Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: สนิท , then สนท, สนิท .

Royal Institute Thai-Thai Dict : สนิท, 139 found, display 51-100
  1. เงียบกริบ : ก. เงียบสนิท.
  2. เงียบเป็นเป่าสาก : (สํา) ว. ลักษณะที่เงียบสนิท.
  3. จับไม้จับมือ : ก. จับมือจับแขนแสดงความสนิทสนม.
  4. จินดามณี : น. แก้วอันให้ผลแก่เจ้าของตามใจนึก, แก้วสารพัดนึก; ชื่อตำรา แบบเรียนหนังสือไทยโบราณ เช่น จินดามณีฉบับพระโหราธิบดีแต่งใน รัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช จินดามณีฉบับไม่ปรากฏชื่อผู้แต่ง ในรัชกาลสมเด็จพระบรมโกศ จินดามณีฉบับกรมหลวงวงษาธิราชสนิท แต่งในสมัยรัตนโกสินทร์. (ป., ส.).
  5. จู๋จี๋ : ก. พูดกันเบา ๆ ด้วยอาการสนิทสนม, กระจู๋กระจี๋ ก็ว่า. ว. อาการ ที่พูดกันเบา ๆ ด้วยความสนิทสนม, กระจู๋กระจี๋ ก็ว่า.
  6. เจิ่น : ก. เข้าหน้าไม่สนิทเพราะห่างเหินไปนาน เช่น หมู่นี้เขาเจิ่นไป, เจื่อน ก็ว่า.
  7. เจี๋ยมเจี้ยม : ว. วางหน้าไม่สนิทมีอาการเก้อเขิน.
  8. เจื่อน : ก. เข้าหน้าไม่สนิทเพราะห่างเหินไปนาน เช่น หมู่นี้เขาเจื่อนไป, เจิ่น ก็ว่า; วางหน้าไม่สนิทเพราะกระดากอายเนื่องจากถูกจับผิดได้เป็นต้น เช่น หน้า เขาเจื่อนไป, เรียกหน้าที่มีลักษณะเช่นนั้นว่า หน้าเจื่อน.
  9. แจบ : (ถิ่น-อีสาน) ก. สนิท; แจ้ง, ชัด.
  10. ชำลา : ว. ที่ผึ่งแดดยังไม่แห้งสนิท (ใช้แก่ปลา). (ต. ชมฺร ออกเสียงว่า เจมเรียะ ว่า เหี่ยว, ความเหี่ยว).
  11. ดำปืน : ว. ดําสนิท.
  12. ตะขิดตะขวง : ก. อาการที่ทําโดยไม่สนิทใจหรือไม่สะดวกใจเพราะกระดากอายเป็นต้น.
  13. ตะปลิง : น. เหล็กที่ทำเป็นหมุดแหลมโค้งสำหรับตอกเพลาะกระดานยึดให้แน่นสนิท เช่น ตะปูตะปลิงยิงตรึงกระชับชิด. (ม. ร่ายยาว กุมาร), เขี้ยวตะขาบ ตัวปลิง หรือ ปลิง ก็เรียก.
  14. ตั้งแต่ยังเป็นเด็ก. : ว. แนบเนียน เช่น เขาพูดเท็จได้อย่างสนิทสนม เขาชำระแผลให้คนเป็นโรคเรื้อนได้อย่างสนิทสนมโดยไม่รังเกียจ.
