สับ ๑ : ก. เอาของมีคมเช่นมีดหรือขวานฟันลงไปโดยแรงหรือซอยถี่ ๆ เช่น สับกระดูกหมู สับมะละกอ, กิริยาที่เอาสิ่งมีปลายงอนหรือปลายแหลม เจาะลงไป เช่น เอาขอสับช้าง, เอาสิ่งที่เป็นขอเกี่ยวเข้าไว้ เช่น สับขอ หน้าต่าง, โดยปริยายหมายถึงอาการที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น สับด้วยสันมือ ถูกโขกถูกสับ; ทําเชือกให้เข้าเกลียวตั้งแต่ ๓ เกลียว ขึ้นไปให้เขม็งแน่น เรียกว่า สับเชือก; เปลี่ยนแทนที่กัน เช่น วางของ สับที่ ใส่รองเท้าสับข้าง เต้นรำสับคู่ สับตัวจำเลย.
สับปะรด : น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Ananas comosus Merr. ในวงศ์ Bromeliaceae ไม่มีลําต้นปรากฏบนพื้นดิน ใบเป็นกาบยาวให้ใยใช้ทําสิ่งทอ ขอบใบ มีหนาม ผลมีตาโดยรอบ กินได้รสเปรี้ยว ๆ หวาน ๆ; เรียกใยของ พรรณไม้บางชนิดที่มีลักษณะอย่างใยสับปะรด ใช้ทำหมวกเป็นต้นว่า ไหมสับปะรด.
สัพพัญญู : [สับ] น. ผู้รู้ทุกสิ่งทุกอย่าง, ผู้รู้ทั่ว; พระนามพระพุทธเจ้า. (ป.).
สัพเพเหระ : (ปาก) ว. ไม่เป็นชิ้นเป็นอัน, ไม่ใช่สิ่งสําคัญ, เช่น ของสัพเพเหระ เรื่องสัพเพเหระไม่มีประโยชน์.
สัพ, สัพพะ : ว. สรรพ, ทุกสิ่ง, ทั้งปวง, ทั้งหมด. (ป. สพฺพ; ส. สรฺว).
ส่า : น. สิ่งที่เป็นเชื้อทําให้ปรากฏเป็นฟอง รา หรือเม็ดผื่นเป็นต้นแก่สิ่งอื่น บางลักษณะ.
สากัลย์ : (แบบ) น. ความรวมกันของสิ่งทั้งหมด. (ป., ส.).
หก ๑ : ก. อาการที่ส่วนเบื้องสูงของร่างกาย ของภาชนะ หรือของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เอียงลง เทลง ในทันใดจากที่เดิม เช่น หกต่ำหกสูง น้ำหก ข้าวหก, โดย ปริยายเรียกอาการเช่นนั้น เช่น กระดานหก.
หงุ่ย : ว. อาการที่ทําสิ่งใดก็ทําเรื่อยไปแต่สิ่งนั้น, เพลินในการทําการงาน, ขลุกขลุ่ย.
หนวด : [หฺนวด] น. ขนที่ขึ้นเหนือริมฝีปากบนของคน, สิ่งที่มีลักษณะเป็นเส้น ยาว ๆ ขึ้นตามบริเวณปากของสัตว์บางชนิด เช่น หนวดกุ้ง หนวดปลาหมึก หนวดแมว.
หน่อ : น. พืชที่งอกจากกอหรือเหง้าของต้นใหญ่, โดยปริยายเรียกสิ่งที่เกิดเช่นนั้น; ลูก, ลูกชาย, เชื้อสาย; แผลเรื้อรังที่เกิดจากคุดทะราด เป็นตามฝ่าเท้า.
หนังสติ๊ก : น. เครื่องยิงชนิดหนึ่ง ทําด้วยแถบยางผูกติดกับสิ่งที่เป็นง่าม ซึ่งมักเป็นไม้ ยิงด้วยลูกกระสุนที่ตามปรกติเป็นลูกดินปั้นกลม ๆ.
หนังสือพิมพ์ : น. สิ่งพิมพ์ข่าวและความเห็นเป็นต้นเสนอประชาชน ตาม ปรกติออกเป็นรายวัน; (กฎ) สิ่งพิมพ์ซึ่งมีชื่อจ่าหน้าเช่นเดียวกัน และออก หรือเจตนาจะออกตามลําดับเรื่อยไป มีกําหนดระยะเวลาหรือไม่ก็ตาม มีข้อความต่อเนื่องกันหรือไม่ก็ตาม.
