน; ความคุ้นเคย, ความสนิทสนมกัน. (ป.; ส. สํสฺตว).
  20. หงุบหงับ : ว. สัปหงก, อาการที่นั่งโงกหัวหงุบลงแล้วเงยขึ้น; อาการที่เคี้ยว อาหารด้วยฟันปลอมที่สบกันไม่สนิท มักมีเสียงดังเช่นนั้น.
  21. หน้าเจี๋ยมเจี้ยม : ว. วางหน้าไม่สนิท มีอาการเก้อเขิน.
  22. หน้าเจื่อน : ว. วางหน้าไม่สนิทเพราะกระดากอายเนื่องจากถูกจับผิดได้ เป็นต้น.
  23. หน้าปูเลี่ยน ๆ : ว. อาการที่วางหน้าไม่สนิท กระดากอายเพราะถูกจับผิดได้ เป็นต้น, หน้าเจื่อน ก็ว่า.
  24. หมากกรอก : น. ผลหมากสงทั้งเปลือกที่ตากแดดให้แห้งสนิทจนเมื่อเขย่า เนื้อหมากที่อยู่ข้างในจะกลิ้งไปมาได้ จึงผ่าเอาเนื้อข้างในออกมาเก็บไว้กิน, หมากเม็ด ก็เรียก.
  25. หมากเม็ด : น. ผลหมากสงทั้งเปลือกที่ตากแดดให้แห้งสนิทจนเมื่อเขย่า เนื้อหมากที่อยู่ข้างในจะกลิ้งไปมาได้ จึงผ่าเอาเนื้อข้างในออกมาเก็บไว้ กิน, หมากกรอก ก็เรียก.
  26. หมาง : ก. (โบ) กระดาก เช่น หมางกัน คือ กระดากกัน หมางหน้า คือ กระดาก หน้า, อาการที่ห่างเหินกันเพราะขุ่นเคืองใจหรือผิดใจกันเป็นต้น เช่น คนคู่นี้แต่ก่อนก็ดูสนิทสนมกันดี แต่เดี๋ยวนี้ดูเขาหมางกันไป, หมาง ๆ ก็ว่า, มักใช้เข้าคู่กับคำอื่น เช่น บาดหมาง หมองหมาง หมางใจ.
  27. หมาด : ว. แห้งไม่สนิท, เกือบแห้ง, เช่น ผ้านี้ยังหมาดอยู่.
  28. หลวม : ว. ไม่แน่น, ไม่สนิท, เช่น นอตตัวนี้หลวม; ใหญ่เกินพอดี, ยังมีที่ว่างเหลือ อยู่, เช่น จัดของใส่กระเป๋าหมดแล้ว กระเป๋ายังหลวมอยู่; โดยปริยาย หมายความว่า ไม่กระชับ, ไม่รัดกุม, เช่น สำนวนหลวมไป เหตุผลยัง หลวมอยู่, ไม่รอบคอบ เช่น สัญญาฉบับนี้ทำไว้หลวมเกินไป.
  29. ห่างเหิน : ก. ไม่สนิทสนมดังเก่า, ไม่ค่อยได้ไปมาหาสู่หรือติดต่อกัน เหมือนเดิม, จืดจาง, เหินห่าง ก็ว่า.
  30. หายขาด : ก. หายสนิท.
  31. เหินห่าง : ก. ไม่สนิทสนมดังเก่า, ไม่ค่อยได้ไปมาหาสู่หรือติดต่อกันเหมือน เดิม, จืดจาง, ห่างเหิน ก็ว่า.
  32. แห้งผาก : ว. แห้งอย่างไม่มีความชื้นปนอยู่, แห้งสนิท.
  33. อ้าย ๒ : น. คําประกอบคําอื่นบอกให้รู้ว่าเป็นเพศชายหรือสัตว์ตัวผู้ เช่น อ้ายหนุ่ม อ้ายด่าง, คําประกอบหน้าชื่อผู้ชายที่มีฐานะตํ่ากว่า อย่างนายเรียกคนใช้, คําประกอบหน้าชื่อเพื่อนฝูงแสดงว่ามี ความสนิทสนมมาก มักใช้กันในหมู่เด็กผู้ชาย, คําใช้ประกอบ หน้าชื่อผู้ชายแสดงความดูหมิ่นเหยียดหยาม, คําประกอบคํา บางคําที่ผู้ใหญ่ใช้เรียกเด็กผู้ชายหรือผู้ชายที่อายุน้อยกว่ามาก ด้วยความเอ็นดูหรือสนิทสนมเป็นกันเอง เช่น อ้ายหนู อ้าย น้องชาย, คําประกอบหน้าคําบางคําเพื่อเน้น เช่น อ้ายเราก็ไม่ดี อ้ายจะไปก็ไม่มีที่จะไป อ้ายจะอยู่หรือก็คับใจ, คำประกอบ หน้าชื่อสัตว์บางชนิดโดยไม่เน้นเพศ เช่น อ้ายเหลือม อ้ายทุย, คําประกอบหน้าคําบางคําเพื่อเน้นในเชิงบริภาษ เช่น อ้ายทึ่ม อ้ายโง่ อ้ายควาย, คําใช้แทนสิ่งที่กล่าวถึงและเป็นที่เข้าใจกัน เช่น อ้ายนั่น อ้ายนี่, เขียนเป็น ไอ้ ก็มี, (โบ) คํานําหน้าชื่อผู้ชาย มักใช้ในทางไม่ดี เช่น อ้ายดีผู้ร้ายรับเปนสัจให้การซัดพวก เพื่อนถึงอ้ายเชด อ้ายแสน อ้ายคง อ้ายมั้น. (สามดวง).
  34. อี ๑ : น. คําประกอบคําอื่นบอกให้รู้ว่าเป็นเพศหญิงหรือสัตว์ตัวเมีย เช่น อีสาว อีเหมียว, คําประกอบหน้าชื่อผู้หญิงที่มีฐานะตํ่ากว่า, คําใช้ ประกอบหน้าชื่อผู้หญิงแสดงความดูหมิ่นเหยียดหยาม, คําประกอบ คําบางคําที่ผู้ใหญ่ใช้เรียกเด็กผู้หญิงหรือผู้หญิงที่อายุน้อยกว่ามาก ด้วยความเอ็นดูหรือสนิทสนมเป็นกันเอง เช่น อีหนู, คําประกอบ หน้าคําบางคําเพื่อเน้น เช่น อีทีนี้จะเอาอะไรกินกันล่ะ อีตอนนั้น ไม่สบายเลยไม่ได้ไป, คําประกอบหน้าคําบางคําเพื่อเน้นในเชิง บริภาษ เช่น อีบ้า อีงั่ง อีควาย, คําใช้แทนสิ่งที่กล่าวถึงและเป็นที่ เข้าใจกัน เช่น เอาอีนี่ออกไปซิ, (โบ) คํานําหน้าชื่อผู้หญิงสามัญชน ทั่วไป เช่น อีอยู่อีคงทาษภรรยาพระเสนานน. (สามดวง), ถ้าใช้ใน ทางเสียหายโดยเฉพาะทางด้านชู้สาวมักใช้ว่า อี่ เช่น หย่างไอ้ดีบวด อยู่วัดโพเสพเมถุนธรรมด้วยอี่ทองมาก อี่เพียน อี่พิ่ม อี่บุนรอด อี่หนู อี่เขียว. (สามดวง).
  35. อึน : ว. แห้งไม่สนิท เช่น ผ้ายังอึน ๆ อยู่.
  36. เออ : อ. คําที่เปล่งออกมาเพื่อบอกรับหรืออนุญาต, มักเป็นคําที่ผู้ใหญ่ ใช้กับผู้น้อย หรือระหว่างเพื่อนที่สนิทสนมกัน, คําที่เปล่งออกมา แสดงว่านึกเรื่องที่จะถามหรือจะพูดขึ้นได้.
  37. โอภาปราศรัย : [ปฺราไส] ก. ทักทายด้วยความสนิทสนมเป็นกันเอง.
  38. ไอ้ : น. คําประกอบคําอื่นบอกให้รู้ว่าเป็นเพศชายหรือสัตว์ตัวผู้ เช่น ไอ้หนุ่ม ไอ้ด่าง, คําประกอบหน้าชื่อผู้ชายที่มีฐานะตํ่ากว่า อย่าง นายเรียกคนใช้, คําประกอบหน้าชื่อเพื่อนฝูงแสดงว่ามีความ สนิทสนมมาก มักใช้กันในหมู่เด็กผู้ชาย; คําใช้ประกอบหน้าชื่อ ผู้ชายแสดงความดูหมิ่นเหยียดหยาม, คําประกอบคําบางคําที่ ผู้ใหญ่ใช้เรียกเด็กผู้ชายหรือผู้ชายที่อายุน้อยกว่ามากด้วยความ เอ็นดูหรือสนิทสนมเป็นกันเอง เช่น ไอ้หนู ไอ้น้องชาย; คํา ประกอบหน้าคําบางคําเพื่อเน้น เช่น ไอ้เราก็ไม่ดี ไอ้จะไปก็ ไม่มีที่ไป ไอ้จะอยู่หรือก็คับใจ, คําประกอบหน้าคําบางคําเพื่อ เน้นในเชิงบริภาษ เช่น ไอ้ทึ่ม ไอ้โง่ ไอ้ควาย, คําใช้แทนสิ่งที่ กล่าวถึงและเป็นที่เข้าใจกัน เช่น ไอ้นั่น ไอ้นี่, เขียนเป็น อ้าย ก็มี.
  39. 1-50 | 51-100 | [101-139]

(0.0391 sec)