  15. ตัว ๑ : น. รูป, ตน, ตนเอง, คําใช้เรียกแทนคน สัตว์ และสิ่งของบางอย่าง เช่น ตัวละคร ตัวหนังสือ; ลักษณนามใช้เรียกสัตว์และสิ่งของบางอย่าง เช่น ม้า ๕ ตัว ตะปู ๓ ตัว เสื้อ ๒ ตัว; ใช้เรียกผู้ที่ตนพูดด้วยในฐานะคนเสมอกันที่สนิทกัน เช่น ตัวจะไปไหม. ตัวกลั่น น. ผู้ที่เลือกสรรแล้ว. ตัวกลาง (วิทยา) น. สิ่งที่แสงหรือเสียงหรือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าต้องเคลื่อนที่ผ่าน. ตัวการ น. ผู้ก่อเหตุ; (กฎ) ตามกฎหมายอาญา ตัวการหมายความถึงบุคคล ตั้งแต่ ๒ คนขึ้นไป ซึ่งร่วมกระทำความผิดด้วยกัน; ตามกฎหมายแพ่ง ตัวการหมายความถึงบุคคลซึ่งมอบอำนาจโดยตรงหรือโดยปริยายให้ บุคคลอีกคนหนึ่งทำการแทนตน. ตัวเก็ง น. ผู้ ตัว หรือสิ่งที่คาดหมายไว้อย่างมั่นใจ. ตัวโค น. ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์อารทรา มี ๑ ดวง, ดาวตาสําเภา ดาวอทระ หรือ ดาวอัททา ก็เรียก. ตัวใครตัวมัน ว. ต่างคนต่างเอาตัวรอดแต่ลําพัง. ตัวเงิน น. เงินสด. ตัวเงินตัวทอง (ปาก) น. เหี้ย. ตัวจักรใหญ่ (สํา) น. บุคคลซึ่งเป็นสมองหรือเป็นหัวหน้าในการดําเนินกิจการ. ตัวจำนำ น. ตัวแทนที่ให้อยู่เป็นประกันในความซื่อตรงมั่นคงของผู้เป็น หัวหน้าหรือประมุข. ตัวเชิด น. ผู้ที่ถูกใช้ให้ออกหน้าแทน. ตัวดี น. ตัวสําคัญ, ตัวต้นเหตุ, (มักใช้ในเชิงประชด). ตัวต่อตัว น. หนึ่งต่อหนึ่ง (มักใช้ในการต่อสู้). ตัวตั้ง ๑ (ปาก) น. คําตั้ง. ตัวตั้งตัวตี น. ผู้เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงในการทํากิจกรรมต่าง ๆ, ผู้ที่ตั้งตัวเป็น หัวหน้าในการทํางานอย่างออกหน้าออกตา. ตัวตายตัวแทน (สํา) น. ผู้ที่รับช่วงทํางานติดต่อกันไปไม่ขาดตอน. ตัวเต็ง น. ตัวที่มีนํ้าหนักในการคาดหมายว่าจะชนะมากกว่าตัวอื่น ๆ. ตัวถัง น. ส่วนของรถยนต์ที่ใช้รับน้ำหนักบรรทุก มี ๒ ประเภท คือ ตัวถัง แบบมีโครงแชสซีและตัวถังแบบไม่มีโครงแชสซี. ตัวแทน (กฎ) น. บุคคลผู้มีอํานาจทําการแทนบุคคลอื่น; ชื่อสัญญาซึ่งให้ บุคคลคนหนึ่ง เรียกว่า ตัวแทน มีอํานาจทําการแทนบุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่า ตัวการ และตัวแทนตกลงจะทําการนั้น. ตัวแทนค้าต่าง (กฎ) น. บุคคลซึ่งในทางค้าขาย ทําการซื้อ หรือขายทรัพย์สิน หรือรับจัดทํากิจการค้าอย่างอื่นในนามของตนเองต่างตัวการ. ตัวแทนช่วง (กฎ) น. บุคคลซึ่งได้รับแต่งตั้งจากตัวแทนอีกต่อหนึ่งให้กระทํา การแทนตัวการ. ตัวแทนเชิด (กฎ) น. ตัวแทนที่ไม่ได้รับแต่งตั้งจากตัวการโดยตรง แต่ถูก ตัวการเชิดให้เป็นตัวแทนของตน หรือตัวการรู้แล้วยอมให้ตัวแทนเชิดตัวเอง ออกแสดงเป็นตัวแทน. ตัวนาง น. ผู้แสดงละครรําหรือระบํา เข้าเครื่องละครรํา ใช้ลีลาท่ารําแบบ หญิง, นางเอกในเรื่องลิเก ละคร. ตัวนำ (ฟิสิกส์) น. สารที่กระแสไฟฟ้าหรือความร้อนผ่านไปได้ง่าย. ตัวประกอบ ๑ น. ผู้แสดงบทบาทไม่สําคัญในภาพยนตร์ ละคร เป็นต้น เพียง ประกอบบทบาทของตัวเอกเท่านั้น. ตัวประกัน น. บุคคลที่ถูกยึดหน่วงตัวไว้เพื่อใช้ต่อรอง. ตัวปลิง น. เหล็กที่ทำเป็นหมุดแหลมโค้งสำหรับตอกเพลาะกระดานยึดให้ แน่นสนิท, เขี้ยวตะขาบ ตะปลิง หรือ ปลิง ก็เรียก. ตัวเป็นเกลียว (สํา) ว. อาการที่ทำงานอย่างขยันขันแข็งมากจนไม่มีเวลาได้ พักผ่อน; แสดงกิริยาท่าทางด้วยความรู้สึกรุนแรง เช่น ครั้นได้ข่าวผัวตัวเป็น เกลียว. (ไกรทอง). ตัวเปล่า ว. ยังไม่มีครอบครัว เช่น ฉันยังตัวเปล่าอยู่, ตัวเปล่าเล่าเปลือย ก็ว่า, ลําพังตัวไม่ได้มีอะไรมาด้วย เช่น มาตัวเปล่า เดินตัวเปล่า. ตัวเปล่าเล่าเปลือย ว. ยังไม่มีครอบครัว เช่น เธอไม่ใช่คนตัวเปล่าเล่าเปลือยนะ, ตัวเปล่า ก็ว่า, ไร้ญาติขาดมิตร เช่น เขาเป็นคนตัวเปล่าเล่าเปลือย. undefined ตัวผู้ น. เพศผู้ (ใช้เฉพาะสัตว์และพืชบางชนิด) เช่น แมวตัวผู้; เรียกสิ่งของ บางอย่างที่มีรูปแหลมยาว เช่น เกลือตัวผู้, เรียกสิ่งที่มีเดือยสําหรับสอด เช่น กระเบื้องตัวผู้ นอตตัวผู้, เรียกต้นไม้ที่ไม่มีผลตลอดไป เช่น มะละกอตัวผู้. ตัวพระ น. ผู้แสดงละครรําหรือระบํา เข้าเครื่องละครรํา ใช้ลีลาท่ารําแบบชาย, พระเอกในเรื่องลิเก ละคร. ตัวพิมพ์ น. ตัวอักษรที่หล่อด้วยตะกั่วใช้เรียงพิมพ์ มีหลายชนิด เช่น ตัวโป้ง ตัวฝรั่งเศส; เรียกตัวพิมพ์ใหญ่ในภาษาอังกฤษ. ตัวเมีย น. เพศเมีย (ใช้เฉพาะสัตว์และพืชบางชนิด) เช่น แมวตัวเมีย; เรียก สิ่งของบางอย่างที่มีรูหรือขอรับให้สิ่งอื่นเกาะหรือสอดเข้าได้ เช่น กระเบื้อง ตัวเมีย นอตตัวเมีย. ตัวเมือง น. ย่านใจกลางเมือง มักมีแม่นํ้าหรือกําแพงล้อมรอบ. ตัวไม้ น. ไม้ที่แต่งไว้เพื่อคุมกันเข้าเป็นเรือนเป็นต้น. ตัวยืน น. ผู้ที่ถูกกําหนดให้เป็นตัวหลัก สําหรับให้คนอื่นมาเป็นคู่ชิงตําแหน่ง (ใช้แก่กีฬา); ผู้ที่เป็นหลักในการงานอย่างใดอย่างหนึ่ง, ตัวยืนโรง หรือ ตัวยืนพื้น ก็ว่า. ตัวร้อน น. อาการของร่างกายที่มีอุณหภูมิสูงกว่าปรกติ. ตัวละคร (วรรณ) น. ผู้มีบทบาทในวรรณกรรมประเภทละคร นวนิยาย เรื่องสั้น และเรื่องแต่งประเภทต่าง ๆ. ตัวสะกด น. พยัญชนะท้ายคําหรือพยางค์ที่ทําหน้าที่บังคับเสียงให้เป็นไป ตามมาตราต่าง ๆ เช่น น เป็นตัวสะกดในมาตรากน. ตัวสำคัญ (ปาก) น. ตัวร้าย เช่น เด็กคนนี้แหละตัวสำคัญนัก ชอบรังแกเพื่อน. ตัวหนังสือ น. สัญลักษณ์แทนเสียงหรือคําพูด. ตัวอย่าง น. สิ่งที่นํามาอ้างเพื่อแสดงให้เห็นลักษณะที่เป็นส่วนรวมทั้งหมด เช่น ยกตัวอย่าง. ว. ที่แสดงแบบอย่างหรือคุณภาพเป็นต้นแทนส่วนทั้งหมด ของสิ่งนั้น ๆ เช่น ของตัวอย่าง, ที่ทําให้เห็นเป็นแบบอย่างที่ดี เช่น ครูตัวอย่าง นาตัวอย่าง. ตัวเอ้ น. หัวโจก. ตัวเอก น. ผู้ที่มีบทบาทเด่นในเรื่องลิเก ละคร เป็นต้น.