หนังเหนียว : ว. อยู่ยงคงกระพัน เช่น ลือกันว่าโจรคนนี้หนังเหนียว ยิง ไม่ออกฟันไม่เข้า, โดยปริยายหมายความว่า มีประสบการณ์มากรู้เท่าทัน ไปทุกสิ่งทุกอย่าง.
หน้า : น. ส่วนของศีรษะตั้งแต่หน้าผากลงมาจดคาง; ซีกของกายที่ตรงข้ามกับ หลัง, ด้านของสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่อยู่ตรงข้ามกับสายตาของเราหรือด้านที่ เผชิญหน้ากับสายตาของเรา เช่น เขาวิ่งอยู่หน้าฉัน จึงเห็นแต่หลังเขา ไว ๆ; ส่วนบนของบางสิ่ง เช่น หน้าขนม ข้าวเหนียวหน้าสังขยา หน้าปกหนังสือ; เครื่องปรุงที่แต่งหรือโรยบนอาหารบางอย่าง เช่น กระเทียมเจียวโรยหน้าข้าวต้ม; ด้านหนึ่ง ๆ ของวัตถุแบน ๆ อย่าง กระดาษ เช่น หน้ากระดาษ หน้าซอง, ด้านของเครื่องตีที่ขึงด้วยหนัง เช่น หน้ากลอง, ด้านหนึ่ง ๆ ของลูกเต๋าและนํ้าเต้าซึ่งมี ๖ ด้าน; ส่วน กว้างของแผ่นกระดาน เสาเหลี่ยมหรือผืนผ้า เป็นต้น; ชายผ้าบางชนิด ที่มีลวดลาย, ด้านของผ้าที่มีลวดลายชัดกว่า; คราว เช่น เมื่อข้าวสุกแล้ว ก็ถึงหน้าเก็บเกี่ยว, ฤดู เช่น หน้าฝน หน้าทุเรียน, โดยปริยายหมายถึงคน เช่น เขาสู้ทุกคนไม่ว่าหน้าไหน, เกียรติและศักดิ์ศรี เช่น เห็นแก่หน้า ไม่ไว้หน้า, ลักษณนามบอกจํานวนด้านของแผ่นกระดาษ เช่น หนังสือ เล่มนี้มี๒๐๐ หน้า. ว. ถัดไป เช่น อาทิตย์หน้า ฉบับหน้า, ตรงข้ามกับ หลัง (ใช้แก่เวลาที่ยังมาไม่ถึง) เช่น วันหน้า เดือนหน้า ปีหน้า, อยู่ตรงข้าม กับข้างหลัง เรียกว่า ข้างหน้า.
หน้าเฉย : ว. มีสีหน้าแสดงความไม่รู้สึกยินดียินร้าย หรือไม่สนใจใยดีต่อสิ่ง หรือเหตุการณ์ใด ๆ.
หน้าด้าน, หน้าทน, หน้าหนา : ว. มีสีหน้าไม่สลดทั้งที่ควรจะอายแต่ก็ ไม่อาย, โดยปริยายหมายความว่า ไม่มีความรู้สึกอายในสิ่งที่ควรอาย.
หน้าบาง : ว. มีความรู้สึกไวต่อสิ่งที่น่าละอาย.
หน้าพาทย์ : น. เรียกเพลงประเภทที่ใช้บรรเลงในการแสดงกิริยาอาการ เคลื่อนไหวของตัวโขนละครเป็นต้น หรือสําหรับอัญเชิญเทพเจ้า ฤๅษี หรือบูรพาจารย์ ให้มาร่วมชุมนุมในพิธีไหว้ครูหรือพิธีมงคลต่าง ๆ เช่น เชิด ใช้ในการเดินทางไกล เสมอ ใช้ในการเดินระยะใกล้ เสมอมาร สําหรับยักษ์เดิน เสมอเถร สําหรับฤๅษีเดิน สาธุการ ใช้ในการเริ่มพิธี ต่าง ๆ ตระเชิญ ใช้อัญเชิญเทพเจ้าและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ว่า เพลงหน้าพาทย์. ว. ที่เกี่ยวกับเพลงหน้าพาทย์ เช่น รําหน้าพาทย์ บอกหน้าพาทย์.
หน้ามืด : ว. อาการที่เป็นลมหมดสติ; โดยปริยายหมายถึงมัวเมาจนขาดสติ ทำสิ่งที่ไม่ควรทำ.