  16. ถือวิสาสะ : ก. ถือว่าสนิทสนมเป็นกันเอง เช่น ถือวิสาสะหยิบหนังสือ เพื่อนไปโดยไม่บอก.
  17. ทอดสะพาน : ก. ใช้สื่อสายเข้าไปติดต่อทําความสนิทสนมกับผู้ที่ ต้องการคุ้นเคย, แสดงกิริยาท่าทางเป็นทํานองอยากติดต่อด้วย.
  18. น้อยโหน่ง : น. ชื่อไม้พุ่มขนาดเล็กถึงขนาดกลางชนิด Annona reticulata L. ในวงศ์ Annonaceae ดอกคล้ายดอกน้อยหน่า แต่ผลโตกว่า เปลือกบางแต่เหนียว ค่อนข้างเรียบ ไม่นูนเป็นตา ๆ สีเขียวจาง ๆ ปนสีแดงเรื่อ ๆ เนื้อในผล หนาขาว รสหวานไม่สนิทเหมือนน้อยหน่า มีเมล็ดมาก.
  19. นายธง : ( น. นายทหารเรือคนสนิทของผู้บัญชาการทหารเรือหรือแม่ทัพเรือ เป็นต้น.
  20. นิพพาน : [นิบพาน] น. ความดับสนิทแห่งกิเลสและกองทุกข์. ก. ดับกิเลสและ กองทุกข์, ตาย (ใช้แก่พระอรหันต์). (ป.; ส. นิรฺวาณ), โบราณใช้ว่า นิรพาณ ก็มี. (จารึกสยาม).
  21. เนียน ๒ : ว. มีเนื้อละเอียดนุ่มนวล เช่น เนื้อเนียน; เรียบสนิท เช่น เข้าไม้ได้เนียนดี.
  22. แนบเนียน : ว. อย่างสนิทและรัดกุม เช่น ทําได้อย่างแนบเนียน ปลอมตัว ได้อย่างแนบเนียน.
  23. แนบแน่น : ว. สนิทแน่น เช่น รักอย่างแนบแน่น.
  24. บรรจบ : [บัน-] ก. เพิ่มให้ครบจํานวน เช่น บรรจบให้ครบร้อย บรรจบให้ ครบถ้วน; จดกัน, ใกล้ชิดติดต่อกัน, เช่น ปูกระดานให้บรรจบกัน ทาง ๒ สายมาบรรจบกัน, ทําให้เข้ากันสนิท เช่น ติดกรอบหน้าต่าง ให้มุมบรรจบกัน; ชนขวบ เช่น บรรจบรอบปี, ประจบ ก็ใช้.
  25. บรรสาน : [บัน-] (กลอน; แผลงมาจาก ประสาน) ก. ทําให้ติดกัน, ทําให้สนิทกัน, เชื่อม, รัด, ผูกไว้.
  26. บังใบ ๑ : น. ชื่อกบชนิดหนึ่งสําหรับไสคิ้วไม้; การเพลาะริมไม้ให้ลึก ลงไปจากผิวเดิมด้วยการใช้กบบังใบไส แล้วนํามาประกอบเป็นวงกบ หรือวงกรอบของประตูหน้าต่าง, วิธีเพลาะไม้ให้สนิทเป็นแผ่นเดียวกัน ด้วยการใช้กบบังใบไสริมไม้ทั้ง ๒ แผ่นให้ลึกเท่า ๆ กัน แล้วนํามา ประกบให้เป็นแผ่นเดียวกัน.
  27. ประจบ ๑ : ก. บรรจบ, เพิ่มให้ครบจํานวน, เช่น มีสลึงพึงประจบให้ครบบาท; จดกัน, ใกล้ชิดติดต่อกัน, เช่น ปูกระดานให้ประจบกัน ทาง ๒ สาย มาประจบกัน, ทําให้เข้ากันสนิท เช่น ติดกรอบหน้าต่างให้มุม ประจบกัน.
  28. ประสาน : ก. ทําให้เข้ากันสนิท, เชื่อม.
  29. ปรินิพพาน : [ปะรินิบพาน] น. การดับรอบ, การดับสนิท, การดับโดยไม่เหลือ; เรียกอาการตายของพระพุทธเจ้าและพระอรหันต์. (ป.; ส. ปรินิรฺวาณ).
  30. ปล้นสะดม : (โบ) ก. ปล้นโดยใช้วิธีรมยาให้เจ้าของทรัพย์หลับสนิท ไม่รู้สึกตัว.
  31. ปลิง ๑ : [ปฺลิง] น. ชื่อสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังในวงศ์ Hirudinidae ตัว ยืดหดได้คล้ายทาก เกาะคนหรือสัตว์เลือดอุ่นเพื่อดูดกินเลือด อาศัยอยู่ในน้ำจืด มีหลายชนิด เช่น ชนิด Hirudo medicinalis, Hirudinaria manillensis; เหล็กที่ทำเป็นหมุดแหลมโค้งสำหรับ ตอกเพลาะกระดานยึดให้แน่นสนิท, เขี้ยวตะขาบ ตะปลิง หรือ ตัวปลิง ก็เรียก.
  32. ปะเหลาะ, ปะเหลาะปะแหละ : ก. พูดจาหว่านล้อมเอาอกเอาใจ เช่น ผู้ใหญ่ปะเหลาะเด็ก, พูดหรือทําสนิทชิดชอบให้เขาพึงใจเพื่อหวังประโยชน์ตน.
  33. เป็นกันเอง : ว. มีความสนิทสนมคุ้นเคยกัน.
  34. แปร่ง : [แปฺร่ง] ว. มีเสียงพูดผิดเพี้ยนไปจากเสียงที่พูดกันเป็นปรกติในถิ่น นั้น ๆ, ไม่สนิท.
  35. ผาก ๑ : ว. แห้งอย่างไม่มีความชื้นปนอยู่, แห้งสนิท, ในคำว่า แห้งผาก.
  36. ผึง : ว. เสียงดังเช่นนั้น เช่น เชือกขาดดังผึง; อาการที่เป็นไปอย่างรวดเร็ว ทันทีทันใด เช่น ขาดผึง ดีดผึง; ใช้ประกอบคำ แห้ง ว่า แห้งผึง หมายความว่า แห้งสนิท เช่น ปลักควายแห้งผึง.
  37. ผู้หญิงยิงเรือ : (สํา) น. ผู้หญิงทั่วไป เช่น ของพม่าเป็นเรื่องของ พระอินทร์ ดูสนิทกว่าที่จะให้ผู้หญิงยิงเรือ, ผู้หญิงริงเรือ ก็ว่า เช่น เห็นผู้หญิงริงเรือที่เนื้อเหลือง. (อภัย).
  38. เฝื่อน : ว. รสที่เจือฝาดและขื่นอย่างรสดีเกลือ; วางหน้าไม่สนิทเหมือนกิน ของมีรสเฝื่อน.
  39. พบปะ : ก. พบด้วยความสนิทสนมคุ้นเคย.
  40. พรมน้ำมัน : น. เครื่องลาดชนิดหนึ่ง ทําด้วยผงไม้ก๊อกผสมนํ้ามัน ลินสีด สี และสารเคมีที่ทําให้นํ้ามันลินสีดแห้งแข็งตัวเร็ว แล้วอัดให้ เป็นแผ่น ใช้แผ่นสักหลาดเนื้อหยาบชุบแอสฟัลต์อัดทับด้านหนึ่งแล้ว จึงอบให้ร้อนจนแข็งตัวแห้งสนิททั้งแผ่น จึงนํามาตกแต่งอีกด้านหนึ่ง ให้มีผิวเรียบเป็นมัน, เสื่อนํ้ามัน ก็เรียก.
  41. พ่อ : น. ชายผู้ให้กําเนิดแก่ลูก; คําที่ลูกเรียกชายผู้ให้กําเนิดหรือเลี้ยง; ดูตนคําที่ผู้ใหญ่เรียกผู้ชายที่มีอายุน้อยกว่าด้วยความสนิทสนม หรือรักใคร่เป็นต้นว่า พ่อนั่น พ่อนี่; คําใช้นําหน้านามเพศชาย แปลว่า ผู้เป็นหัวหน้า เช่น พ่อเมือง; ผู้ชายที่กระทํากิจการหรือ งานอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ค้าขาย เรียกว่า พ่อค้า ทําครัว เรียกว่า พ่อครัว; เรียกสัตว์ตัวผู้ ที่มีลูก เช่น พ่อม้า พ่อวัว.
  42. พัลลภ : [พันลบ] น. คนสนิท, คนโปรด. (ป., ส. วลฺลภ).