หนึ่ง : น. ตัวเลขตัวแรกของจำนวนนับ; จำนวนเดียว, คนเดียว, สิ่งเดียว, เช่น หนึ่งในดวงใจ. ว. เดี่ยว; เป็นเอก, เป็นเลิศ, เช่น เพื่อน ๆ ยกให้เขาเป็น หนึ่งในรุ่น.
หนุน : ก. รองให้สูงขึ้น เช่น เสื้อหนุนไหล่, ดันให้สูงขึ้น เช่น น้ำทะเลหนุน; ส่งเสริม เช่น หนุนให้สอบชิงทุนรัฐบาล, เพิ่มเติม เช่น หนุนทัพ; เอา สิ่งใดสิ่งหนึ่งรองหัว เช่น หนุนหมอน หนุนตัก หนุนขอนไม้. ว. ที่ เพิ่มเติม เช่น ทัพหนุน.
ห่ม ๒ : ก. ใช้ผ้าเป็นต้นคลุมหรือพันสิ่งใดสิ่งหนึ่งทั้งหมดหรือเพียงบางส่วน เช่น ห่มผ้า ห่มสไบ เอาผ้าไปห่มต้นโพธิ์.
หมวด : [หฺมวด] น. กลุ่มที่ประกอบด้วยหลายหมู่ เช่น หมวดหนังสือวิทยาศาสตร์ ประกอบด้วยหมู่หนังสือเคมี หมู่หนังสือฟิสิกส์ เป็นต้น; กำลังพลของ ทหาร ตำรวจ เป็นต้น มีจำนวนไม่เกิน ๔ หมู่ มีหัวหน้าเรียกว่า ผู้บังคับ หมวด หรือทั่ว ๆ ไปเรียกว่า ผู้หมวด, ถ้าเป็นทหารบกหรือตำรวจจะต้อง มียศเป็นร้อยตรี ร้อยโท หรือร้อยตำรวจตรี ร้อยตำรวจโท, ถ้าเป็นทหารเรือ หรือทหารอากาศจะต้องมียศเป็นเรือตรี เรือโท; เรียกสิ่งที่ขมวดไว้เป็น จุกเดียวกัน.
หม้อ : น. ภาชนะประเภทหนึ่ง มีรูปทรงต่าง ๆ สำหรับใส่ของหรือใช้งานบางอย่าง, เรียกตามสิ่งที่ใช้ทำก็มี เช่น หม้อดิน หม้อทองเหลือง หม้ออะลูมิเนียม, เรียก ตามสิ่งที่บรรจุก็มี เช่น หม้อข้าว หม้อน้ำมนตร์, เรียกตามวัตถุประสงค์ที่ใช้ สอยก็มี เช่น หม้อตุ๋น หม้อนึ่ง.
หมอน : [หฺมอน] น. เครื่องสําหรับหนุนศีรษะหรือหนุนสิ่งต่าง ๆ เป็นต้น, เรียกตาม รูปทรงก็มี เช่น หมอนขวาน หมอนตะพาบ หมอนหน้าอิฐ, เรียกตามวัตถุ ประสงค์ที่ใช้สอยก็มี เช่น หมอนหนุนศีรษะ หมอนหนุนเท้า หมอนหนุน รางรถไฟ, เรียกตามวัตถุที่ใช้ทำก็มี เช่น หมอนไม้ หมอนอิฐ; เครื่องสําหรับ อัดดินปืนในลํากล้องให้แน่น.
หมอย : [หฺมอย] น. ขนที่ของลับ; เรียกสิ่งที่มีลักษณะเป็นเส้นเป็นฝอยที่ปลายฝัก ข้าวโพดว่า หมอยข้าวโพด. (ถิ่น-พายัพ) เรียกหนวดว่า หมอยปาก เคราว่า หมอยคาง ขนรักแร้ว่า หมอยแร้.
หมาในรางหญ้า : (สำ) น. คนที่หวงแหนสิ่งที่ตนเองกินหรือใช้ไม่ได้ แต่ ไม่ยอมให้คนอื่นกินหรือใช้, หมาหวงราง ก็ว่า.
หมายน้ำบ่อหน้า : (สํา) ก. มุ่งหวังจะได้สิ่งที่ยังมาไม่ถึง.
หมาหวงก้าง : (สํา) น. คนที่หวงของที่ตนไม่มีสิทธิ์, คนที่กันท่าคนอื่นใน สิ่งที่ตนได้ใช้ประโยชน์แล้วหรือใช้ประโยชน์ไม่ได้.
หมาหวงราง : (สำ) น. คนที่หวงแหนสิ่งที่ตนเองกินหรือใช้ไม่ได้ แต่ไม่ ยอมให้คนอื่นกินหรือใช้, หมาในรางหญ้า ก็ว่า.
หมาเห็นข้าวเปลือก : (สำ) น. คนที่อยากได้สิ่งที่เป็นประโยชน์หรืออำนวย ความสุขสำราญให้แก่ตน แต่สุดความสามารถที่จะเอามาใช้ หรืออำนวย ประโยชน์ให้แก่ตนได้.
หมึก ๑ : น. นํ้าที่ใช้ในการขีดเขียน ตามปรกติมีสีดําจัด จึงใช้เปรียบกับของดำว่า ดำเป็นหมึก, น้ำหมึก ก็ว่า. (จ.); โดยปริยายหมายถึงสิ่งอื่น ๆ ที่ใช้ขีดเขียน หรือพิมพ์หนังสือเป็นต้น เช่น หมึกแดง หมึกแห้ง หมึกพิมพ์ หมึกพิมพ์ ลายมือ.
หมูเขาจะหามเอาคานเข้าไปสอด : (สํา) น. คนที่เข้าไปขัดขวางขณะที่ผู้อื่น ทําสิ่งใดสิ่งหนึ่งกําลังจะสําเร็จ.
หมูในเล้า : (สํา) น. สิ่งที่อยู่ในเงื้อมมือ.
หมูในอวย : (สํา) น. สิ่งที่อยู่ในกํามือ.
หย่ง ๑ : ก. ทําให้สูงขึ้น เช่น หย่งตัว, ทำสิ่งที่รวมตัวกันให้โปร่งหรือขยายตัวให้ หลวมขึ้น เช่น หย่งฟาง หย่งผม หย่งเส้นบะหมี่, โหย่ง ก็ว่า.
หยด : ก. ไหลหรือทําให้ไหลหลุดออกมาเป็นหยาด ๆ เช่น น้ำหยด. น. หยาด ของเหลวที่ไหลหลุดออกมา เช่น หยดน้ำ หยดหมึก, ลักษณนามใช้เรียก สิ่งที่ไหลหลุดออกมาเช่นนั้น เช่น นํ้าหยดหนึ่ง นํ้าหมึก ๒ หยด.
หย่อง : น. สิ่งสําหรับใส่หมากพลู มีรูปเหมือนถาดขอบสูง มีตีน โดยมากทําด้วย ทองเหลือง; เครื่องรองรับไม้แม่กำพองประจำช่องหน้าต่าง; ส่วนประกอบ ของเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสาย เช่น ซอสามสาย ซอด้วง ขิม ไวโอลิน ใช้รองรับสายเพื่อรับแรงสั่นสะเทือนจากสายลงสู่เครื่องดนตรีให้เสียง กังวานขึ้น, ส่วนประกอบของจะเข้ ใช้หนุนสายเพื่อมิให้แตะนมจะเข้. ว. อาการที่นั่งชันเข่าทั้ง ๒ ข้างโดยก้นไม่ถึงพื้น เรียกว่า นั่งหย่อง หรือ นั่งยอง ๆ.
หรุบ ๆ : ว. อาการของสิ่งที่ร่วงลงมาพรู เรียกว่า ร่วงหรุบ ๆ.
หลงใหล : ก. คลั่งไคล้ในสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น หลงใหลนักร้อง; เลอะเลือน, มีสติเฟือน,เช่น คนแก่มักหลงใหล กินแล้วก็ว่าไม่ได้กิน.
หล่อ : ก. เทโลหะเหลวหรือขี้ผึ้งเหลวเป็นต้นลงในแม่พิมพ์ แล้วทิ้งให้แข็งเป็น รูปตามแบบ (มักใช้ในงานประติมากรรมและอุตสาหกรรม) เช่น หล่อ พระพุทธรูป หล่อกระทะ หล่อกระบอกปืนใหญ่; ขังน้ำหรือน้ำมันไว้ เพื่อรักษาสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้คงสภาพ เช่น เอาน้ำหล่อคอนกรีตไว้ เอา น้ำมันจันทน์หล่อรักยม. (ปาก) ว. งาม เช่น รูปหล่อ.