  43. เพื่อน ๑ : น. ผู้ชอบพอรักใคร่กัน, ผู้สนิทสนมคุ้นเคยกัน, เช่น เขามีเพื่อนมาก, ผู้ร่วมสถาบันหรือร่วมอาชีพเป็นต้น เช่น เพื่อนร่วมโรงเรียน เพื่อน ร่วมรุ่น เพื่อนข้าราชการ เพื่อนกรรมกร, ผู้ร่วมธุระ เช่น อยู่เป็น เพื่อนกันก่อน ไปเป็นเพื่อนกันหน่อย, ผู้อยู่ในสภาพเดียวกัน เช่น เพื่อนมนุษย์ เพื่อนร่วมโลก.
  44. เพื่อนเกลอ : น. เพื่อนสนิท, เพื่อนร่วมน้ำสาบาน.
  45. มิดชิด : ว. ลับตา, ไม่ให้ใครเห็น, เช่น ซ่อนให้มิดชิด, สนิทแนบเนียน เช่น ปิดประตูให้มิดชิด, เรียบร้อย เช่น ห่อให้มิดชิด.
  46. แม่ : น. หญิงผู้ให้กําเนิดหรือเลี้ยงดูลูก, คําที่ลูกเรียกหญิงผู้ให้กําเนิดหรือเลี้ยงดูตน; คําที่ผู้ใหญ่เรียกผู้หญิงที่มีอายุน้อยกว่าด้วยความสนิทสนมหรือรักใคร่เป็นต้นว่า แม่นั่น แม่นี่; คําใช้นําหน้านามเพศหญิง แปลว่า ผู้เป็นหัวหน้า เช่น แม่บ้าน; ผู้หญิงที่กระทํากิจการหรืองานอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ค้าขาย เรียกว่า แม่ค้า ทําครัว เรียกว่า แม่ครัว; เรียกสัตว์ตัวเมียที่มีลูก เช่น แม่ม้า แม่วัว; เรียกคน ผู้เป็นหัวหน้าหรือเป็นนายโดยไม่จํากัดว่าเป็นชายหรือหญิง เช่น แม่ทัพ แม่กอง; คํายกย่องเทวดาผู้หญิงบางพวก เช่น แม่คงคา แม่ธรณี แม่โพสพ, บางทีก็ใช้ว่า เจ้าแม่ เช่น เจ้าแม่กาลี; เรียกสิ่งที่เป็นประธานของสิ่งต่าง ๆ ในพวกเดียวกัน เช่น แม่กระได แม่แคร่ แม่แบบ; เรียกชิ้นใหญ่กว่าในจําพวกสิ่งที่สําหรับกัน เช่น แม่กุญแจ คู่กับ ลูกกุญแจ; แม่นํ้า เช่น แม่ปิง แม่วัง; คําหรือพยางค์ที่มีแต่สระ ไม่มีตัวสะกด เรียกว่า แม่ ก กา, คําหรือพยางค์ที่มีตัว ก ข ค ฆ สะกด เรียกว่า แม่กก, คําหรือพยางค์ที่มีตัว ง สะกด เรียกว่า แม่กง, คําหรือพยางค์ที่มีตัว จ ฉ ช ซ ฌ ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ด ต ถ ท ธ ศ ษ ส สะกด เรียกว่า แม่กด, คําหรือพยางค์ ที่มีตัว ญ ณ น ร ล ฬ สะกด เรียกว่า แม่กน, คําหรือพยางค์ที่มีตัว ม สะกด เรียกว่า แม่กม, คําหรือพยางค์ที่มีตัว ย สะกด เรียกว่า แม่เกย แต่ในมูลบทบรรพกิจมี ย ว อ สะกด, คําหรือพยางค์ที่มีตัว ว สะกด เรียกว่า แม่เกอว.
  47. ย้ำหัวเห็ด : ก. สอดนอตที่ปลายข้างหนึ่งบานลงในรูแผ่นโลหะ ๒ แผ่นที่ ซ้อนให้รูตรงกัน ทำให้นอตร้อนจัดแล้วตอกย้ำให้ปลายบานอย่างดอกเห็ด ซึ่งเมื่อปล่อยให้เย็น นอตจะหดตัวรัดโลหะ ๒ แผ่นนี้ให้แนบกันสนิท.
  48. ยิ้มเจื่อน : ก. ยิ้มวางหน้าไม่สนิท.
  49. ยิ้มเฝื่อน : ก. ยิ้มวางหน้าไม่สนิทคล้ายกินของมีรสเฝื่อน.
  50. รมยา : ก. ใช้หนังจงโคร่ง เห็ดร่างแห หรือสารบางชนิดเป็นต้น เผาไฟ ให้ควันลอยไปเพื่อทำให้หลับสนิท.
  51. 1-50 | [51-100] | 101-139

(0.0319 sec)