หลอด ๑ : [หฺลอด] น. ของกลมยาวขนาดเล็กที่มีรูตลอด เช่น หลอดกาแฟ หลอดแก้ว, โดยปริยายเรียกสิ่งของบางอย่างที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น หลอด ตะเกียง หลอดไฟฟ้า หลอดวิทยุ หลอดนีออน หลอดทดลอง, เรียกแกน ที่มีช่วงกลางคอดคล้ายลูกล้อสำหรับพันด้ายว่า หลอดด้าย, เรียกด้ายที่พัน หลอดเช่นนั้นว่า ด้ายหลอด, ลักษณนามเรียกสิ่งที่มีลักษณะเช่นนั้น เช่น ยาฉีด ๓ หลอด.
หล่อน้ำ : ก. เอาน้ำใส่ภาชนะเพื่อรองรับสิ่งใดสิ่งหนึ่งกันไม่ให้มดขึ้น เช่น หล่อน้ำขาตู้กับข้าว, เอาสิ่งของบางอย่างใส่ไว้ในภาชนะแล้วเอาภาชนะนั้น วางไว้บนอีกภาชนะหนึ่งซึ่งขังน้ำไว้เพื่อกันไม่ให้มดขึ้น เช่น เอาจานขนม ไปวางบนแก้วที่หล่อน้ำไว้; (โบ) เอาน้ำไปขังไว้ในภาชนะเพื่อใช้ใน พระราชพิธีมูรธาภิเษกเป็นต้น.
หล่อลื่น : ก. เอาน้ำมันเป็นต้นใส่หรือทาสิ่งใดสิ่งหนึ่งเพื่อทำให้เคลื่อนไหว คล่อง. ว. เรียกนํ้ามันที่ทําให้เครื่องจักรเดินคล่องว่า นํ้ามันหล่อลื่น.
หลักฐาน : น. พื้นเพมั่นคง เช่น พ่อแม่เขาเป็นคนมีหลักฐาน, ความมั่นคง อันเป็นพื้นที่ตั้ง เช่น เขามีอาชีพการงานเป็นหลักฐาน; เครื่องแสดง ประกอบเพื่อยืนยัน เช่น เขาถูกกล่าวหาโดยไม่มีหลักฐาน; (กฎ) สิ่งที่ใช้ พิสูจน์ความถูกต้องหรือความจริง. (อ. evidence).
หลักประกัน : น. หลักทรัพย์เพื่อความมั่นคง; สิ่งที่ยึดถือเพื่อความมั่นคง เช่น ถ้าไม่ใช่คนมั่งมี ก็ควรมีวิชาไว้เป็นหลักประกัน; (กฎ) เงินสดหรือ หลักทรัพย์ที่นํามาประกันตัวผู้ต้องหาหรือจําเลยหรือ ประกันการชําระหนี้.
หลัง ๑ : น. ซีกของกายที่ตรงข้ามกับหน้าอก; ด้านที่อยู่ตรงข้ามกับด้านหน้าของ สิ่งใดสิ่งหนึ่ง; ส่วนเบื้องบน เช่น หลังมือ หลังเท้า. ว. อยู่ตรงข้ามกับ ข้างหน้า, ตรงข้ามกับ ก่อน (ใช้แก่เวลาที่ผ่านพ้นไปแล้ว), ในลําดับถัดไป เช่น คนหลัง; ลักษณนามเรียกเรือนหรือสิ่งที่มีลักษณะอย่างเรือนว่า หลัง เช่น เรือนหลังหนึ่ง ศาลา ๒ หลัง.
หลับตา : ก. ปิดกลีบตา, โดยปริยายหมายถึงอาการที่ทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้ อย่างง่าย ๆ เพราะมีความเคยชินหรือมีความชำนาญมาก เช่น เรื่องอย่างนี้ หลับตาทำก็ได้; อาการที่ทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างลวก ๆ ไม่เรียบร้อย เช่น ทำรายงานอย่างกับหลับตาทำ, เดา เช่น หลับตาพูด.
หลับหูหลับตา : ก. อาการที่ทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างลวก ๆ โดยไม่พินิจ พิเคราะห์ให้รอบคอบเสียก่อน เช่น รายงานนี้ดูคล้ายกับหลับหูหลับตา ทำ; อาการที่ไม่รับรู้เหตุการณ์ใด ๆ เลย เช่น เรื่องนี้เขารู้กันทั่วบ้าน ทั่วเมืองแล้ว คุณมัวไปหลับหูหลับตาอยู่เสียที่ไหน; อาการที่ต้อง แข็งใจหรือฝืนใจทำ เช่น แม้ว่าอาหารจะไม่อร่อยก็ต้องหลับหูหลับตา กลืนเข้าไป.